ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


หาวบ่อย ไม่ได้แปลว่าง่วงมากเพียงอย่างเดียว

หาวบ่อย หาวไม่สุด

นั่งทำงานสักพักก็หาว ทำอะไรก็หาว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ง่วงหรือมีความอยากนอนเลยสักนิด หลายคนมักจะคิดว่าตนเองคงจะนอนไม่พอ แต่ถึงแม้ว่าจะกลับไปนอนเยอะแล้วก็ตามอาการหาวก็ยังคงอยู่ นั่นเพราะอาการหาวไม่ได้หมายความว่านอนไม่พอเพียงอย่างเดียว อาจมีสาเหตุและปัจจัยอื่นที่ทำให้
หาวบ่อยได้เช่นกัน

และยิ่งไปกว่านั้นอาการหาวบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณของโรคอันตรายที่คาดไม่ถึงอีกด้วย หากคุณมีอาการหาวบ่อยแต่ไม่ง่วง อาการหายใจไม่เต็มปอด หาวบ่อย หรือการหาวบ่อยควบกับอาการแปลก ๆ ควรจะเข้าปรึกษาแพทย์ เพราะหากพบโรคอันตรายได้เร็วก็จะได้หาวิธีแก้ไขได้ง่ายขึ้น


การหาว (Yawning)

อาการหาว เป็นกลไกทางร่างกายที่เกิดขึ้นมาโดยที่เราไม่สามารถบังคับได้ ลักษณะของอาการหาวคือ อ้าปากกว้าง สูดหายใจเข้าลึก ๆ เข้าสู่ปอด แล้วหายใจออกมา กระบวนการหาวนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ หรือเกิดขึ้นถี่อย่างการหาวบ่อย ๆ ได้เช่นกัน โดยอาการหาวนี้สามารถเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับน้ำตา
ไหลและการยืดกล้ามเนื้อ


ทำไมเราถึงต้องหาว

ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปถึงอาการหาวที่ชัดเจนได้ แต่นักวิจัยก็ยังมีความเชื่อและทฤษฎีที่เกี่ยวกับอาการหาวที่หลากหลาย เช่น

  • เมื่อร่างกายมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มาก ออกซิเจนน้อยเกินไป จะทำให้ร่างกายเกิดอาการง่วง เมื่อยล้า ระบบกลไกของร่างกายจึงกระตุ้นให้เรารับออกซิเจนให้มากขึ้นโดยการหาวนั่นเอง การหาวจะช่วยให้เราสูดหายใจได้ลึกกว่าปกติ และรับออกซิเจนมามากขึ้น ในขณะเดียวกันในช่วงหายใจออกก็จะนำพาคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้มากขึ้นเช่นกัน
  • อาการหาวช่วยการยืดเนื้อเยื่อปอด ยืดกล้ามเนื้อและข้อต่าง ๆ เพราะขณะหาวนั้นสังเกตได้ว่าเรามักจะยืดกล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วนเช่น แขน ขา เป็นต้น และอีกทั้งการหาวยังช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจให้สูงขึ้น ทำให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้ประเปร่า
  • อาการหาวช่วยกระตุ้นการสร้างสารหล่อลื่นภายในปอด จากทฤษฎีนี้เชื่อว่าการหาวเป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ปอดสร้างสารหล่อลื่น ให้ภายในปอดชุ่มชื้น
  • อาการหาวช่วยลดอุณหภูมิภายในสมองได้ ในทฤษฎีนี้เชื่อว่าขณะหาวจะทำให้อากาศเย็นเข้าทางปาก และอากาศเย็นนี้จะทำให้น้ำไขสันหลังและเส้นเลือดที่จะไหลเวียนไปที่สมองเย็นขึ้น

จะสังเกตได้ว่าทุกทฤษฎีมีความเกี่ยวข้องกันอย่างหนึ่งคืออาการหาวจะทำให้อากาศเข้าสู่ร่างกายมากกว่าการหายใจปกติ และการที่ร่างกายมีอากาศเข้ามากกว่าปกตินั่นหมายความว่าทำให้ร่างกายได้รับจำนวนออกซิเจนที่มากขึ้นกว่าเดิม


อาการหาวบ่อย (Excessive Yawning) เกิดจากอะไร


อาการหาวบ่อย เกิดจาก

ไม่ว่าใครก็คงจะเคยมีอาการหาวกันทั้งนั้น ซึ่งอาการหาวนั้นเป็นกลไกทางร่างกายที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติเช่นเดียวกับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ แต่หากมีอาการหาวบ่อย ๆ นั่นอาจไม่ใช่ความปกติ แต่อาจเป็นสัญญาณบางอย่างที่ร่างกายต้องการบอกเราได้

หาวแบบไหนเรียกว่าหาวบ่อย? หากคุณมีอาการหาวถี่ ๆ มากกว่า 1 ครั้งต่อนาที แสดงว่าคุณกำลังมีอาการหาวบ่อย ซึ่งสาเหตุของอาการหาวบ่อย ๆ นั้นจะกล่าวในหัวข้อถัดไป


หาวบ่อยเกิดจากสาเหตุใด

อาการหาวบ่อยเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้

1. ความง่วง อาการเหนื่อยล้า

สาเหตุหลักของผู้ที่มีอาการหาวบ่อย ๆ เลยคือความง่วงและความเหนื่อยล้า เพราะเมื่อร่างกายมีปริมาณออกซิเจนที่น้อยเกินไปและมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไปจะทำให้เกิดอาการง่วง เพลีย เหนื่อยล้าได้

โดยการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยก็อาจมีสาเหตุมาจากการหายใจไม่ทั่วท้อง หาวบ่อย จากการมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดนาน ๆ ทำให้การหายใจแต่ละครั้งมักจะหายใจเข้าไม่เต็มปอด และทำให้ออกซิเจนได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นนั่นเอง

2. อาการนอนไม่หลับ
อีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหาวบ่อยคือการนอนไม่หลับหรือการนอนที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การนอนพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ การนอนหลับไม่สนิท ความเครียด ความกังวล หรือแม้แต่การหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั่นส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยกว่าที่ร่างกายต้องกาย ทำให้เกิดอาการหาวบ่อยได้

3. ผลข้างเคียงของยา
ยาบางกลุ่มก็ส่งผลทำให้ผู้ใช้ยาเกิดอาการง่วงซึม และอาการง่วงนี้เองที่ทำให้เกิดอาการหาวบ่อย เช่น กลุ่มยาต้านโรคซึมเศร้า กลุ่มยารักษาโรควิตกกังวล ยานอนหลับ เป็นต้น

4. นอนกรน
เพราะอาการนอนกรนเกิดจากการที่ช่องทางเดินหายใจตีบและแคบลงขณะนอนหลับ ทำให้อากาศผ่านได้ยากกว่าปกติ และเมื่อลมหายใจผ่านทางช่องแคบนี้ จึงเกิดการกระพือและเกิดเสียงกรนขึ้น

ผู้ที่นอนกรนจะได้รับปริมาณออกซิเจนน้อยกว่าปกติ และนอกจากนี้ยังทำให้การพักผ่อนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร หายใจไม่สะดวก หาวบ่อย และรู้สึกเพลียในช่วงกลางวัน

5. อาการข้างเคียงของโรค
โรคบางชนิดอาจส่งผลให้ร่างกายรับปริมาณออกซิเจนได้น้อยกว่าปกติ จึงทำให้ร่างกายต้องเพิ่มปริมาณออกซิเจนมากขึ้นด้วยการหาวบ่อย เช่น ภาวะเลือดออกภายในหัวใจ หรือเนื้อเยื่อบริเวณหัวใจ


หาวบ่อย..สัญญาณเตือนของโรคอะไร

มีอาการหาวบ่อย เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

ถึงแม้ว่าอาการหาวจะไม่ได้เป็นอันตรายหรือทำให้เกิดอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่การหาวบ่อยที่ไม่ได้เกิดจากอาการง่วง อาจเป็นสัญญาณที่ร่างกายบ่งบอกว่ากำลังเป็นโรคอื่น ๆ อยู่ก็ได้ ถึงแม้ว่าโอกาสเกิดโรคเหล่านี้จะค่อนข้างน้อย แต่หากรู้ตัวเร็วก็จะสามารถรักษาหายได้เร็วกว่า

1. โรคไมเกรน
ผู้ที่เป็นโรคไมเกรนมักจะมีอาการปวดหัวรุนแรง อาจเกิดเพียงด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะหรืออาจเกิดขึ้นทั้งสองด้านเลยก็ได้ โดยโรคไมเกรนมักจะมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ และอาจมีอาการนำก่อนเริ่มปวดไมเกรน เช่นหาวบ่อย ปวดต้นคอ เห็นแสงออกมาจากสิ่งต่าง ๆ ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น

2. โรคลมหลับ
โรคลมหลับเป็นภาวะที่ทำให้รู้สึกง่วงตลอดเวลา และมีอาการหลับในช่วงเวลาผิดปกติ ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะหลับกลางอากาศทั้ง ๆ ที่กำลังทำกิจกรรมอื่น ๆ อยู่ หรือบางครั้งอาจมีอาการคล้ายกับอาหารหลับ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง และไม่ว่าผู้ป่วยจะนอนมากแค่ไหนก็ยังรู้สึกง่วงตลอดเวลาอยู่ดี และอาการง่วงบ่อย ๆ นี้เองที่ทำให้เกิดอาการหาวบ่อย

3. โรคลมชัก
อาการหาวบ่อยจากโรคลมชักสามารถพบได้เมื่อเกิดอาการชักที่ทำให้การหายใจผิดปกติ เช่น การชักแบบหยุดหายใจชั่วขณะ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอนั่นเอง

4. โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง หรือเกิดภาวะเลือดออกในสมอง เมื่อเกิดภาวะเหล่านี้จะทำให้การลำเลียงออกซิเจนในเลือดทำได้น้อยลง ทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจนและถูกทำลายในที่สุด อาการหนึ่งที่เป็นสัญญาณเตือนว่าออกซิเจนไปเลี้ยงในสมองไม่พอคืออาการหาวบ่อย

5. ภาวะตับวาย
ตับเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการกำจัดสารพิษในร่างกายและมีความสามารถในการฟื้นฟูตนเอง แต่เมื่อใดที่ตับได้รับความเสียหายจนไม่สามารถฟื้นฟูได้อีกต่อไปจะเกิดภาวะตับวายขึ้น ผู้ป่วยที่มีอาการของภาวะตับวาย มักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องมาน เลือดออกง่าย อ่อนเพลีย ซึ่งอาการอ่อนเพลียจะทำให้ร่างกายเกิดอาการหาวบ่อยขึ้นมาได้

6. เนื้องอกในสมอง
เนื้องอกในสมองเป็นภาวะที่มีก้อนเนื้อเจริญอยู่ในที่ที่ไม่ควรจะมีอย่างผิดปกติ ซึ่งเนื้องอกนี้เองที่จะไปกดบริเวณสมอง ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของสมองและระบบประสาท ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดหัวมาก อาเจียน ตาพร่ามัว ซึ่งอาการเหล่านี้มักทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียสะสมขึ้น และเกิดอาการหาวบ่อยได้

7.  โรคปลอกประสาทอักเสบ
โรคปลอกประสาทอักเสบเกิดจากการอักเสบบริเวณปลอกประสาทที่หุ้มเส้นประสาท ซึ่งปกติแล้วปลอกประสาทมีหน้าที่ในการนำกระแสประสาท แต่เมื่อเกิดการอักเสบขึ้นจะทำให้การนำกระแสประสาทเกิดความผิดปกติ ซึ่งอาการหาวบ่อยก็อาจเกิดจากการนำกระแสประสาทที่ผิดปกติได้เช่นกัน

8.  โรคหัวใจหรือภาวะเลือดออกบริเวณหัวใจ
โรคหัวใจหรือภาวะเลือดออกบริเวณหัวใจจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ผู้ป่วยจะมีอาการหาวบ่อย หายใจไม่อิ่ม มึนหัว เจ็บแน่นหน้าอก


หาวบ่อยเมื่อไหร่ควรพบแพทย์
อาการหาวบ่อยเป็นอาการที่หลาย ๆ คนมักจะมองข้ามไปเพราะคิดว่าเกิดจากการนอนไม่พอ แต่หากผู้ป่วยมีอาการหาวบ่อย พร้อมกับอาการร่วมอื่น ๆ เช่น

  • อาการหายใจไม่เต็มปอด หาวบ่อย
  • นอนไม่หลับหรือหาวบ่อยแต่ไม่ง่วง
  • หาวบ่อย หายใจไม่อิ่ม มึนหัว ปวดต้นคอ ควรเข้ารับการตรวจร่างกายกับแพทย์ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคอันตรายได้


การตรวจวินิจฉัยอาการหาวบ่อย

ตรวจอาการหาวบ่อยด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram: EEG)

เมื่อไปพบแพทย์ด้วยอาการหาวบ่อย อันดับแรกแพทย์มักจะทำการซักประวัติผู้ป่วยก่อน เช่นพฤติกรรมการนอนหลับ พักผ่อนเพียงพอหรือไม่ หลังจากนั้นก็จะถามอาการร่วมอื่น ๆ หากพบอาการร่วมที่น่าสงสัยแพทย์ก็จะส่งตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหาวบ่อย

1. ตรวจเลือด
หากแพทย์สงสัยว่าอาการหาวบ่อยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคลมชัก โรคติดเชื้ออื่น ๆ โรคตับ แพทย์อาจขอเก็บตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยเพื่อทำการตรวจเลือดหาสารเคมีภายในเลือด ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง เป็นต้น

2. ตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ MRI จะช่วยทำให้แพทย์สามารถเห็นภาพอวัยวะภายในอย่างละเอียด และแพทย์จะสามารถหาความผิดปกติของอวัยวะภายในได้จากภาพ โดยโรคที่สามารถมองเห็นด้วยการทำ MRI เช่น โรคเกี่ยวกับสมอง โรคหัวใจ ไขสันหลัง เป็นต้น

3. ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram: EEG)
หากแพทย์สงสัยว่าอาการหาวบ่อยของผู้ป่วยอาจเกิดจากความผิดปกติภายในสมอง หรือโรคลมชัก แพทย์ก็จะส่งตรวจด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง โดยการตรวจลักษณะนี้จะเป็นการตรวจปฏิกิริยาและการทำงานของคลื่นไฟฟ้าในสมองว่าเป็นปกติหรือไม่ หากผู้ป่วยมีความผิดปกติจะแสดงให้เห็นถึงคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติได้ชัดเจน

4. ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test หรือ Polysomnography)
เพราะอาการหาวบ่อยอาจมาจากการนอนหลับที่ผิดปกติ การนอนหลับที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น โรคลมหลับ หรือภาวะหยุดหายใจชั่วขณะระหว่างหลับ การตรวจการนอนหลับจะสามารถตรวจระดับออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย คลื่นไฟฟ้าสมองขณะหลับ การกลอกตา การขยับหน้าอกและช่องท้องว่ามีความผิดปกติระหว่างนอนหรือไม่


วิธีแก้อาการหาวบ่อย

อาการหาวบ่อยไม่ได้มีความรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการป่วยหรือเจ็บปวดใด ๆ หากการหาวบ่อยไม่ได้พ่วงมากับอาการอันตรายอื่น ๆ อาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใด ๆ เพราะการหาวก็เป็นเพียงกลไกหนึ่งในร่างกายเท่านั้น แต่หากการหาวบ่อยอาจเป็นตัวบ่งบอกว่าร่างกายอ่อนเพลีย และยังทำให้ดูบุคลิกไม่ดี ดังนั้นหากจะแก้อาการหาวบ่อย ก็สามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังนี้

วิธีแก้ไขอาการหาวบ่อยด้วยตัวเอง

นอนให้เพียงพอ ลดอาการหาวบ่อย

  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหาวบ่อยจากร่างกายมีออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือมีสมาธิกับสิ่งใดมาก ๆ ทำให้การหายใจแต่ละครั้งทำได้ไม่สุด สามารถแก้โดยหายใจลึก ๆ มีสมาธิกับการหายใจให้มากขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ส่วนมากอาการหาวบ่อยมักมาจากการนอนหลับไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า
  • เพื่อให้การพักผ่อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ควรจะกำจัดสิ่งรบกวนที่อาจทำให้การนอนไม่มีคุณภาพ เช่น การใส่ผ้าปิดตา ป้องกันแสงที่รบกวนการนอน ใส่ที่อุดหูเพื่อไม่ให้เสียงมา
    รบกวนการนอน เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมใด ๆ ก่อนเข้านอน เช่น การดูหนัง การอ่านหนังสือ การเล่นโทรศัพท์
  • การอยู่ในที่อากาศเย็น ๆ เพื่อให้ช่วยลดอุณหภูมิของไขสันหลังและเลือดที่จะขึ้นไปยังสมอง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเหมาะสม ช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดอาการล้า จนเกิดอาการหาวบ่อย ๆ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน เพราะจะส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับและทำให้เกิดอาการเพลีย หาวบ่อย ๆ ในตอนเช้าได้
  • เคลื่อนไหว ขยับร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ลดอาการหาวบ่อย ๆ จากความเพลีย เหนื่อยล้า หรืออาการเบื่อได้

การรักษาอาการหาวบ่อย

หาวบ่อย นอนไม่หลับ กินยานอนหลับ

แต่หากอาการหาวบ่อย ๆ ที่เกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรือสัญญาณของโรคอื่น ๆ อาจต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์จึงจะช่วยให้อาการหาวบ่อยลดลงได้ เช่น

  • ใช้เครื่องช่วยหายใจขณะนอนหลับ ป้องกันภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันเป็นเหตุให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจนเกิดอาการเพลีย หาวบ่อย
  • การเข้าปรับพฤติกรรมการนอนให้เป็นเวลาเดิมในทุก ๆ วัน
  • หากอาการหาวบ่อยเกิดจากผลข้างเคียงของยา อาจทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนตัวยา หรือลดขนาดยา แต่อย่างไรก็ตามต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น
  • หากอาการหาวบ่อยเกิดจากโรคอื่น ๆ แพทย์จะทำการรักษาที่โรคนั้น ๆ เมื่ออาการของโรคดีขึ้น อาการหาวบ่อยจากโรคก็จะลดลงได้


ข้อสรุป

อาการหาวเป็นกลไกของร่างกายที่จะช่วยให้ระดับออกซิเจนในร่างกายเพิ่มขึ้น และลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายลง ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปเป็นปกติ แต่อย่างไรก็ตามหากอาการหาวผิดปกติ เช่น การหาวบ่อยมาก หรือการหาวบ่อยร่วมกับอาการอื่น เช่น ปวดต้นคอ คลื่นไส้ ปวดหัวรุนแรง หายใจได้ไม่เต็มปอด เจ็บหน้าอก นั่นอาจไม่ใช่ความปกติ แต่เป็นสัญญาณของโรคอันตราย หากผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้การเข้าพบแพทย์ก่อนอาจทำให้ตรวจพบโรคได้เร็วขึ้น และโอกาสรักษาก็ยิ่งมากขึ้นอีกด้วย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2022, 08:03:25 AM โดย พรสัก ส่องแสง »