ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ สาเหตุ อาการ รวมถึงวิธีรักษาให้ได้ผลดี

โรคข้อเข่าเสื่อมที่เกิดในผู้สูงอายุ

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุนั้น คือโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งตามความเป็นจริงนั้นในบางรายอาจเริ่มเป็นตั้งแต่วัยกลางคนจนถึงวัยสูงอายุเลยก็ได้ โดยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ จะสร้างปัญหาให้กับผู้สูงอายุในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก โดยโรคข้อเสื่อมพบในตำแหน่งของข้อที่รับน้ำหนักมาก คือ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น

โดยประเทศไทยพบผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดเข่า ปวดขา ข้อเข่าเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ มักมีเสียงดังเสียงก๊อกแก๊กจากหัวเข่า เคลื่อนไหวลำบาก ทำให้ไม่อยากเดินไปไหนไกล ๆ รู้สึกเดินขึ้น ลงบันไดยากมากขึ้น ลุกนั่งแล้วรู้สึกเจ็บปวด

อย่างไรก็ตาม เราสามารถชะลอโรคข้อเข่าเสื่อมและทุเลาความเจ็บปวดลงได้ เพียงเรารู้เท่าทันก็จะสามารถป้องกันได้อย่างถูกวิธี

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ คือ การอักเสบของข้อต่อในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลาย ซึ่งกระดูกอ่อนมีหน้าที่สำคัญในการป้องกันและดูดซับแรงกระแทกระหว่างข้อเข่า เพื่อลดการสึกหรอและเสื่อมสภาพของข้อเข่า

โดยโรคข้อเข่าเสื่อมพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ บวมแดง เข่าฝืด ยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่ว่าความรุนแรงของอาการจะมากหรือน้อย ก็เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต

นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มักมีลักษณะกระดูกผิวข้อเข่าบางลง มีการแตกและเปื่อยยุ่ย ร่วมกับสูญเสียกระดูกอ่อนผิวข้อไป บางรายอาจมีการอักเสบของเยื่อบุข้อร่วมด้วย ส่งผลให้น้ำในข้อมากขึ้น จึงเกิดอาการบวมของข้อเข่า มีกระดูกงอตามขอบผิวข้อ ร่วมกับโก่งผิดรูปของข้อเข่า ทำให้ขาโก่งในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของโรค

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจะเป็นขาโก่งแบบโค้งออก (Bow legs) แต่บางรายอาจพบในลักษณะผิดรูปของข้อเข่าแบบโค้งเข้า (Knock knee) ได้อีกด้วย แม้จะพบได้น้อยกว่า


สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
โดยสาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ อาจมีหลายปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การมี หรือเคย หรือ รวมถึง เช่น


สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

  • น้ำหนักตัวมากทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในขณะก้าวเดิน มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 23 กก/ม^2
  • เกิดจากการใช้ของอวัยวะนั้น ๆ เป็นเวลานาน การใช้งานอย่างหนัก หรือท่าทางบางท่าที่ต้องงอเข่ามากเกินไป เช่น การคุกเข่า นั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ ซึ่งทำให้ข้อเข่าต้องรับแรงกดสูงกว่าปกติเป็นเวลานาน ๆ หรือบ่อยครั้ง ทำให้เกิดความเสื่อมสะสมจากการที่ใช้ข้อเข่าไม่ถูกต้อง
  • เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า เช่น การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ทำให้เกิดความผิดปกติของข้อเข่า เช่น มีข้อเข่าผิดรูป ขาโก่ง หรือมีเข่าชนกัน ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้มากขึ้น
  • มีประวัติการติดเชื้อในข้อเข่า หรือเคยเป็นโรคที่เกี่ยวกับไขข้อมาก่อน เช่น รูมาตอยด์ โรคเก๊าท์
  • อายุที่มากขึ้นก็เป็นตัวแปรสำคัญ โดยพบมากในคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งมักจะเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • เกิดจากกรรมพันธุ์ หรือผู้มีประวัติคนภายในครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
  • เชื้อชาติ จากการศึกษาพบว่าคนเอเชียบางกลุ่มมีความเสี่ยงต่อโรคข้อเสื่อมน้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ

อาการเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ มีกี่ระยะ


ระยะของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ


โดยอาการโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ แบ่งได้ 3 ระยะ คือ

1. ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุระยะแรก
โดยอาการในระยะแรกอาจมีการขัดหรือฝืดในข้อเป็นครั้งคราวหากมีการอยู่นิ่งเป็นเวลานาน บางรายอาจมีอาการเจ็บปวดร่วมอยู่ด้วย ซึ่งการเจ็บปวดบริเวณข้อเหล่านี้ อาจสัมพันธ์กับการทำกิจกรรม เช่น การขึ้นลงบันได การออกกำลังกายหักโหม นั่งยองหรือนั่งแบบผิดสุขลักษณะ

หากมีการอักเสบร่วมด้วยอาจจะมีอาการบวมแดง บริเวณข้อเข่า ข้อเท้า แต่ยังสามารถท้างานทุกอย่างได้ตามปกติ แต่ควรทำงานให้น้อยลงยังไม่ต้องพบแพทย์ เน้นรักษาด้วยตนเอง

2. ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุระยะปานกลาง
โดยจะเริ่มทำงานหนักไม่ได้ โดยจะพบว่าผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม จะมีลักษณะกระดูกผิวข้อเข่าบางลง มีการแตกและเปื่อยยุ่ย ร่วมกับสูญเสียกระดูกอ่อนผิวข้อไป บางรายอาจมีการอักเสบของเยื่อบุข้อร่วมด้วย ส่งผลให้น้ำในข้อมากขึ้น จึงเกิดอาการบวมของข้อเข่า มีกระดูกงอตามขอบผิวข้อ ควรเริ่มเข้าพบแพทย์

3. ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุระยะรุนแรง
โดยจะเริ่มทำกิจวัตรประจ้าวันไม่ได้ และเริ่มเดินไม่ไหว ร่วมกับการโก่งผิดรูปของข้อเข่าในระยะสุดท้ายของโรค ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจะเป็นขาโก่งแบบโค้งออก (Bow legs) แต่บางรายอาจพบในลักษณะผิดรูปของข้อเข่าแบบโค้งเข้า (Knock knee) ได้อีกด้วย แม้จะพบได้น้อยกว่า

การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุนั้น เป็นการวินิจฉัยโรคทางกระดูกและข้อ วิธีที่แนะนำคือการตรวจด้วย MRI (Magnetic Resonance Imaging) เป็นการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อดูรายละเอียดเชิงลึก ช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุของผู้ป่วย โดยอาศัยคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กของอะตอมไฮโดรเจน ที่มีอยู่ในน้ำอันส่วนประกอบหลักของร่างกายมนุษย์

เมื่ออุปกรณ์กระตุ้นด้วยการส่งสัญญาณคลื่นวิทยุความถี่จำเพาะลงบนอวัยวะนั้น แล้วอ่านค่าแปลผลเป็นภาพ ทำให้เห็นความผิดปกติของเนื้อเยื่อในข้อเข่าได้ง่าย เช่น สามารถช่วยวินิจฉัยว่ามีการฉีกขาดของเส้นเอ็นหรือไม่ สภาพของข้อเข่าคนไข้ในปัจจุบัน


แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ


ใช้ยาทานเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ทำได้หลายวิธี เช่น

1. ใช้ยารักษาข้อเข่าเสื่อม

  • ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เป็นยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกในกรณีที่ ปวดไม่มาก เพราะให้ประสิทธิผลดี และปลอดภัย รับประทาน 2 เม็ด วันละ 4 ครั้ง (4 กรัม/วัน) เพื่อให้ได้ระดับยาในการรักษา ซึ่ง โอกาสเป็นพิษต่อตับน้อยมาก ถ้าไม่เป็นโรคตับหรือดื่มสุราจัด
  • ยาเฉพาะที่ ประเภทยาแก้ปวดและต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์และเจลพริก (Capsaicin) ใช้ทานวดซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความร้อนเฉพาะที่
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ การอักเสบทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบเกร็งตึงได้ การใช้ ยาคลายกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้

2. ฉีดยาแก้ข้อเข่าเสื่อม

ใช้ยาฉีดเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

  • ฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า (Hyaluronic Acid)
โดยมีหน้าที่ในการหล่อลื่น ลดการเสียดสี และเป็นโช๊คอัพสําหรับลดแรงกระแทกขณะใช้งาน ทำให้อาการเจ็บ ขัดในข้อทุเลาลง และเป็นสารอาหารให้กับกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า

จะมีการแบ่งน้ำเลี้ยงข้อเทียมตามขนาดโมเลกุลของยาที่ฉีด ถ้าเป็นขนาดเล็กแพทย์มักจะฉีด 3 - 5 เข็ม ทุกอาทิตย์ติดต่อกัน แต่ถ้าเป็นขนาดโมเลกุลใหญ่จะฉีดเพียงครั้งเดียว ครอบคลุมอาการได้นาน 6 เดือน - 1 ปี

  • ฉีดสเตียรอยด์
สามารถลดอาการปวดในช่วงสั้น ๆ 2-3 สัปดาห์ ไม่ควรฉีดประจำ เนื่องจากจะทำลายกระดูกอ่อนข้อต่อได้ใช้ในกรณีที่ ปวดเฉียบพลันเท่านั้น

3. การทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
โดยการทำกายภาพบำบัดข้อเข่าบริเวณนั้น ควรควบคู่ไปกับการใช้ยาบรรเทาอาการปวดข้อเข่าด้วย

4. การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

  • ผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง (Knee Arthroscopic Surgery)
เป็นการผ่าตัด โดยการเจาะรูเล็กขนาดประมาณ 6-8 มิลลิเมตร บริเวณด้านหน้าข้อเข่าและใช้กล้อง Arthroscope ส่องเข้าไปในข้อเข่าและใช้เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กสอดเข้าไปเพื่อผ่าตัด มักใช้ในกรณีที่การสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อมีไม่มาก และมีอาการขัดในข้อเนื่องมาจากหมอนรองกระดูกฉีก หรือมีเศษกระดูกงอกหลุดมาขัดในข้อ
 
แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดด้วยวิธีนี้เพื่อตัดแต่งหมอนรองกระดูกที่ฉีก หรือเอาเศษกระดูกงอกดังกล่าวออก ใช้รักษาภาวะเข่าเสื่อมใน ระยะแรกเท่านั้น ในกรณีที่ข้อเสื่อมมากหรือรุนแรง แนะนำ ให้ผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อแทน เพื่อผลการรักษาที่ดีกว่า

  • ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement)
เป็นการผ่าตัดโดยการตัดผิวข้อเข่าที่เสียหายของกระดูกส่วนปลายต้นขา (Femur) และส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) ทั้งด้านในและนอก (Medial and lateral compartment) ออกทั้งหมด

จากนั้นจึงทำการแทนที่ด้วยผิวโลหะโดยใช้แผ่นโพลีเอทิลีนกั้น  ซึ่งเป็นการรักษาที่ได้ผลดีมาก มักทำการผ่าตัดแบบนี้ในผู้ป่วยที่มีการทำลายของกระดูกอ่อนและเอ็นภายในข้อเข่าอย่างมากแล้ว ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอายุมาก มีแนวขาที่ผิดรูปร่วมด้วย ซึ่งการผ่าตัดจะสามารถแก้ไขได้ในคราวเดียวกัน


ทางเลือกรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ไม่ผ่าตัดได้ไหม
ในกรณีที่ไม่ต้องผ่าตัด มักเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่อาการอยู่ในระยะแรก สามารถรักษาด้วยการกายภาพบำบัด บริหารร่างได้ หรือใช้ยาในการรักษาได้ แต่หากอาการอยู่ในขั้นรุนแรง ไม่สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม เช่นการฉีดยา ผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้อง หรือผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม


การดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

ใช้สนับเข่าเพื่อบรรเทาอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

การดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ สามารถทำได้ดังนี้

บริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรงเพื่อบรรเทาอาการปวด
การบริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรง ช่วยลดแรงกระแทกต่อข้อเข่า ควรใช้สนับเข่าในกรณีที่ปวดเข่า เสียความมั่นคง และมั่นทำการบริหารข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุอยู่เสมอ

ใช้งานข้อเข่าอย่างถูกวิธี ลดการใช้งานข้อเข่าที่ไม่เหมาะสม
โดยควรหลีกเลี่ยงการนั่ง พับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยอง ๆ เพราะการทำเช่นนี้จะเป็นตัวเร่งให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น ในบางกรณีอาจต้องมีตัวช่วยในการยืน การเดิน เช่น รถเข็น ไม้เท้า หรือ ร่มที่สามารถใช้แทนไม้เท้าได้

การออกกำลังกายข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
การออกกําลังกาย ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยการออกกำลังกายในน้ำ เป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุดในภาวะผู้มีข้อเข่าเสื่อม เพราะน้ำมีแรงพยุงตัวทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักน้อยลง จึงเหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดเข่า และมีน้ำหนักตัว แรงหนืดของน้ำทำให้ต้องออกแรงมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ดี ส่วนอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมประมาณ 25 องศาเซลเซียสจะให้ความสดชื่นแก่ร่างกาย


การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
การป้องกันและการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ทำได้ดังนี้
  • ลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
  • ลดการใช้งานข้อเข่าที่ไม่เหมาะสม เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ นั่งขัดสมาธิ การยืนหรือเดินมากเกินความจำเป็น รวมถึงการขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ
  • ใช้สนับเข่าในรายที่ปวดเข่ามาก จะช่วยลดอาการปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ทำให้เดินคล่องขึ้น
  • ออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงสม่ำเสมอ
  • ประคบอุ่น เพื่อลดอาการปวดเกร็ง ของกล้ามเนื้อรอบ ๆ เข่า หรือในกรณีเข่าบวม ให้ใช้การประคบเย็น เพื่อลดอาการบวมของข้อเข่า
  • กรณีมีอาการปวดเข่าเรื้อรังมากกว่า 1-2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อทำการรักษาได้อย่างเหมาะสม
  • กรณีที่ปวดเข่าข้างเดียว การใช้ไม้เท้าจะช่วยลดน้ำหนักที่กดลงบริเวณข้อเข่าได้มาก วิธีการถือไม้เท้าให้ถือด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด เช่น ปวดเข่าซ้ายถือไม้เท้าข้างขวา


ข้อสรุป
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุนั้น ก็สามารถพบได้ในวัยทำงานได้เช่นกัน ซึ่งมักจะเกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลาย หรือสาเหตุอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมได้ด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อทำให้เรามีความสุขในทุกย่างก้าวที่เดิน