ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่นิยมใช้ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ฉบับปี 2022

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและมีบทบาทอย่างมากในการวิจัย การเลือกใช้เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์และลักษณะพฤติกรรมที่ต้องการวัด เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ในการวิจัยพบว่าเครื่องมือที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 5 ประเภท ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบประเมินการปฏิบัติ

 เครื่องมือแต่ละประเภทจะมีลักษณะความสำคัญและความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย และเข้าใจในธรรมชาติของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหรือวิธีการที่ใช้ในการวิจัยมีการศึกษาตัวแปรที่ต้องการศึกษาเพื่อนำมาสร้างและพัฒนาเครื่องมือ วิธีการให้มีความสอดคล้องกับลักษณะหรือประเภทของข้อมูลที่ต้องการใช้ต่อไป

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

โดยทั่วไปแล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้กันในยุคปัจจุบัร จะแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้

แบบสอบถาม (Questionnaire)

การทำแบบสอบถาม (Questionnaire) ถือเป็นเครื่องมือในการทำวิจัยยอดฮิตตลอดกาล เนื่องจากเป็นการสร้างชุดคำถามที่สามารถใช้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันสามารถส่งแบบสอบถามได้ทั้งทางออฟไลน์และออนไลน์ จึงถือเป็นทางเลือกที่ช่วย​​ได้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย

แบบสัมภาษณ์ (Interview)

การสัมภาษณ์ (Interview) คือวิธีการรวบรวมข้อมูลผ่านทางการสนทนาหรือการตอบปากเปล่า เป็นการเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยจะได้รับข้อมูลในเชิงลึก เพื่อนำมาวิเคราะห์ได้อย่างตรงจุดมากขึ้น แต่วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์นั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าวิธีแรก เนื่องจากค่อนข้างสิ้นเปลืองเวลานั่นเอง

แบบสังเกต (Observation)

การสังเกต (Observation) เป็นการรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกต เช่น การสังเกตสภาพแวดล้อม บรรยากาศ พฤติกรรมของสัตว์ ฯลฯ แล้วนำมาบันทึกเป็นข้อมูล ซึ่งถือเป็นวิธีที่สะดวก สามารถใช้ได้ในทุกสถานการณ์ แต่หากผู้วิจัยขาดทักษะในการสังเกต ข้อมูลที่ได้มาอาจจะไม่ถูกต้องหรือมีโอกาสผิดพลาดได้เช่นกัน

แบบทดสอบ (Test)

การทำแบบทดสอบ (Test) คือการสร้างชุดคำถาม และนำข้อมูลที่ได้มาวัดระดับเป็นตัวเลขหรือคะแนน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งรูปแบบของข้อสอบปรนัยและอัตนัย ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงและสามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ แต่ข้อเสียคือผู้ทำแบบทดสอบอาจต้องใช้ระยะเวลาในการคิดวิเคราะห์หาคำตอบ

คุณสมบัติของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ดี

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวัดผลการศึกษาแต่ละชนิดมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไปในการใช้ ดังนั้นการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยแต่ละชนิด จึงต้องมีการควบคุมคุณลักษณะที่สำคัญหลายประการ เพื่อให้ได้เครื่องมือที่ดีที่สุด และมีจุดอ่อนน้อยที่สุด คุณลักษณะที่สำคัญของเครื่องมือในการวิจัยทุกชนิดที่จะต้องพิจารณามี 5 ประการ ได้แก่

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นคุณสมบัติของการวิจัย

มีความเที่ยงตรง (Validity)

ความเที่ยงตรง (Validity) เป็นคุณลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยทำให้ได้ผลของการวัดตรงตามจุดมุ่งหมายในการวัด หมายความว่าเครื่องมือในการวิจัยวัดลักษณะที่ต้องการได้จริง

หากเป็นคุณลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนธรรมดา ต้องการทราบว่าแบบทดสอบสามารถวัดได้ครอบคลุมเนื้อหาที่เรียน วัดได้ตรงตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้ และที่สำคัญการวัดเนื้อหาทุกเรื่องต้องมีสัดส่วนจำนวนแบบสอบถามให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เน้นต่างกัน

มีความเชื่อถือได้ (Reliability)

ความน่าเชื่อถือ (Reliability) เป็นคุณลักษณะของเครื่องมือที่ทำให้ได้ผลการวัดคงที่แน่นอน คงเส้นคงวา หากนำเครื่องมือไปวัดซ้ำอีกกี่ครั้งก็จะได้ผลการวัดเหมือนเดิมหรือคลาดเคลื่อนจากเดิมเล็กน้อย หากไม่มีตัวแปรแทรกซ้อน การควบคุมการสร้างเครื่องมือในการวิจัยให้มีความเชื่อมั่น ต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญดังต่อไปนี้

1. ต้องมีการสร้างเครื่องมือให้มีความเที่ยงตรงตามจุดประสงค์จะช่วยให้เครื่องมือมีความเชื่อมั่นสูงด้วย
2. จำนวนของข้อคำถามที่ต้องการศึกษาจะต้องมีมากเพียงพอหรือวัดได้ครอบคลุมจึงจะช่วยให้มีความเชื่อมั่นสูง
3. คำถามทุกข้อต้ององค์ประกอบของคุณลักษณะที่วัดต้องมีความชัดเจนทุกด้านมีความเป็นปรนัยจะส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นสูง
4. แบบทดสอบต้องประกอบด้วยคำถามที่ไม่ยากเกินไปหรือง่ายเกินไปจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ นอกจากความเชื่อมั่นจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยดังกล่าวแล้ว ยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น จำนวนข้อสอบ จำนวนกลุ่มที่ทดลองใช้ เวลาที่ใช้ ความพร้อมของผู้ที่รับการสอบ วิธีปฏิบัติของผู้เก็บข้อมูล ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย

มีประสิทธิภาพ (Efficiency)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่นิยมใช้

ประสิทธิภาพ (Efficiency) เป็นคุณลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยที่พิจารณาในแง่ประโยชน์ใช้สอย ดังนี้

1. จัดรูปแบบให้เหมาะสมมีคำชี้แจงหรือแนวทางดำเนินการที่ชัดเจน ออกแบบให้เกิดความสะดวกต่อผู้ใช้
2. มีรูปแบบที่สะดวกต่อการจัดทำกับข้อมูล ซึ่งทำให้สะดวกต่อการวิเคราะห์และแปลความหมายของข้อมูล
3. มีความกะทัดรัด วัดได้เที่ยงตรง และเชื่อถือได้
4. มีความประหยัด เช่น ประหยัดวัสดุในการสร้างเครื่องมือ ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงานในการจัดกระทำกับข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล
5. ไม่มีความบกพร่องทางด้านภาษา

มีอำนาจจำแนก (Discrimination)

อำนาจจำแนก (Discrimination) เป็นเครื่องมือในการวิจัยที่จะสามารถจำแนกหรือวัดระดับพฤติกรรมทางปัญญา พฤติกรรมต่างๆ ที่แตกต่างกันของผู้เรียนได้ถูกต้องตามสภาพความเป็นจริงของสิ่งที่ถูกวัด เพื่อที่จะใช้คาดการหรือบ่งชี้ความแตกต่าง ที่เห็นชัดในด้านความสามารถ เช่น จำแนกคนเก่งกับคนอ่อนจากกันได้ โดยถือว่าคนเก่งควรทำข้อสอบข้อนั้นได้ ส่วนผู้ที่อ่อนไม่ควรทำข้อสอบข้อนั้นไม่ได้

มีความสามารถใช้งานได้ (Practicality)

ความสามารถใช้งานได้ (Practicality) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยที่จะสามารถใช้งานได้จริง เพื่อที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยต้องการ ไม่ควรเน้นเพียงแค่ความยาก หรือปริมาณความเยอะของคำถามเพียงเท่านั้น

สามารถวัดผลได้ (Measurability)

สามารถวัดผลได้ (Measurability) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยที่ดีย่อมสามารถวัดผลที่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้อย่างแม่นยำและถูกต้องที่ส่งผลดีต่อการวิจัย และต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนสำหรับใช้วัดความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมาย เมื่อกำหนดเป้าหมายที่วัดผลได้ ให้พิจารณาว่าคุณจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์และกำหนดเหตุการณ์สำคัญว่าคุณต้องการบรรลุเป้าหมายนั้น ๆ