ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


การออกแบบสอบถาม เพื่อวิจัย วัดผล แม่นยำ ทำอย่างไร

การออกแบบสอบถาม

ในปัจจุบันสิ่งต่าง ๆ รอบตัวของเราต่างเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทั้งเทคโนโลยี สังคม และค่านิยมต่างเปลี่ยนไป ยิ่งไม่ต้องพูดถึงความต้องการในแต่ละบุคคล บางคนต้องการชื่อเสียง บางคนต้องการเงินทอง บางคนต้องการเพียงมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นต้น

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าแต่ละคนต่างมีความต้องการที่แตกต่างกัน ในการทำวิจัย หรือสำรวจความต้องการของแต่ละคนนั้น เราจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือที่ช่วยเก็บข้อมูลเหล่านั้น โดยวิธีที่ดีที่สุดคือการออกแบบสอบถาม เพื่อสำรวจความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำไปพัฒนาสินค้าของตนให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด

แบบสอบถาม คืออะไร

แบบสอบถาม (Questionnaire) คือการรวบรวมออกแบบสอบถามต่าง ๆ ออกมาเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เพื่อนำไปให้ผู้ตอบคำถาม แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิจัย เพื่อพัฒนาสิ่งที่ต้องการต่อไป โดยสามารถนำไปใช้ในการวิจัย สำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งยังวิเคราะห์คู่แข่งได้อีกด้วย

หลักการออกแบบสอบถาม (QUESTIONNAIRE DESIGN) ที่ดี ทำอย่างไร

การจะออกแบบสอบถามที่ดี จำเป็นต้องใช้หลักการดังต่อไปนี้

  • ตั้งเป้าหมายและจุดประสงค์ให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามทราบถึงความตั้งใจของผู้เก็บข้อมูล เพื่อจะได้นำไปพัฒนาต่อยอดได้ง่ายขึ้น
  • คำถามต้องมีความชัดเจน กระชับ ได้ใจความ หลีกเลี่ยงการใช้ตัวย่อ หรือคำเฉพาะต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
  • ควรมีการแบ่งหมวดหมู่คำถามอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันความสับสน ทั้งยังดึงดูดความสนใจของผู้ตอบไปยังเรื่องนั้น ๆ อย่างเต็มที่
  • คำถามควรที่จะควบคุมเนื้อหาทั้งหมดที่ต้องการ เพื่อให้เข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างลึกซึ้ง
  • คำถามต้องมีความเป็นกลาง ไม่มีการชี้นำ เพราะจะทำให้คำตอบที่ได้มีความไม่เที่ยงตรง
7 ขั้นตอน ออกแบบสอบถามให้มีประสิทธิภาพ

เนื่องจากการออกแบบสอบถามที่ดี จำเป็นต้องมีการวางแผน คิด วิเคราะห์คำถามที่เหมาะสม และต้องทราบว่าเราต้องการคำตอบจากแบบสอบถามชุดนี้อย่างไร โดยเราสามารถแบ่งขั้นตอนได้เป็นขั้นตอนหลัก ๆ 7 ขั้นตอนดังนี้

1. ตั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ถือเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบสอบถามเลยก็ว่าได้ เพราะเราจะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ หรือพัฒนาการวิจัยต่อไป

2. กำหนดรูปแบบของคำถาม

เนื่องจากการรูปแบบคำถามที่แตกต่างกัน จะทำให้คำตอบที่ได้แตกต่างไปด้วย โดยการออกแบบสอบถาม ถ้าเป็นคำถามปลายเปิด จะช่วยให้คุณสามารถมองเห็นเส้นทางที่แปลกใหม่ได้ ส่วนคำถามแบบปลายปิด จะช่วยให้ข้อมูลที่ได้จากลูกค้าได้โดยง่าย

3. กำหนดรูปแบบ ของภาษา ลำดับการถาม

การใช้ภาษาสำหรับการออกแบบสอบถาม มักจะใช้ภาษาสุภาพ หรือภาษาที่เป็นทางการ ส่วนลำดับการถามนั้นจะแบ่งไปตามหมวดหมู่ของคำถาม โดยเนื้อเรื่องเดียวกัน มักจะถูกวางไว้ใกล้กัน

4. การร่างแบบสอบถาม

เมื่อตั้งเป้าหมายของการออกแบบสอบถาม กำหนดรูปแบบของคำถาม รวมไปถึงรูปแบบภาษาที่ใช้ และลำดับของคำถามหมวดหมู่ต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อไปคือนำคำถามที่ต้องการจะถามมาเรียบเรียงให้สละสลวยต่อไป

5. วิเคราะห์คุณภาพแบบสอบถาม

เมื่อทำการร่างแบบสอบถามเรียบร้อยแล้ว เราจะนำแบบสอบถามที่ได้ไปให้เพื่อนร่วมทีม หรือคนที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน เพื่อขอคำแนะนำ ก่อนจะนำไปใช้ถามคนอื่น

6. ปรับปรุงแบบสอบถามให้สมบูรณ์

เมื่อได้รับขอเสนอแนะจากเพื่อนร่วมทีม หรือคนในองค์กรเดียวกันเรียบร้อยแล้ว จึงนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงออกแบบสอบถามให้ดียิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาดให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ข้อมูลที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์มากที่สุด

7. จัดพิมพ์แบบสอบถาม

เมื่อทำการปรับปรุงแบบสอบถามจนเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว จึงทำการจัดพิมพ์แบบสอบถามนั้นออกมา เพื่อแจกจ่ายไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อยอดต่อไป ซึ่งในปัจจุบันการจัดพิมพ์แบบสอบถามนั้นเกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะตอนนี้มีการออกแบบสอบถามแบบออนไลน์ ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้คนได้มากกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า

รูปแบบของคำถาม ของการออกแบบสอบถาม มีอะไร บ้าง

วิธีออกแบบสอบถาม

รูปแบบของคำถามสามารถแบ่งได้เป็นประเภทหลัก ๆ ได้ 2 ประเภท คือ คำถามปลายเปิด และคำถามปลายปิด โดยแต่ละประเภทจะให้คำตอบแต่ต่างกันดังนี้

1. คำถามปลายเปิด

คำถามปลายเปิด จะเป็นคำถามที่ต้องการความคิดเห็นเพิ่มเติม มุมมองต่าง ๆ รวมไปถึงขอเสนอแนะ บางครั้งอาจจะทำให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ปรับเปลี่ยนแนวทางของการวิจัยเลยก็เป็นได้

2. การใช้คำถามปิด

คำถามปลายปิด จะเป็นคำถามที่เฉพาะเจาะจง โดยจะเป็นการออกแบบสอบถามแบบใช้ตัวเลือก ทั้งการเลือกหัวข้อที่ผู้ตอบที่คำถามที่ต้องการ รวมไปถึงความพึงพอใจเกี่ยวกับแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้ทำวิจัยสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว

ข้อควรระวังของคำถาม ในการออกแบบสอบถาม

การออกแบบสอบถามที่ดี ควรหลีกเลี่ยงการตั้งคำถามดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้คำที่กำกวม เข้าใจยาก หรือศัพท์เฉพาะทาง เพราะอาจทำให้ผู้ทำแบบสอบถามสับสนได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่มีข้อความที่มีความละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นศาสนา เพศ หรือความเชื่อเป็นต้น
  • ไม่ควรใช้คำถามชี้นำ เพราะอาจจะทำให้ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนได้
  • ไม่ควรตั้งคำถามที่มีลักษณะเป็นปลายเปิดจนเกินไป ควรกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน
  • ในกรณีที่มีคำถามที่คล้ายคลึงกัน ควรมีการเน้นคำด้วยการขีดเส้นใต้ หรือทำตัวหนา ป้องกันไม่ให้ผู้ตอบแบบสอบถามเกิดความสับสน
ภาษาที่ใช้ในออกแบบสอบถามที่ดี เป็นอย่างไร

  • ใช้คำที่เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงการใช้ตัวย่อ
  • ในกรณีที่ใช้คำศัพท์เฉพาะทาง หรือศัพท์เฉพาะอย่างชื่อยี่ห้อ หรือแบรนด์ ควรที่จะวงเล็บชื่อภาษาไทยหลังคำนั้นด้วย
  • การใช้คำให้กระชับ ได้ใจความ เพื่อไม่ให้ผู้ตอบรู้สึกเสียเวลาในการอ่าน
  • หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นนามธรรม เพราะแต่ละบุคคลจะตีความแตกต่างกัน อาจเกิดความคาดเคลื่อนได้ง่าย
  • ตรวจสอบคำผิดให้เรียบร้อย เพราะจะมีความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามลดลงได้
ลำดับของคำถาม ออกแบบสอบถามอย่างไรให้ดี

ขั้นตอนการออกแบบสอบถาม


  • ควรแบ่งประเด็นต่าง ๆ ออกเป็นหัวเรื่องหลัก ก่อนจะแตกออกเป็นหัวข้อเล็ก ๆ ตามมา เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามค่อย ๆ เข้าไปส่วนที่เจาะจงมากขึ้น
  • เรียบเรียงคำถามให้อยู่ในเนื้อหาเดียวกัน โดยเริ่มจากถามแบบกว้าง ๆ ก่อนจะเริ่มเจาะลึกลงไปเรื่อย ๆ
  • สร้างคำถามที่มีความน่าสนใจอยู่ในลำดับต้น ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ตอบแบบสอบถามเอาไว้ให้ได้
  • คำถามปลายเปิดจะเป็นคำถามสุดท้ายที่จะให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นเพิ่ม ซึ่งจะสามารถช่วยให้เราสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อย่างไม่รู้จบ
สรุป

การออกแบบสอบถามที่ดี และได้ประโยชน์สูงสุด คือกต้องมีการตั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของแบบสอบถามให้ชัดเจน แบ่งหมวดหมู่คำถาม ใช้คำที่เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงคำถามที่มีการชี้นำ รวมไปถึงคำถามที่มีความอ่อนไหว เป็นต้น

นอกจากที่ต้องทำข้างต้นแล้ว ก่อนที่จะนำแบบสอบถามที่ทำออกมาไปใช้จริง ยังต้องมีการทดสอบกับเพื่อนร่วมทีม หรือคนในองค์กรเสียก่อน เพื่อทำการปรับปรุงแบบสอบถามให้สมบูรณ์มากที่สุด และสุดท้ายคือการตรวจสอบคำผิด เพราะจะทำให้ความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามลดลงได้