ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


เอ็นข้อมืออักเสบ โรคใกล้ตัว รู้ทัน รักษาได้

เอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain's Tenosynovitis)

เคยเป็นไหม? อยู่ดีๆก็มีอาการเจ็บแปลบๆที่ข้อมือขยับ หรือยกของ ปวดข้อมือทุกครั้งที่ใช้งาน ไม่แม้แต่การขยับเล็กๆน้อยๆ ก็มีอาการ อาการเหล่านี้ไม่ควรมองข้าม เพราะนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการ เอ็นข้อมืออักเสบ
   
เอ็นข้อมืออักเสบ เป็นอาการที่มักพบได้บ่อยในกลุ่มคนทำงานที่มีการใช้ข้อมือบ่อยๆ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน  หรือใช้สมาร์ตโฟนทำงานในทุกๆวัน รวมไปถึงการเล่นกีฬาบางชนิดที่มีการใช้ข้อมืออย่างหนัก แม้ว่าอาการเอ็นข้อมืออักเสบนั้นจะเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ก็สามารถรักษาให้หายได้เช่นกัน หากเรารู้วิธีรักษาที่ถูกต้องถูกวิธี    

ทำความรู้จักเส้นเอ็นข้อมือ

ทำความรู้จักเส้นเอ็นข้อมือ)

มือ เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการใช้ชีวิตของคนเรา และยังเป็นอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวบ่อยที่สุด  สามารถขยับได้หลายทิศทาง ซึ่งภายในข้อมือของคนเรานั้นจะประกอบไปด้วยกระดูก กระดูกอ่อน และเส้นเอ็น การที่ข้อมือของเราจะขยับได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยเอ็นรอบข้อมือ ที่ทำงานด้วยการยึดข้อมือไว้และช่วยดึงให้เกิดการเคลื่อนไหวได้

เอ็น (Tendons) มีโครงสร้างคล้ายเชือก มีหน้าที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูกเข้าด้วยกัน โดยเส้นเอ็นหลัก 2 เส้น ที่นิ้วหัวแม่มือและทำหน้าที่ยึดข้อต่อของนิ้วแม่มือเพื่อให้ข้อมือเกิดการเคลื่อนไหวในทิศทางต่างๆได้ การใช้ข้อมืออย่างหนักซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานจะทำให้ปลอกเอ็นข้อมืออักเสบและบวมขึ้น

ส่งผลให้มีอาการเจ็บปวดเมื่อเกิดการเสียดสีของปลอกเยื่อหุ้มเอ็นและเอ็น การขยับข้อมือทำได้จำกัด และเกิดอาการปวดเมื่อเคลื่อนไหวข้อมือ เป็นสาเหตุไปสู่อาการเอ็นข้อมืออักเสบในที่สุด

เอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain's Tenosynovitis)

โรคเอ็นข้อมืออักเสบ

เอ็นข้อมืออักเสบ หรือ De Quervain's Tenosynovitis เป็นลักษณะของอาการที่เกิดจากเยื่อหุ้มเอ็นของเส้นเอ็นตรงบริเวณข้อมือ มีการกดทับของเส้นเอ็น ทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเอ็นภายในตรงบริเวณข้อมือ ส่งผลให้เยื่อหุ้มเอ็นหรือปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ

ผู้ป่วยมักจะรู้สึกปวดเอ็นข้อมือและปวดบริเวณเอ็นโคนนิ้วหัวแม่มือ ความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับตัวบุคคล บางรายอาจจะมีอาการปวดเล็กๆน้อยๆแบบกะทันหัน หรือมีอาการปวดอย่างหนัก และมีอาการบวมร่วมด้วย อาการเหล่านี้หากเราปล่อยไว้นานจนมีเกิดการปวดเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด เพื่อเข้ารับการรักษา ได้ทันทวงที

อาการสัญญาณเตือนเอ็นข้อมืออักเสบ

อาการเหล่านี้ใช่เอ็นข้อมืออักเสบหรือไม่? หากคุณเกิดความสงสัยว่าอาการปวดข้อมือของคุณนั้นใช่อาการของเอ็นข้อมือสักเสบหรือเปล่า สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นของโรคเอ็นข้อมืออักเสบได้ดังนี้

  • มีการอักเสบของเอ็น ทำให้บริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือบวม
  • มีอาการชาที่ปลายนิ้วโป้ง หรือนิ้วชี้
  • มีอาการปวดติดต่อกันหลายวัน
  • มีอาการปวดแม้ไม่ได้ขยับหรือใช้มือ
  • รู้สึกปวดเอ็นข้อมือ บริเวณข้อมือมีอาการบวม แดง
  • รู้สึกตึง ติดขัด ขยับนิ้วหัวแม่มือและข้อมือได้ลำบาก
  • อาจะมีอาการไข้ร่วมกับการปวดข้อมือด้วย

หากคุณมีอาการเบื้องต้นจากที่ได้กล่าวมานั้น ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอาการปวดที่เกิดขึ้นกับคุณ ว่าแท้จริงแล้วเกิดจกาอะไร ใช่อาการของเอ็นข้อมืออักเสบหรือไม่

เอ็นข้อมืออักเสบเกิดจากสาเหตุใด

เอ็นข้อมืออักเสบ มีสาเหตุมาจากการที่ข้อมือมีการใช้งานบริเวณข้อมือบ่อยมากเกินไป หรือการที่มือของเราเกิดไปกระแทกกับของวัตถุของแข็งก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบได้ ส่วนมากจะพบในผู้ที่ทำงานที่ใช้งานข้อมืออย่างหนัก หรือให้งานข้อมือในท่าที่ผิดและท่าเดิมซ้ำๆ

เอ็นข้อมืออักเสบนั้นส่วนมากจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะด้วยกิจกรรมในแต่ละวันของผู้หญิงนั้นมีการใช้มือหยิบทำนั้นนี้ตลอดเวลา จึงเป็นสาเหตุที่โรคเอ็นข้อมืออักเสบจึงพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น โรครูมาตอยด์  และพังผืดที่เกิดจากการผ่าตัด สามารถมีโอกาสที่จะเป็นเส้นเอ็นข้อมืออักเสบได้เช่นเดียวกัน
 
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเอ็นข้อมืออักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงของเอ็นข้อมืออักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการปวดเอ็นข้อมือ ปลอกเอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นข้อมืออักเสบ มีดังนี้

  • โรคประจำตัว
 
ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางชนิด ที่มีอาการปวดตามข้อ เช่น  โรคข้ออักเสบเรื้อรังรูมาตอยด์ (Rheumatoid) โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบเรื้อรัง หรือผู้ที่เคยการผ่าตัดพังผืดมาก่อน

  • อายุ
อายุที่มากขึ้นก็ร่างกายของคนเราก็มักจะเสื่อมสภาพตามอายุไปด้วย และผู้ป่วยที่เป็นเอ็นข้อมืออักเสบ ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ถึงแม้ว่าอายุจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเอ็นข้อมืออักเสบได้
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนหนุ่มสาว วัยรุ่นวัยใส จะไม่สามารถเป็นได้ เพราะด้วยกิจกรรมต่างๆในแต่วันของคนวัยนี้ ก็อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเอ็นข้อมืออักเสบได้

  • เพศ

เอ็นข้อมืออักเสบ มักเกิดขึ้นกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องด้วยกิจกรรมต่างๆในแต่ละวันของผู้หญิงนั้นในการหยิบจับทำนู้นทำนี้อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเอ็นข้อมืออักเสบได้

  • กิจกรรม
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดเอ็นข้อมืออักเสบ มักเกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันของเราเอง เช่น ทำงานบ้าน การเลี้ยงลูก และทำงานกับคอมพิวเตอร์ ที่มีการวางมือในการพิมพ์งานไม่ถูกต้อง รวมไปถึงการเล่นกีฬาที่ใช้งานข้อมือเป็นหลัก

กลุ่มเสี่ยงเอ็นข้อมืออักเสบ

กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อเอ็นข้อมืออักเสบ มากกว่าคนทั่วไป คือ
 
  • กลุ่มคนทำงาน  ผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว  เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid)
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย
  • ผู้ที่มีประวัติประสบอุบัติเหตุ หรือบาดเจ็บบริเวณข้อมือมาก่อน

เอ็นข้อมืออักเสบ..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

อาการปวดข้อมือ เจ็บเอ็นข้อมือ มักเป็นอาการที่ผู้คนมักมองข้าม เนื่องจากเป็นอาการที่พบได้บ่อย และคิดว่าถ้าปล่อยไว้จะสามารถหายไปได้เอง 
 
แต่เมื่อไหร่ที่คุณมีอาการปวดข้อมือจนไม่สามารถขยับข้อมือได้เนื่องจากรู้สึกปวดมาก ข้อมือบวมแดง รู้สึกร้อนบริเวณข้อมือ และมีไข้ร่วมด้วย มีอาการชาที่ข้อมือตลอดเวลา ไม่หายสักที นั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเอ็นข้อมืออักเสบรุนแรง จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง และเข้ารับการรับรักษาโดยทันที
 
อาการปวดข้อมือสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่อย่าชะล่าใจเด็ดขาด เพราะผลที่ตามมาอาจจะไม่ดีต่อตัวคุณสักเท่าไหร่  จึงจำเป็นต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยสาเหตุอย่างละเอียด เพื่อที่จะได้รักษาได้ตรงจุดมากที่สุด

การวินิจฉัยเอ็นข้อมืออักเสบ

การวินิจฉัยเอ็นข้อมืออักเสบ

การวินิจฉัยโรคเอ็นข้อมืออักเสบ แพทย์จะสอบถามอาการและสาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการขึ้น และตรวจการอักเสบของเอ็นข้อมือ โดยใช้วิธี Finkelstein Test การวินิจฉัยร่วมด้วย

แพทย์จะแตะบริเวณข้อมือ หรือบริเวณนิ้วหัวแม่มือ เพื่อตรวจอาการ Tenosynovitis หรือผู้ป่วยบางรายอาจจะทำการทดสอบ Finkelstein / Eichhoff  คือ การวางนิ้วหัวแม่มือไว้บนฝ่ามือ และงอข้อมือเข้าหานิ้วก้อย เพื่อตรวจว่าคุณมีอาการเจ็บหรือไม่ และจะประเมินความรุนแรงของอาการโรคเอ็นอักเสบ และแนะนำวิธีรักษาเอ็นข้อมืออักเสบ ตามความเหมาะสม

ส่วนใหญ่แล้วการวินิจฉัยเอ็นข้อมืออักเสบไม่จำเป็นต้องทำการตรวจด้วยการเอกซเรย์ เนื่องจากการตรวจอาการเบื้องต้นนั้นถือว่าเพียงพอต่อการวินิจฉัยของแพทย์แล้ว ส่วนการรักษาเอ็นข้อมืออักเสบกี่วันหายนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและขั้นตอนการรักษาตามดุลพินิจของแพทย์ด้วย

วิธีรักษาเอ็นข้อมืออักเสบ

1. การรักษาเอ็นข้อมืออักเสบด้วยการใช้ยา

เอ็นข้อมืออักเสบกินยาอะไร

  • การทานยารักษาเอ็นข้อมืออักเสบ
เอ็นข้อมืออักเสบกินยาอะไร ? มักเป็นคำถามที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ที่มีอาการแรกเริ่ม รู้สึกปวดไม่มากนัก สามารถใช้งานข้อมือและขยับข้อมือได้ปกติ แต่ไม่อยากไปพบแพทย์เท่าไหร่นักและต้องการที่จะกินยาเพื่อบรรเทาอาการปวด

สามารถรับประทานยาที่รักษาอาการปวดและอาการอักเสบได้ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal antiinflammatory drugs, NSAIDs) ที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “ยาแก้อักเสบ” ได้แก่ แอสไพริน (Aspirin), ไอบูโฟนเฟน (Ibuprofen), นาพร็อกเซน (Naproxen) เป็นต้น

  • การฉีดยาลดอาการอักเสบ
สเตียรอยด์ (Steroid) เป็นยาที่นิยมนำมาฉีดให้กับผู้ที่มีอาการปวดข้อมือ เอ็นข้อมืออักเสบ ถ้าคุณหมอรับรองว่าไม่เป็นอันตราย ก็อาจแนะนำการรักษาเอ็นข้อมืออักเสบด้วยการฉีดยา โดยจะฉีดสเตอรอยด์เข้าปลอกเอ็นเพื่อช่วยลดอาการอักเสบ เนื่องจากสเตียรอยด์มีความสามารถในการลดอาการอักเสบได้ดี และไม่มีผลข้างเคียงที่อันตรายแก่ผู้ใช้งาน

หากได้ทำการรักษาโดยการฉีดสเตียรอยด์แล้ว แต่ได้ผลรับที่ยังไม่ดีเท่าที่ควร อาการไม่ดีขึ้น ยังคงปวดข้อมือ นั้นหมายความว่าความรุนแรงของภาวะโรคเอ็นข้อมืออักเสบรุนแรงเกินกว่ายาที่ใช้รักษาแล้ว การฉีดสเตียรอยด์จะไม่ได้ผล แพทย์จะแนะนำวิธีรักษาแบบอื่นแทน เช่น การผ่าตัด เป็นต้น

2. การรักษาเอ็นข้อมืออักเสบด้วยกายภาพบำบัด

กายภาพบำบัดเอ็นข้อมืออักเสบ

เอ็นข้อมืออักเสบนั้น อาจรักษาด้วยกายภาพบำบัด ถ้าในกรณีอาการเอ็นข้อมืออักเสบของคุณเป็นแบบเรื้อรังแต่ไม่รุนแรงมากนัก แพทย์ส่วนใหญ่จะพิจารณาให้ทำการกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับการรับประทานยา การทำกายภาพบำบัดนั้น ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัดเท่านั้น

การทำกายภาพบำบัด (physiotherapy) นักกายภาพบำบัดจะกำหนดกายบริหารทั้งการยืดเส้นและเสริมสร้างความแข็งแรงในแบบที่เหมาะสมกับเอ็นส่วนที่อักเสบโดยเฉพาะ รวมถึงระบบกล้ามเนื้อโดยรอบ เช่น eccentric strengthening หรือการออกกำลังกายโดยเกร็งค้างไว้ตอนกล้ามเนื้อหรือเอ็นยืดออกไป ใช้รักษาเอ็นข้อมืออักเสบเรื้อรังได้ดี แต่อาจจะต้องทำติดต่อกันนาน 4 - 8 อาทิตย์ ถึงจะได้ผลลัพท์ที่ดี

3. การรักษาด้วยการผ่าตัดเอ็นข้อมืออักเสบ

การผ่าตัดเอ็นข้อมืออักเสบ

หากเมื่อทำการรักษาตามขั้นตอนที่ผ่านมาแล้ว อาการไม่ดีขึ้น ความเจ็บปวดนั้นส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันแพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีผ่าตัด ส่วนบางคนที่ยังมีอาการเจ็บปวดหลงเหลืออยู่ แต่ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติก็อาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ซึ่งส่วนนี้เป็นการปรึกษาร่วมกันระหว่างแพทย์และคนไข้เป็นกรณีไป

การผ่าตัดเอ็นข้อมืออักเสบ นั้น จะเป็นการผ่าตัดแบบวันเดียว ผู้ป่วยมักไม่จำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล และสามารถกลับบ้านได้หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น การผ่าตัดจะเป็นการคลายปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณที่มีการเสียดสีกันออก จะทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น แผลมีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร ใช้เวลาในการผ่าตัดราว 10 นาทีเท่านั้น หลังผ่าตัดสามารถใช้งานมือด้านนั้นได้ตามปกติ อาการเจ็บก็จะดีขึ้นอย่างชัดเจน

แนวทางการป้องกันเอ็นข้อมืออักเสบ

อย่างที่รู้กันแล้วว่าเอ็นข้อมืออักเสบนั้นเกิดจากการใช้งานข้อมืออย่างหนักซ้ำ ๆ เป็นเวลานานดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการป้องกันเอ็นข้อมืออักเสบ สามารถปฏิบัติการคำแนะนำได้ดังนี้ 

  • หลีกเลี่ยงการใช้งานของข้อมือที่ส่งผลต่ออาการบาดเจ็บ ทั้งการใช้งานหนัก ใช้งานซ้ำๆ
  • ลดการทำกิจกรรมที่ใช้งานข้อมือบ่อยๆ เช่น งานบ้าน ก็ทำให้น้อยลง และรวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ
  • การทำงานที่ต้องใช้ข้อมือเป็นประจำ ควรใช้ท่าทางที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บ
  • ก่อนเล่นกีฬาทุกชนิด ควรทำการยืดกล้ามเนื้อก่อนทุกครั้ง และไม่หักโหมจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการใช้สมาร์ทโฟนท่าเดิมๆเป็นเวลานาน

ข้อสรุป
เอ็นข้อมือ รวมไปถึงปลอกหุ้มเอ็น เป็นส่วนหนึ่งของข้อมือที่ช่วยในการเคลื่อนไหว หยิบจับข้าวของต่างๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นอวัยวะหลักของร่างกาย เมื่อใดที่เกิดการเจ็บหรือปวดจะส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างแน่นอน

เอ็นข้อมืออักเสบ ที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ เพราะอาการเจ็บข้อมือเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นเราไม่ควรมองข้ามอาการเจ็บหรือปวดที่ข้อมือ เพราะวิธีการรักษาในแต่ละสาเหตุก็ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างมากเช่นกันดังนั้น เมื่อเกิดอาการเจ็บปวดขึ้น การพบแพทย์เพื่อรักษาแต่เนิ่นๆ