ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ยาทริปแทน (Triptan) หนึ่งในทางออกของไมเกรน

ยาทริปแทน


อาการปวดหัว โดยเฉพาะ ปวดหัวไมเกรน เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ต้องการเผขิญ แต่ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แถมยังมีอาการปวดหัวหนักขึ้น ถี่ขึ้น หรือเป็นอยู่เรื่อย ๆ ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจโรค และรับการรักษาอย่างถูกต้องจะดีที่สุด ซึ่งหนึ่งในวิธีที่จะรักษาโรคไมเกรนนั้น คือ กินยาทริปแทน หรือยากลุ่มTriptanที่สั่งโดยแพทย์

รู้จักกลุ่มยาทริปแทน (Triptan)

ยา Triptan เป็นกลุ่มยาแก้ปวดที่ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะและอาการอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากไมเกรน เช่น อาการคลื่นไส้ หรืออาการไวต่อแสงและเสียงมากผิดปกติ เป็นต้น

ตัวยาจะออกฤทธิ์ต่อสารเซโรโทนินในสมอง ทำให้เส้นเลือดในสมองหดตัวแคบลง ทั้งยังส่งผลต่อเส้นประสาทในสมองบางชนิด ทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนบรรเทาลง  ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 ชั่วโมงหลังการใช้ยา  แต่ยากลุ่มทริปแทนนี้ไม่ได้ใช้ในการป้องกันไมเกรน

อีกทั้งยากลุ่มทริปแทน ก็ยังเป็นยารักษาอาการปวดศีรษะจากโรคคลัสเตอร์ และไมเกรน เท่านั้น ไม่มีผลต่ออาการปวดจากอย่างอื่น และไม่ควรใช้ร่วมกับยากลุ่มเออร์กอต อัลคาลอยด์ เพราะออกฤทธิ์คล้ายกันคือหดหลอดเลือด การใช้คู่กันอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่นไม่พอ เกิดภาวะแห้งตายได้
 
ยากลุ่มทริปแทนมีหลายรูปแบบ ทั้งยาเม็ด ยาพ่น และ ยาฉีด เป็นต้น

กลไกการออกฤทธิ์ของยาทริปแทน (Triptan)

ยากลุ่มทริปแทนมีกลไกการออกฤทธิ์เป็น 5HT agonist (5 hydroxytryptamine agonist, ยากระตุ้นตัวรับ 5HT) โดยตัวยาจะเข้าจับกับตัวรับที่มีชื่อว่า 5-HT receptors ในสมอง ส่งผลให้หลอดเลือดในบริเวณสมองหดตัว จึงทำให้อาการปวดศีรษะเบาบางลง

โครงสร้างยาทริปแทน


รูปแบบของยา Triptan มีอะไรบ้าง

รูปแบบของยาทริปแทน มี
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน
- ยาฉีด
- สเปรย์พ่นจมูก
- แผ่นแปะ

ยากลุ่มทริปแทน มีอะไรบ้าง

ยากลุ่มทริปแทน มีอยู่หลายตัว ขึ้นกับแต่ละบริษัทที่จะผลิตออกมาจำหน่าย

ยาทริปแทนมีอะไรบ้าง


1. ยา Sumatriptan 

มีชื่ออการค้า “อิมิแกรน” หรือ “อิมิเทรค” เป็นยาตามใบสั่งแพทย์  ยาเม็ดชนิดรับประทาน, สเปรย์พ่นจมูก, ยาฉีด, แผ่นปะผิวหนัง ใช้สำหรับคนไข้ปวดหัวไมเกรน ลดอาการปวดหัว คลื่นไส้ และความไวต่อแสงและเสียง

2. ยา Naratriptan
 
มีชื่อการค้า “อเมอร์ท” หรือ “นารามิก” เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาเม็ดชนิดรับประทาน ใช้รักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบพลันและบรรเทาอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากไมเกรน เช่น ไวต่อแสงและเสียง คลื่นไส้ อาเจียน

3. ยา Rizatriptan
 
มีชื่อการค้า “Maxalt” เป็นยาชนิดรับประทาน เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาเม็ดชนิดรับประทาน ใช้รักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนและบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากไมเกรน เช่น อาการคลื่นไส้ และอาการไวต่อแสงหรือเสียง เป็นต้น

4. ยา Eletriptan
 
มีชื่อการค้า “Relpax” เป็นยาชนิดรับประทาน เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาเม็ดชนิดรับประทาน ให้รักษาอาการปวดไมเกรน

5. ยา Zolmitriptan
 
มีชื่อการค้า “ Zomig” เป็นยาชนิดรับประทานและยาพ่นทางจมูก เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ใช้เพื่อบรรเทาและรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน ออกฤทธิ์ด้วยการทำให้หลอดเลือดบริเวณสมองหดตัวลง ยับยั้งการส่งสัญญาณการเจ็บปวดไปสู่ส่วนสมอง

6. ยา Almotriptan
 
มีชื่อการค้า “Axert” เป็นยาเม็ดชนิดรับประทาน ใช้ลดอาการปวดศีรษะ อาการปวด และอาการของโรคไมเกรนอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน แพ้แสง สำหรับคนอายุ 65 ปีขึ้นไปควรใช้ยาชนิดนี้อย่างระวัง เพราะเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงได้มาก

7. ยา Frovatriptan

มีชื่อการค้า “Flova” เป็นยาชนิดรับประทาน ใช้รักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ยา Triptan

สิ่งที่พึงระลึกไว้เสมอว่า เมื่อใดก็ตามที่มีการใช้ยาอะไรก็ตาม เราต้องใส่ใจที่จะดูคู่มือของยาชนิดนั้น ๆ ว่ามีคำเตือน หรือ ข้อควรระวังใดบ้าง  เช่นเดียวกัน สำหรับการใช้ยาทริปแทน ก็ต้องระวังเรื่องต่อไปนี้

- หากมีประวัติการแพ้ยากลุ่มทริปแทน หรือกลุ่มยาใด ๆ ก็ตาม ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบก่อน เพราะอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ยาหรือปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้

- ต้องให้แพทย์ได้รู้หากว่ามีโรคประจำตัวต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด โรคหัวใจ โรคตับ อาการชัก โรคหลอดเลือดสมอง โรคไมเกรนที่มีอาการอ่อนแรงครึ่งซึก โรคไมเกรนที่มีอาการนำที่ก้านสมอง เป็นต้น

- ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ ถ้าผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงใด ๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาหัวใจ ความดันเลือดสูง คลอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น หรือมีบุคคลในครอบครัวที่เป็นโรคดังกล่าว  เป็นหญิงวัยหมดประจำเดือน หรือชายอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

- เมื่อไรก็ตามที่มีการใช้ยาแล้ว ห้ามหยุด หรือปรับปริมาณการใช้ยา โดยไม่ได้รับคำสั่งจากแพทย์

- ห้ามใช้ยาเกินระยะเวลาที่แพทย์กำหนด

- ห้ามใช้ยากลุ่มทริปแทนมากกว่า 1 ชนิด ในเวลาเดียวกัน หรือใช้ร่วมกับยาเออร์โกตามีน ยาต้านเศร้า เพราะอาจมีปฏิกิริยาบางอย่างที่เป็นอันตรายได้

- หลีกเลี่ยงการขับรถ หรือทำกิจกรรมใด ๆ ที่ต้องการการตื่นตัว เพราะยากลุ่มนี้อาจทำให้ง่วงซึม

- หญิงมีครรภ์ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยากลุ่มนี้ทุกครั้ง ให้ใช้เฉพาะเมื่อจำเป็นเท่านั้น

- หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมลูก ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะยากลุ่มนี้อาจส่งผ่านไปยังลูกได้

วิธีเก็บรักษายา Triptan

ยาทริปแทนต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส  ไม่ควรเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ แต่ควรเก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น และที่สำคัญให้เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยงด้วย

แนะนำวิธีใช้ยา Triptan อย่างปลอดภัย

การใช้ยาทริปแทนอย่างปลอดภัย

ปริมาณการใช้ยาทริปแทนแต่ละชนิดที่เหมาะสม และปลอดภัยตามที่ระบุไว้ในตัวยาแต่ละชนิด แต่โดยรวมสามารถกินยาก่อนหรือพร้อมอาหารได้

1. ยา Sumatriptan

ผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป ปริมาณการใช้ยาของแต่ละยาแต่ละชนิด

- ยาเม็ด กินยาครั้งละ 25-100 มิลลิกรัม และให้กินซ้ำทุก 2 ชั่วโมง หากมีอาการปวดไมเกรนขึ้นอีกครั้ง แต่ห้ามเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน

- สเปรย์พ่นจมูก พ่นคร้งละ 5-20 มิลลิกรัม ซ้ำได้ทุก 2 ชั่วโมงถ้ายังไม่หายปวด สูงสุดไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน

- ยาฉีด ฉีดเข้าใต้ผิวหนังครั้งละ 4-6 มิลลิกรัม ซ้ำได้ทุก 1 ชั่วโมง ถ้ายังไม่หายปวด สูงสุดไม่เกิน 12 มิลลิกรัม/วัน

- แผ่นแปะ แปะครั้งละ 1 แผ่น อยู่ได้ประมาณ 4 ชั่วโมง หรือจนกว่าแสง LED ที่แผ่นจะหายไป แผ่นที่สองอาจเริ่มได้หลังแปะแผ่นแรกไปแล้ว 2 ชั่วโมงถ้ายังปวดมากอยู่  แต่สูงสุดไม่ควรเกิน 2 แผ่น/วัน

2. ยา Naratriptan

ผู้ใหญ่กินยาปริมาณ 1-1.25 มิลลิกรัม หากไม่ดีขึ้นก็ให้กินปริมาณเท่าเดิมแต่ต้องหลังจากกินยาครั้งแรกไปแล้ว 4 ชั่วโมง ห้ามเกิน 5 มิลลิกรัมต่อวัน

3. ยา Rizatriptan

ผู้ใหญ่กินยาเริ่มต้น 10 มิลลิกรัม ภ้าอาการไม่ดีอาจกินซ้ำได้อีก 10 มิลลิกรัม หลังจากกินยาครั้งแรก 2 ชั่วโมง  แต่ไมเกิน 20 มิลลิกรัมต่อวัน

4. ยา Eletriptan

ผู้ใหญ่เริ่มต้นกิน 20-40 มิลลิกรัม แต่หากอาการไม่ดีขึ้นให้กินซ้ำได้ทุก 2 ชั่วโมง แต่ต้องไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อวัน

5. ยา Zolmitriptan

ผู้ใหญ่กินยาเริ่มต้น 2.5 มิลลิกรัม สามารถกินซ้ำได้ทุก 2 ชั่วโมง และไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อวัน

6. ยา Almotriptan

ผู้ใหญ่กินยาโดยเริ่มต้นที่ 6.25-12.5 มิลลิกรัม และหากจำเป็นต้องกินซ้ำก็ให้ห่างจากครั้งแรก 2 ชั่วโมง ปริมาณสูงสุดต่อวันคือ 25 มิลลิกรัม/วัน

7. ยา Frovatriptan
 
ผู้ใหญ่กินยาครั้งแรกที่ 2.5 มิลลิกรัม ครั้งถัดไปห่างกัน 2 ชั่วโมง   แต่ไม่เกิน 7.5 มิลลิกรัมต่อวัน

ปริมาณการใช้ยา Triptan ที่เหมาะสม

ปริมาณการใช้ยาทริปแทนที่เหมาะสมนั้น ให้ทำตามที่ได้แนะนำไว้ข้างต้น  แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับแพทย์ที่จะเป็นผู้สั่งยา ปรับเปลี่ยนปริมาณให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ๆ ไป

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์/เภสัชกรก่อนสั่งยา Triptan

เมื่อไรก็ตามที่มีการสั่งยา ไม่ว่าจะเป็นยาอะไรก็ตามรวมทั้งทริปแทนด้วย ผู้ป่วยมีหน้าที่ที่จะต้องแจ้งแพทย์ พยาบาล และเภสัชกรด้วย เกี่ยวกับ

- ประวัติการแพ้ยาทุกชนิดของตัวผู้ป่วยเอ

- หากมีโรคประจำตัว ก็ต้องรีบแจ้ง เพราะยาทริปแทนอาจส่งผลกระทบทำให้อาการของโรคประจำตัวรุนแรงขึ้นได้

- สำหรับผู้ป่วยหญิง หากอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ก็ต้องแจ้งเพราะยาทริปแทนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับบุตรได้

ปฏิกริยาของยา Triptan กับยาตัวอื่น

ยาทริปแทนมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่น ดังนี้

- การใช้ยา Sumatriptan ร่วมกับยา Ergotamine จะทำให้หลอดเลือดเกร็งตัวแล้วเกิดภาวะขาดเลือดกับผู้ป่วยได้

- การใช้ยา Rizatriptan ร่วมกับยา Propranolol จะทำให้ระดับยา Rizatriptan ในกระแสเลือดสูงขึ้น ดังนั้นแพทย์จะเป็นผู้สั่งปรับปริมาณการกินให้เหมาะสมเป็นคน ๆ ไป

- การใช้ยา Almotriptan ร่วมกับยา Verapamil และ Ketoconazole จะทำให้ระดับยา Almotriptan ในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้นจนเกิดผลข้างเคียงได้  ดังนั้นหากจำเป็นต้องใช้ร่วมกับยาอื่น ควรให้แพทย์เป็นผู้ปรับขนาดยา

- การใช้ยา Zolmitriptan ร่วมกับยาต้านโรคซึมเศร้า ยากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitor อาจก่อให้เกิดภาวะ Serotonin syndrome เช่นความดันเลือดสูง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน

ใครที่ไม่ควรใช้ยาทริปแทน

คนที่ควรงดใช้ยาทริปแทน


บุคคลต่อไปนี้ไม่ควรใช้ยาทริปแทน

- คนที่แพ้กลุ่มยาทริปแทน หรือ ยากลุ่ม Sulfonamides

- เด็ก หรือ ผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี

- หญิงมีครรภ์ หรือ หญิงที่ให้นมลูก

- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจล้มเหลว โรคตับระยะรุนแรง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคความดันเลือดสูง

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากยาทริปแทน

การที่จะใช้ยาทริปแทนนั้น พึงระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระดับเบา ๆ แล้วหายไปเอง  หรืออาจมีอาการรุนแรงจนต้องเข้าแพทย์ก็เป็นได้

อาการที่ไม่รุนแรงและอาจหายไปเองได้มี

- เวียนศีรษะ คลื่นไส้

- ปากแห้ง หน้าแดง

- รู้สึกหนักบริเวณใบหน้า แขน ขา และ หน้าอก  แน่นบริเวณลำคอ

- ง่วงนอน

- รู้สึกเจ็บคล้ายถูกเข็มทิ่ม และอาจเกิดปฏิกิริยาทางผิวหนังเมื่อใช้ยาทริปแทนแบบฉีด

แต่เมื่อใดที่พบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที

- ปวดศีรษะรุนแรง มีปัญหาเกี่ยวกับมองเห็นและทรงตัว พูดไม่ชัด รู้สึกเย็นและชาบริเวณมือและเท้า

- รู้สึกเจ็บหรือแน่นหน้าอก เจ็บร้าวที่ขากรรไกรหรือไหล่ คลื่นไส้ มีเหงื่อออกมาก

- หัวใจเต้นเร็ว เห็นภาพหลอน สูญเสียการทำงานประสานกันของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เวียนศีรษะ เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียอย่างรุนแรง กล้ามเนื้อกระตุก มีใข้ หนาวสั่นอย่างไม่รู้สาเหตุ รู้สึกกระวนกระวาย อยู่ไม่สุข

- มีผื่นหรือตุ่มพองขึ้นตามผิวหนัง มีอาการบวมบริเวณใบหน้า ลิ้น และคอ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง และหายใจลำบากเป็นต้น

วิธีเก็บรักษายา Triptan

ยาทริปแทนต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส  ไม่ควรเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ แต่ควรเก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น และที่สำคัญให้เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยงด้วย

ยาทริปแทน (Triptan) ราคาเท่าไหร่

ยาทริปแทนราคามีตั้งแต่ ร้อยปลาย ๆ จนถึง สองพันปลาย ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของยาทริปแทน และปริมาณ  รวมทั้งยังขึ้นกับประเทศที่ผลิตด้วย  แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่แพทย์กับสถานพยาบาลที่เราเข้าไปใช้บริการว่ามี ยาทริปแทนยี่ห้ออะไรที่มีไว้ใช้รักษาไมเกรนของผู้ป่วย

ทานยาไมเกรนแล้วไม่หาย รักษาอย่างไรได้บ้าง

“ไมเกรน” เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่สร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยไม่น้อย  และการรักษาที่ดี ก็คือ การป้องกันไม่ให้อาการปวดศีรษะไมเกรนกำเริบ แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ต้องพยายามลดอาการปวดไมเกรนให้ลดความรุนแรงลง

1. การบรรเทาอาการปวดไมเกรนเบื้องต้น

การบรรเทาอาการไมเกรนเบื้องต้น

วิธีบรรเทาอาการปวดไมเกรนเบื้องต้นนั้น ทำได้ด้วยการประคบเย็น การนวด กดจุด การทำกายภาพบำบัด เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบศีรษะและคอ การนอนพัก การนั่งสมาธิ หรือ การคลายเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ อาจพอช่วยให้บรรเทาอาการปวดได้บ้าง  ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรน

2. การรักษาไมเกรนโดยแพทย์

การรักษาไมเกรนโดยเเพทย์

หากมีอาการปวดไมเกรนหนักขึ้น ยาวนานขึ้น และถี่ขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาให้อาการเบาบางลง เพราะโรคไมเกรนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  แพทย์อาจสั่งยาทริปแทนให้เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ก็ต้องพิจารณาหลาย ๆ ปัจจัย ก่อนจะทำการรักษา

ข้อสรุป

เนื่องจากยาทริปแทนเป็นหนึ่งในทางออกของอาการปวดไมเกรน เราควรที่จะศึกษาทุก ๆ รายละเอียดก่อนที่จะได้ทำการเลือกใช้ เพราะมีผลต่อชีวิตประจำวันของเรา ทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพที่ดีอีกด้วย ดังนั้นเราคาดหวังว่าข้อมูลที่จัดหาให้ในครั้งนี้คงจะมีประโยชน์ต่อทุกคนไม่มากก็น้อย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2022, 06:28:28 AM โดย พรสัก ส่องแสง »