ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ปัญหาปวดหัวกับถนนในหมู่บ้าน รถชนเด็ก รถจอดหน้าบ้าน ใครผิด?

ปัญหาการจราจรบนท้องถนนเป็นสิ่งที่หลายคนต้องเคยพบเจออยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น รถชนรถ หรือ รถชนคน แต่สิ่งที่สร้างความปวดหัวให้กับผู้คนมากยิ่งขึ้นไปอีกคือ ปัญหาการจราจรบนถนนในหมู่บ้าน หรือชุมชนที่เราอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดกับเด็กๆ หรือปัญหาการจอดรถหน้าบ้านแล้วโดนเฉี่ยวชน ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องยากหากจะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป (หยุดพฤติกรรมเสี่ยงอย่างไร ช่วยลดอุบัติเหตุ และการเสียชีวิต คลิก https://www.smk.co.th/newsdetail/145) แต่ในทางกฎหมายแล้ว มีข้อกำหนดที่ชัดเจนสำหรับสถานการณ์เหล่านี้ ว่าฝ่ายใดผิด ฝ่ายใดถูก 

จอดรถไว้หน้าบ้านตัวเอง ผิดหรือไม่?

ไม่ว่าจะเป็นถนนในหมู่บ้านที่มีนิติบุคคล หรือเป็นที่ของเอกชนที่บริหารจัดการดูแลกันเอง หรือหมู่บ้านที่อยู่ในซอยทั่วไปที่ไม่มีนิติบุคคลดูแล อาณาเขตของบ้านจะมีสิทธิใช้สอยแค่บริเวณภายในรั้วบ้านเท่านั้น นอกเขตรั้วบ้าน ถือเป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ทั้งหมด ซึ่งถูกคุ้มครองโดยกฎหมายห้ามหยุดรถตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55 ว่าด้วยเรื่องของ ‘ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ” 8 ประเภท คือ

(1)   ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
(2)   บนทางเท้า
(3)   บนสะพานหรือในอุโมงค์
(4)   ในทางร่วมทางแยก
(5)   ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
(6)   ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
(7)   ในเขตปลอดภัย
(8)   ในลักษณะกีดขวางการจราจร

หากเป็นการจอดรถยนต์ในหมู่บ้านจัดสรร การจอดรถหน้าบ้านในหมู่บ้าน จึงถือว่ามีความผิดในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8

จอดรถหน้าบ้านคนอื่น ผิดหรือไม่?

การจอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่นเป็นความปิดอาญาฐานก่อความเดือนร้อนรำคาญตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 397 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยผู้ที่เสียหายจากกรณีนี้ สามารถร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ รวมทั้งสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้ตามมาตรา 420 และหากเป็นพื้นที่สาธารณะก็ยังมีโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถออกใบสั่งหรือยกรถได้ ขึ้นอยู่กับว่ามีความผิดในระดับไหน และไกล่เกลี่ยกันได้หรือไม่

ส่วนการจอดริมถนนหน้าตึกแถวและหน้ารั้วบ้านซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ โดยที่ไม่ได้กีดขวางทางเข้า-ออกของบ้านจะสามารถทำได้ หากพื้นที่บริเวณนั้นไม่ได้เป็นปากทางเข้าออก แต่เป็นฟุตปาธทางเท้า ไม่มีเส้นห้ามจอดทาสีไว้ที่ขอบฟุตปาธหรือไม่มีเครื่องหมายห้ามจอด เพราะถือเป็นพื้นที่สาธารณะ

จอดรถไว้หน้าบ้านแล้วมีรถมาชน ใครผิด?

ในกรณีที่จอดรถอยู่หน้าบ้าน แล้วมีรถมาชนหรือเฉี่ยว จะถือว่าคันที่มาชนมีความผิด เนื่องจากขับรถไม่ระมัดระวังจนทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ถึงแม้ว่าจะเป็นการจอดในที่ห้ามจอด หรือจอดตรงช่วงทางโค้งก็ตาม สามารถเคลมประกันได้ตามปกติ (การเคลมสด เคลมแห้ง และ เคลมประกันภัยรถยนต์ https://www.smk.co.th/newsdetail/61) แต่ก็อาจมีความผิดต่อกฎจราจรฐานจอดรถในที่ห้ามจอดหรือในที่สาธารณะ และอาจจะต้องเสียค่าปรับด้วย

ขับรถในหมู่บ้านแล้วมีเด็กมาชนหรือมีเด็กตัดหน้ารถ ใครผิด?

อีกหนึ่งปัญหาของหมู่บ้านจัดสรรที่มักมีเด็กๆ วิ่งเล่นอยู่บนท้องถนนโดยเฉพาะการขี่จักรยานกันเป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่ง เป็นเรื่องปกติที่เด็กทุกคนมักจะห่วงเล่นจนไม่ทันระวังความปลอดภัยของตัวเอง จึงได้มีกฎหมายกำหนดความเร็วในเขตเมืองให้อยู่ที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในเขตชุมชน ที่มีความกว้างของถนนไม่เกิน 7 เมตร ซึ่งการใช้ความเร็วที่ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้นจะทำให้โอกาสรอดชีวิตมีมากถึง 98% หากเกิดการขับรถชนคนที่เดินอยู่บนทางเท้าหรือบนถนน

การเกิดอุบัติเหตุที่ในหมู่บ้านหรือเขตชุมชน หากผู้ขับขี่ใช้ความเร็วในการขับรถไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด ก็ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เนื่องจากผู้ขับขี่ขับรถมาด้วยความเร็วปกติและมีความระมัดระวังอย่างที่บุคคลทั่วไปพึงปฏิบัติแล้ว แต่มิอาจหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่มีเด็กวิ่งตัดหน้ารถได้อย่างกะทันหัน ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท

แต่หากผู้ขับขี่ขับรถมาด้วยความประมาท ใช้ความเร็วเกินกว่าอัตรกฎหมายกำหนด ไม่ให้สัญญาณเตือนแก่คนเดินทางเท้าให้รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก คนชรา หรือคนพิการ จนเกิดอุบัติเหตุขึ้น จะมีความผิดตาม พรบ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43

จองที่จอดรถไว้หน้าบ้าน/ร้านค้า ได้หรือไม่

สำหรับพื้นที่ริมถนนสาธารณะที่ไม่เข้าข่ายพื้นที่ห้ามจอดรถตามที่กฎหมายกำหนด มักมีผู้นำกรวย เก้าอี้ หรือสิ่งของมาตั้งขวางไว้หน้าตึกแถวริมถนนสาธารณะเพื่อไม่ให้คนอื่นนำรถเข้ามาจอดบังหน้าร้าน หรือกันพื้นที่นั้นไว้สำหรับลูกค้า หรือสำหรับจอดรถของตนเอง เป็นสิทธิที่เจ้าของตึกหรือเจ้าของบ้านไม่สามารถทำได้
 
การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 มาตรา 19 ที่ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน เว้นแต่เป็นการกระทำในบริเวณที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกำหนดด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

รวมทั้งยังมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ตามมาตร 114 ที่ระบุว่า ห้ามผู้ใดวางตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดกีดขวางการจราจร ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนรื้อถอนสิ่งกีดขวางดังกล่าว หากไม่ยอมรื้อถอนเจ้าพนักงานมีอำนาจในการรื้อถอน โดยมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท อีกด้วย

ความประมาทของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนไม่ว่าจะเป็น รถยนต์หรือคนเดินเท้า ล้วนเป็นต้นเหตุสำคัญที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ทั้งสิ้น ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ "การันตีถูกจริง" ประกันรถยนต์ชั้น 1 ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด ช่วยดูแลค่าใช้จ่ายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ให้คุณ เบี้ยเริ่มต้น 6,999 บาท และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance