ThaiFranchiseCenter Webboard

สุขภาพ ความสวยความงาม | Health & Beauty => สุขภาพ | Health => ข้อความที่เริ่มโดย: อัญณา ที่ มกราคม 24, 2020, 01:44:57 PM

หัวข้อ: พ่อแม่มือใหม่หมั่นสังเกต ลูกร้องไห้แบบไหนควรปรึกษาแพทย์
เริ่มหัวข้อโดย: อัญณา ที่ มกราคม 24, 2020, 01:44:57 PM
แม้ว่าทารกราว 20-30% จะมีโอกาสเกิด อาการโคลิค ได้ในช่วงอายุ 3 สัปดาห์ ถึง 4 เดือน แต่ก็ใช่ว่าการที่ ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ (https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1729148) หรือ ลูกร้องไม่หยุด ทุกครั้งจะเป็นอาการ โคลิค (https://pantip.com/topic/30636323) ทั้งหมดเพราะหากคุณพ่อคุณแม่ตั้งสมมุติฐานผิดหรือไม่สังเกตุให้ดีอาจกลายเป็นผลเสียได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ ทารกร้องไห้ (https://www.samitivejhospitals.com/th/ลูกร้องไห้/) จากสาเหตุอื่น ๆ เช่นความเจ็บป่วยหรือความผิดปกติของร่างกายดังนั้น คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จึงต้องเข้าถึงลักษณะ เด็กร้องไห้ จาก อาการโคลิค ก่อนเพื่อจะได้สังเกตุอาการของลูกได้ไม่ผิดพลาดซึ่งจะมีข้อสังเกตุง่าย ๆ ดังนี้


(https://images.pexels.com/photos/1334765/pexels-photo-1334765.jpeg?auto=compress&cs=tinysrgb&dpr=2&w=300)


1.เด็กร้องไห้ ในเวลาเดิม ๆ หรือใกล้เคียงเวลาเดิมทุกวัน และส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเย็น ๆ หรือพลบค่ำ
2.เด็กร้องไห้ อย่างรุนแรงจนใบหน้าแดง บางรายกำมือแน่น งอขา หลับตาแน่นสลับกับเหลือกตาระหว่างร้องไห้ด้วยโทนเสียงแหลมกว่าปกติ
3.เมื่อ เด็กร้องไห้ ด้วย อาการโคลิค จะหยุดยาก ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะใช้วิธีใด ๆ ปลอบก็ยากที่จะสงบโดยง่าย
4.เป็นการร้องไห้ที่ทอดเวลายาวนานนับชั่วโมง บางคนร้องต่อเนื่องถึง 3 ชั่วโมงเต็ม
5. เด็กร้องไห้ โดยที่ไม่มีปัญหาสภาพแวดล้อม อาทิ ไม่ได้อุจาระหรือปัสสาวะจนแฉะผ้าอ้อมไม่ได้หิวนมหรือง่วงนอน

   หากเช็คลักษณะของการร้องไห้และเข้าข่ายเป็น อาการโคลิค คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถใช้เทคนิคต่าง ๆ ช่วยให้ลูกผ่อนคลายและสงบลง อาทิ การพาลูกออกไปสูดอากาศโล่ง ๆ กอดและลูบหลังเบา ๆ พร้อมกับอุ้มโยกไปมา ให้ลูกน้อยดูดนมหลอก การนวดท้องให้ลูกเบา ๆ และ พาลูกไปอาบน้ำอุ่นเพื่อให้สบายตัวขึ้น ที่สำคัญคือการวางแผนดูแลลูกน้อยในระหว่างมี อาการโคลิค เพราะการรับมือเพียงลำพังในเวลาที่ต่อเนื่องยาวนานย่อมมีผลต่อความเครียดและกดดัน ดังนั้นจึงควรหาผู้ช่วยมาสลับสับเปลี่ยนให้คุณพ่อคุณแม่ได้พักบ้างในบางช่วงเวลา ก็จะเป็นเรื่องที่ดีกับทุกคน

   แต่หาก ลูกร้องไม่มีสาเหตุ แตกต่างไปจาก อาการโคลิค อาทิ ทารกร้องไห้ (https://pantip.com/topic/31718365) จนร่างกายอ่อนปวกเปียก ร้องไห้จนอาเจียนเป็นของเหลวสีเขียวถ่ายอุจาระเป็นเลือด มีไข้สูง ผิวซีดหรือตัวเริ่มเขียวหรือเริ่มหายใจผิดปกติ คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะการที่ ทารกร้องไห้ อย่างรุนแรงโดยไม่เป็น อาการโคลิค นั้นหมายถึงภาวะที่กำลังเจ็บปวดทางร่างกายโดยที่ไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้เหมือนกับผู้ใหญ่ จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจเช็คร่างกายว่ามีความผิดปกติส่วนใดหรือไม่เพื่อจะได้ช่วยเหลือลูกน้อยได้ทันที

   ลักษณะการร้องไห้ของลูกจึงเป็นโจทย์สำคัญข้อแรก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่มองข้ามไม่ได้ ควรเรียนรู้และปรับตัว เพียงไม่กี่เดือนหลังจากลูกน้อยพ้นจากวัยทารก อาการโคลิค และเสียงร้องไห้ก็จะค่อย ๆ ลดลง เมื่อนั้นรอยยิ้มและเสียงหัวเราะอย่างมีความสุขจะเข้ามาแทนที่ ความสุขจากการได้เฝ้ามองพัฒนาการที่น่าทึ่งของลูกน้อย ซึ่งจะให้คุณพ่อคุณแม่ได้ปลาบปลื้มและชื่นชมทุกวัน