ThaiFranchiseCenter Webboard

สุขภาพ ความสวยความงาม | Health & Beauty => สุขภาพ | Health => ข้อความที่เริ่มโดย: DigitalK ที่ พฤศจิกายน 25, 2019, 08:37:17 AM

หัวข้อ: ใจสั่น ภัยเงียบที่ควรสังเกต
เริ่มหัวข้อโดย: DigitalK ที่ พฤศจิกายน 25, 2019, 08:37:17 AM
อาการใจสั่น (https://www.vejthani.com/medical-services/ใจสั่น/)หรือใจหวิวอาจเป็นอาการที่เรามองข้าม เนื่องจากมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพักผ่อนน้อย ภาวะความเครียด ภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาการเหล่านี้ต่างก็ก่อให้เกิดอาการใจสั่น แต่หากลองมองให้ลึกอาการนี้อาจไม่ได้มาจากพฤติกรรมข้างต้น เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจได้อีกด้วย หลายคนอาจจะละเลยเพราะคิดว่าสามารถปล่อยอาการให้หายได้เอง นอกจากปัจจัยทั่วไปที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดอาการอีก เช่น เกิดจากความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ อาการใจเต้นเร็วที่เกิดร่วมกับอาการอื่น (เช่น หน้ามืด เป็นลมหมดสติ เจ็บ แน่นหน้าอก หรือเหนื่อยหอบกว่าปกติ) อาการใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่ได้เกี่ยวกับการออกแรงหรือออกกำลัง อาการที่เกิดร่วมกับจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ และอาการในผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวใกล้ชิดเป็นโรคหัวใจ
(https://i.imgur.com/T1BaW7i.jpg?1)

ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถพัฒนาความรุนแรงได้มากขึ้น เมื่อใจเต้นเร็วมากขึ้น อาจทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อย เวียนศีรษะ จนทำให้เกิดอาการหน้ามืด หมดสติ โดยเฉพาะเกิดอาการใจสั่นที่ไม่มีที่มาที่ไป เช่นเกิดอาการใจสั่นแต่หายได้เองแม้จะนั่งอยู่เฉยๆ แตกต่างจากการออกกำลังกายหรือตื่นเต้นที่การเต้นของหัวใจจะค่อยๆ เพิ่มเร็วขึ้น และค่อยๆ ลดลงตามธรรมชาติ

แต่อาการหัวใจเต้นเร็วก็สามารถเข้าทำการรักษาและรับการวินิจฉัยได้ที่โรงพยาบาลโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยเข้ารับการเอกซเรย์เงาปอดและหัวใจ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อนำข้อมูลไปตรวจเพิ่มเติมหากมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ หรือแพทย์อาจวินิจฉัยโดยให้คนไข้เดินหรือวิ่งบนสายพานเพื่อตรวจสอบอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือการใช้เครื่องตรวจเสียงสะท้อนหัวใจ เพื่อเช็กภาวะ ลิ้นหัวใจตีบ หรือผนังกั้นหัวใจรั่ว หรือโรคของ เยื่อหุ้มหัวใจ

หากอาการใจสั่นที่ไม่ได้ร้ายแรงอันเนื่องมาจากพฤติกรรมทั่วไป แพทย์อาจแนะนำให้เลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการใจสั่น เช่น งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน หยุดสูบบุหรี่ ผ่อนคลายความเครียดหรือความวิตกกังวล เพราะทั้งหมดเป็นสาเหตุที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจได้ แต่หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคทางกายที่ต้องเข้ารับการรักษา แพทย์ก็จะรักษาและแก้ไขภาวะหรือโรคนั้น ๆ รวมไปถึงขั้นตอนที่ใช้รักษาจุดที่เกิดปัญหาในหัวใจโดยตรงตามแต่ละอาการของคนไข้แต่ละคน

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการใจสั่นตั้งแต่ต้นเหตุที่ไม่ได้มาจากความผิดปกติ สามารถป้องกันได้โดยพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงภาวะความเครียดหรือวิตกกังวล ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้หัวใจและปอดทำงานได้ดี ลดไขมันในเลือดเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่