ThaiFranchiseCenter Webboard

ตลาดกลางธุรกิจ SMEs และแฟรนไชส์ | Open Market => ปล่อยล็อคตลาดนัด, เสนอพื้นที่เช่า, พื้นที่เช่า, พื้นที่ให้เช่า, มีพื้นที่ว่างให้เช่า, มีพื้นที่ให้เช่า, เช่าพื้นที่ขายของ, ทําเลขายของ, ทำเลค้าขาย, พื้นที่เช่าขายของ => พระโขนง, บางนา => ข้อความที่เริ่มโดย: ThaiFranchise ที่ กุมภาพันธ์ 10, 2011, 02:24:27 AM

หัวข้อ: China City Complex ศูนย์ส่งออกไชน่าซิตี้บางนา บางนา-ตราด กม. 9
เริ่มหัวข้อโดย: ThaiFranchise ที่ กุมภาพันธ์ 10, 2011, 02:24:27 AM
ทุนจีนซื้อที่ตระกูลเก่า700ล้าน ผุดศูนย์ส่งออกไชน่าซิตี้บางนา

ตระกูลเก่าแก่ขายที่มรดก 70 ไร่ 700 ล้านบาท ข้างศูนย์วัสดุบุญถาวร บางนา-ตราด กม. 9 สร้างศูนย์ค้าส่งออกสินค้า ภายใต้โครงการ China City Complex ต้นตำรับอี้อู โมเดล ของกลุ่มทุนจีน Yunan-based Ashima Group


(http://img819.imageshack.us/img819/3226/225055.jpg)


นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการก่อสร้างศูนย์ค้าส่งออกสินค้า ภายใต้โครงการ Thai-China International City หรือ China City Complex ว่า โครงการนี้จะเป็นการร่วมทุนระหว่างนักธุรกิจไทยกับกลุ่มทุนจีนรายใหญ่ นำโดยบริษัท Yunan-based Ashima Cultural Industry Group Investment.Co.Ltd ซึ่งเปิดตัว

นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการก่อสร้างศูนย์ค้าส่งออกสินค้า ภายใต้โครงการ Thai-China International City หรือ China City Complex ว่า โครงการนี้จะเป็นการร่วมทุนระหว่างนักธุรกิจไทยกับกลุ่มทุนจีนรายใหญ่ นำโดยบริษัท Yunan-based Ashima Cultural Industry Group Investment.Co.Ltd ซึ่งเปิดตัวโครงการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ที่ตำบลอี้อู เมืองจินหัว มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน

โครงการดังกล่าวจะเป็นการพัฒนา ที่ดินบนถนนบางนา-ตราด ก.ม.ที่ 8-9 ในพื้นที่ประมาณ 64 ไร่ มูลค่าการลงทุนประมาณ 6,200 ล้านหยวน เพื่อจัดทำเป็นศูนย์ค้าส่งออกสินค้าแห่งที่ 2 ภายใต้ "อี้อู โมเดล" (Yi Wu Model) ซึ่งมีเทคโนโลยีโนว์ฮาวทางการค้าส่งเชื่อมโยงกับทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จเป็นแห่งแรกในประเทศจีน

ทั้งนี้แผนพัฒนาการลงทุน China City Complex จะแบ่งโครงการออกเป็น 2 เฟส โดยเฟสที่ 1 ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,500 ล้านหยวน นำร่องก่อสร้างศูนย์ค้าส่งออกสินค้าพื้นที่ขนาด 500,000-700,000 ตารางเมตร เริ่มก่อสร้างเดือนมีนาคม 2554 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการไม่เกินไตรมาส 2 ปี 2555 โดยจะเปิดให้ร้านค้าเข้ามาเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์รวมกว่า 10,000 ร้านค้า แบ่งสัดส่วนร้านสินค้าไทย 30% และจีน 70%

มีการคัดเลือกสินค้าหลักพร้อมส่งออกเข้ามาวางขาย 7 หมวด ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม, เครื่องไฟฟ้า, อัญมณีและเครื่องประดับ, อะไหล่รถยนต์, ของตกแต่งบ้าน, ของเล่นและสินค้าไลฟ์สไตล์, อาหารและสินค้าแปรรูป


(http://www.prachachat.net/news-photo/prachachat/2011/01/p0108130154p2.jpg)


ส่วนเฟสที่ 2 จะเริ่มขยายก็ต่อเมื่อผลการดำเนินงานเฟสแรกประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย จากนั้นกลุ่มทุนใหญ่ในจีน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทธุรกิจภาคเอกชนจีน ภายใต้สมาคม ASEAN-CHINA Economic and Trade Promotion Association เตรียมจะย้ายฐานโรงงานผลิตค้าหมวดต่าง ๆ เข้ามาอยู่ใน China City Complex ในประเทศไทยต่อไป

ส่วนสิ่งที่เป็นข้อสงสัยในขณะนี้ก็คือ กลุ่มนักลงทุนไทยที่จะเข้าร่วมโครงการ China City Complex บางนา-ตราด เป็นใคร

ในประเด็นนี้ ได้สอบถามไปยังผู้ประกอบการ อสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่เป็น Land Load ในช่วงบางนา-ตราด หลายรายให้ข้อมูลตรงกันว่า เบื้องหลังโครงการ China City Complex เกิดมาจากไอเดียของกลุ่มพ่อค้าคนจีน นำโดย มิสเตอร์ตงฟู่ นายกสมาคมพ่อค้าเมืองอู้หยี-จิงเจีย ที่ต้องการจะมาปักธงสร้างธุรกิจในประเทศไทย เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยกลุ่มผู้ลงทุนกลุ่มนี้เป็นนักธุรกิจคนจีนล้วน ๆ ยังไม่มีรายชื่อคนไทยเข้าร่วมทุนแต่อย่างใด

"จากการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง เขาไม่กังวลเรื่องกลุ่มคนไทยที่จะเข้ามาร่วมทุนสักเท่าไหร่ เพราะกลุ่มทุนจีนยุคนี้มีความพร้อมทั้งเรื่องเงินและคอนเน็กชั่นอยู่แล้ว" แหล่งข่าวกล่าว


(http://www.prachachat.net/online/2011/01/12960951991296095233l.jpg)


โดยก่อนหน้านี้ ผู้แทนกลุ่มทุนนำโดย มิสเตอร์ตงฟู่ ได้เข้าหารือและแลกเปลี่ยนไอเดียของโครงการนี้กับ นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผลการหารือปรากฏเป็นที่พอใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายจีนได้รับการเปิดทางให้เข้ามาลงทุนในไทย ขณะที่นายอลงกรณ์เองมีเป้าหมายที่จะแสดงบทบาทเป็น "ผู้นำ" โครงการนี้ในนามรัฐบาลไทยเช่นกัน

ล่าสุดมีรายงานข่าวเข้ามาว่า กลุ่มทุนจีนได้ทำความตกลงในการจัดหาซื้อที่ดินเกือบ 70 ไร่ มูลค่า 700 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างศูนย์ค้าส่งออกสินค้าในโครงการนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่ดินแปลงนี้เป็นมรดกจากตระกูลเก่าแก่ตระกูลหนึ่ง ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 9 ข้าง ๆ ศูนย์วัสดุบุญถาวร "เป็นไปได้ว่าการซื้อขายที่ดินจะออกมาในลักษณะสัญญาการเช่าซื้อ ระยะเวลาอยู่ที่ความเหมาะสม เท่าที่ทราบรัฐบาลกำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่" แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับความเคลื่อนไหวในจีนต่อโครงการ China City Complex ทาง นสพ.ไชน่า เดลี่ รายงานว่า นายดง ฮองจี ประธานบริษัท Yunan-based Ashima Cultural Industry Group Investment.Co.Ltd ผู้ร่วมทุนรายใหญ่ กล่าวว่า ในฐานะผู้บุกเบิกอี้อู โมเดล ในเมืองเจ้อเจียง จนกลายเป็นศูนย์ค้าส่งออกสินค้ารายใหญ่ของโลกสำเร็จแล้ว ก็พร้อมที่จะพัฒนาศูนย์แห่งที่ 2 ในกรุงเทพฯ เพื่อเปิดประตูการค้าเป็นวงแหวนเศรษฐกิจระหว่างจีน-ไทย-อาเซียน ด้วยการนำร่องลงทุนเปิดพื้นที่เชิงพาณิชย์เฟสแรก

ส่วนนายหยาง ฟางซู ประธานสมาคม ASEAN-CHINA Economic and Trade Promotion Association กล่าวว่า นักลงทุนจีนยินดีร่วมมือกับไทย ซึ่งเป็นประเทศที่แทบจะมีกำแพงภาษีต่ำ เปิดประตูรับการค้าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศได้ดีกว่าหลายประเทศ โดยโครงการ China City Complex จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งไทย อาเซียน และจีน โดยหลังจากที่รัฐบาลจีนทำข้อตกลงเปิดเสรี (FTA) กับกลุ่มอาเซียนเพียงปีเดียว ปรากฏช่วง 7 เดือนแรกของปี 2553 มีมูลค่าการค้าหมุนเวียนในภูมิภาคนี้สูงถึง 161,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในอนาคตเมื่ออาเซียนรวมกันเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะทำให้ได้มูลค่าการค้าระหว่างกันสูงถึงปีละ 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐ





(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/326/2326/images/YiWumodel/newsimg3724841.jpg)


ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ ชะตากรรมผู้บริโภค-แม่ค้าไทย ในวันสินค้าจีนบุก

บนพื้นที่กว่า 2 ล้านตารางเมตร ย่านบางนา กำลังเกิดอภิโครงการอย่าง ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ ที่มีมูลค่ากว่า 4.5 หมื่นล้านบาท โดยความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ที่ดูจะเป็นความภาคภูมิใจของ อลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพราะเชื่อว่าสามารถดึงเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศอย่างมหาศาล

ทว่า การเข้ามาของอี้อูโมเดลหรือรูปแบบธุรกิจค้าส่งของจีนครั้งนี้กลับถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นไปในทำนองเดียวกันกับที่ดูไบ สเปน หรือรัสเซีย ที่ต่างก็ได้รับผลกระทบมากบ้างน้อยบ้าง ตามแต่รัฐบาลของประเทศนั้นๆ จะตั้งรับอย่างไร แต่สำหรับไทยซึ่งรู้กันอยู่ว่ามาตรการรับมือมักเป็นเรื่องท้ายๆ ที่ถูกนึกถึง จึงสร้างความวิตกกังวลแก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก และกลาง หรือเอสเอ็มอีของไทย บางรายถึงกับเชื่อว่านี่จะเป็นการทำลายตลาดในเมืองไทยเลยทีเดียว

วิทยายุทธ์กังฟู กำลังจะคร่ามวยไทย

จากบทเรียนเอฟทีเอหรือเขตการค้าเสรีไทย-จีน ที่เปิดประตูให้สินค้าเกษตรของจีนเข้ามาสร้างความเสียหายแก่เกษตรกรไทยถ้วนหน้า ก่อให้เกิดความวิตกกับผู้ประกอบการหลายฝ่ายที่นำเข้าสินค้าจากประเทศจีน หรือผู้ประกอบการที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์คล้ายคลึงกับสินค้าของประเทศจีน เพราะด้านราคาและคุณภาพที่ประเทศไทยอาจสูงกว่า จะทำให้ผู้บริโภคเดินหน้าสู่ ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ ที่มีกำหนดสร้างเสร็จในปี 2556 อย่างไม่มองกลับหลัง

ด้านข้อมูลของ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สรุปได้ว่า การเข้ามาของสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ จากประเทศจีนมีทั้งเข้าสู่ประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ส่วนที่ลักลอบเข้าประเทศก็มีอัตราและปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จุดนี้เป็นเหตุที่แย่งส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าไทย ถือเป็นการคุกคามที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศ

ปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ทำให้สินค้าจีนได้รับความนิยมคงหนีไม่พ้นราคาที่ถูกอย่างล่อเป้า ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ จึงเป็นแหล่งร่วมสินค้าจีนถู๊ก...ถูก ส่วนคุณภาพจะถูกหรือแพงคงเป็นเรื่องที่คนไทยต้องพิจารณาดู

แต่อีกประการสำคัญที่ต้องใส่ใจ คือจีนอาจกำลังใช้ไทยเป็นศูนย์กลางเพื่อกระจายสินค้าไปยังยุโรป และสหรัฐฯ เพราะสินค้าจีนมีชื่อเสียงด้านลบ ทั้งเรื่องคุณภาพ และการปนเปื้อน จึงทำให้สินค้าเข้าสู่ตลาดทั้งสองแหล่งได้ยาก แต่หากไปจากไทย และติดตราว่าผลิตในไทยทั้งที่ไม่ใช่ ก็จะทำให้การส่งออกง่ายกว่า แต่อาจสร้างผลเสียต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ไทยได้ในอนาคต...

สินค้า ʻจีน’ มั่นใจว่าปลอดภัยแค่ไหนกัน?

เป็นสิ่งที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดอีกประการหนึ่ง ด้านความปลอดภัยในตัวสินค้าจีนที่ผ่านมามีกรณีสารปนเปื้อนในสินค้าโดยสื่อทุกแขนงประโคมข่าวโด่งดังไปทั่วโลก อย่างกรณีนมผงปนเปื้อนเมลามีนเกือบ 200 ตัน, กรณีเครื่องสำอางปนเปื้อนสารตะกั่วในระดับอันตราย, กรณีแบตเตอรี่ปลอมคุณพต่ำที่ก่ออันตรายต่อระบบประสาท, ทางเดินหายใจ รวมถึงสินค้าคุณต่ำอื่นๆ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ขนม ฯลฯ ที่จะก่ออันตรายแก่ผู้บริโภค ฉะนั้น ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ ย่อมหมายความว่าอาจทำให้สินค้าปนเปื้อนจำนวนมากเล็ดลอดเข้าสู่ตลาดและกระจายออกไปอย่างกว้างขวาง

เมื่อนำข้อกังวลนี้ไปสอบถาม สารี อ๋องสมหวัง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เธออธิบายในภาพใหญ่ก่อนว่า ทิศทาง ณ ขณะนี้ บ้านเราดูจะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหารที่ส่งออกมากกว่าอาหารที่คนภายในประเทศต้องบริโภค ดังนั้น การทะลักเข้ามาของสินค้าจีนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหากไม่มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดอาจก่อปัญหา

“พอดีเราทำโครงการอาหารปลอดภัย เป็นการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังด้านอาหารของผู้บริโภค ซึ่งเราพบว่า อาหารที่เราตรวจ ส่วนหนึ่งเป็นอาหารที่นำเข้ามา โดยเฉพาะอาหารที่เข้ามาจากจีนก็มีปัญหา เช่น เห็ดหอมมันมีพวกยาฆ่าแมลงเป็นสารพิษตกค้างอยู่ หรือพวกส้ม เห็ดหูหนูขาว มีสารฟอกขาว แม้กระทั่งผัก ข้อมูลขององค์การอาหารและยาเองก็พบว่า ผักที่เข้ามาก็มีปัญหา”

หรือในกรณีของเครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีน ทางมูลนิธิฯ ก็เคยได้รับการร้องเรียนว่าชำรุดหลังจากซื้อมาใช้เพียงไม่กี่วัน ซึ่งตอนนี้ยังไม่ทราบว่า ผลกระทบจากสินค้าด้อยคุณภาพเหล่านี้มีมากน้อยเพียงใด

อย่างไรก็ตาม สารี เสนอว่ารัฐจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทิศทางการอุดหนุน และให้ความสำคัญในการปกป้องผู้บริโภคภายในประเทศมากกว่านี้ ขณะเดียวกัน จะต้องมีการควบคุมมาตรฐานคุณภาพสินค้าอย่างเข้มงวด รัดกุม และบังคับใช้อย่างเคร่งครัด เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ทางด้านผู้บริโภคเองก็คงต้องอาศัยข้อมูลในการซื้อหาให้มากขึ้น แทนที่จะเน้นแต่ของราคาถูกเท่านั้น เพื่อรับมือกับคลื่นสินค้าจากแดนมังกร

ประตูน้ำ สำเพ็ง และโบ๊เบ๊ ระส่ำ!

รมช.พาณิชย์ คงรู้สึกว่านี่เป็นผลงานชิ้นโบแดง แต่มุมมองของผู้ประกอบการธุรกิจไทยตัวเล็กๆ หลายสาขากลับรู้สึกว่าน่าจะเป็นผลงานชิ้นโบดำมากกว่า เมื่อพิจารณาจากผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการไหลทะลักเข้ามาของสินค้าจีนที่มีราคาถูกกว่า ทั้งภาคเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องหนัง เครื่องสำอาง ชิ้นส่วนรถยนต์ ของเล่น ฯลฯ ทำเอาย่านธุรกิจอย่างประตูน้ำ สำเพ็ง และโบ๊เบ๊ผวา เพราะอาจถูกทุนจีนกวาดออกจากตลาด เนื่องจากไม่สามารถสู้ในเรื่องราคาที่ถูกกว่าของจีนได้


(http://i167.photobucket.com/albums/u135/anthman_p2warship/up%20di/phahurat05.jpg)


เพียงใจ แซ่จิว เจ้าของร้านค้าขนมขบเคี้ยว ย่านพาหุรัด แสดงออกถึงความกังวลกับการเข้ามาของศูนย์การค้าขนาดใหญ่อย่าง ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ ประการแรกน่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทเดียวกัน แต่มั่นใจว่าผู้บริโภคจะดำเนินชีวิตด้วยความคุ้นเคย เลือกซื้อสินค้าจากแหล่งเดิม

“ผลกระทบมันต้องมีแน่นอนอยู่แล้วแหละ แต่ว่าเราคงต้องดูสินค้าที่เขาจะเอามาลงว่ามีอะไรบ้าง แต่ว่าถ้าเป็นเสื้อผ้าคงไม่มีปัญหาเท่าไหร่ เพราะเสื้อผ้าที่นี่ส่วนใหญ่ก็เป็นของไทยอยู่แล้ว ถ้าเกิดมีเกิดขึ้นจริงๆ คนเขาอาจจะไม่ไปก็ได้เพราะมันไกลนะ แล้วคนไทยเขาคงคุ้นเคยกับที่นี่มากกว่า อีกอย่างถ้ามีมาเปิดก็อาจอยากให้เปิดไปที่เดียวเลยที่นั่น ไม่อยากให้ขยายสาขาเยอะแยะ เดี๋ยวมันจะไปเหมือนพวกโลตัส คาร์ฟูรไง พวกโชว์ห่วยตายหมด เพราะเขาขายไม่ได้”


(http://www.bangkok-today.com/files/imagecache/W600/images/2009/09/30/article-2642--p13011009.jpg)


สินค้าหลายประเภทผู้ประกอบการของไทยก็นำเข้ามาจากประเทศจีนโดยตรง ด้านผู้ประกอบการรายย่อยอย่าง สมศรี แซ่วุ่น เจ้าของร้านเซรามิก ย่านสำเพ็ง มองว่า ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจของตนและพื้นที่ค้าขายย่านสำเพ็งอย่างหนักเช่นกัน แต่เห็นช่องทางที่โครงการนี้เสนอต่อผู้ประกอบการรายย่อยโดยคำเชื้อเชิญให้ไปจำหน่ายสินค้าที่ ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์

“ขายที่สำเพ็งมา 10 ปีแล้ว ได้ข่าวเหมือนกันว่าเขาจะมีมาเปิดที่นี่ เพราะมีโบว์ชัวมาแจกให้ไปลงจองพื้นที่ แต่คงไม่ไปหรอก ยังอยากขายที่นี่มากกว่า มันมีผลกระทบทั้งหมดแหละ เพราะร้านแถวนี้ก็ไปรับจากจีนมาขายเหมือนๆกัน ขนาดแค่ยังไม่เปิดที่ผ่านมาก็ขายไม่ค่อยดี ถ้าเขามาเปิดคนก็คงไปซื้อตรงที่นู้นเพราะมันถูกกว่าแน่นอน”


(http://image.ohozaa.com/in/0img_0750medium.jpg)


ซึ่งช่องทางหนึ่งที่ผู้ประกอบการรายย่อยจะอยู่ได้ อาจต้องสละทำเลร้านจากที่เดิมๆ แล้วมุ่งหน้าเข้าสู่ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ สมศรี กล่าวว่า การไหลเข้ามาของคนเชื้อสายจีนเพิ่มขึ้น ด้านคู่ค้าในบริเวณเดียวกันก็เป็นชาวจีนเสียส่วนใหญ่ และจำหน่ายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่า แต่มองเห็นต่างว่าสินค้าจากจีนมีคุณภาพและราคาถูก

“ตอนนี้ย่านนี้คนจีนเข้ามาขายเองเยอะมาก และเขาจะขายถูกกว่า เห็นเขาว่ารัฐบาลที่จีนให้เงินกู้ เพื่อมาขายของที่นี่ ถึงเวลาเขาก็เอาเงินไปคืน แต่ถ้าเขาไม่อยากขายก็แค่ขายเอาแค่ทุนคืนพอ อย่างที่ร้านตอนแรกเป็นสินค้าที่สั่งทำจากไทย แต่มันไม่ดี เหมือนของมันคุณภาพไม่ดี เทียบกับของจีนไม่ได้เลย ก็เลยบินไปสั่งทำที่นู้น ไปเลือกสินค้าว่าจะเอาไรมาขายบ้าง แล้วบินเอากลับมา อีกอย่างของที่นู้นถูกกว่า และสวยกว่าที่ไทยด้วย”


(http://www.momypedia.com/elctfl/rlga/imgstk/img7_50744.jpg)


อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของอภิโครงการอย่าง ‘ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์’ น่าจะทำให้หลายฝ่ายกังวลมากกว่าโล่งใจ แต่ถ้าจะปิดกั้นคงลำบาก เพราะมีข้อตกลงด้านการค้าเสรีร่วมกันระหว่างไทย-จีน คราวนี้คงเป็นโจทย์ให้ผู้ประกอบการไทยพิจารณาถึงคุณภาพสินค้า ราคา และบริการของตน เพื่อความอยู่รอดของภาคธุรกิจสืบไป...

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว จากประชาชาติธุรกิจ และผู้จัดการออนไลน์




ขอเชิญผู้ประกอบการ SMEs ชาวไทย ร่วมให้ความคิดเห็น เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว
ว่าท่านมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง?


หัวข้อ: Re: China City Complex ศูนย์ส่งออกไชน่าซิตี้บางนา บางนา-ตราด กม. 9
เริ่มหัวข้อโดย: terryh ที่ มีนาคม 07, 2011, 06:23:01 AM
เคยสอบถามจาก เืพื่อน ๆ ชาวจีนไต้หวัน  ทางการจีนมีการอุดหนุนช่วยเหลือ ส่งเสริม สำหรับโครงการจีนที่จะลงทุนในต่างประเทศ อัด้วยอุตราดอกเบี้ยต่ำมาก ระยะเวลาปลอดหนี้นานกว่า 3-5 ปี

แม้แต่บุคคลธรรมดา เสียดอกเบี้ยต่ำเพียง 2-3 %  ระยะเวลา 3 ปี

คนไทย พ่อค้าไทย คงลำบาก ต้องรีบหาโอกาศในการดำเนินการมิฉะนั้น คงยากที่จะอยุ่รอดได้

ได้ยินว่า พ่อค้า ชาวจีน กำลังตื่นตัว กับโครงการ มาจับจองที่ทาง โกดัง และ หาบ้านเช่า เพื่อทำธุรกิจแล้ว
ข่าวจากนายหน้าที่วิ่งเต้น แถว สมุทรปราการ และ ย่านไกล้เคียง
หัวข้อ: Re: China City Complex ศูนย์ส่งออกไชน่าซิตี้บางนา บางนา-ตราด กม. 9
เริ่มหัวข้อโดย: สุคนธ์ ที่ มีนาคม 22, 2011, 10:21:41 AM
สนใจจองหรือเช่าพื้นทีในโครงการต้องทำอย่างไรบ้างและติดต่อใครบ้างครับหรือว่าต้องให้โครงการเสร็จก่อนถึงจะ

เปิดโครงการให้เช่า หรือ ติดต่อจองที่ไหน ท่านไหนทราบขอเบอร์โทรฝากไว้ติดต่อด้วยครับผม