ThaiFranchiseCenter Webboard

ยานยนต์ | Vehicles => รถยนต์ | Car => ข้อความที่เริ่มโดย: ตะวัน ที่ มีนาคม 20, 2023, 06:26:33 AM

หัวข้อ: ถังดับเพลิงในรถยนต์แบบไหนดี มีติดรถไว้อุ่นใจกว่า
เริ่มหัวข้อโดย: ตะวัน ที่ มีนาคม 20, 2023, 06:26:33 AM
อุบัติเหตุทางรถยนต์ มักเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่เมื่อมีเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด การเตรียมอุปกรณ์ระงับเหตุติดรถไว้ ก็เป็นสิ่งที่เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคนควรต้องใส่ใจ ให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้รถยนต์ อุปกรณ์ที่จำเป็นในขณะนั้นคือถังดับเพลิงในรถยนต์ (ไฟไหม้รถยนต์เกิดจากอะไร https://www.smk.co.th/newsdetail/285 (https://www.smk.co.th/newsdetail/285)) แต่จะทราบได้อย่างไรว่า ถังดับเพลิงในรถยนต์แบบไหน ชนิดไหน หรือขนาดไหนที่จะเหมาะไว้พกพาติดในรถยนต์ แล้วถ้าเป็นถังดับเพลิงขนาดเล็กสามารถป้องกันไฟไหม้รถยนต์ได้หรือไม่ สินมั่นคงประกันรถยนต์มีข้อมูลมาฝากค่ะ
 
ถังดับเพลิงคืออะไร
ถังดับเพลิง หรือ Fire Extinguisher เป็นอุปกรณ์ดับเพลิงแบบเคลื่อนที่ ประกอบด้วยถังแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่น ๆ พร้อมมือจับ ไก เปิดปิด สลักนิรภัย และสายฉีด ออกแบบไว้สำหรับการดับเพลิงไหม้ที่ยังไม่ลุกลาม ในตัวถังดับเพลิงนั้นมักจะเป็นสีแดง เพื่อให้มองเห็นได้ง่ายและติดตั้งไว้เป็นระยะห่าง ๆ กันภายในอาคาร ซึ่งเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ผู้ใช้สามารถหิ้วถังจากจุดติดตั้งมาในบริเวณที่เกิดเหตุ ดึงสลักนิรภัยออก จับสายฉีดให้ปลายหันเข้าหาเปลวไฟ และเมื่อทำการบีบไก น้ำหรือสารเคมีที่อยู่ภายในถังก็จะพุ่งตรงไปยังบริเวณที่ไฟไหม้และดับไฟลงในที่สุด
 
ประเภทและคุณสมบัติของถังดับเพลิง
ในการเลือกถังดับเพลิง จำเป็นจะต้องเลือกประเภทของถังให้เหมาะกับประเภทของเพลิงไหม้ ดังนี้

1.   Class A : จะเป็นเพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง ไม้ กระดาษ พลาสติก ยาง สามารถใช้ถังดับเพลิงประเภท สเปร์ยโฟม, ผงเคมีแห้ง, สารเหลวระเหย และ เคมีสูตรน้ำ
2.   Class B : เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม สามารถใช้ถังดับเพลิงประเภท สเปร์ยโฟม (แบบจำกัด), ผงเคมีแห้ง, สารเหลวระเหย และ เคมีสูตรน้ำ
3.   Class C : เกิดจากอุปกรณ์ที่เกิดจากไฟฟ้า อิเล็กโทรนิค สามารถใช้ถังดับเพลิงประเภท ผงเคมีแห้ง (แบบจำกัด), สารเหลวระเหย และ เคมีสูตรน้ำ
4.   Class K : เกิดจากน้ำมันพืช สามารถใช้ถังดับเพลิงประเภท เคมีสูตรน้ำ ได้อย่างเดียว

ถังดับเพลิงมีหลายชนิดตั้งแต่แบบผงเคมีแห้ง แบบฟองโฟม และ แบบสารระเหย แต่สาระสำคัญอยู่ที่ฉลากข้างถัง ซึ่งจะระบุว่า ถังดับเพลิงนั้นสามารถใช้ดับไฟแบบไหนได้บ้าง เครื่องดับเพลิงมีหลายแบบ ถัง 2 ปอนด์สำหรับติดรถราคาประมาณ 600-1000 บาท และถังดับเพลิงที่เหมาะสมสำหรับพกติดในรถ ควรเป็นชนิดสารระเหยที่มีฉลากสัญลักษณ์ A กับสัญลักษณ์ B ติดอยู่ ซึ่งทั้งสองแบบมีข้อดีคือ เมื่อดับเพลิงเสร็จแล้วจะไม่ทิ้งคราบสกปรกเอาไว้ ต่างจากพวกโฟมหรือผงเคมีแห้ง

สิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกถังดับเพลิงติดรถ

1.   น้ำหนัก และขนาด
ควรพิจารณาถึงขนาดและน้ำหนักของถังดับเพลิงติดรถยนต์ในการเลือกซื้อที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นการติดตั้งไว้ในรถยนต์จึงควรเลือกถังดับเพลิงขนาดเล็ก หรือถังดับเพลิงพกพา ถังดับเพลิงเล็กติดรถได้ ถังดับเพลิงขนาดพกพาที่ควรติดรถไว้คือ ถังดับเพลิง 2 ปอนด์ ไปจนถึง 5 ปอนด์

2.   ประเภทไฟที่ดับได้
เนื่องจากประเภทเพลิงไหม้ที่อาจเกิดได้ในรถ มี 3 ประเภทคือประเภท A B และ C จึงควรเลือกถังดับเพลิงติดรถยนต์ที่มีคุณสมบัติสามารถดับเพลิงได้ทั้งสามประเภทข้างต้น

3.   ราคา
ถังดับเพลิงมีหลากหลายราคาด้วยกัน โดยมากแล้วราคาของถังดับเพลิงจะขึ้นอยู่กับ

คุณสมบัติของถังดับเพลิงตามแต่ละประเภท

•   ชนิดของสารเคมีที่อยู่ภายในถังดับเพลิง เช่น หากเป็นถังดับเพลิง Co2 อาจมีราคาอยู่ในช่วงระหว่าง 2000 – 6000 บาท
•   ขนาดถังดับเพลิง ถังดับเพลิงขนาดเล็กจะมีราคาถูกกว่าถังดับเพลิงขนาดใหญ่
•   มาตรฐานที่ได้รับการรับรอง Fire rating หรือ ความสามารถในการดับเพลิงของถังดับเพลิงแต่ละประเภท และแต่ละขนาด ซึ่งมีผลทำให้ราคาของถังดับเพลิงต่างกัน
 
การติดตั้งถังดับเพลิงในรถยนต์

การติดตั้งถังดับเพลิงในรถยนต์ควรติดตั้งในที่ที่สามารถหยิบมาใช้ได้โดยง่าย ทั้งนี้ควรติดตั้งถังดับติดรถยนต์ให้แน่นหนา ไม่ให้หลุดออกมาได้ง่ายเพื่อเลี่ยงอุบัติเหตุอื่นๆ และควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งตรงจุดที่สัมผัสแดดโดยตรง จุดที่แนะนำให้ติดตั้งถังดับเพลิงรถยนต์ คือ

1.   ติดตั้งภายในห้องโดยสาร ภายในห้องโดยสารของรถยนต์ ควรติดตั้งถังดับเพลิงขนาดเล็ก หรือถังดับเพลิงขนาด 2 ปอนด์ ไว้อย่างน้อย 2 จุด ได้แก่บริเวณเบาะหน้าใกล้คนขับ และบริเวณเบาะหลัง

2.   ติดตั้งภายในฝากระโปรงหลัง หากมีพื้นที่บริเวณฝากระโปรงหลังมากพอ แนะนำให้ติดตั้ง ถังดับเพลิงขนาด 15 ปอนด์ เพื่อให้รองรับเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ได้ ทั้งนี้หากมีพื้นที่ไม่มากพอก็สามารถเลือกขนาดที่เล็กกว่านี้ได้ตามความเหมาะสม

หากไม่สามารถควบคุมเพลิงไหม้ได้ หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อไปยังเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินยามไฟไหม้ได้แก่

•   191 – แจ้งเหตุด่วน เหตุร้ายทุกชนิด
•   199 – แจ้งเหตุไฟไหม้ ดับเพลิง
•   1669 – หน่วยฉุกเฉิน (ทั่วประเทศ)
•   1646 – หน่วยฉุกเฉิน (กทม.)

ผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคันโดยเฉพาะรถยนต์ประเภทใช้แก๊สแทนน้ำมัน ควรมีถังดับเพลิงในรถยนต์พกพาติดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนทุกคน เพราะมีโอกาสจะเกิดไฟไหม้ได้มากกว่า หรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดก็สามารถหยิบฉวยมาใช้ได้ทันเวลา

ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์  ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้นเพียง 6,999 บาท ประกันประเภท 1 ซ่อมอู่ ที่เบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับข้อมูลผู้ซื้อประกัน และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) ผู้ที่มีโปรไฟล์ดี หรือความเสี่ยงน้อย เบี้ยประกันรถยนต์ก็จะยิ่งถูกตามไปด้วย ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกเรื่อง ทั้งความเสียหายต่อตัวรถยนต์หรือบุคคลภายนอก รถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 (https://www.smk.co.th/productmotordetail/20) หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com (https://smkinsurance.blogspot.com)