ThaiFranchiseCenter Webboard

บ้านและออฟฟิส | Home & Office => เครื่องใช้ไฟฟ้า | Electric Equipment => ข้อความที่เริ่มโดย: รินะ ฮาเสะ ที่ ตุลาคม 04, 2022, 07:56:37 AM

หัวข้อ: อุตสาหกรรมแต่ละประเภท ใช้เครื่องอัดอากาศในโรงงานแบบไหนดี?
เริ่มหัวข้อโดย: รินะ ฮาเสะ ที่ ตุลาคม 04, 2022, 07:56:37 AM

   เครื่องอัดอากาศในโรงงาน (https://fscompressor.co.th/energy-saving-technical-services/) (Air Compressor) หรือปั๊มลม ส่วนประกอบสำคัญที่ทุกโรงงานอุตสาหกรรมขาดไม่ได้ในกระบวนการผลิตสินค้า เป็นเครื่องมือที่ช่วยอัดลมและสร้างลมสะอาดแรงดันสูงเพื่อนำไปใช้งานภายในโรงงาน เพราะการผลิตสินค้าหลายประเภทต้องใช้แรงดันลมที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อนในอากาศซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพสินค้าและเครื่องจักร แล้วยังช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมควบคุมมาตรฐานสินค้าและวางแผนการผลิตได้ยังมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงมีส่วนช่วยในการลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย

(https://i.imgur.com/yKZ6MHj.jpg)

   ประเภทของเครื่องอัดอากาศในโรงงานที่ควรรู้
   เมื่อเป็นเครื่องมือสำคัญของโรงงาน เพื่อความปลอดภัยและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงควรเลือกใช้เครื่องอัดอากาศในโรงงานให้เหมาะสมด้วยเช่นกัน โดยหากแบ่งตามวิธีการใช้งาน สามารถแบ่งได้ 6 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

1. เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบ (Reciprocating Air Compressor)
   ราคาไม่สูง เคลื่อนย้ายสะดวก ทำให้ได้รับความนิยมสูงสุด ทำงานด้วยการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ขึ้นลง เหมาะกับงานที่ต้องใช้แรงดัน 1-1,000 บาร์

2. เครื่องอัดอากาศแบบไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor)
   คล้ายกับแบบลูกสูบ แต่มีแผ่นไดอะเฟรมมากั้นไม่ให้ลมที่ผลิตออกมาไม่สัมผัสกับโลหะ จึงไม่มีผสมกับน้ำมันหล่อลื่น จึงเหมาะกับอุตสาหกรรมยาและอาหาร

3. เครื่องอัดอากาศแบบสกรู (Screw Air Compressor)
   มีจุดเด่นอยู่ที่กำลังผลิตลมค่อนข้างสูง จ่ายลมได้ 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ทำความดันลมได้ถึง 13 บาร์ ลมที่จะได้จะมีความสม่ำเสมอกว่าแบบลูกสูบ

4. เครื่องอัดอากาศแบบใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)
   ใบพัดเลื่อนจะมีการหมุนที่สม่ำเสมอ ทำให้แรงดันที่ออกมาคงที่ กระจายแรงลมได้ 4-100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที เหมาะกับโรงงานที่ต้องการแรงดันที่สม่ำเสมอและต่อเนื่อง

5. เครื่องอัดอากาศแบบใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)
   ทำงานด้วยใบพัดหมุน 2 ตัว โดยลมจะถูกดูดจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งโดยอากาศไม่ถูกบีบอัด แต่จะไปถูกอัดตอนเก็บเข้าถังลมแทน  ต้องใช้ความร้อนและอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำให้เป็นเครื่องอัดอากาศในโรงงานที่มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าประเภทอื่น

6. เครื่องอัดอากาศแบบกังหัน (Radial and axial flow Air Compressor)
   ดูดลมจากด้านหนึ่งไปอีกด้านด้วยใบพัดแบบกังหันความเร็วสูง จึงทำให้กระจายแรงลมได้ถึง 170-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที

   เลือกใช้เครื่องอัดอากาศในโรงงานถูกประเภทแล้ว อย่าลืมหมั่นตรวจสอบสภาพเครื่องว่ายังอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานหรือไม่ ระดับน้ำมันเครื่องเป็นอย่างไร ถึงเวลาถ่ายน้ำมันเครื่องหรือยัง รวมทั้งติดตั้งเครื่องในพื้นที่ที่ถ่ายเทความร้อนได้ดีและติดตั้งกรองอากาศก่อนการใช้งานเพื่อให้เครื่องประหยัดพลังงานมากขึ้น เพื่อให้เครื่องอัดอากาศของเราสามารถใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพได้ยาวนานขึ้น