ThaiFranchiseCenter Webboard

สุขภาพ ความสวยความงาม | Health & Beauty => แม่และเด็ก | Child => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขฤดี ที่ กันยายน 26, 2022, 02:54:49 PM

หัวข้อ: แนะนำ 5 วิธีแก้ปัญหาเด็กติดเกม
เริ่มหัวข้อโดย: สุขฤดี ที่ กันยายน 26, 2022, 02:54:49 PM
การเล่นเกมเป็นการผ่อนคลายความเครียดและฝึกการใช้สมองได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าเล่นไม่ถูกวิธีและใช้เวลาจดจ่อมากเกินไปทำให้เกิดผลเสียตามมาได้  สำหรับผู้ปกครองท่านใดที่กำลังพบกับปัญหาลูกติดเกม วันนี้เรามี 5 วิธีจัดการปัญหาเด็กติดเกม (https://www.milo.co.th/blog/ปัญหาเด็กติดเกม-วิธีรับมืออย่างสร้างสรรค์)มาแนะนำ

เด็กที่มีอาการติดเกม (https://www.milo.co.th/blog/ปัญหาเด็กติดเกม-วิธีรับมืออย่างสร้างสรรค์) จะมีพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างหลากหลาย อย่างเช่น
- ใช้เวลาเล่นเกมนานเกินไป จนทำให้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้อื่น
- มีอาการหงุดหงิด ซึมเศร้า เมื่อไม่ได้เล่นเกม
- มีความต้องการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเกมมากขึ้น เช่น เวลาในการเล่นเกม อุปกรณ์และโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้เล่นเกม 
- มีพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง และสมาธิสั้น

หากพ่อแม่ท่านใดพบว่าลูกมีพฤติกรรมเหล่านี้ ลองทำตาม 5 คำแนะนำแก้ปัญหาเด็กติดเกม ดังนี้

1. พูดคุยกับลูกมากขึ้น
สาเหตุของการติดเกม ในเด็กบางคนเกิดจากความเหงา ไม่มีอะไรทำ พ่อแม่มีภาระหน้าที่หรือใช้ชีวิตแบบปล่อยปละละเลยความรู้สึกของลูกมากเกินไป เด็กจึงมองหาหนทางที่จะช่วยแก้เหงา ซึ่งการเล่นเกมก็เป็นทางออกที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย โดยการพูดคุยกับลูกนอกจากจะเบี่ยงเบนความสนใจจากลูกแล้ว ยังช่วยเพิ่มความผูกพันในครอบครัวได้อีกด้วย

2. หากิจกรรมอย่างอื่นทำร่วมกัน
นอกจากการพูดคุยแล้ว การหากิจกรรมอย่างอื่นหรือกิจกรรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้นทำร่วมกัน ก็จะช่วยให้ลดความน่าเบื่อ ทำให้ลูกรู้สึกสนุกและลืมการเล่นเกมได้นานมากขึ้น โดยอาจจะเริ่มจากกิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น (https://www.milo.co.th/blog/5-วิธีรับมือเด็กซน-เด็กไฮเปอร์)อย่างง่าย เปลี่ยนจากการเล่มเกมผ่านหน้าจอ เป็นการเล่นเกมอย่างอื่น เช่น บอร์ดเกมหรือเกมกีฬา ต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมอบหมายหน้าที่สักหนึ่งอย่างให้กับลูก เพื่อฝึกความมีวินัย และช่วยให้มีกิจกรรมอย่างอื่นนึกถึง นอกจากการเล่นเกม

3. ศึกษาเกมที่ลูกเล่น
หากยังแก้ปัญหาลูกติดเกม ไม่ได้ ให้ลองเอาตัวเอง เข้าไปอยู่ในสถานการณ์เดียวกับลูก คือเล่นเกมเดียวกันเลย เพื่อที่จะคุยกันได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งพอลูกรู้สึกว่ามีคนในบ้านให้พูดคุยด้วย การพูดคุยเรื่องอื่น ๆ รวมถึงการชักจูงให้ไปทำอย่างอื่น แทนการเล่นเกม ก็ไม่ใช้เรื่องยาก
 
4. จำกัดเวลาการเล่น
เมื่อลูกเริ่มรับฟังบ้างแล้ว แต่ยังมีความต้องการที่จะเล่นเกมอยู่ ลองหาแนวทางร่วมกัน การจำกัดเวลาการเล่น ก็เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยให้แก้ปัญหาติดเกม ได้ ซึ่งควรมีการแยกอุปกรณ์ที่ลูกใช้แล่นเกมออกจากห้องนอน เพื่อให้สามารถควบคุมการใช้งานได้ง่ายขึ้น

5. ปรึกษาจิตแพทย์
หากลูกมีอาการติดเกม ค่อนข้างหนัก พ่อแม่ไม่สามารถจัดการเองได้ในเบื้องต้น ควรพาลูกไปพบจิตแพทย์ เพื่อตัดปัญหาที่จะเกิดตามมาหากปล่อยให้ลูกติดเกมต่อไป

หลายคนอาจจะคิดว่าปัญหาเด็กติดเกม เป็นเรื่องเล็ก ๆ เดี๋ยวโตขึ้นก็หายเอง แต่การปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นโดยไม่ได้รับการแก้ไขนี้ จะส่งผลต่อทั้งตัวเด็ก คนในครอบครัว และสังคมได้ในระยะยาว การเร่งแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจ อย่าปล่อยให้เป็นจุดกำเนิดของความสูญเสียอีกมากมายที่อาจตามมา