ThaiFranchiseCenter Webboard

ตลาดกลางธุรกิจค้าปลีก | Retail Market => เสนอบริการสำหรับธุรกิจค้าปลีก | Retail Service => ข้อความที่เริ่มโดย: พรสัก ส่องแสง ที่ กันยายน 19, 2022, 01:02:19 PM

หัวข้อ: การออกแบบสอบถาม เพื่อวิจัย วัดผล แม่นยำ ทำอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: พรสัก ส่องแสง ที่ กันยายน 19, 2022, 01:02:19 PM
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/09/19/p7EWU8.jpg)

ในปัจจุบันสิ่งต่าง ๆ รอบตัวของเราต่างเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทั้งเทคโนโลยี สังคม และค่านิยมต่างเปลี่ยนไป ยิ่งไม่ต้องพูดถึงความต้องการในแต่ละบุคคล บางคนต้องการชื่อเสียง บางคนต้องการเงินทอง บางคนต้องการเพียงมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นต้น

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าแต่ละคนต่างมีความต้องการที่แตกต่างกัน ในการทำวิจัย หรือสำรวจความต้องการของแต่ละคนนั้น เราจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือที่ช่วยเก็บข้อมูลเหล่านั้น โดยวิธีที่ดีที่สุดคือการออกแบบสอบถาม (https://www.enablesurvey.com/article-detail/f893a9ba-2e67-4231-aa3d-8add27d766bd/questionnaire%20design) เพื่อสำรวจความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำไปพัฒนาสินค้าของตนให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด

แบบสอบถาม คืออะไร

แบบสอบถาม (Questionnaire) คือการรวบรวมออกแบบสอบถามต่าง ๆ ออกมาเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เพื่อนำไปให้ผู้ตอบคำถาม แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิจัย เพื่อพัฒนาสิ่งที่ต้องการต่อไป โดยสามารถนำไปใช้ในการวิจัย สำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งยังวิเคราะห์คู่แข่งได้อีกด้วย

หลักการออกแบบสอบถาม (QUESTIONNAIRE DESIGN) ที่ดี ทำอย่างไร

การจะออกแบบสอบถามที่ดี จำเป็นต้องใช้หลักการดังต่อไปนี้

7 ขั้นตอน ออกแบบสอบถามให้มีประสิทธิภาพ

เนื่องจากการออกแบบสอบถามที่ดี จำเป็นต้องมีการวางแผน คิด วิเคราะห์คำถามที่เหมาะสม และต้องทราบว่าเราต้องการคำตอบจากแบบสอบถามชุดนี้อย่างไร โดยเราสามารถแบ่งขั้นตอนได้เป็นขั้นตอนหลัก ๆ 7 ขั้นตอนดังนี้

1. ตั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ถือเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบสอบถามเลยก็ว่าได้ เพราะเราจะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ หรือพัฒนาการวิจัยต่อไป

2. กำหนดรูปแบบของคำถาม

เนื่องจากการรูปแบบคำถามที่แตกต่างกัน จะทำให้คำตอบที่ได้แตกต่างไปด้วย โดยการออกแบบสอบถาม ถ้าเป็นคำถามปลายเปิด จะช่วยให้คุณสามารถมองเห็นเส้นทางที่แปลกใหม่ได้ ส่วนคำถามแบบปลายปิด จะช่วยให้ข้อมูลที่ได้จากลูกค้าได้โดยง่าย

3. กำหนดรูปแบบ ของภาษา ลำดับการถาม

การใช้ภาษาสำหรับการออกแบบสอบถาม มักจะใช้ภาษาสุภาพ หรือภาษาที่เป็นทางการ ส่วนลำดับการถามนั้นจะแบ่งไปตามหมวดหมู่ของคำถาม โดยเนื้อเรื่องเดียวกัน มักจะถูกวางไว้ใกล้กัน

4. การร่างแบบสอบถาม

เมื่อตั้งเป้าหมายของการออกแบบสอบถาม กำหนดรูปแบบของคำถาม รวมไปถึงรูปแบบภาษาที่ใช้ และลำดับของคำถามหมวดหมู่ต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อไปคือนำคำถามที่ต้องการจะถามมาเรียบเรียงให้สละสลวยต่อไป

5. วิเคราะห์คุณภาพแบบสอบถาม

เมื่อทำการร่างแบบสอบถามเรียบร้อยแล้ว เราจะนำแบบสอบถามที่ได้ไปให้เพื่อนร่วมทีม หรือคนที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน เพื่อขอคำแนะนำ ก่อนจะนำไปใช้ถามคนอื่น

6. ปรับปรุงแบบสอบถามให้สมบูรณ์

เมื่อได้รับขอเสนอแนะจากเพื่อนร่วมทีม หรือคนในองค์กรเดียวกันเรียบร้อยแล้ว จึงนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงออกแบบสอบถามให้ดียิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาดให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ข้อมูลที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์มากที่สุด

7. จัดพิมพ์แบบสอบถาม

เมื่อทำการปรับปรุงแบบสอบถามจนเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว จึงทำการจัดพิมพ์แบบสอบถามนั้นออกมา เพื่อแจกจ่ายไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อยอดต่อไป ซึ่งในปัจจุบันการจัดพิมพ์แบบสอบถามนั้นเกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะตอนนี้มีการออกแบบสอบถามแบบออนไลน์ ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้คนได้มากกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า

รูปแบบของคำถาม ของการออกแบบสอบถาม มีอะไร บ้าง

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/09/19/p7EVoP.jpg)

รูปแบบของคำถามสามารถแบ่งได้เป็นประเภทหลัก ๆ ได้ 2 ประเภท คือ คำถามปลายเปิด และคำถามปลายปิด โดยแต่ละประเภทจะให้คำตอบแต่ต่างกันดังนี้

1. คำถามปลายเปิด

คำถามปลายเปิด จะเป็นคำถามที่ต้องการความคิดเห็นเพิ่มเติม มุมมองต่าง ๆ รวมไปถึงขอเสนอแนะ บางครั้งอาจจะทำให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ปรับเปลี่ยนแนวทางของการวิจัยเลยก็เป็นได้

2. การใช้คำถามปิด

คำถามปลายปิด จะเป็นคำถามที่เฉพาะเจาะจง โดยจะเป็นการออกแบบสอบถามแบบใช้ตัวเลือก ทั้งการเลือกหัวข้อที่ผู้ตอบที่คำถามที่ต้องการ รวมไปถึงความพึงพอใจเกี่ยวกับแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้ทำวิจัยสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว

ข้อควรระวังของคำถาม ในการออกแบบสอบถาม

การออกแบบสอบถามที่ดี ควรหลีกเลี่ยงการตั้งคำถามดังต่อไปนี้

ภาษาที่ใช้ในออกแบบสอบถามที่ดี เป็นอย่างไร

ลำดับของคำถาม ออกแบบสอบถามอย่างไรให้ดี

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/09/19/p7OBM9.jpg)


สรุป

การออกแบบสอบถามที่ดี และได้ประโยชน์สูงสุด คือกต้องมีการตั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของแบบสอบถามให้ชัดเจน แบ่งหมวดหมู่คำถาม ใช้คำที่เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงคำถามที่มีการชี้นำ รวมไปถึงคำถามที่มีความอ่อนไหว เป็นต้น

นอกจากที่ต้องทำข้างต้นแล้ว ก่อนที่จะนำแบบสอบถามที่ทำออกมาไปใช้จริง ยังต้องมีการทดสอบกับเพื่อนร่วมทีม หรือคนในองค์กรเสียก่อน เพื่อทำการปรับปรุงแบบสอบถามให้สมบูรณ์มากที่สุด และสุดท้ายคือการตรวจสอบคำผิด เพราะจะทำให้ความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามลดลงได้