ThaiFranchiseCenter Webboard

สุขภาพ ความสวยความงาม | Health & Beauty => สุขภาพ | Health => ข้อความที่เริ่มโดย: พรสัก ส่องแสง ที่ กันยายน 08, 2022, 09:05:51 AM

หัวข้อ: ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากทางเลือกที่ปรึกษาสำหรับผู้ที่ต้องมีบุตร
เริ่มหัวข้อโดย: พรสัก ส่องแสง ที่ กันยายน 08, 2022, 09:05:51 AM
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/09/08/aPEovq.png)

ในปัจจุบันที่ไม่ว่าจะด้วยความพร้อมทางด้านการงานหรือการเงิน ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เหล่าคู่รักเลือกที่จะมีบุตรในมีช่วงวัยที่มีความพร้อม ซึ่งสำหรับหลาย ๆ คนมักมีบุตรในช่วงอายุที่มาก ซึ่งนั่นนับว่าเป็นช่วงวัยที่ช้าเกินกว่าจะมีลูก และทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยากขึ้นมา

ดังนั้นผู้ที่ประสบภาวะมีบุตรยากจึงควรเข้ารับฟังคำแนะนำและรักษาจากศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก (https://www.bnhhospital.com/th/fertility-center/) เพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ เพื่อให้ผู้ที่อาจจะมีภาวะมีบุตรยากหรือผู้ที่กำลังประสบภาวะมีบุตรยากสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้ได้มากขึ้น ทางบทความได้รวบรวมข้อมูลว่า ทำไมถึงได้ประสบภาวะการมีบุตรยาก สามารถเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลหรือศูนย์ผู้มีบุตรยากได้เมื่อไหร่

ภาวะมีบุตรยากเกิดจากอะไร

ภาวะการมีบุตรยาก เป็นภาวะที่สามารถเกิดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยสาเหตุการเกิดภาวะนี้มีหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสภาพร่างกายน้ำหนักมากจนผิดปกติ อายุเยอะ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เสพยาเสพติด ความเครียด เป็นต้น

ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง และอาจทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ ตามมา ดังนี้

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับฝ่ายชายทำให้มีภาวะการมีบุตรยาก


ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับฝ่ายหญิงทำให้มีภาวะการมีบุตรยาก


ความผิดปกติดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้การปฏิสนธิเกิดขึ้นได้ยากมากขึ้น และเกิดภาวะการมีบุตรยากขึ้นมา แต่ก็มีคนส่วนน้อยที่ไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือมีความผิดปกติใด ๆ กับร่างกาย แต่กลับไม่สามารถหาสาเหตุการมีบุตรยากได้ด้วยเช่นกัน
   
ควรไปที่ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากเมื่อไหร่?

หากลองมีเพศสัมพันธ์แบบธรรมชาติหลายครั้งแต่กลับไม่ตั้งครรภ์สักที นั่นหมายความว่าคุณอาจจะกำลังประสบปัญหาภาวะการมีบุตรยาก แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องมีเพศสัมพันธ์กี่ครั้ง หรือต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ถึงจะมีโอกาสการตั้งครรภ์ได้?

โดยทั่วไปแล้ว หากทั้งฝ่ายชายฝ่ายหญิงมีสภาพร่างกายปกติ และมีเพศสัมพันธ์ด้วยกันอย่างสม่ำเสมออาทิตย์ละประมาณ 2-3 ครั้งโดยไม่ได้คุมกำเนิด ก็จะมีโอกาสการตั้งครรภ์สูง

แต่ถ้าหากลองมีเพศสัมพันธ์ด้วยวิธีดังกล่าวโดยไม่ได้คุมกำเนิดนานกว่า 1 ปี นั่นอาจจะเป็นสัญญาณว่าเป็นภาวะการมีบุตรยาก นอกจากนี้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีโดยเฉพาะฝ่ายหญิง หรือตัดสินใจที่จะมีลูกช้าเกินไปนั้นก็เป็นเหตุที่ทำให้มีภาวะมีบุตรยากสูงมากขึ้น

ดังนั้นเพื่อที่จะรักษาภาวะบุตรยากนี้ หลาย ๆ คนคงจะสงสัยใช่ไหมว่า ปรึกษามีบุตรยากที่ไหนดี? ตรวจภาวะมีบุตรยากที่ไหนดี? ซึ่งการรักษานั้นจะเริ่มต้นด้วยการเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา แนะนำวิธีที่ใช้ในการดูแลสุขภาพ และแนะนำที่ใช้ในการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย

ซึ่งก่อนที่จะเข้ารับการรักษาแพทย์จะทำการประเมิน สัมภาษณ์ผู้เข้ารับการรักษาทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงก่อนว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ดังนี้

ปัญหาที่มักพบกับฝ่ายชาย


ปัญหาที่มักพบกับฝ่ายหญิง


หมายเหตุ เนื่องจากฝ่ายหญิงมีส่วนของร่างกายที่จำเป็นต้องมีเพื่อปฏิสนธิมากกว่าเพศชาย เพราะฉะนั้นจึงพบเพศหญิงที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยากมากกว่าเพศชาย   

บริการสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาภาวะการมีบุตรยาก

IVF

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/09/08/aPO5Vk.png)

IVF
IVF (In-Vito Fertilization) หรือการทำเด็กหลอดแก้ว เป็นการคัดเชื้ออสุจิที่สภาพสมบูรณ์แข็งแรงของฝ่ายชาย และเซลล์ไข่ที่มีสภาพสมบูรณ์ของฝ่ายหญิงมาทำการปฏิสนธิในห้องทดลอง เมื่อเซลล์ไข่และเชื้ออสุจิปฏิสนธิสำเร็จและเกิดตัวอ่อนขึ้นมา แพทย์ก็จะนำตัวอ่อนฉีดกลับเข้าไปที่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์แบบปกติต่อไป

วิธีรักษานี้จะช่วยเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นกว่าการทำ IUI แต่ว่าหากเข้าการรักษาด้วยวิธี IVF มากกว่า 3 ครั้งและไม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ ทางแพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการรักษาด้วยวิธี ICSI

บุคคลที่สามารถรักษาภาวะการมีบุตรยากด้วยวิธี IVF ได้


IUI

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/09/08/aPOmY8.png)

IUI (Intra-Uterine Insemination) คือการคัดเลือกเชื้ออสุจิที่มีสภาพสมบูรณ์แข็งแรงฉีดเข้าไปในโพรงมดลูก โดยใช้ท่อพลาสติกขนาดเล็กสอดผ่านมดลูกเพื่อฉีดเชื้อเข้าไปในช่วงใกล้วันไข่ตก หรือช่วงวันไข่ตกพอดี และเชื้ออสุจิที่ฉีดเข้าไปก็จะว่ายไปปฏิสนธิกับเซลล์ไข่

เรียกได้ว่าการรักษาภาวะการมีบุตรยากด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่มีความใกล้เคียงกับการมีเพศสัมพันธ์แบบธรรมชาติมากเนื่องจากเป็นการฉีดเชื้ออสุจิให้ไปปฏิสนธิกับเซลล์ไข่เอง แต่จะมีโอกาสตั้งครรภ์มากกว่าการมีเพศสัมพันธ์อย่างธรรมชาติ

บุคคลที่สามารถรักษาภาวะการมีบุตรยากด้วยวิธี IUI ได้


โดยส่วนมากผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยการทำ IUI จะประสบความสำเร็จในช่วงครั้งที่ 3-4 แต่ถ้าหากไม่สำเร็จเกิน 6 ครั้ง ทางผู้เข้ารับการรักษาควรพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ในการรักษาภาวะการมีบุตรยากต่อไป เพราะถ้าเข้ารับการรักษา 6 ครั้งขึ้นไป โอกาสที่จะช่วยเพิ่มการตั้งครรภ์จะเท่าเดิมหรือลดลง

ICSI

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/09/08/aPjxUl.png)

ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) คือ การทำเด็กหลอดแก้วอีกประเภทหนึ่งที่หลายคนรู้จักคำว่า อิ๊กซี่ เป็นการรักษาที่ทำให้อสุจิและเซลล์ไข่เกิดการปฏิสนธิกันแบบเจาะจงโดยตรง ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้นกว่าวิธีอื่น ๆ

การทำ ICSI จะนำเชื้ออสุจิมาคัดเลือกหาอสุจิตัวที่มีสภาพสมบูรณ์ แข็งแรงมากที่สุดด้วยกล้องจุลทรรศน์ 1 ตัว แล้วฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่ที่มีสภาพสมบูรณ์ 1 ใบด้วยเข็มขนาดเล็ก จากนั้นผู้เชี่ยวชาญจะนำไข่ที่ฉีดอสุจิเข้าไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเพื่อให้ตัวอ่อนพัฒนาอย่างเต็มที่ และจะฉีดตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูกเมื่อตัวอ่อนอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม

บุคคลที่สามารถรักษาภาวะการมีบุตรยากด้วยวิธี ICSI ได้


ฝากไข่

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/09/08/aPjq0v.png)

Egg Freezing / Oocyte Cryopreservation) หรือที่เรียกว่าการฝากไข่ เป็นวิธีการเก็บแช่แข็งเซลล์ไข่ไว้ในช่วงที่ยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์อยู่ หรือเซลล์ไข่ยังอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์ และนำมาผสมกับเชื้ออสุจิของสามีที่ถูกต้องตามกฏหมายเพื่อให้สามารถตั้งครรภ์ในเวลาที่ต้องการ

บุคคลที่เหมาะกับวิธีการฝากไข่


ซึ่งการรักษานี้จะสามารถทำให้มีบุตรในช่วงวัยที่ต้องการ หรือมีบุตรในช่วงที่มีความพร้อมแล้วได้ ซึ่งเซลล์ไข่ที่นำไปแช่แข็งในห้องปฏิบัติการนั้นจะสามารถเก็บได้มากถึง 5-10 ปี

ทำกิฟต์

GIFT (Gamete Intrafallopian Transfer) หรือการทำกิฟต์ เป็นวิธีที่ในสมัยก่อนใช้เพื่อช่วยทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้โดยการนำเซลล์ไข่มาผสมกับอสุจิและใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ ซึ่งขั้นตอนการทำนั้นจะจำเป็นต้องกรีดหน้าท้อง วางยาสลบ ทำให้อาจมีความเสี่ยงอันตรายต่าง ๆ ตามมา เช่น การท้องนอกมดลูก การแท้ง เป็นต้น

เพราะฉะนั้นแพทย์หลาย ๆ ท่านจึงไม่แนะนำให้เลือกการรักษาภาวะการมีบุตรยากด้วยวิธีนี้ เนื่องจากในปัจจุบันมีวิธีที่ปลอดภัยและมีโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์มากกว่า เช่น การทำเด็กหลอดแล้ว