ThaiFranchiseCenter Webboard

ตลาดกลางธุรกิจค้าปลีก | Retail Market => เสนอสินค้าเกี่ยวกับเทคโนโลยี, สินค้าเฉพาะอย่าง | Technology Supply => ข้อความที่เริ่มโดย: รินะ ฮาเสะ ที่ สิงหาคม 24, 2022, 04:09:48 AM

หัวข้อ: เรื่องที่คุณควรรู้ เกี่ยวกับเครื่องวัดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: รินะ ฮาเสะ ที่ สิงหาคม 24, 2022, 04:09:48 AM
(https://i.imgur.com/t7T6PAX.jpg)
https://www.freepik.com/free-photo/one-black-multimeter-gray-textured-background_25515837.htm#query=electricity%20measure&position=0&from_view=search

        เครื่องวัดไฟฟ้า (https://www.thaielectricity.com/th/kyoritsu)เป็นคำที่ใช้เรียกเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้วัดค่า และหน่วยวัดต่าง ๆ ทางไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีไว้เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้า เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า และเพื่อให้สามารถใช้ไฟได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไร้ปัญหากวนใจ

        ในวันนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับหน่วยวัดทางไฟฟ้าแต่ละอย่างว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละหน่วยวัดนั้นคืออะไร รวมถึงต้องใช้เครื่องวัดไฟฟ้าแบบใดในการวัด พร้อมทั้งแชร์หลักการเลือกซื้อเครื่องวัดไฟฟ้าเพื่อให้ได้เครื่องมือที่มีคุณภาพ ใช้งานได้ดี วัดค่าต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ

หน่วยวัดทางไฟฟ้า
         หน่วยวัดทางไฟฟ้า เป็นหน่วยวัดมาตรฐานสากลที่ใช้เหมือนกันทั่วโลกเพื่อการแยกหน่วยของการระบบไฟฟ้า โดยจะมีอยู่ในหลายหน่วยด้วยกัน เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

1.แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage)

       แรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือ แรงดันไฟฟ้า (Voltage) เป็นแรงดันที่ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานของวงจรระหว่างจุดสองจุด ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลในวงจร ใช้สัญลักษณ์ย่อเป็นตัว “V”

2.กระแสไฟฟ้า (Current)

        กระแสไฟฟ้า (Current) คือ หน่วยวัดการเคลื่อนที่แบบต่อเนื่องจากวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าลบ ไปยังวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าบวก มีหน่วยวัดเป็น แอมเปร์ (Ampere) ใช้สัญลักษณ์เป็น “A” โดยที่กระแสไฟฟ้าจะแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ กระแสไฟฟ้าตรง และกระแสไฟฟ้าสลับ

3.ความต้านทาน (Resistance)

        ค่าความต้านทาน (Resistance) จะเป็นค่าของอุปกรณ์หรือวัตถุที่เป็นเส้นทางไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า อุปกรณ์ที่มีค่าความต้านทานต่ำกระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านได้มาก หน่วยวัดของค่าความต้านทานเป็น โอห์ม (Ohm)

4.กำลังไฟฟ้า (Electric Power)

       กำลังไฟฟ้า (Electric Power) เป็นค่าที่แสดงอัตราการใช้พลังงานในการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ โดยที่ทุกอุปกรณ์ไฟฟ้ามักจะมีระบุ มีหน่วยวัดเป็น วัตต์ ใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัว “W”

5.พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy)

       พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy) เป็นค่าที่แสดงถึงการใช้งานกำลังไฟฟ้าไปในระยะเวลาหนึ่ง โดยจะมีหน่วยเป็น วัตต์ชั่วโมง (KWh) หรือ ยูนิต ซึ่งค่ายูนิตนี้เองจะนำไปคำนวนเป็น ค่าไฟฟ้านั่นเอง


6.ความถี่ (Frequency)

       ความถี่ (Frequency) เป็นค่าที่ใช้ในการวัดความถี่หรือจำนวนรอบของกระแสไฟฟ้าต่อวินาที ซึ่งค่านี้จะใช้กับกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ โดยจะมีหน่วยเป็น Hertz หรือสัญลักษณ์ “Hz”

 
ชนิดของเครื่องวัดไฟฟ้า
           
        1. เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า (Voltmeter) เครื่องมือวัดความต่างศักย์ของไฟฟ้าระหว่าง 2 จุดในวงจรไฟฟ้า

        2. เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า (Amperemeter) ใช้วัดกระแสไฟฟ้า

        3. เครื่องวัดกําลังไฟฟ้า (Wattmeter) เครื่องมือที่วัดค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าได้โดยตรง ทำให้การหาปริมาณการใช้ไฟฟ้าสะดวกยิ่งขึ้น

        4. เครื่องวัดตัวประกอบกําลังไฟฟ้า (Power Factor Meter) เครื่องวัดอัตราส่วนระหว่างกำลังไฟฟ้าจริง (วัตต์) กับ กำลังไฟฟ้าปรากฏ (วาร์) โดยมีหน่วยวัดเป็น เปอร์เซ็นต์ หรือ ร้อยละ

        5. วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ (Watt-hour Meter) เครื่องวัดไฟฟ้า สร้างขึ้นเพื่อวัดค่าพลังงานไฟฟ้าต่อเวลาที่ใช้ในบ้านเรือน หรือในโรงงานอุตสาหกรรม
ปกติจะตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ของการไฟฟ้า ภายนอกบ้าน หรือนอกอาคาร

        6. โอห์มมิเตอร์ (Ohmmeter) วัดค่าความต้านทาน โดยการดัดแปลงจากแอมมิเตอร์ให้สามารถวัดค่าและแสดงค่าออกมาเป็นค่าความตานทานได้โดยตรง

        7. มัลติมิเตอร์ (multimeter)  มัลติมิเตอร์ (multimeter) เป็นเครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้าหลายประเภทรวมอยู่ในเครื่องเดียวกัน

หลักการเลือกใช้เครื่องวัดไฟฟ้า

                      1) ย่านการวัดที่ต้องการ (Range)
                      2) ระดับความแม่นยํา (Accuracy) ควรมีระดับความแม่นยําที่ ±0.5% ถึง ±2.0%
                      3) ลักษณะการใช้งาน เช่น สัมผัสหรือไม่ต้องสัมผัสกับสิ่งที่ต้องการวัด พกพาได้หรือติดตั้งอยู่กับที่ จะต้องปรับแต่งอุปกรณ์ที่มีอยู่เพื่อการติดตั้งเครื่องมือวัดอีกหรือไม่ต้อง
                      4) ระยะเวลาตอบสนอง หรือก็คือระยะเวลาที่ใช้เครื่องวัดไฟฟ้านี้วัดได้ว่ารวดเร็วหรือไม่
                      5) มาตรฐานความปลอดภัย ของเครื่องมือวัดไฟฟ้า