ThaiFranchiseCenter Webboard

ยานยนต์ | Vehicles => รถยนต์ | Car => ข้อความที่เริ่มโดย: อัญณา ที่ สิงหาคม 18, 2022, 07:55:16 AM

หัวข้อ: ยางกินใน ปัญหาเรื่องยางที่ผู้ขับขี่ควรรู้
เริ่มหัวข้อโดย: อัญณา ที่ สิงหาคม 18, 2022, 07:55:16 AM

          ยางรถยนต์ เป็นชิ้นส่วนที่มีอายุการใช้งานโดยจะเสื่อมสภาพและสึกหรอไปตามกาลเวลา หากแต่ก็มีหลายปัจจัยที่ทำให้ยางบวม (https://www.bridgestone.co.th/th/tire-clinic/drivers-essential/cause-of-tire-bulge) ยางชำรุดเสียหายก่อนถึงเวลาอันควร เช่น สภาพพื้นผิวจราจร พฤติกรรมการขับขี่ แรงดันลมยาง รวมไปถึงความผิดปกติของศูนย์ล้อหรือมุมล้อ   
ศูนย์ล้อหรือมุมล้อ คือ การปรับตั้งค่าองศาของพวงมาลัยและอุปกรณ์ช่วงล่างซึ่งเกี่ยวเนื่องกับระบบเชื่อมต่อและควบคุมการเคลื่อนไหวของล้อรถ โดยศูนย์ล้อที่ดีนั้นทุกมุมของ ยางรถ ต้องสัมผัสกับพื้นถนนตามมาตรฐานกำหนดไม่ว่าจะเป็นมุมแคมเบอร์ มุมโท และมุมแคสเตอร์ หากมุมล้อคลาดเคลื่อนหรือผิดไปจากค่ากำหนดจะทำให้ยางสึกหรอเร็วกว่าปกติ หนึ่งในนั้นคือปัญหา ยางกินใน

        ยางกินใน เกิดขึ้นจากความผิดปกติของมุมแคมเบอร์ ซึ่งเป็นมุมที่แนวล้อตั้งฉากกับพื้น (มีค่าเท่ากับศูนย์ หรือ Zero Camber) โดยหากแคมเบอร์มีค่าเป็นบวกแสดงว่าขอบบนของล้อและยางเบนออกไปทางด้านนอก ในทางตรงกันข้ามถ้ามีค่าเป็นลบนั่นแสดงว่าขอบบนของล้อและยางจะหุบเข้า ในการใช้งานรถยนต์ทั่วไปนั้นแคมเบอร์จะมีค่าเป็นศูนย์หรือเป็นลบเล็กน้อยเพื่อให้น้ำหนักถ่ายเทมากดหน้าสัมผัสของยางได้อย่างเต็มที่ในขณะเข้าโค้ง แต่หากแคมเบอร์มีค่าเป็นลบมากเกินไปจะส่งผลให้ยางฝั่งในสึกหรอเร็วกว่าปกติ ในทางกลับกันหากมีค่าเป็นบวกมากเกินไปจะทำให้ยางฝั่งนอกสึกหรอเร็วกว่าปกติ เรียกลักษณะการสึกหรอบริเวณไหล่ยางด้านเดียวแบบนี้ว่าการสึกแบบแคมเบอร์

           ยางกินขอบใน ยังเกิดได้จากความผิดปกติของมุมโท (Toe) ซึ่งเป็นมุมระหว่างแนวเส้นศูนย์กลางของยาง (แนวตั้ง) กับทิศทางการเคลื่อนที่ของรถ มีหน้าที่ช่วยให้รถวิ่งได้นิ่งและตรงทิศทาง หากล้อขนานไปกับตัวรถนั่นหมายถึงค่ามุมโทเป็นศูนย์ (Zero Toe) ถ้าฝั่งด้านหน้ารถหุบเข้าจะมีค่าเป็นลบ หรือเรียกว่า Toe-in แต่ถ้าถ่างออกจะมีค่าเป็นบวก หรือ Toe-out โดยทั่วไปแล้วมุมโทจะถูกตั้งค่าให้เป็นลบเล็กน้อยเพื่อให้รถวิ่งตรง ซึ่งหากมุมโทมีค่าผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานจะส่งผลให้หน้ายางสึกหรอเร็วกว่าปกติในลักษณะแบบฟันเลื่อยบริเวณไหล่ยาง

        นอกจากนี้ปัญหายางกินขอบในยังเกิดขึ้นได้จากการใช้แรงดันลมยางที่ไม่เหมาะสม โดยการเติมลมยางอ่อนเกินไปจะทำให้ไหล่ยางทั้งด้านนอกและด้านในถูกกดทับจนเกิดความเสียหายต่อหน้ายาง รวมทั้งโช้คอัพที่มีปัญหาไม่ว่าจะเสื่อมสภาพหรือน้ำมันโช้ครั่วซึมก็จะส่งผลต่อการสึกหรอของหน้ายางเช่นเดียวกัน

          ยางกินขอบใน (https://www.bridgestone.co.th/th/tire-clinic/drivers-essential/inside-tire-wearing)  จะปรากฏให้เห็นเมื่อผ่านการใช้งานรถไปสักระยะ โดยจะสังเกตเห็นว่าไหล่ยางหรือขอบยางด้านในลึกกว่าด้านนอก ทั้งยังสามารถรับรู้ความผิดปกตินี้จากการสั่นของรถเมื่อต้องใช้ความเร็วหรือมีอาการดึงซ้ายดึงขวา นั่นแสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับยางและช่วงล่าง ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยและสมรรถนะในการขับขี่เนื่องจากยางไม่สามารถสร้างแรงเกาะได้อย่างเต็มที่ ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เกิดได้จากระบบช่วงล่างเสื่อมสภาพหรือการตั้งค่าไม่ได้มาตรฐาน หากสัมผัสได้ถึงความผิดปกติควรรีบนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจสอบและแก้ไขโดยทันที ทั้งนี้การดูแลและเอาใจใส่ ยางรถยนต์ อย่างสม่ำเสมอ หมั่นตรวจเช็กศูนย์ล้อ และสลับยางตามระยะทาง 10,000 กม. จะสามารถช่วยป้องกันปัญหา ยางกินใน ได้

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/02/25/rQurdz.png)