ThaiFranchiseCenter Webboard

สุขภาพ ความสวยความงาม | Health & Beauty => สุขภาพ | Health => ข้อความที่เริ่มโดย: พรสัก ส่องแสง ที่ สิงหาคม 16, 2022, 08:29:27 AM

หัวข้อ: ปวดท้ายทอย ปัญหาเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: พรสัก ส่องแสง ที่ สิงหาคม 16, 2022, 08:29:27 AM
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/Xpq1hP.png)

อาการปวดท้ายทอยหรือปวดหัวท้ายทอย (https://www.migrainethailand.com/headache-in-the-back/)ตุ๊บๆ มักเกิดขึ้นบ่อยในขณะที่เรากำลังก้มหน้าก้มตาเล่นโทรศัพท์ หรือทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้งานบริเวณท้ายทอยที่ไม่เหมาะสม วันนี้มาดูกันว่าการปวดท้ายทอยหรือปวดหัวท้ายทอยเกิดจากอะไร และมีแนวทางรักษาอย่างไรบ้าง


ปวดท้ายทอย

ปวดท้ายทอยจะมีลักษณะอาการปวดร้าวบริเวณศีรษะลงมาท้ายทอย ไหล่ และหลัง ปัจจุบันอาการปวดท้ายทอยถือว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นไปจนถึงวัยสูงอายุ ซึ่งมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด และภาวะกดดันต่าง ๆ


ปวดท้ายทอยเกิดจากอะไร

1. ปวดท้ายทอยจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headache)

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/XpqyOP.png)

การพักผ่อนไม่เพียงพอ ภาวะเครียด กดดัน และการที่เราใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอยเป็นเวลานาน จนกล้ามเนื้อเกิดการตึงตัวแล้วไปกระตุ้นความเจ็บปวดกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย ทำให้มีอาการปวดหัว ปวดเบ้าตา ปวดท้ายทอย คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยได้

2. เส้นประสาทต้นคออักเสบ (Occipital Neuralgia)

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/Xp5Urz.jpg)

จากการแสดงอริยาบถหรือท่าทางผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการก้มคอหรือการแหงนคอเป็นเวลานาน ๆ บางครั้งอาจเกิดขึ้นจากภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ส่งผลให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาทส่งผลให้เส้นประสาทบริเวณต้นคอเกิดการอักเสบ

3. กล้ามเนื้อต้นคอหดเกร็ง (Muscle Pain Syndrome)

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/Xp5G8W.png)

หลายคนที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ มักจะก้ม ๆ เงย ๆ อยู่เป็นประจำ ทำให้มีอาการกล้ามเนื้อต้นคอหดเกร็ง ซึ่งหากทำสิ่งเหล่านี้โดยไม่หยุดพัก กล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอยและต้นคอจะหดเกร็ง จนรู้สึกปวดท้ายทอย ยิ่งไปกว่านั้นหากปล่อยไว้นานเข้าอาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังได้

4. โรคไมเกรน (Migraine)

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/XpERtN.png)

โรคไมเกรน เป็นการบีบตัวและคลายตัวของหลอดเลือดแดงในสมองที่มากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะท้ายทอยขึ้น จนบางครั้งอาจปวดศีรษะบริเวณขมับลงมาท้ายทอยได้

5. ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/XpEAtD.png)

กรณีการเต้นของชีพจรผิดปกติของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อาจมีอาการปวดศีรษะด้านหลังหรือปวดท้ายทอย ร่วมกับวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาพร่ามัว และเหนื่อยง่ายผิดปกติ


ปวดท้ายทอย อาการเป็นอย่างไร

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/XpE8iz.png)

อาการปวดท้ายทอย มีอาการดังต่อไปนี้



เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการปวดท้ายทอย ดังนี้



การวินิจฉัยอาการปวดหัวท้ายทอย

การวินิจฉัยอาการปวดหัวท้ายทอยโดยแพทย์มีวิธีการ ดังนี้

1.การตรวจด้วยภาพสแกน วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ใช้วินิจฉัยประกอบกับประวัติการรักษาของผู้ป่วยและการตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยอาการปวดต้นคอของผู้ป่วย ดังนี้


2.การตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ นอกจากการตรวจด้วยภาพสแกนแล้ว ยังมีวิธีอื่น ๆ ดังนี้



แนวทางการรักษาอาการปวดหัวท้ายทอย

1.ทานยาแก้ปวด

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/XpbipQ.png)

วิธีรักษาอาการปวดท้ายทอย สามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือยาคลายกล้ามเนื้อบางชนิด โดยยาแก้ปวดสามารถบรรเทาอาการได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไป โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการปวดแบบเรื้อรัง เพราะอาจส่งผลให้ตับและไตทำงานหนักได้

2.นวดบรรเทาอาการปวด

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/XpbPNb.png)

การนวดอย่างถูกวิธีจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณที่เกร็งตัว กระตุ้นการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ช่วยลดการตึง การปวดคอท้ายทอย และการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อได้ โดยเฉพาะในคนที่มีอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง ถือว่าเป็นวิธีแก้ปวดต้นคอท้ายทอยได้ดีทีเดียว แต่ไม่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อแบบฉับพลัน เพราะอาจทำให้อักเสบได้

3.ประคบร้อน

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/XpbryR.png)

ความร้อนจะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ทำให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ และช่วยระบายของเสียที่คั่งค้างในกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้ วิธีทำ คือ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น ถุงประคบร้อน หรือลูกประคบ มาวางบนท้ายทอยส่วนที่ปวดและกดเบา ๆ ค้างไว้ ประมาณ 10 - 15 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวดให้ดีขึ้น

4.การผ่าตัด

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/XpbG8t.png)

หากเป็นภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แพทย์อาจใช้การผ่าตัด เพื่อช่วยบรรเทาอาการรากประสาทหรือไขสันหลังถูกกดทับเส้นประสาท โดยวิธีรักษานี้จะรักษากรณีที่มีอาการปวดท้ายทอยรุนแรงจริง ๆ และรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 - 8 เดือน หรือบริเวณท้ายทอยมีอาการอ่อนแรงขึ้น โดยจะต้องตรวจวินิจฉัยให้แน่นอน หากต้องทำการผ่าตัดต้องทำโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

5.ฉีดโบท็อกแก้ไมเกรน

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/XpjWvV.png)

จากการศึกษาทดลองได้ยืนยันว่าการฉีด BTX type A รักษาไมเกรนได้ผลจริง และผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2010 การรักษาไมเกรนด้วยการฉีด BTX type A เป็นการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านสมอง เป็นที่รู้จักและใช้กันแพร่หลายทั่วโลก ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในประเทศไทย

ดังนั้น การฉีดโบท็อกไมเกรนเป็นหนึ่งในวิธีแก้ปวดท้ายทอยที่เกิดจากไมเกรนได้ เพราะช่วยให้บรรเทาอาการปวดปวดศีรษะไมเกรน และโรคอื่นทางระบบประสาทและสมอง ไม่ว่าจะเป็นอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ หรือกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ

6.การรักษาแบบทางเลือกอื่น

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/Xpj3G9.png)


การฝังเข็มช่วยรักษาอาการปวดท้ายทอย ปวดหลัง และไหล่ได้ผลดี เพราะอาการปวดเกิดขึ้นมาจากการอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก การฝังเข็มนอกจากจะกระตุ้นบริเวณกล้ามเนื้อที่เกร็งให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้กล้ามเนื้อที่เกร็งคลายตัวลง ส่งผลให้ลดอาการตึง อาการปวดหัวท้ายทอยได้ นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาที่ปลอดภัย ไม่เสี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก้ปวดเป็นเวลานานอีกด้วย

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/16/XpjEHP.png)

การกายภาพบำบัด จะมีนักกายภาพบำบัดแนะนำการรักษาเกี่ยวกับการบำบัดกล้ามเนื้ออักเสบ เช่น การปวดท้ายทอย บ่า หรือหลัง รวมทั้งสอนการออกกำลังกายท่าบริหารปวดท้ายทอย และใช้วิธีกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยความร้อน ความเย็น หรือไฟฟ้า เพื่อช่วยลดอาการปวดตึงท้ายทอยและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก


วิธีป้องกันปวดหัวท้ายทอย

วิธีป้องกันปวดหัวท้ายทอย ได้แก่



ข้อสรุป

อาการปวดท้ายทอยหรือปวดหัวท้ายทอย อาจจะดูเหมือนการเจ็บปวดธรรมดาทั่วไป แต่ที่จริงแล้วยังมีความอันตรายซ่อนอยู่ หากปล่อยไว้อาจกลายเป็นการเจ็บปวดเรื้อรังได้ ดังนั้น แนวทางในการป้องกันที่ดีที่สุด คือ ป้องกันไม่ให้มีอาการปวดท้ายทอยเรื้อรังตั้งแต่แรกด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม