ThaiFranchiseCenter Webboard

สุขภาพ ความสวยความงาม | Health & Beauty => สุขภาพ | Health => ข้อความที่เริ่มโดย: พรสัก ส่องแสง ที่ สิงหาคม 02, 2022, 06:22:31 AM

หัวข้อ: ยาทริปแทน (Triptan) หนึ่งในทางออกของไมเกรน
เริ่มหัวข้อโดย: พรสัก ส่องแสง ที่ สิงหาคม 02, 2022, 06:22:31 AM
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/01/VA1o70.png)


อาการปวดหัว โดยเฉพาะ ปวดหัวไมเกรน เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ต้องการเผขิญ แต่ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แถมยังมีอาการปวดหัวหนักขึ้น ถี่ขึ้น หรือเป็นอยู่เรื่อย ๆ ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจโรค และรับการรักษาอย่างถูกต้องจะดีที่สุด ซึ่งหนึ่งในวิธีที่จะรักษาโรคไมเกรนนั้น คือ กินยาทริปแทน หรือยากลุ่มTriptan (https://www.migrainethailand.com/triptan-migraine/)ที่สั่งโดยแพทย์

รู้จักกลุ่มยาทริปแทน (Triptan)

ยา Triptan เป็นกลุ่มยาแก้ปวดที่ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะและอาการอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากไมเกรน เช่น อาการคลื่นไส้ หรืออาการไวต่อแสงและเสียงมากผิดปกติ เป็นต้น

ตัวยาจะออกฤทธิ์ต่อสารเซโรโทนินในสมอง ทำให้เส้นเลือดในสมองหดตัวแคบลง ทั้งยังส่งผลต่อเส้นประสาทในสมองบางชนิด ทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนบรรเทาลง  ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 ชั่วโมงหลังการใช้ยา  แต่ยากลุ่มทริปแทนนี้ไม่ได้ใช้ในการป้องกันไมเกรน

อีกทั้งยากลุ่มทริปแทน ก็ยังเป็นยารักษาอาการปวดศีรษะจากโรคคลัสเตอร์ และไมเกรน เท่านั้น ไม่มีผลต่ออาการปวดจากอย่างอื่น และไม่ควรใช้ร่วมกับยากลุ่มเออร์กอต อัลคาลอยด์ เพราะออกฤทธิ์คล้ายกันคือหดหลอดเลือด การใช้คู่กันอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่นไม่พอ เกิดภาวะแห้งตายได้
 
ยากลุ่มทริปแทนมีหลายรูปแบบ ทั้งยาเม็ด ยาพ่น และ ยาฉีด เป็นต้น

กลไกการออกฤทธิ์ของยาทริปแทน (Triptan)

ยากลุ่มทริปแทนมีกลไกการออกฤทธิ์เป็น 5HT agonist (5 hydroxytryptamine agonist, ยากระตุ้นตัวรับ 5HT) โดยตัวยาจะเข้าจับกับตัวรับที่มีชื่อว่า 5-HT receptors ในสมอง ส่งผลให้หลอดเลือดในบริเวณสมองหดตัว จึงทำให้อาการปวดศีรษะเบาบางลง

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/02/Xind7u.png)


รูปแบบของยา Triptan มีอะไรบ้าง

รูปแบบของยาทริปแทน มี
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน
- ยาฉีด
- สเปรย์พ่นจมูก
- แผ่นแปะ

ยากลุ่มทริปแทน มีอะไรบ้าง

ยากลุ่มทริปแทน มีอยู่หลายตัว ขึ้นกับแต่ละบริษัทที่จะผลิตออกมาจำหน่าย

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/02/XinlJq.png)


1. ยา Sumatriptan 

มีชื่ออการค้า “อิมิแกรน” หรือ “อิมิเทรค” เป็นยาตามใบสั่งแพทย์  ยาเม็ดชนิดรับประทาน, สเปรย์พ่นจมูก, ยาฉีด, แผ่นปะผิวหนัง ใช้สำหรับคนไข้ปวดหัวไมเกรน ลดอาการปวดหัว คลื่นไส้ และความไวต่อแสงและเสียง

2. ยา Naratriptan
 
มีชื่อการค้า “อเมอร์ท” หรือ “นารามิก” เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาเม็ดชนิดรับประทาน ใช้รักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบพลันและบรรเทาอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากไมเกรน เช่น ไวต่อแสงและเสียง คลื่นไส้ อาเจียน

3. ยา Rizatriptan
 
มีชื่อการค้า “Maxalt” เป็นยาชนิดรับประทาน เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาเม็ดชนิดรับประทาน ใช้รักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนและบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากไมเกรน เช่น อาการคลื่นไส้ และอาการไวต่อแสงหรือเสียง เป็นต้น

4. ยา Eletriptan
 
มีชื่อการค้า “Relpax” เป็นยาชนิดรับประทาน เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาเม็ดชนิดรับประทาน ให้รักษาอาการปวดไมเกรน

5. ยา Zolmitriptan
 
มีชื่อการค้า “ Zomig” เป็นยาชนิดรับประทานและยาพ่นทางจมูก เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ใช้เพื่อบรรเทาและรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน ออกฤทธิ์ด้วยการทำให้หลอดเลือดบริเวณสมองหดตัวลง ยับยั้งการส่งสัญญาณการเจ็บปวดไปสู่ส่วนสมอง

6. ยา Almotriptan
 
มีชื่อการค้า “Axert” เป็นยาเม็ดชนิดรับประทาน ใช้ลดอาการปวดศีรษะ อาการปวด และอาการของโรคไมเกรนอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน แพ้แสง สำหรับคนอายุ 65 ปีขึ้นไปควรใช้ยาชนิดนี้อย่างระวัง เพราะเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงได้มาก

7. ยา Frovatriptan

มีชื่อการค้า “Flova” เป็นยาชนิดรับประทาน ใช้รักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ยา Triptan

สิ่งที่พึงระลึกไว้เสมอว่า เมื่อใดก็ตามที่มีการใช้ยาอะไรก็ตาม เราต้องใส่ใจที่จะดูคู่มือของยาชนิดนั้น ๆ ว่ามีคำเตือน หรือ ข้อควรระวังใดบ้าง  เช่นเดียวกัน สำหรับการใช้ยาทริปแทน ก็ต้องระวังเรื่องต่อไปนี้

- หากมีประวัติการแพ้ยากลุ่มทริปแทน หรือกลุ่มยาใด ๆ ก็ตาม ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบก่อน เพราะอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ยาหรือปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้

- ต้องให้แพทย์ได้รู้หากว่ามีโรคประจำตัวต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด โรคหัวใจ โรคตับ อาการชัก โรคหลอดเลือดสมอง โรคไมเกรนที่มีอาการอ่อนแรงครึ่งซึก โรคไมเกรนที่มีอาการนำที่ก้านสมอง เป็นต้น

- ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ ถ้าผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงใด ๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาหัวใจ ความดันเลือดสูง คลอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น หรือมีบุคคลในครอบครัวที่เป็นโรคดังกล่าว  เป็นหญิงวัยหมดประจำเดือน หรือชายอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

- เมื่อไรก็ตามที่มีการใช้ยาแล้ว ห้ามหยุด หรือปรับปริมาณการใช้ยา โดยไม่ได้รับคำสั่งจากแพทย์

- ห้ามใช้ยาเกินระยะเวลาที่แพทย์กำหนด

- ห้ามใช้ยากลุ่มทริปแทนมากกว่า 1 ชนิด ในเวลาเดียวกัน หรือใช้ร่วมกับยาเออร์โกตามีน ยาต้านเศร้า เพราะอาจมีปฏิกิริยาบางอย่างที่เป็นอันตรายได้

- หลีกเลี่ยงการขับรถ หรือทำกิจกรรมใด ๆ ที่ต้องการการตื่นตัว เพราะยากลุ่มนี้อาจทำให้ง่วงซึม

- หญิงมีครรภ์ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยากลุ่มนี้ทุกครั้ง ให้ใช้เฉพาะเมื่อจำเป็นเท่านั้น

- หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมลูก ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะยากลุ่มนี้อาจส่งผ่านไปยังลูกได้

วิธีเก็บรักษายา Triptan

ยาทริปแทนต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส  ไม่ควรเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ แต่ควรเก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น และที่สำคัญให้เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยงด้วย

แนะนำวิธีใช้ยา Triptan อย่างปลอดภัย

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/02/XinFDn.jpg)

ปริมาณการใช้ยาทริปแทนแต่ละชนิดที่เหมาะสม และปลอดภัยตามที่ระบุไว้ในตัวยาแต่ละชนิด แต่โดยรวมสามารถกินยาก่อนหรือพร้อมอาหารได้

1. ยา Sumatriptan

ผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป ปริมาณการใช้ยาของแต่ละยาแต่ละชนิด

- ยาเม็ด กินยาครั้งละ 25-100 มิลลิกรัม และให้กินซ้ำทุก 2 ชั่วโมง หากมีอาการปวดไมเกรนขึ้นอีกครั้ง แต่ห้ามเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน

- สเปรย์พ่นจมูก พ่นคร้งละ 5-20 มิลลิกรัม ซ้ำได้ทุก 2 ชั่วโมงถ้ายังไม่หายปวด สูงสุดไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน

- ยาฉีด ฉีดเข้าใต้ผิวหนังครั้งละ 4-6 มิลลิกรัม ซ้ำได้ทุก 1 ชั่วโมง ถ้ายังไม่หายปวด สูงสุดไม่เกิน 12 มิลลิกรัม/วัน

- แผ่นแปะ แปะครั้งละ 1 แผ่น อยู่ได้ประมาณ 4 ชั่วโมง หรือจนกว่าแสง LED ที่แผ่นจะหายไป แผ่นที่สองอาจเริ่มได้หลังแปะแผ่นแรกไปแล้ว 2 ชั่วโมงถ้ายังปวดมากอยู่  แต่สูงสุดไม่ควรเกิน 2 แผ่น/วัน

2. ยา Naratriptan

ผู้ใหญ่กินยาปริมาณ 1-1.25 มิลลิกรัม หากไม่ดีขึ้นก็ให้กินปริมาณเท่าเดิมแต่ต้องหลังจากกินยาครั้งแรกไปแล้ว 4 ชั่วโมง ห้ามเกิน 5 มิลลิกรัมต่อวัน

3. ยา Rizatriptan

ผู้ใหญ่กินยาเริ่มต้น 10 มิลลิกรัม ภ้าอาการไม่ดีอาจกินซ้ำได้อีก 10 มิลลิกรัม หลังจากกินยาครั้งแรก 2 ชั่วโมง  แต่ไมเกิน 20 มิลลิกรัมต่อวัน

4. ยา Eletriptan

ผู้ใหญ่เริ่มต้นกิน 20-40 มิลลิกรัม แต่หากอาการไม่ดีขึ้นให้กินซ้ำได้ทุก 2 ชั่วโมง แต่ต้องไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อวัน

5. ยา Zolmitriptan

ผู้ใหญ่กินยาเริ่มต้น 2.5 มิลลิกรัม สามารถกินซ้ำได้ทุก 2 ชั่วโมง และไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อวัน

6. ยา Almotriptan

ผู้ใหญ่กินยาโดยเริ่มต้นที่ 6.25-12.5 มิลลิกรัม และหากจำเป็นต้องกินซ้ำก็ให้ห่างจากครั้งแรก 2 ชั่วโมง ปริมาณสูงสุดต่อวันคือ 25 มิลลิกรัม/วัน

7. ยา Frovatriptan
 
ผู้ใหญ่กินยาครั้งแรกที่ 2.5 มิลลิกรัม ครั้งถัดไปห่างกัน 2 ชั่วโมง   แต่ไม่เกิน 7.5 มิลลิกรัมต่อวัน

ปริมาณการใช้ยา Triptan ที่เหมาะสม

ปริมาณการใช้ยาทริปแทนที่เหมาะสมนั้น ให้ทำตามที่ได้แนะนำไว้ข้างต้น  แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับแพทย์ที่จะเป็นผู้สั่งยา ปรับเปลี่ยนปริมาณให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ๆ ไป

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์/เภสัชกรก่อนสั่งยา Triptan

เมื่อไรก็ตามที่มีการสั่งยา ไม่ว่าจะเป็นยาอะไรก็ตามรวมทั้งทริปแทนด้วย ผู้ป่วยมีหน้าที่ที่จะต้องแจ้งแพทย์ พยาบาล และเภสัชกรด้วย เกี่ยวกับ

- ประวัติการแพ้ยาทุกชนิดของตัวผู้ป่วยเอ

- หากมีโรคประจำตัว ก็ต้องรีบแจ้ง เพราะยาทริปแทนอาจส่งผลกระทบทำให้อาการของโรคประจำตัวรุนแรงขึ้นได้

- สำหรับผู้ป่วยหญิง หากอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ก็ต้องแจ้งเพราะยาทริปแทนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับบุตรได้

ปฏิกริยาของยา Triptan กับยาตัวอื่น

ยาทริปแทนมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่น ดังนี้

- การใช้ยา Sumatriptan ร่วมกับยา Ergotamine จะทำให้หลอดเลือดเกร็งตัวแล้วเกิดภาวะขาดเลือดกับผู้ป่วยได้

- การใช้ยา Rizatriptan ร่วมกับยา Propranolol จะทำให้ระดับยา Rizatriptan ในกระแสเลือดสูงขึ้น ดังนั้นแพทย์จะเป็นผู้สั่งปรับปริมาณการกินให้เหมาะสมเป็นคน ๆ ไป

- การใช้ยา Almotriptan ร่วมกับยา Verapamil และ Ketoconazole จะทำให้ระดับยา Almotriptan ในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้นจนเกิดผลข้างเคียงได้  ดังนั้นหากจำเป็นต้องใช้ร่วมกับยาอื่น ควรให้แพทย์เป็นผู้ปรับขนาดยา

- การใช้ยา Zolmitriptan ร่วมกับยาต้านโรคซึมเศร้า ยากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitor อาจก่อให้เกิดภาวะ Serotonin syndrome เช่นความดันเลือดสูง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน

ใครที่ไม่ควรใช้ยาทริปแทน

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/02/XiVQ3f.png)


บุคคลต่อไปนี้ไม่ควรใช้ยาทริปแทน

- คนที่แพ้กลุ่มยาทริปแทน หรือ ยากลุ่ม Sulfonamides

- เด็ก หรือ ผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี

- หญิงมีครรภ์ หรือ หญิงที่ให้นมลูก

- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจล้มเหลว โรคตับระยะรุนแรง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคความดันเลือดสูง

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากยาทริปแทน

การที่จะใช้ยาทริปแทนนั้น พึงระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระดับเบา ๆ แล้วหายไปเอง  หรืออาจมีอาการรุนแรงจนต้องเข้าแพทย์ก็เป็นได้

อาการที่ไม่รุนแรงและอาจหายไปเองได้มี

- เวียนศีรษะ คลื่นไส้

- ปากแห้ง หน้าแดง

- รู้สึกหนักบริเวณใบหน้า แขน ขา และ หน้าอก  แน่นบริเวณลำคอ

- ง่วงนอน

- รู้สึกเจ็บคล้ายถูกเข็มทิ่ม และอาจเกิดปฏิกิริยาทางผิวหนังเมื่อใช้ยาทริปแทนแบบฉีด

แต่เมื่อใดที่พบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที

- ปวดศีรษะรุนแรง มีปัญหาเกี่ยวกับมองเห็นและทรงตัว พูดไม่ชัด รู้สึกเย็นและชาบริเวณมือและเท้า

- รู้สึกเจ็บหรือแน่นหน้าอก เจ็บร้าวที่ขากรรไกรหรือไหล่ คลื่นไส้ มีเหงื่อออกมาก

- หัวใจเต้นเร็ว เห็นภาพหลอน สูญเสียการทำงานประสานกันของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เวียนศีรษะ เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียอย่างรุนแรง กล้ามเนื้อกระตุก มีใข้ หนาวสั่นอย่างไม่รู้สาเหตุ รู้สึกกระวนกระวาย อยู่ไม่สุข

- มีผื่นหรือตุ่มพองขึ้นตามผิวหนัง มีอาการบวมบริเวณใบหน้า ลิ้น และคอ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง และหายใจลำบากเป็นต้น

วิธีเก็บรักษายา Triptan

ยาทริปแทนต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส  ไม่ควรเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ แต่ควรเก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น และที่สำคัญให้เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยงด้วย

ยาทริปแทน (Triptan) ราคาเท่าไหร่

ยาทริปแทนราคามีตั้งแต่ ร้อยปลาย ๆ จนถึง สองพันปลาย ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของยาทริปแทน และปริมาณ  รวมทั้งยังขึ้นกับประเทศที่ผลิตด้วย  แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่แพทย์กับสถานพยาบาลที่เราเข้าไปใช้บริการว่ามี ยาทริปแทนยี่ห้ออะไรที่มีไว้ใช้รักษาไมเกรนของผู้ป่วย

ทานยาไมเกรนแล้วไม่หาย รักษาอย่างไรได้บ้าง

“ไมเกรน” เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่สร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยไม่น้อย  และการรักษาที่ดี ก็คือ การป้องกันไม่ให้อาการปวดศีรษะไมเกรนกำเริบ แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ต้องพยายามลดอาการปวดไมเกรนให้ลดความรุนแรงลง

1. การบรรเทาอาการปวดไมเกรนเบื้องต้น

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/02/XiXZNe.png)

วิธีบรรเทาอาการปวดไมเกรนเบื้องต้นนั้น ทำได้ด้วยการประคบเย็น การนวด กดจุด การทำกายภาพบำบัด เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบศีรษะและคอ การนอนพัก การนั่งสมาธิ หรือ การคลายเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ อาจพอช่วยให้บรรเทาอาการปวดได้บ้าง  ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรน

2. การรักษาไมเกรนโดยแพทย์

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/08/02/XiXOvn.jpg)

หากมีอาการปวดไมเกรนหนักขึ้น ยาวนานขึ้น และถี่ขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาให้อาการเบาบางลง เพราะโรคไมเกรนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  แพทย์อาจสั่งยาทริปแทนให้เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ก็ต้องพิจารณาหลาย ๆ ปัจจัย ก่อนจะทำการรักษา

ข้อสรุป

เนื่องจากยาทริปแทนเป็นหนึ่งในทางออกของอาการปวดไมเกรน เราควรที่จะศึกษาทุก ๆ รายละเอียดก่อนที่จะได้ทำการเลือกใช้ เพราะมีผลต่อชีวิตประจำวันของเรา ทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพที่ดีอีกด้วย ดังนั้นเราคาดหวังว่าข้อมูลที่จัดหาให้ในครั้งนี้คงจะมีประโยชน์ต่อทุกคนไม่มากก็น้อย