ThaiFranchiseCenter Webboard

สุขภาพ ความสวยความงาม | Health & Beauty => สุขภาพ | Health => ข้อความที่เริ่มโดย: พรสัก ส่องแสง ที่ กรกฎาคม 26, 2022, 05:23:01 AM

หัวข้อ: รู้จักฮอร์โมน AMH มีผลสำคัญต่อการมีลูกอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: พรสัก ส่องแสง ที่ กรกฎาคม 26, 2022, 05:23:01 AM
รู้จักฮอร์โมน AMH มีผลสำคัญต่อการมีลูกอย่างไร

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/26/Xhn30N.png)

ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลบ่งชัดว่า ค่าฮอร์โมน AMH เท่าไร จึงจะบอกได้ว่าเป็นภาวะมีลูกยาก แต่โดยทั่วไป ค่าฮอร์โมน AMH ก็สามารถบอกได้ถึงการทำงานของรังไข่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รู้ถึงความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้
 
เราจึงควรที่จะมาทำความเข้าใจถึงความสำคัญของฮอร์โมน AMH (https://beyondivf.com/anti-mullerian-hormone/) ที่มีต่อกระบวนการการรักษาภาวะมีลูกยาก ดังต่อไปนี้


รู้จัก ‘ฮอร์โมน AMH’
ฮอร์โมน AMH หรือที่เรียกว่า ฮอร์โมนแอนตี้มูลเลอเรียน (Anti-Mullerian Hormone) คือ ฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ เป็นตัวบ่งบอกความสามารถในการทำงานของรังไข่ หรือบอกจำนวนไข่ที่สามารถผลิตได้ ฮอร์โมน AMH จะมีค่าสูงขึ้นและลดลงเรื่อย ๆ เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัว และจะลดลงเรื่อย ๆ จนหมดไปเมื่อมีอายุมากขึ้นหรือเข้าสู่วัยหมดระดู และยังสามารถบอกได้ถึงโอกาสตั้งครรภ์ได้
 
ประโยชน์ของการตรวจฮอร์โมน AMH


(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/26/XhnhrE.png)



การตรวจฮอร์โมน AMH จะช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้ คุณหมอสามารถวางแผนการรักษาให้กับคุณผู้หญิงเกี่ยวกับการวางแผนมีลูกได้อย่างเหมาะสม

เหมาะกับคุณผู้หญิงหรือคู่สมรสที่ต้องการวางแผนการมีบุตรในอนาคต


การตรวจฮอร์โมน AMH กับการตั้งครรภ์


(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/26/XhnfQv.jpg)


โดยปกติผู้หญิงเมื่อแรกเกิดจะมีไข่ในรังไข่ประมาณ 1-2 ล้านฟอง แต่พอเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรือเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ไข่จะเหลือเพียง 3-4 แสนฟองเท่านั้น และจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น

หรือเพราะอิทธิพลอื่น ๆ ที่เข้ามากระทบเช่น ความเครียด การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือการเป็นโรคเกี่ยวกับรังไข่ เป็นต้น ที่มีผลกับปริมาณไข่ที่จะลดลงแล้ว คุณภาพไข่ก็จะน้อยลงด้วย และที่สำคัญการผลิตไข่ไม่สามารถเพิ่มจำนวนหรือสร้างขึ้นใหม่ได้
 
และที่สำคัญในแต่ละเดือนจะมีไข่เพียง 1 ฟองที่ตกออกมาเพื่อใช้ในการปฏิสนธิเท่านั้น
 
การตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH เป็นการตรวจเพื่อทดสอบสมรรถภาพของรังไข่ ด้วยวิธีเจาะเลือดซึ่งสามารถบ่งบอกได้ว่ารังไข่ทำงานปกติหรือไม่ ปริมาณไข่มีมากน้อยแค่ไหน

และยังช่วยให้เเพทย์ทำงานง่ายขึ้นในการประเมินโอกาสการตั้งครรภ์ให้คุณผู้หญิง และนำค่าฮอร์โมน AMH มาเช็คว่ารังไข่จะสนองตอบต่อกระบวนการกระตุ้นไข่ด้วยยามากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ผลิตไข่ออกมาในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อใช้ในกระบวนการฝากไข่ และเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI   

ขั้นตอนการตรวจฮอร์โมน AMH

ก่อนอื่นจะต้องมีการซักประวัติเบื้องต้น , ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน โดยพยาบาล ก่อนเข้าพบแพทย์เพื่อเช็คหาโรคประจำตัว โรคพันธุกรรม (ถ้ามี) แล้วจึงเริ่มขั้นตอนการตรวจฮอร์โมน AMH ทำได้ด้วยการเจาะเลือด โดยไม่ต้องงดน้ำและอาหารล่วงหน้า สามารถตรวจเมื่อไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรอช่วงเวลามีรอบเดือน เพราะฮอร์โมน AMH ไม่ได้มีความสัมพันธ์กัน และสามารถรู้ผลตรวจในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
 
ค่าปกติของฮอร์โมน AMH

วิธีการอ่านค่าผลตรวจฮอร์โมน AMH คือ



ระดับค่า AMH ตามช่วงวัยและอายุ


(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/26/Xhn9ZV.jpg)



ระดับค่า AMH จะแตกต่างกันตามช่วงวัยและอายุดังนี้



ใครบ้างที่ควรตรวจฮอร์โมน AMH


คนที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เหมาะสมที่จะเข้ารับการตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH



คำถามที่พบบ่อย


1. ควรตรวจฮอร์โมน AMH ช่วงไหนของรอบเดือน

สามารถตรวจฮอร์โมน AMH ช่วงไหนของเดือนก็ได้ เพราะฮอร์โมน AMH ไม่มีความสัมพันธ์กับรอบเดือน แต่ค่าการตรวจอาจไม่แม่นยำที่มาจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ กินยาคุมกำเนิด เป็นต้น ควรเข้ารับการแนะนำจากแพทย์ด้วย

2. มีวิธีที่ช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมน AMH หรือไม่ อย่างไร
วิธีการปรับสมดุลของฮอร์โมน AMH ทำได้ง่าย ๆ เช่น


3. หากผลตรวจค่าฮอร์โมน AMH ไม่ปกติ สามารถตั้งครรภ์ได้ไหม

ถึงแม้ผลตรวจค่าฮอร์โมน AMH ไม่ปกติ ซึ่งหมายความว่ารังไข่ทำงานผิดปกติ เราสามารถนำผลการตรวจไปประกอบการวินิจฉัยความผิดปกติ เพื่อรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม จากแพทย์ผู้เขี่ยวชาญเพื่อรักษาภาวะมีลูกยาก และวางแผนการมีลูกต่อไปในอนาคต

ข้อสรุป

การตรวจฮอร์โมน AMH นั้น เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ช่วยตรวจเช็คถึงปริมาณไข่ที่มี ณ เวลานั้น จึงเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์มีลูกในอนาคตได้  โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการพัฒนาการรักษาด้วยเทคนิคช่วยการเจริญพันทางการแพทย์ เช่น การฝากไข่ (สำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมมีลูก ณ ปัจจุบัน) หรือการทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI  เป็นต้น