ThaiFranchiseCenter Webboard

สุขภาพ ความสวยความงาม | Health & Beauty => สุขภาพ | Health => ข้อความที่เริ่มโดย: พรสัก ส่องแสง ที่ กรกฎาคม 12, 2022, 10:22:23 AM

หัวข้อ: โรคข้ออักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร อาการวิธีรักษาและการป้องกัน
เริ่มหัวข้อโดย: พรสัก ส่องแสง ที่ กรกฎาคม 12, 2022, 10:22:23 AM
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/12/VJYTut.jpg)

ร่างกายของมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่ไม่คงทนถาวร เมื่อคุณอายุมากขึ้นก็ต้องมีปัญหาสุขภาพตามมาบ้าง และโรคที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเป็นเมื่ออายุมากขึ้น คือ โรคข้ออักเสบ (https://samitivejchinatown.com/th/article/bone-osteoarthritis/arthritis) อาการของโรคนี้มักจะทำให้ข้อมีอาการปวดบวมแดง เป็นโรคของข้อต่อที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเยื่อหุ้มข้อซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างกระดูก
โดยเฉพาะข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า จึงส่งผลให้ผู้ป่วยทำการเคลื่อนไหวร่างกายได้ ไม่คล่องแคลวเหมือนแต่ก่อน หากปล่อยไว้นานอาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่นอาการติดเชื้อที่มีอันตรายถึงและเกิดความพิการตามมา

โรคข้ออักเสบ (Arthritis)

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/12/VJYQYQ.jpg)

โรคข้ออักเสบ (Arthritis) คือ เกิดจากการบาดเจ็บของข้อต่อ การติดเชื้อของข้อหรือการเสื่อมตามอายุ รวมถึงการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มักพบได้บ่อยในสองช่วงอายุ ได้แก่ ช่วงอายุ 20-30 ปี และ 50-60 ปี
 
และส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในช่วงอายุน้อย แต่ถ้าในช่วงอายุที่มากขึ้น จะพบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และอาจมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ ได้แก่ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม และการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย

โรคข้ออักเสบ จึงส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย บวม และกดเจ็บในบริเวณข้อต่อ โรคข้ออักเสบ อาการลักษณะ คือ มีการอักเสบรุนแรงโดยเฉพาะบริเวณของข้อโดยเฉพาะข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลให้ข้อถูกทำลายและเกิดความพิการตามมาได้ในไม่ช้า ดังนั้นหากมีสัญญาณเตือนให้เข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และทำการรักษาตั้งแต่พบอาการ

อาการของโรคข้ออักเสบ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/12/VJY2Rb.jpg)

โรคข้ออักเสบ อาการของโรค มีดังนี้

เกิดอาการบวมแดง และร้อนที่ข้อต่อโดยอาจเกิดขึ้นเพียงจุดเดียว หรือหลายจุดรวมๆกัน

เนื่องจากโรคข้ออักเสบจะเริ่มเกิดการอักเสบ ข้อต่อตามบริเวณ ข้อกลางนิ้วมือ, ข้อโคนนิ้วมือ, ข้อมือ, ข้อนิ้วเท้า และข้อขนาดใหญ่ เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ข้อสะโพกต่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อขนาดเล็ก จึงส่งผลทำให้ร่างกายของผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ช้าลง หรือเวลาเคลื่อนไหวข้อต่อได้ลำบาก

โรคข้ออักเสบ เกิดจากสาเหตุใด

โรคข้ออักเสบ เกิดจากหลากหลายสาเหตุมารวมกัน  ซึ่งสาเหตุเหล่านั้น ได้แก่ อายุที่มากขึ้น การเสื่อมสภาพของร่างกาย ตามบริเวณ ข้อต่อที่เริ่มเกิดการสะสมของผลึกกรดยูริก หรือโรคข้ออักเสบ สาเหตุอาจมาจากผู้ป่วยมีอาการอักเสบเรื้อรังของข้อต่อในร่างกายหลายข้อพร้อมกัน นอกจากนี้หากผู้ป่วยมีประวัติการบาดเจ็บของข้อต่อ ก็มีความเสี่ยงของข้ออักเสบเฉียบพลันได้เช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดโรคข้ออักเสบ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/12/VJYuMa.jpg)

เราได้เรียนรู้สาเหตุของการเกิดโรคข้ออักเสบกันไปแล้ว ต่อมาเราควรทราบถึงปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดโรคข้ออักเสบ ซึ่งมีหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น


โรคข้ออักเสบ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

โรคข้ออักเสบ มีหลายประเภท แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

1. โรคข้ออักเสบแบบเฉียบพลันข้อเดียว

สาเหตุเกิดจากการอักเสบในบริเวณของเส้นเอ็น และข้อ ตัวอย่างของโรคข้ออักเสบแบบเฉียบพลันข้อเดียว เช่น โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ โรคเก๊าท์

2. โรคข้ออักเสบแบบเฉียบพลันหลายข้อ

สาเหตุเกิดจากการอักเสบจากการอันเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ตัวอย่างโรคข้ออักเสบแบบเฉียบพลันหลายข้อ เช่น โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย

3. โรคข้ออักเสบชนิดเรื้อรังจากรูมาตอยด์

สาเหตุเกิดจากการเกิดขึ้นได้หลายอย่างรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นจากโรครูมาตอยด์ เก๊าท์เทียม หรือมะเร็งบางชนิด การติดเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างของโรคข้ออักเสบชนิดเรื้อรังจากรูมาตอยด์ เช่น  โรครูมาตอยด์, โรคจากภูมิคุ้มกัน แพ้ภูมิตัวเอง SLE

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

เมื่อไหร่ที่ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ ควรพบแพทย์ หากคุณจะมีอาการดังต่อไปนี้

1. คุณเริ่มขยับร่างกายได้ยาก ไม่คล่องแคล่วเหมือนแต่ก่อน อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชม.ในการจะลุกขึ้นจากที่นอน
2. หากคุณมีอาการอักเสบบริเวณข้อมือ ข้อโคนนิ้วมือ ข้อเท้า ข้อเข่า ลุกลามขึ้นมาถึงกระดูกสันหลังส่วนบนหรือคอ เวลาทำกิจกรรมต่างๆ คุณเริ่มรู้สึกขยับหันศีรษะได้ลำบาก เป็นแบบมาประมาณ 6 สัปดาห์
3. หากปวดบริเวณขาหรือเท้า คุณจะรู้สึกเจ็บมากขึ้นเวลาเดิน
4. หากปวดที่นิ้มมือ หรือเท้า จะบวมอักเสบ 1 – 2 นิ้ว  ทำให้นิ้วบวมโตผิดปกติ
5. โรคข้ออักเสบอาจมีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นตามมาด้วย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยทั้งตัว น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/12/VJYrAz.jpg)

แพทย์มีหลักการการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบ มีดังนี้


วิธีรักษาโรคข้ออักเสบ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/12/VJYGRI.jpg)

วิธีรักษาโรคข้ออักเสบ มี 3 วิธีหลักๆ ดังนี้

รักษาด้วยการใช้ยา

การใช้ยารักษาโรคข้ออักเสบ ส่วนใหญ่นั้นจะใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด ลดบวม ซึ่งแพทย์อาจจ่ายยาตามชนิดของภาวะข้ออักเสบได้แก่


รักษาโรคข้ออักเสบด้วยการทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัด จะเน้นไปในด้านการบริหารกล้ามเนื้อ การออกกำลังกาย เช่น การว่ายน้ำ การออกกำลังด้วยแอโรบิก เพราะจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณข้อมีความยืดหยุ่น  ช่วยลดปัญหาการยึดติดของข้อต่อ และรวมไปถึงช่วยลดอาการปวดที่จะเกิดขึ้นในขณะเคลื่อนไหวอีกด้วย

รักษาข้ออักเสบโดยการผ่าตัด

การรักษาข้ออักเสบโดยการผ่าตัด จะเป็นวิธีสุดท้ายหากแพทย์ลองให้คุณการใช้ยาหรือทำกายภาพบำบัด แต่ยังไม่ได้ผลลัพธ์เท่าที่ควร ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้มีหลายรูปแบบ เช่น ผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อรักษาข้อต่อ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ผ่าตัดเชื่อมข้อต่อ เป็นต้น

วิธีป้องกันโรคข้ออักเสบ

คุณสามารถป้องกันโรคข้ออักเสบได้ด้วยตัวเอง มีดังนี้

1. ออกกำลังกายที่ส่งผลดีต่อข้อ เช่น ว่ายน้ำ เพราะน้ำจะช่วยพยุงข้อต่อไม่ให้ทำงานหนัก
2. เริ่มควบคุมน้ำหนัก พยายามไม่ให้น้ำหนักตัวมากเกินไป เพื่อลดการรับน้ำหนักของข้อเข่า ข้อเท้า
3. เลือกรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงกระดูก ที่มีส่วนประกอบพวกแคลเซียม โอเมก้า 3 วิตามินดี และวิตามินซี
4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่รวมถึงควันบุหรี่
5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลต่อข้อ เช่น การวิ่ง การกระโดด เป็นต้น

รักษาโรคข้ออักเสบ ที่ไหนดี

โรคข้ออักเสบเป็นโรคที่ค่อนข้างมีอาการซับซ้อนหลายอย่าง เพราะสาเหตุของโรคข้ออักเสบจากภูมิคุ้มกันนี้เกิดจากอาการหลากหลายแบบมารวมๆกัน การเลือกโรงพยาบาลที่จะรักษา คุณควรเลือกโรงพยาบาลที่มีความทันสมัย มีความน่าเชื่อถือ

มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย แพทย์มีความเชี่ยวชาญในการรักษา หากคุณไม่รีบรักษา ปล่อยอาการไว้นาน หรือทำการรักษาที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก อาจทำให้มีอาการปวดข้อในชนิดเรื้อรัง จะนำไปสู่ความพิการผิดรูปและภาวะทุพลภาพ

ข้อสรุป

เมื่อคุณอายุมากขึ้น มีโอกาสเสี่ยงที่อาจจะต้องเผชิญโรคข้ออักเสบ เพราะเป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับทุกคน วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ คุณก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนักตัว การเลือกรับประทานอาหาร เป็นต้น

หากคุณพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้ออักเสบ ควรรีบทำการรักษาให้หาย และควรให้ความร่วมมือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อที่จะได้ไม่เกิดการลุกลามจนกลายเป็น โรคข้ออักเสบเรื้อรัง โรคข้ออักเสบติดเชื้อ โรคข้ออักเสบ แบบ snsa โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน เป็นต้น