ThaiFranchiseCenter Webboard

สุขภาพ ความสวยความงาม | Health & Beauty => สุขภาพ | Health => ข้อความที่เริ่มโดย: อัญณา ที่ มิถุนายน 19, 2021, 05:23:10 AM

หัวข้อ: อาการ วัณโรค เป็นอย่างไร จำเป็นหรือไม่ในการฉีดวัคซีนป้องกัน
เริ่มหัวข้อโดย: อัญณา ที่ มิถุนายน 19, 2021, 05:23:10 AM
อาการ วัณโรค เป็นอย่างไร จำเป็นหรือไม่ในการฉีดวัคซีนป้องกัน

        วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อชนิดรุนแรงที่ติดต่อง่ายทางลมหายใจ มีโอกาสติดเชื้อได้ทุกส่วนในร่างกาย ในประเทศไทยวัณโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิด “ไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส” (Mycobacterium Tuberculosis) อาการวัณโรค (https://www.medparkhospital.com/content/pulmonary-tuberculosis)ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นโรค ส่วนใหญ่มักเป็นวัณโรคปอดซึ่งแพร่กระจายผ่านทางการหายใจเอาเชื้อเข้าไปผ่านการจาม ไอ และติดจากเสมหะของผู้ป่วย หรืออยู่กับผู้ป่วยเป็นเวลานาน เชื้อโรคจะกระจายอยู่ในอากาศจึงแพร่กระจายได้ง่าย แต่เชื้อโรคจะตายเมื่อถูกแสงแดด สถิติผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศไทยกว่า 80,000 คน ถือเป็นโรคอันตรายที่ทุกคนมีโอกาสติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว

         ปัจจุบันเด็กแรกเกิดทุกคนได้รับ วัคซีน วัณโรค (BCG) เป็นวัคซีนพื้นฐานที่จำเป็น เนื่องจากเด็กเล็กร่างกายอ่อนแอและมีความเสี่ยงติดเชื้อวัณโรคได้ง่าย หลังจากนั้นบริเวณที่ฉีดวัคซีนจะมีผดหรือตุ่มนูนเกิดขึ้นและแตกออกเป็นแผลขนาดเล็ก ดูแลแผลให้สะอาดและแห้งจะหายได้เองภายใน 2-6 สัปดาห์ วัคซีนช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้รับมือกับเชื้อวัณโรค มีประสิทธิภาพป้องกันวัณโรคได้ 80% ดังนั้น ควรใส่ใจรักษาสุขภาพให้แข็งแรง คอยสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณของวัณโรค และ ตรวจ สุขภาพ เป็นประจำทุกปีเพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคร้าย

อาการที่น่าสงสัยว่าเป็นวัณโรคเป็นอย่างไร
-ในระยะเริ่มแรกมักไม่ค่อยมีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย
-ไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์ เป็นได้ทั้งอาการไอแห้ง ไอมีเสมหะ ไอปนเลือด
-มีไข้ต่ำ ๆ มักจะตัวร้อนตอนบ่ายหรือตอนเย็น และเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
-อ่อนเพลียเป็นประจำ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงผิดปกติ
-เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจติดขัด
-อาการไอเรื้อรังเป็นเวลานานทำให้หอบเหนื่อย ไอมากจนเป็นลม ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เช่น กระทบต่อการนอนหลับ รับประทานอาหารไม่สะดวก เสียบุคลิกภาพ เป็นที่รำคาญและเป็นที่น่ารังเกียจ ทั้งยังเป็นการแพร่เชื้อไปติดผู้อื่นด้วย วัณโรคเป็นแล้วรักษาได้ แต่ถ้าไม่รีบพบแพทย์ เชื้อโรคแพร่กระจายไปติดเชื้ออวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มหัวใจ กระดูกสันหลัง ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ลำไส้ มดลูก ช่องปาก หลังโพรงจมูก ไปจนถึงการติดเชื้อที่บาดแผลบนผิวหนัง ซ้ำร้ายกว่านั้นคือเกิดอาการแทรกซ้อนตามมา เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในปอด ซึ่งเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิต

วิธีป้องกันการติดเชื้อวัณโรค

        โรง พยาบาล พระราม 4 แนะนำให้พ่อแม่พาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนตามที่แพทย์นัดหมาย นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารมีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ข้อสำคัญคือหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค เนื่องจากการติดเชื้อโรคง่ายมาก ควรสวมหน้ากากอนามัยในบริเวณที่มีผู้คนแออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก และ ตรวจสุขภาพประจํา ปี
 (https://www.medparkhospital.com/content/check-up-program)


(https://sv1.picz.in.th/images/2021/03/28/DHywER.md.jpg) (https://www.picz.in.th/image/DHywER)
ที่มาข้อมูล
https://www.bangpakokhospital.com/care_blog/content/วัณโรค
https://www.sikarin.com/content/detail/326/สังเกตอาการวัณโรค-
https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/Details/โรคไต/รู้จักวัคซีนBCGในทารกแรกเกิด