ThaiFranchiseCenter Webboard
บ้านและออฟฟิส | Home & Office => อสังหาริมทรัพย์ | Property => ข้อความที่เริ่มโดย: อัญณา ที่ มิถุนายน 07, 2019, 02:58:02 PM
-
แน่นอนว่าใครๆ นั้นต่างก็อยากที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังหนึ่งอย่างแน่นอน ฉะนั้นแล้วเมื่อเราเข้าสู่วัยทำงานเราก็จะมีการ วางแผนการเงิน กันอย่างอัตโนมัติว่าจะเก็บ เงินก้อน ไว้ทำอะไรในเรื่องใดบ้าง ซึ่งในช่วงแรกๆ นั้นเราอาจจะนำเงินเดือนมาฝากในบัญชี ออมทรัพย์ (https://www.scb.co.th/th/personal-banking/deposits/savings-account.html) ไว้ก่อน จากนั้นเมื่อได้ เงินก้อน (https://www.scb.co.th/th/personal-banking/insurance/savings-insurance/pror-khum-600.html) จำนวนหนึ่งก็อาจจะเอาไปลงทุนเพื่อให้มีเงินงอกเงยมากขึ้น และเมื่อทุกอย่างเป็นแบบนี้ไปได้เรื่อยเราก็คงจะต้องมีการ วางแผนการเงิน (https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/5-success-do-not-crash.html) ที่จะนำเงินที่ได้นี้ไปซื้อบ้าน ซึ่งบ้านในปัจจุบันนั้นเราก็ต้องยอมรับว่ามันมีราคาสูงเอามากๆ ฉะนั้นแล้วสำหรับใครก็ตามที่งบประมาณไม่พอจริงๆ นั้นเราก็อยากจะให้ลองมองหาซื้อ บ้านมือสอง (https://www.scb.co.th/th/personal-banking/promotions/home-loans/second-hand-home-loan.html) แล้วทำการรีโนเวทใหม่ก็ได้ แต่ทั้งนี้ก่อนที่จะเซ็นรับบ้านมานั้นอย่าลืมตรวจสอบในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ด้วย
1. อย่าลืมตรวจสภาพภายนอกของบ้าน อย่างเช่น ในเรื่องดังต่อไปนี้
- เราต้องดูสภาพบริเวณรอบๆ บ้านมือสอง ว่ามีการทรุดหรือไม่ โพื่อเช็คการทรุดตัวของสภาพดินในบริเวณนั้นนั่นเอง
- ให้เราดูว่าน้ำฝนจากอาคารข้างเคียงนั้นจะไหลเข้ามาในบริเวณบ้านได้หรือไม่ มีต้นไม้ใหญ่ยื่นเข้ามาบังแดดหรือมีรากไม้ชอนไชที่อาจจะดันกำแพงบ้านเสียหายหรือไม่
- ดูว่าบ้านนั้นตั้งอยู่ในที่น้ำท่วมหรือไม่ และต้องดูระดับบ้านกับถนนว่าสูงต่ำกันแค่ไหน เพื่อตรวจเช็คความเสี่ยงในการเกิดปัญหาน้ำท่วมบ้านนั่นเอง
- เช็คว่าอาคารข้างเคียงมีการขุดบ่อหรือสระใกล้บ้านจนอาจทำให้บ้านทรุดพังได้หรือไม่ หรือถ้าหากมีอาคารติดกันมีการถมดินสูงกว่าระดับพื้นในบ้านมาก ก็อาจทำให้รั้วหรือตัวบ้านถูกดินจากฝั่งอาคารข้างเคียงดันจนเกิดความความเสียหายได้เช่นกัน
- ตรวจเช็คหลังคาบ้านว่ามีน้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้านหรือไม่
- ตรวจเช็คสภาพสีบนผนังของบ้านว่ามีร่องรอยด่างบวม อันเกิดจากความชื้นเพราะน้ำฝนหรือน้ำจากห้องน้ำไหลซึมเข้ามาในผนังหรือไม่
2. ตรวจสอบงานระบบต่างๆ ซึ่งก็คือ
- ระบบประปา โดยที่เราต้องดูว่ามีการรั่วซึมของน้ำบริเวณผนังและใต้พื้นห้องน้ำหรือไม่ และยังต้องลองปิดก๊อกน้ำในบ้านทุกจุด แล้วก็ไปดูว่ามิเตอร์น้ำยังเดินอยู่หรือไม่ หากมิเตอร์ยังเดินอยู่ก็ต้องตรวจในถังพักโถสุขภัณฑ์ว่าเสื่อมไหม ถ้าเสื่อมก็ให้เปลี่ยนแล้วเช็คอีกครั้ง ถ้ามิเตอร์น้ำยังเดินอยู่อีกก็อาจจะเป็นได้ว่าระบบท่อน้ำประปาอาจรั่ว
- เช็คระบบไฟฟ้า สังเกตสายไฟว่าเสื่อมคุณภาพหรือไม่ ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้ามีรอยแตกหรือกรอบไหม ซึ่งถ้ามันเสื่อมก็ควรเปลี่ยนใหม่ทั้งชุด
3. ตรวจสภาพโครงสร้างอาคาร โดยดูคร่าวๆ ได้ดังนี้
- สังเกตภาพรวมของตัวบ้านว่าอยู่ในแนวดิ่ง ตั้งฉากกับพื้นหรือไม่ โดยเฉพาะโครงสร้างเสาและคานรับน้ำหนัก เพราะบ้านจะต้องไม่แอ่นหรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
- ตรวจรอยร้าวในคานและเสาว่ามีไหม หากพบว่าเป็นรอยร้าวที่เกิดกับเนื้อคอนกรีตซึ่งเป็นโครงสร้างข้างในของเสาและคาน ไม่ใช่แค่รอยร้าวของปูนฉาบที่ผิวหน้า ควรเรียกวิศวกรมาช่วยตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย