ThaiFranchiseCenter Webboard

ไลฟ์สไตล์ | Life Style => อาหาร และเครื่องดื่ม | Food & Beverage => ข้อความที่เริ่มโดย: อัญณา ที่ เมษายน 26, 2019, 05:36:16 AM

หัวข้อ: กาแฟนั้นใช่ว่าจะดื่มได้ดีทุกคน เรามาดูกันใครที่ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ
เริ่มหัวข้อโดย: อัญณา ที่ เมษายน 26, 2019, 05:36:16 AM
ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีทั้งที่ส่งผลดีและที่ส่งผลเสียแต่ทั้งนี้มันก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละคนด้วย อย่างเช่น การดื่มกาแฟ แน่นอนว่ากาแฟนั้นมีทั้งคุณและโทษ ฉะนั้นหากดื่มในปริมาณที่พอดีมันก็จะมีประโยชน์มากมาย แต่ถ้าดื่มมากไปมันก็อาจจะลงโทษร่างกายของเราได้ และสำหรับใครที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟสดนั้นเราอยากจะบอกว่าในปัจจุบันนั้นมีกาแฟอยู่ชนิดหนึ่งซึ่งถูกคิดค้นและผลิตขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพวกเราโด ซึ่งนั่นก็คือ กาแฟ แคปซูล (https://www.sanook.com/home/19177/)
โดย กาแฟ แคปซูล นั้นเราต้องบอกเลยว่ามันคือกาแฟสดเนี่ยแหละ แต่ถูกนำไปบรรจุอยู่ในแคปซูล ซึ่งเวลาที่เราต้องการดื่มนั้นเราก็แค่นำกาแฟแคปซูลนี้ไปเข้า เครื่องชงกาแฟแคปซูล (https://www.wongnai.com/news/nespresso-coffee-machine) จากนั้นเราก็จะได้กาแฟในรสชาติต่างๆ ตามที่เราได้ซื้อแคปซูลมาชง ฉะนั้นจึงทำให้ใครที่คิดจะซื้อ เครื่องชงกาแฟสดยี่ห้อไหนดี (https://www.edtguide.com/review/465441/Nespresso-Machine-And-Capsule) นั้นต้องเป็นอันเปลี่ยนความคิดอย่างแน่นอน ถ้าหากว่าการซื้อเครื่องชงกาแฟสดนั้นไม่ได้ซื้อมาใช้ในร้านขายกาแฟ คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าบุคคลใดบ้างนั้นที่ควรจะหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ

1.   หญิงที่ตั้งครรภ์ ไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบกับกาแฟสำเร็จรูปไม่เกิน 2 แก้ว หรือกาแฟชงสด 1 แก้ว หากได้รับกาแฟมากกว่านี้อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด และทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยได้
2.   การดื่มกาแฟวันละ 1-2 แก้วอาจจะไม่เป็นอันตรายสำหรับแม่ที่ต้องให้นมบุตร แต่การดื่มกาแฟในปริมาณมากจะส่งผลต่อระบบย่อยอาหารของทารก
3.   ผู้ป่วยโรควิตกกังวล อาจมีความวิตกกังวลที่มากขึ้นได้จากการดื่มกกาแฟ การดื่มกาแฟอาจยิ่งทำให้อาการแย่ลงได้
4.   การดื่มกาแฟต้มจะยิ่งทำให้ได้รับคอเลสเตอรอลและไขมันชนิดอื่นๆ ในเลือดสูงขึ้น รวมถึงระดับโฮโมซีสเตอีน (Homocysteine) ในร่างกายที่อาจจะสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ และการดื่มกาแฟนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
5.   สารคาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนั้นจึงควรดื่มกาแฟอย่างระมัดระวังและหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
6.   ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เพราะอาจจะทำให้มีระดับความดันโลหิตสูงยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำอยู่แล้วอาจได้รับผลกระทบนี้น้อยกว่า
7.   ผู้ป่วยโรคต้อหิน ไม่ควรดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีน เพราะอาจทำให้ความดันภายในดวงตาสูงขึ้น โดยจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ภายใน 30 นาทีแรกและคงอยู่อย่างน้อย 90 นาที
8.   ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน เพราะสารคาเฟอีนอาจทำให้แคลเซียมถูกขับออกทางปัสสาวะมากขึ้นจนกระดูกอ่อนแอลง ฉะนั้นจึงไม่ควรดื่มกาแฟเกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 2-3 แก้ว และควรรับประทานแคลเซียมเสริมเพื่อทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไป
9.   ผู้ที่มีอาการท้องเสียหรือมีโรคลำไส้แปรปรวน เพราะสารคาเฟอีนในกาแฟอาจทำให้อาการท้องเสียหรืออาการของโรคแย่ลงกว่าเดิม
10.   หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีโรคความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของวิตามินดีที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม