หนังตาตก ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม ทำความเข้าใจสาเหตุ วิธีแก้ไขและป้องกัน ตั้งแต่เนิ่น ๆ
(https://img5.pic.in.th/file/secure-sv1/9f635d9d14f03f27c89d79847f747a88.jpg)
" หนังตาตก " ปัญหาที่พบได้ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะในวัยรุ่น วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ อาการที่ดูเหมือนจะไม่ร้ายแรงนี้ อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจ และอาจถึงขั้นส่งผลต่อการมองเห็นได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา
บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจ สาเหตุที่แท้จริงของหนังตาตก วิธีการแก้ไขที่หลากหลาย ตั้งแต่การดูแลตัวเองเบื้องต้น ไปจนถึงการรักษาด้วยวิธีการทางการแพทย์ รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้หนังตาตกกลับมาเป็นซ้ำอีก
หนังตาตก คืออะไร ?
หนังตาตก คือภาวะที่เปลือกตาบนหย่อนคล้อยหรือตกลงมามากกว่าปกติ ทำให้ดวงตาดูอ่อนล้า ไม่สดใส และใบหน้าดูมีอายุมากขึ้น บางครั้งหากหนังตาตกมากอาจส่งผลให้การมองเห็นถูกบดบังได้ ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับตาข้างเดียวหรือพร้อมกันทั้งสองข้าง
โดยภาวะหนังตาตก (https://www.vsquareclinic.com/tips/ptosis/) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1. หนังตาตกจากเปลือกตาหย่อน (Dermatochalasis)
(https://img5.pic.in.th/file/secure-sv1/9f635d9d14f03f27c89d79847f747a88.jpg)
เป็นภาวะที่เกิดจากผิวหนังบริเวณเปลือกตาหย่อนคล้อย แต่ขอบตายังคงอยู่ในตำแหน่งปกติ ผิวหนังที่หย่อนลงจะทำให้เปลือกตาดูตก และหางตาดูเฉียงลง ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง อาจทำให้ชั้นตาไม่เท่ากัน แต่หากผิวหนังหย่อนมาก อาจบดบังการมองเห็นและเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวันได้
2. หนังตาตกจากกล้ามเนื้อเปลือกตา (Ptosis)
(https://img2.pic.in.th/pic/e4c6ced4fca48cadcf306ac05a33fea4.jpg)
ภาวะนี้เกิดจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการยกเปลือกตาทำงานผิดปกติ ทำให้ขอบเปลือกตาด้านบนตกลงมากว่าปกติ ลักษณะเหมือนลืมตาไม่สุด และหางตาตกลงด้วย ภาวะนี้ต่างจากหนังตาตกจากความหย่อนคล้อยของผิวหนัง เพราะเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อโดยตรง
อาการหนังตาตก เกิดจากอะไร ?
หนังตาตกสามารถเกิดจากหลายปัจจัย โดยสาเหตุหลัก ๆ ได้แก่
- อายุที่เพิ่มขึ้น : เมื่อเราอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อและผิวหนังบริเวณรอบดวงตาจะเสื่อมสภาพ ทำให้เปลือกตาหย่อนคล้อยลง เกิดเป็นภาวะหนังตาตก
- กรรมพันธุ์ : ภาวะหนังตาตกสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ โดยมีโอกาสสูงในกรณีที่ครอบครัวมีประวัติ
- ผลกระทบจากการฉีดโบท็อกผิดวิธี : การฉีดโบท็อกที่ไม่ถูกต้องหรือในปริมาณที่มากเกินไป โดยแพทย์ที่ขาดประสบการณ์ หรือบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์ อาจทำให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาอ่อนแรงลงชั่วคราว ส่งผลให้หนังตาตกได้
- อุบัติเหตุหรือบาดเจ็บ : การบาดเจ็บบริเวณดวงตา เช่น การผ่าตัดหรือการกระแทกรุนแรง สามารถทำให้กล้ามเนื้อหนังตาเสียหายได้
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถส่งผลให้เกิดหนังตาตกได้ เช่น มีก้อนเนื้อโตหรือสิ่งผิดปกติในดวงตา การขยี้ตาบ่อย ๆ โดนแดดมากเกินไป หรือความเครียด ภาวะขาดน้ำ
หนังตาตก แก้ไขได้ไหม ?
อาการหนังตาตกสามารถแก้ไขได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของอาการ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีหลัก ได้แก่
- การรักษาหนังตาตกแบบไม่ต้องผ่าตัด
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการหนังตาตกไม่รุนแรงมาก เช่น เปลือกตาหย่อนเล็กน้อยหรือชั้นตาไม่เท่ากัน สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด อาทิ การร้อยไหมยกหางตา หรือการใช้เทคโนโลยียกกระชับผิวและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้หนังตาตึงขึ้นอย่าง Hifu, Ulthera หรือ Thermage ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ต้องพักฟื้นและเห็นผลเร็ว
(https://img5.pic.in.th/file/secure-sv1/ae389780499e26750ae675244f1ede6b.jpg)
- การรักษาหนังตาตกแบบผ่าตัด
ในกรณีที่หนังตาตกอย่างรุนแรงจนส่งผลต่อการมองเห็นหรือการใช้ชีวิตประจำวัน การผ่าตัดยกเปลือกตาจะช่วยแก้ไขปัญหาหนังตาตก ทำให้การมองเห็นชัดเจนขึ้น และเป็นวิธีที่ให้ผลลัพธ์ถาวร เหมาะกับผู้ที่ต้องการการแก้ไขอย่างสมบูรณ์
(https://img2.pic.in.th/pic/088b93959bcb8eb46957cd23434eeaa8.jpg)
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเลือกวิธีใดก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ผู้ที่มีประสบการณ์สูงเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับลักษณะและสภาพหนังตาของแต่ละบุคคล
ป้องกันอย่างไรไม่ให้หนังตาตก ?
แม้ว่าอาการหนังตาตกจะเป็นปัญหาที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเมื่อเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นหรือกรรมพันธุ์ แต่ก็สามารถป้องกันและชะลอการเกิดได้ด้วยวิธีการดูแลดวงตาและผิวพรรณรอบดวงตา ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการขยี้ตาบ่อย ๆ : การขยี้ตาบ่อย ๆ จะทำให้ผิวหนังบริเวณรอบดวงตาอ่อนแอลงและหย่อนคล้อยได้
- ปกป้องดวงตาจากแสงแดด : ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงและสวมแว่นกันแดดเมื่อออกกลางแจ้ง เพื่อปกป้องผิวจากรังสี UV ที่อาจทำให้ผิวรอบดวงตาเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ : การพักผ่อนอย่างเพียงพอจะช่วยฟื้นฟูสภาพผิวและกล้ามเนื้อตารอบดวงตา ทำให้ดวงตาดูสดใส
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสายตา : ผักผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซีและโอเมก้า 3 สามารถช่วยบำรุงผิวรอบดวงตาและชะลอความหย่อนคล้อยได้
- นวดคลึงเบา ๆ รอบดวงตา : ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อตาและทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ควรนวดวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 5 นาที จะเริ่มเห็นผลหลังทำต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์
- ประคบร้อน-เย็นสลับกัน : ใช้ผ้าชุบน้ำร้อนและน้ำเย็นประคบสลับกันบริเวณรอบดวงตา เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา ควรทำวันละ 1-2 ครั้ง
- บริหารดวงตา : เช่น การกลอกตา, การเลิกคิ้ว, และการหลับตาแน่น ๆ ทำวันละ 10 ครั้ง ช่วยให้กล้ามเนื้อตาแข็งแรง
การดูแลดวงตาอย่างต่อเนื่องเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการชะลอการเกิดหนังตาตกและรักษาสภาพดวงตาให้ดูอ่อนเยาว์นานที่สุด
สรุป หนังตาตก
หนังตาตกเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการผ่าตัดหรือใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ไม่ต้องผ่าตัด การปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ การดูแลดวงตาให้ดี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ผิวรอบดวงตาหย่อนคล้อย เช่น การขยี้ตาบ่อย ๆ และการป้องกันแสงแดด จะช่วยชะลอการเกิดหนังตาตก ทำให้ดวงตาดูสดใสและมีชีวิตชีวาได้ยาวนานขึ้น