คุณอาจคิดว่าโลหะทั่วไปนั้นจะต้องมีลักษณะที่หนักหรือมีความหนาแน่นสูง ซึ่งนับว่าเป็นความคิดที่ถูกต้องสำหรับโลหะโดยส่วนใหญ่ แต่ยังมีโลหะบางชนิดที่เบากว่าน้ำและบางชนิดก็เบาเกือบเท่ากับอากาศ โลหะเหล่านี้ถูกเรียกว่า โลหะเบา (Light metal) ลักษณะพิเศษที่สำคัญของโลหะประเภทนี้คือ เป็นโลหะที่มีน้ำหนักอะตอมต่ำ อัตราส่วนความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง มีความหนาแน่นต่ำ โดยตํ่ากว่า 4 กรัมต่อลูกบาศก์กเซนติเมตร(g/cm3) และมีความเป็นพิษต่ำเมื่อเทียบกับโลหะหนัก ด้วยคุณสมบัติที่เบา โลหะชนิดนี้จึงมักถูกใช้เป็นวัสดุในอุตสาหกรรมการเดินเรือ การบินและอวกาศ การใช้งานทางการแพทย์ อุตสาหกรรมทางการทหาร ชิ้นส่วนเครื่องจักกล ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ จึงนับได้ว่าโลหะเบามีประโยชน์ที่หลากหลายและได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก
หากสนใจเกี่ยวกับการ ปั๊มโลหะ (https://pisitmetalwork.com/ปั๊มโลหะ/) อยู่ล่ะก็ ทาง Pisit metal work ของเรามี โรงงานปั๊มโลหะ (https://pisitmetalwork.com/ปั๊มโลหะ/) คอยให้บริการนะครับ หากสนใจ สามารถคลิกเข้าไปเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้เลย
ประเภทของโลหะเบา (Light metal)
1. อะลูมีเนียม (Aluminium, Ai)
(https://pisitmetalwork.com/wp-content/uploads/2021/05/Alumenium.jpg)
อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก มีน้ำหนักเบา( หนัก 1 ใน 3 ของเหล็ก ) ได้มาจากการถลุงแร่บอกไซต์ (Bauxite) โดดเด่นในเรื่องของความแข็งแรง ความเหนียวและมีความต้านทานการกัดกร่อนที่ยอดเยี่ยม อะลูมิเนียมมีคุณสมบัติเป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่ดี มีอุณหภูมิหลอมเหลวตํ่า(658 ° C) มีความเหนียวมาก สามารถขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีต่างๆได้ง่าย สามารถรีดเป็นแผ่นได้ เคลือบผิวโลหะอื่นได้ดี เชื่อมและบัดกรีได้ นอกจากนี้อะลูมิเนียมไม่เป็นพิษกับร่างกายจึงมักถูกนำมาใช้เป็นวัสดุในการผลิตจำพวกภาชนะหุงต้มอาหาร กระป๋องใส่อาหาร แม้กระทั่งหลอดยาสีฟัน นอกจากนี้เรายังพบเห็นการใช้งานอะลูมิเนียมในชีวิตประจำวันทั่วไปได้แก่ ท่อเดินสายไฟ มุ้งลวด กรอบวงกบประตูขหน้าต่าง แผ่นสะท้อนความร้อน โคมไฟฟ้าหน้ารถยนต์ เป็นต้น
2. แมกนีเซียม (Magnesium, Mg)
(https://pisitmetalwork.com/wp-content/uploads/2021/05/Magnesium-1-1024x1024.jpg)
โลหะแมกนีเซียมได้จากการกระบวนการถลุงแมกนีเซียมออกไซด์ ที่ได้จากการเตรียมแมกนีเซียมไฮดอกไซด์ของน้ำทะเลและแมกนีเซียมคาร์บอเนตในแร่หินปูโดโลไมต์ เมื่อผ่านกระบวนการทางเคมีแล้วจะถูกแยกด้วยไฟฟ้าอีกครั้ง จนได้ผลผลิตสุดท้ายคือแมกนีเซียม คุณสมบัติโดยทั่วไปของแมกนีเซียมบริสุทธิ์คือ มีความแข็งแรงน้อย สามารถชุบแข็งได้ มีความเหนียวต่ำ ทนต่อแรงกัดกร่อนได้น้อย ดังนั้นการจะนำแมกนีเซียมไปใช้งานจึงมักจะนำไปผสมกับโลหะชนิดอื่นๆ จำพวก อะลูมิเนียม ตะกั่ว และสังกะสี ก่อนที่จะนำไปใช้ ส่วนใหญ่พบการนำแมกนีเซียมไปใช้งานในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมหล่อโลหะ และอุตสาหกรรมเคมี โดยเฉพาะใช้เป็นวัสดุผสม เพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นในโลหะต่างๆ นอกจากนี้แมกนีเซียมยังสามารถรวมตัวกับออกซิเจนเกิดเป็นเปลวไฟอุณหภูมิสูงได้ง่าย จึงมักนำไปเป็นส่วนผสมของพลุและดอกไม้ไฟ
3. ไทเทเนียม (Titanium, Ti)
(https://pisitmetalwork.com/wp-content/uploads/2021/05/Thaitenium-1.jpg)
ไทเทเนียมเป็นโลหะที่มีลักษณะเป็นของแข็ง มีสีเทาเงิน มันวาว เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่ดี ทนการกัดกร่อน มีจุดหลอมเหลวสูง (ประมาณ1,700 °C) มีคุณสมบัติทางกลคือทนต่อการผุพังสูง และมีน้ำหนักเบา เมื่อนําไทเทเนียมไปผสมในโลหะชนิดอื่นจึงทำให้โลหะนั้นมีคุณสมบัติความแข็งแรงสูง รัดขึ้นรูปง่าย มักพบการนำโลหะไทเทเนียมไปใช้ในอุตสาหกรรมทางทหารที่เกี่ยวข้องกับยุทโธปกรณ์หรือทางด้านวิศกรรมอากาศยาน โดยนำไปเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างจรวดและยานอวกาศ