ThaiFranchiseCenter Webboard

การให้บริการทางธุรกิจ | Business Service => การเงิน | Finance => ข้อความที่เริ่มโดย: อธิติยา ที่ พฤศจิกายน 25, 2020, 11:50:36 AM

หัวข้อ: บริหารเงินอย่างไรหลังได้รับอนุมัติสินเชื่อบ้านจาก SCB
เริ่มหัวข้อโดย: อธิติยา ที่ พฤศจิกายน 25, 2020, 11:50:36 AM
บริหารเงินอย่างไรหลังได้รับอนุมัติสินเชื่อบ้านจาก SCB
   เชื่อว่าการมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลัง ทั้งบ้านเดี่ยว คอนโด ฯลฯ เป็นความฝันของใครหลายคน ซึ่งการซื้อบ้านด้วยเงินสดหรือเก็บเงินรอจนกว่าจะซื้อบ้านได้ เป็นเรื่องที่มีน้อยคนจะทำได้ แต่ปัญหานี้จะหมดไปด้วยตัวช่วยอย่างสินเชื่อบ้านจากเอสซีบี และเนื่องจากมันเป็นภาระผูกพันไปอย่างยาวนาน ส่วนใหญ่ระยะการผ่อนชำระสูงสุดจะไม่เกิน 30 ปี ทำให้การวางแผนการเงินจำเป็นต้องทำอย่างรอบคอบ เพราะนอกจาก ซื้อผ่อนบ้าน (https://www.scb.co.th/th/personal-banking/loans/home-loans/scb-new-loan.html)หรือค่าผ่อนคอนโดที่ต้องจ่ายทุกเดือนให้แก่ธนาคารแล้ว ยังมีเรื่องอื่น ๆ เกิดขึ้นระหว่างทางได้อีกด้วย ... แล้วเราควรวางแผนการเงินอย่างไร?
   เริ่มจากการดูรายรับที่เข้ามา เรามีรายได้แต่ละเดือนเท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ถ้าเป็นไปได้ ขอแนะนำให้คุณกันเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินเก็บ เพราะนอกจากเพื่อการลงทุนแล้ว เงินส่วนนี้ยังช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายประจำปีที่ต้องจ่ายเป็นเงินก้อนได้อีกด้วย เช่น
•   สำหรับคนที่กู้เงินซื้อบ้านกับโครงการบ้านหรือคอนโด ทุกปีคุณจะมีค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายเป็นเงินก้อน รวมถึงบางช่วงก็มีค่าประกันภัยอาคารและค่าประกันอัคคีภัย หากไม่มีเงินเก็บในส่วนนี้เลย ก็อาจลำบากได้เมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายเงินก้อนนั้น
•   สำหรับคนที่กู้สร้างบ้านก็ควรต้องมีเงินเก็บเช่นกัน เพราะนอกจากผ่อนสินเชื่อแล้ว ระหว่างการสร้างบ้านอาจมีเหตุบางอย่างที่ทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลายได้ เช่นราคาวัสดุที่ปรับขึ้น การเตรียมพร้อมไว้ก่อนถือว่าช่วยได้มาก
•   และไม่ว่าจะกู้เพื่ออะไรก็ตาม ถ้าเป็นเรื่องบ้าน ค่าบำรุงรักษาหรือซ่อมแซม ก็ต้องมีเกิดขึ้นแน่นอน คุณจึงควรเตรียมเงินให้พร้อมสำหรับส่วนนี้
   หลังจากรู้รายรับที่เข้ามาแล้ว ขั้นต่อไปคือการทำแผนการใช้เงินแต่ละเดือนและ เก็บเงินกับ SCB (https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/early-in-career-deposit-saving-in-early-career.html) เพื่อเดินตามแผนนั้น การทำแบบนี้จะทำให้คุณตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ ทำให้มีเงินเหลือเก็บหลังจากการผ่อนสินเชื่อบ้านในแต่ละเดือน และหากพบว่ามีความเสี่ยงที่เงินจะไม่พอใช้ คุณก็จะวางแผนจัดการได้อย่างทันท่วงที
   ขั้นสุดท้ายคือการมองหารายได้พิเศษหรือตัวช่วยเพิ่มเติม นอกจากสินเชื่อบ้านแล้วธนาคารก็มีผลิตภัณฑ์อื่นที่พร้อมเป็นตัวช่วยในยามฉุกเฉินให้คุณได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นกับศักยภาพการชำระหนี้ของคุณด้วย ทางที่ดีที่สุดคือการมองหางานพิเศษเพิ่มเติม โดยเริ่มมองจากทักษะที่ใช้ในงานประจำ มีอะไรที่ทำให้คุณหารายได้เพิ่มเติมได้หรือไม่ เชื่อว่าทุกวันนี้โอกาสเปิดกว้างสำหรับทุกคน คงไม่ยากเกินไปที่เราจะมีรายได้เพิ่มเติมจากงานประจำ รายได้ส่วนนี้จะเป็นเหมือนเงินสำรองที่หากเดือนไหนคุณเกิดปัญหาผ่อนคอนโด หรือจ่ายค่าบ้านไม่ไหว คุณก็จะผ่านไปได้
   อ่านมาถึงตรงนี้คงเห็นแล้วว่าทั้งการกู้เงินซื้อบ้านหรือแม้แต่กู้ซื้อ บ้านมือสอง (https://www.scb.co.th/th/personal-banking/promotions/home-loans/second-hand-home-loan.html) ต่างก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และเป็นค่าใช้จ่ายผูกพันต่อเนื่องยาวนาน ดังนั้น การมีแผนบริหารเงินที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะทำให้คุณผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากซึ่งอาจเกิดขึ้นไปได้แล้ว ยังทำให้คุณมีเงินสำรองไว้ลงทุนสร้างรายได้เพิ่มในอนาคตได้อีกด้วย