ThaiFranchiseCenter Webboard

การให้บริการทางธุรกิจ | Business Service => การเงิน | Finance => ข้อความที่เริ่มโดย: อธิติยา ที่ ตุลาคม 05, 2021, 03:35:51 PM

หัวข้อ: แชร์วิธี ปรับ โครงสร้าง หนี้ ให้มีเงินเหลือเก็บและไม่เป็นหนี้ซ้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: อธิติยา ที่ ตุลาคม 05, 2021, 03:35:51 PM
            เมื่อการปรับโครงสร้างหนี้ดูเหมือนจะเป็นตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องแบกรับปัญหานี้ ทำให้มีตัวเลือกในการปลดหนี้บัตรเครดิต รวมถึงหนี้สินประเภทอื่น ๆ ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่าย ทำให้มีเงินเหลือเก็บและลดโอกาสเป็นหนี้ซ้ำอีกด้วย

วิธีปลดหนี้สินโดยการปรับโครงสร้างนี้รับรองมีเงินเหลือเก็บและไม่มีหนี้ซ้ำ
- ขอยืดระยะเวลาชำระหนี้
เมื่อยอดหนี้มีมากจนไม่สามารถชำระไหว หลายคนจึงใช้วิธีขอยืดเวลาชำระหนี้ เช่น จากที่ทำสัญญากู้ยืมไว้ 15 ปี แต่เมื่อผ่อนได้ประมาณ 10 ปีแล้วไม่สามารถจ่ายไหว สามารถขอยืดระยะเวลาชำระหนี้ออก ซึ่งวิธีจะทำให้รายจ่ายต่อเดือนลดลงและอาจมีเงินเหลือเก็บมากขึ้น

- พักชำระเงินต้น
อีกหนึ่ง วิธี ปลด หนี้สิน ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน นั่นคือ การขอพักชำระเงินต้น เช่น หากต้องชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเดือนละ 5,000 บาท โดยแบ่งเป็นเงินต้น 2,000 บาทและดอกเบี้ย 3,000 บาท เท่ากับว่าคุณจะต้องชำระเฉพาะค่าดอกเบี้ย 3,000 บาท โดยวิธีนี้เหมาะกับการพักชำระระยะสั้น เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน โดยหากผู้กู้มีความพร้อมอีกครั้งก็ให้กลับมาชำระเงินกู้ตามเดิมและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สถาบันการเงินกำหนด

- การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
หลายครั้งที่ยอดผ่อนชำระแต่ละเดือนกลายเป็นการชำระดอกเบี้ยเสียเป็นส่วนใหญ่ทำให้โอกาสลดเงินต้นทำได้น้อยลงและเมื่อไม่สามารถชำระเงินกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยเดิมได้ สามารถดำเนินเรื่องเพื่อขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อเพิ่มโอกาสปิดหนี้ได้เร็วยิ่งขึ้น

- การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต
ตัวเลือกยอดนิยมสำหรับคนเป็นหนี้บัตรเครดิตคือการรีไฟแนนซ์บ้าน (https://krungthai.com/th/personal/loan/housing-loan/392)โดยใช้บัตรเครดิต หรือการนำยอดหนี้บัตรเครดิตทุกใบไปรวมไว้สถาบันการเงินแห่งเดียว ทำให้ไม่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยหลายแห่ง นอกจากนี้ หากภาระก้อนใหญ่เป็นภาระเรื่องบ้าน สามารถใช้วิธี refinance บ้าน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและลดค่าใช้จ่ายรายเดือนได้ ซึ่งหากค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลดจะทำให้มีเงินเก็บออม สภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น

            แม้ว่าจะมีหลายวิธีปลดหนี้บัตรเครดิต รวมถึงปลดหนี้ประเภทอื่น ๆ แต่ถึงอย่างนั้นการไม่เป็นหนี้ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้นควรมีวินัยด้านการเงินโดยการจัดทำรายรับรายจ่าย ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รวมถึงแบ่งเงินส่วนหนึ่งเพื่อการลงทุน เพื่ออนาคตการเงินที่มั่นคง

ที่มาข้อมูล
https://www.moneyguru.co.th/financial-tips/articles/ขั้นตอนการปรับโครงสร้างหนี้ (https://www.moneyguru.co.th/financial-tips/articles/ขั้นตอนการปรับโครงสร้างหนี้)