ThaiFranchiseCenter Webboard

ตลาดกลางธุรกิจค้าปลีก | Retail Market => เสนอสินค้าเกี่ยวกับเทคโนโลยี, สินค้าเฉพาะอย่าง | Technology Supply => ข้อความที่เริ่มโดย: เวสซี่ ไบเบล ที่ มีนาคม 10, 2023, 08:50:47 AM

หัวข้อ: แนะนำเจาะลึกวิธีการประเมิน Carbon Emission ในแต่ละ Scopes สำหรับเจ้าของธุรกิจ
เริ่มหัวข้อโดย: เวสซี่ ไบเบล ที่ มีนาคม 10, 2023, 08:50:47 AM
แนะนำเจาะลึกวิธีการประเมิน Carbon Emission ในแต่ละ Scopes สำหรับเจ้าของธุรกิจ



(https://gmssolar.com/wp-content/uploads/2023/01/Carbon-Emission-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B0-scopes-gmssolar-1-1.jpg)

เตรียมพร้อมองค์กรในยุคสังคมคาร์บอนต่ำ ธุรกิจส่วนใหญ่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า องค์กรของคุณมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสมดุลกับการจำกัดก๊าซเรือนกระจกหรือไม่? บทความนี้จะเป็นการนำเสนอ Guideline ให้องค์กรต่างๆนำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานระดับสากล

1. วิธีการประเมิน Carbon Footprint ขององค์กร
คาร์บอนฟุตพริ้นท์คืออะไร
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คือ ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas emissions and removals) ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการตลอดวัฏจักรชีวิต หรือจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร วัดรวมอยู่ในรูปของของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent; CO2e)

ซึ่งก๊าซเรือนกระจก (GHG) มีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเทน (CH4), ไนตรัสออกไซด์ (N2O), ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs), เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs), ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (HF6) และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์มีกี่ประเภท
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Organizational Carbon Footprint)
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Organizational Carbon Footprint) คือปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas emissions and removals) ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร วัดรวมอยู่ในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Product Carbon Footprint)
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Product Carbon Footprint) คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการตลอดวัฎจักรชีวิต ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังจากการใช้งาน วัดปริมาณออกมาในรูปแบบของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

2. องค์กรของคุณมีการปล่อยคาร์บอนแบบใดบ้าง
Carbon Emission Scope 3 สามารถแบ่งกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอีก 15 รูปแบบ ดังนี้

Purchased goods and services : การซื้อวัตถุดิบและบริการ
Capital goods : สินค้าประเภททุน หรือ เครื่องมือที่ช่วยในการผลิตสินค้า
Fuel and energy related activities : กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงและพลังงาน
Upstream transportation and distribution : การขนส่งและการจัดจำหน่ายระหว่างองค์กรกับคู่ค้า
Waste generated in operations : กระบวนการกำจัดกากของเสีย และการบำบัดน้ำเสีย
Business travel : การเดินทางเพื่อธุรกิจ
Employee commuting : การเดินทางของพนักงาน
Upstream leased assets : ห่วงโซ่อุปทานก่อนการผลิต
Downstream transportation and distribution : ห่วงโซ่อุปทานในการจัดส่งสินค้าให้ถึงลูกค้า
Processing of sold products : การแปรรูปสินค้าที่องค์กรจำหน่าย
Use of sold products : การใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่องค์กรจำหน่าย
End-of-life treatment of sold products : การกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่องค์กรจำหน่าย
Downstream leased assets : การปล่อยเช่าสินทรัพย์ขององค์กร
Franchises : การดำเนินงานของแฟรนไชส์
Investments : การดำเนินการลงทุน (รวมถึงตราสารทุนและการลงทุนในตราสารหนี้และการเงินโครงการ)
Carbon Emission ทั้ง 3 Scopes เป็นเสมือน Framework ที่ช่วยให้แต่ละองค์กรเห็นภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้ง Business Supply Chain ช่วยให้ระบุกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซฯมากที่สุด แล้วจัดเรียงความสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวม อีกทั้งสามารถติดตามประสิทธิภาพในกระบวนการลดก๊าซฯ รวมถึงต่อยอดในการประเมิน Carbon Footprint ได้อีกด้วย

อ่านต่อบทความ
https://gmssolar.com/carbon-emission (https://gmssolar.com/carbon-emission)