หน่วยงาน    สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจ | Business Organization
8.1K
4
สมาคมอุตสาหกรรมรีไซเคิลโฟมพลาสติกไทย
SMEs
องค์กร สมาคมอุตสาหกรรมรีไซเคิลโฟมพลาสติกไทย 
Organization Thai Plastics Foam Recycling Industires Association
รายละเอียด
กลุ่มผู้รีไซเคิล อีพีเอสโฟมแห่งประเทศไทย เกิดขึ้นจากการประชุมใหญ่ครั้งแรก ของวงการอุตสาหกรรมโฟมในเมืองไทย เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 ที่บรรดาผู้ผลิตวัตถุดิบและสินค้าโฟมมารวมตัวกัน เพื่อหารือถึงแนวทางการ ดำเนินงานของอุตสาหกรรมนี้ในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นการรีไซเคิลโฟม โดยการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโฟม และการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการรีไซเคิลโฟมอย่างเป็นรูปธรรม ที่ประชุมจึงมีมติให้หาแนวทางการก่อตั้งสมาคมรีไซเคิลโฟมอย่างเป็นทางการ จึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้น

ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากบริษัทต่าง ๆ ทั้งนี้คณะทำงานได้จัดให้มีการประชุมทุกเดือน เพื่อจัดทำร่างข้อบังคับสมาคมฯ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 จนสำเร็จลุล่วง และได้นำร่างข้อบังคับดังกล่าว เสนอต่อที่ประชุมใหญ่ครั้งที่สอง และได้รับความเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2540 เพื่อเตรียมการจัดตั้งสมาคมต่อไป แต่เป็นที่น่าเสียดายเมื่อต่อมาในประมาณกลางปีเดียวกันนั้น ประเทศไทยและเอเซียได้ประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ส่งผลให้การจัดตั้งสมาคม และการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มต้องหยุดชะงักลงชั่วคราว ต่อมาในเดือนเมษายน 2539 ปีเดียวกันนั้น กลุ่มฯ ได้รับการติดต่อจาก AMEPS เพื่อเชิญชวนให้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม ในนามอุตสาหกรรมโฟมในประเทศไทย AMEPS คือความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ ในเอเซียเพื่อการรีไซเคิลโฟม ซึ่งในขณะนั้นมีสมาชิกก่อตั้ง 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และ ฟิลิปปินส์ กลุ่มฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของความร่วมมือในระดับภูมิภาคจึงได้ดำเนินการจนได้เป็น สมาชิกสามัญในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ปัจจุบัน AMEPS มีสมาชิก รวม 12 ประเทศ โดยมี ประเทศ มาเลเซีย ไทย ฮ่องกง สิงค์โปร์ อินเดีย ออสเตรเลีย จีน และล่าสุดคือ นิวซีแลนด์ เป็นสมาชิกเพิ่มเติมตามลำดับ
 
     นับแต่นั้นมากลุ่มได้ส่งตัวแทน (คุณอภิวัฒน์ บริษัทโปลิโฟม อุตสาหกรรม จำกัด) เข้าร่วมการประชุมของ AMEPS เรื่อยมา (ยกเว้นการประชุมที่โอซากา ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2541 ซึ่งประเทศไทยกำลังประสบสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ) ซึ่งโดยปรกติ AMEPS ได้จัดให้มีการประชุมเป็นประจำทุกปีโดยแบ่งออกเป็น การประชุมคณะกรรมการ ปีละ 2 ครั้ง, การประชุมประจำปี ปีละ 1 ครั้ง, การประชุมสัมนาว่าด้วยการรีไซเคิลโฟมแห่งอาเซียน ทุก ๆ 2 ปี เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และให้ความร่วมมือระหว่างกัน การเข้าเป็นสมาชิก AMEPS นี้ทำให้กลุ่มฯ ได้ลงนามใน ข้อตกลงสากลว่าด้วยการรีไซเคิลอีพีเอสโฟม ( International EPS Recycling Agreement) ซึ่งมีสาระสำคัญคือการยอมรับที่จะจัดการรีไซเคิลอีพีเอสโฟมที่มีอยู่ใน ประเทศของตน โดยไม่คำนึงถึงแหล่งที่มา 
 
นอกจาก AMEPS ซึ่งเป็นความร่วมมือแห่งทวีปเอเซียแล้ว ยังมี Alliances of Foam Packaging Recycler : AFPR แห่งสหรัฐอเมริกา และ European EPS Manufacturer : EUMEPS แห่งทวีปยุโรปประสานความร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการรีไซเคิล โฟมทั่วโลกอีกด้วย ซึ่ง ในเดือนตุลาคม2544 ที่ผ่านมานี้ กลุ่มความร่วมมือทั้งสามทวีป (AMEPS, EUMEPS และ AFPR) ได้รวมตัวกันเป็นพันธมิตรอีพีเอสโฟมสากล หรือ International EPS Alliances : INEPSA นับเป็นกลุ่มความร่วมมือเพื่อการรีไซเคิลที่ครอบคลุมทุกภูมิภาคที่ใหญ่ที่ สุดกลุ่มหนึ่งของโลก 
 
     ต่อ มาในปี 2543 เมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว จึงได้มีการเริ่มดำเนินกิจกรรมกลุ่มอีกครั้งโดยการนัดประชุมเป็นครั้งคราว ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ท่านผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร สมัคร สุนทรเวช ได้มีนโยบายไม่ห้ามการใช้กระทงโฟมในเทศกาลลอยกระทงทำให้เกิดการปลุกกระแสการ ใช้และต่อต้านโฟมในสังคมอย่างกว้างขวาง ซึ่งส่งผลให้การดำเนินงานของกลุ่มฯ ตกเป็นจุดสนใจและได้รับการติดต่อจากหน่วยงานราชการและสาธารณชน ซึ่งให้ความสนใจต่อการผลิตและรีไซเคิลโฟมมากขึ้น กลุ่มฯ จึงมีโอกาสเผยแพร่ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับโฟมตามสื่อต่าง ๆ ทั้ง โทรทัศน์ และ หนังสือพิมพ์ 
 
     นอกจากนั้น กลุ่มฯ ยังได้เพิ่มการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและเอกชนเพื่อสนับสนุนส่ง เสริมการรีไซเคิลโฟมอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ร่วมมือกับสำนักรักษาความสะอาด กรุงเทพมหานคร เพื่อเก็บกระทงโฟมไปรีไซเคิล และจัดนิทรรศการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหลายครั้ง และ ยังได้ร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นำเจ้าหน้าที่เยี่ยมชมการรีไซเคิลโฟมและสมาชิกกลุ่ม ซึ่งเป็นผู้รีไซเคิลโฟมได้ลงนาม สัญญาเข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ และวัสดุเหลือใช้ในเชิงธุรกิจ อันเป็นโครงการนำร่องซึ่งจัดทำขึ้นโดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงมิถุนายน 2544 อันเป็นการยอมรับและสนับสนุนจากหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อสิ่ง แวดล้อมโดยตรง ว่าโฟมสามารถรีไซเคิลได้ 
 
     นอกจาก หน่วยงานราชการและสถานศึกษาติดต่อขอเข้าชมกระบวนการผลิต และรีไซเคิลโฟมเป็นประจำแล้วยังมีภาคเอกชนคือบริษัทห้างร้านต่าง ๆ เช่น บริษัทโตชิบา, แคนนอน และ ฮอนด้า และประชาชนทั่วไป ติดต่อเพื่อขอให้กลุ่มฯ ช่วยรีไซเคิลเศษโฟมที่ตนมีอยู่แต่ไม่รู้วิธีการจัดการซึ่งนับเป็นการประชา สัมพันธ์ และเปลี่ยนแปลงทัศนคติแก่สาธารณชนที่มีต่อโฟมไปในทางที่ดีขึ้น 
 
     ในปัจจุบันนี้กิจกรรมของกลุ่มมีความคืบหน้าเป็นลำดับ และกลุ่มได้จัดให้มีการประชุมกันเป็นประจำทุกเดือนเพื่อติดตามผลการทำงานและ สถานการณ์ทั่วไป ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญคือสมาชิกในปัจจุบัน ประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมโฟมโดยครบวงจรนับตั้งแต่ ผู้ผลิตวัตถุดิบ. ผู้ผลิตโฟม ตลอด จนผู้รีไซเคิลโฟม ประมาณ 20 รายซึ่งต่างก็ร่วมมือกัน และเสียสละเพื่อผลประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโฟมโดยส่วนรวม นอกจากนั้น ยังมีความร่วมมือระดับประเทศทั่วโลกอันเป็นเครื่องยืนยันถึงความ จริงจังในการรีไซเคิลโฟมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นของโลกใบนี้ในอนาคตอย่าง แน่นอน
 
ที่ตั้ง 135/1 หมู่ 4 ซอยอนามัยงามเจริญ ถนนพระราม 2 ท่าข้าม บางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทรศัพท์ 02-451-9349-54
โทรสาร 02-451-8548
อีเมล์ -
เว็บไซต์
ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2557
โหวต
ระดับความนิยม
มีผู้เข้าชม 8,112 ครั้ง
มีผู้ขอข้อมูล 4 คน
หน่วยงาน ที่ไม่รับรอง
Contact Information  
ชื่อผู้ติดต่อ
 *
โทรศัพท์
 *
e-mail
 *
รายละเอียด
Location to Invest
*
ติดต่อหน่วยงาน
หน่วยงานสนับสนุนที่น่าสนใจ