ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


จะลดหย่อนภาษีเรื่องประกันสุขภาพได้อย่างไรมาดูกัน

แน่นอนว่าเราทุกคนนั้นก็ย่อมที่จะต้องการมีหลักประกันในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องของความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งถ้าหากว่าเกิดอะไรขึ้นนั้นเราจะได้บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายไปได้นั่นเอง โดยเมื่อเรานั้นทำงานมีเงินเดือนตามเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีด้วย เราหลาย ๆ คนก็มักที่จะทำ ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี หรือไม่ก็จะนำเงินไปลงทุนในกองทุนต่าง ๆ ที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เช่น กองทุน ltf หรือ rmf เป็นต้น เพราะการทำเช่นนี้เราจะได้มีเงินสำรองและก็มีเงินค่ารักษาตัวหากเจ็บป่วยขึ้นมากระทันหันนั่นเอง
โดยในปัจจุบันนั้นทางกรมสรรพากรได้ให้ผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีสามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดถึง 300,000 บาทต่อปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ใช่ว่าเราจะสามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตจากทุกกรมธรรม์นำมาขอใช้สิทธิขอลดหย่อนภาษีได้ เพราะทางสรรพากรนั้นจะกำหนดเงื่อนไขเอาไว้ด้วยนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแบบกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้ และก็ข้อกำหนดในการหักลดหย่อนภาษีของแต่ละแบบด้วย
และสำหรับในวันนี้ใครก็ตามที่ต้องการใช้สิทธิในส่วนนี้นั้น เราก็มีข้อมูลมาฝากเพื่อน ๆ ทุกคนกันด้วย นอกจากนี้แล้วเราเองก็ยังต้องไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดของกรมสรรพากรเพื่อให้เราได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดนั่นเอง โดยเบี้ยประกันที่ทางกรมสรรพากรอนุญาตให้เรานำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้นั้น มันก็มี 2 ประเภท ได้แก่
1.   เบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันสุขภาพที่เรานั้นทำให้ตัวเองโดยประกันชีวิตในส่วนนี้นั้นเราสามารถที่จะนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย
-   เป็นเบี้ยประกันสุขภาพ โดยสามารถนำมาหักลดได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ก็ไม่เกิน 15,000 บาท
-   แล้วก็เป็นแบบประกันชีวิต ซึ่งจะต้องมีระยะเวลาการคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปด้วย
-   และถ้าหากว่ามีการเงินคืนระหว่างสัญญา เงินคืนสะสมนั้นก็จะต้องไม่เกิน 20% ของค่าเบี้ยประกันภัยสะสมด้วย
2.   เบี้ยประกันชีวิตของประกันแบบบำนาญที่เราได้ทำให้กับตัวเอง โดยเรานั้นสามารถที่จะนำมาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และก็จะไม่เกิน 15% ของเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษี ฉะนั้นจำนวนเงินก้อนนี้เมื่อนำไปรวมกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้วก็จะต้องไม่เกิน 500,000 บาทนั่นเอง ซึ่งมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย
-   ในกรณีที่ไม่มีเบี้ยประกันชีวิตตามข้อ 1. นั้นเราสามารถที่จะนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปหักลดหย่อนแทนเบี้ยประกันชีวิตตามข้อ 1. ก่อนได้ ซี่งเราก็จะได้สิทธิลดหย่อนภาษีรวมสูงสุด 300,000 บาทนั่นเอง
-   ถ้าเป็นในกรณีที่มีคู่สมรส และทั้งคู่นั้นก็เป็นผู้ชำระเบี้ยนั้นก็จะสามารถแยกยื่นภาษีในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตของประกันแบบบำนาญได้ ทั้งนี้ก็เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนในส่วนของตนเองได้ สูงสุดคนละ 200,000 บาทด้วย