ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


สุดยอดสารอาหารในนมแม่ จากอกแม่สู่ลูกน้อย



          สุดยอด สารอาหารในนมแม่ จากอกแม่สู่ลูกน้อย นมแม่ อาหารมื้อแรกที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญที่ไม่พบในน้ำนมประเภทอื่น เปรียบเสมือนภูมิต้านทานโรคและยาชั้นดีให้กับเด็กแรกเกิด การเลี้ยงลูกด้วย นมแม่ ยังเป็นการเสริมสร้างสายใยความอบอุ่นระหว่างแม่และลูก ใน นมแม่ นั้นนอกจากจะอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นทั้งต่อการเจริญเติบโตของร่างกายแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการพัฒนาสมอง ของลูกน้อยอีกด้วย กล่าวถึงในส่วนของสารอาหารสมองที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบล่าสุดว่า เมื่อกรดไขมันทุกชนิดรวมทั้งดีเอชเอและเออาร์เอถูกผลิตออกมาจากต่อมผลิตน้ำนม จะถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อบาง ๆ เรียกว่า MFGM (Milk Fat Globule Membrane) MFGM คือ สารอาหารสมองที่อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ทำหน้าที่ช่วยสร้างปลอกไขมันหุ้มเส้นใยสมอง (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง   โดยมีงานวิจัยชี้ว่าเด็กที่ดื่มนมที่เสริม MFGM จะมีพัฒนาทางด้านสติปัญญาดีกว่าเด็กที่ดื่มนมสูตรปกติที่เพิ่มแต่ดีเอชเอเพียงอย่างเดียวถึง 4 จุด

          คุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่ยังสงสัยว่าควรให้ นมแม่ นานเท่าไหร่ สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics) และหน่วยงานหลายแห่งได้ให้คำแนะนำว่า ทารกควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังการคลอด และให้ไปได้เรื่อย ๆ จนครบปี ส่วนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) แนะนำให้ทารกได้รับนมแม่ไปจนถึง 2 ปี อย่างไรก็ตาม หลังจาก 6 เดือนแรกผ่านไป คุณแม่ควรเริ่มให้เด็กรับประทานอาหารหลักเพิ่มทีละน้อยควบคู่กับนมแม่ เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มและพัฒนาระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้เร็วขึ้น ซึ่งระยะเวลาอาจไม่ได้เป็นตัวกำหนดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งหมด เพราะต้องดูจากสถานการณ์ของแต่ละคนร่วมด้วย สารอาหารในนมแม่ ที่เรียกได้ว่าอุดมสมบูรณ์ครบถ้วนที่สุด คือ ช่วงหลังคลอดที่จะมีน้ำนมเหลืองออกมาเรียกว่า โคลอสครัม (Colostrum) ถือเป็นหัวน้ำนมชั้นยอดของลูก เนื่องจากให้สารอาหารพลังงาน โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ครบถ้วนในสัดส่วนที่พอดี และสร้างภูมิต้านทานต่อเนื่องจากในครรภ์ได้อีกด้วย ส่วนใหญ่แล้ว นมแม่ จะมาประมาณ 3-4 วันหลังคลอด ซึ่งก็จะเป็นช่วงที่ทารกกำลังนอนขี้เซาและปรับตัวกับโลกใบใหม่อยู่พอดี จากนั้นเข้าสู่วันที่ 7 ฮอร์โมนของคุณแม่ก็จะหลั่งช่วยเร่งสร้างน้ำนมให้มากขึ้นเพื่อให้ทันกับความต้องการของลูก และการให้ลูกดูดนมเร็วหรือช้าค่อนข้างมีผลในการกระตุ้น เพราะหากคุณแม่ให้ลูกดูดนมบ่อยก็จะถือเป็นการกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมสำหรับมื้อต่อไปเยอะขึ้น อีกทั้งลูกก็จะคุ้นเคยกับหัวนมเร็วขึ้นอีกด้วย