ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


การ ตรวจครรภ์ เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอย่างไร



สำหรับผู้หญิงแล้ว การตั้งครรภ์ถือเป็นข่าวดีและเป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตครั้งสำคัญ สำหรับการเตรียมให้กำเนิดสมาชิกใหม่แก่ครอบครัว นับการตั้งครรภ์ ในอีก 9 เดือนข้างหน้า ซึ่งในระหว่างนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงตามระดับของฮอร์โมนที่สำคัญ 3 ชนิด
ซึ่งฮอร์โมนบางชนิดจะถูกตรวจเจอได้ด้วยชุด ตรวจครรภ์ จากน้ำปัสสาวะ บางฮอร์โมนก็ไม่เป็นเช่นนั้น แต่จะมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างของคุณแม่ และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือมีผลต่อความสมบูรณ์ภายในมดลูกที่เกี่ยวกับการฝังตัวและการเติบโตของตัวอ่อนจนกว่าจะคลอด ซึ่งเราจะมาดูกันว่าการตรวจตั้งครรภ์มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอย่างไรบ้าง

1. ฮอร์โมน Human chorionic Gonadotropin
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ว่า hCG เป็นฮอร์โมนที่ทางการแพทย์ใช้เป็นเกณฑ์ในการ ตรวจครรภ์ มีความจำเพาะและแม่นยำสูง เพราะจะมีการสร้างและขับออกมากับน้ำปัสสาวะในช่วงเวลาที่ผู้หญิงตั้งครรภ์เท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ ที่ตรวจครรภ์ กับปัสสาวะของผู้หญิงเพื่อเช็คสภาวะว่าตั้งครรภ์หรือไม่จากฮอร์โมน hCG ที่ถูกขับออกมา
hCG ยังเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ผู้หญิงมีอาการแพ้ท้อง กล่าวคือ ยิ่งค่าฮอร์โมน hCG พุ่งขึ้นสูงเท่าไร ก็จะทำให้คุณแม่มีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ มากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ hCG ยังเป็นฮอร์โมนสำคัญที่กระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนในข้อ 2 และ 3 ตามมาอีกด้วย

2. ฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ estrogen
เป็นฮอร์โมนที่ปกติแล้วจะถูกสร้างจากรังไข่ ซึ่งในผู้หญิงทุกคนมีการสร้างเป็นแบบแผน ในช่วงจังหวะต่าง ๆ ของวัฏจักรประจำเดือน ซึ่งในระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมน hCG จะกระตุ้นให้ร่างกายคุณแม่ผลิตเอสโตรเจนจากรังไข่เพิ่มขึ้น จนกว่ารกที่ทำหน้าที่ปกป้องตัวอ่อนจะเจริญก็จะถูกสร้างจากรกแทน
ซึ่งแม้เอสโตรเจนจะไม่ได้ใช้เป็นตัวชี้วัดการตั้งครรภ์ แต่ก็เป็นตัวสร้างลักษณะภายนอกที่ทำให้สังเกตได้ว่า “กำลังเป็นแม่คน” โดยเอสโตรเจนจะส่งผลให้คุณแม่มีการผลิตเม็ดสีของผิวหนังที่เข้มขึ้น ท้องอืดง่าย เต้านมขยายและมีการสร้างน้ำนม ทั้งยังส่งผลต่อการขยายตัวของมดลูก รวมถึงขบวนการนำเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงตัวอ่อนในครรภ์ด้วย

3. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนหรือ progesterone
แม้จะเป็นฮอร์โมนที่ไม่ใช้ในการ ตรวจครรภ์ เช่นเดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ก็เป็นฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์อย่างมาก โดยช่วยควบคุมการบีบตัวของมดลูก ป้องกันการแท้งลูกและการคลอดก่อนกำหนด
ทั้งยังช่วยให้ร่างกายมีความอวบอิ่ม โดยเฉพาะการเพิ่มชั้นหนาของไขมันหน้าท้อง เนื่องจากโปรเจสเตอโรนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มการสะสมไขมัน สำหรับเป็นแหล่งสารอาหารที่จำเป็นในการพัฒนาการของตัวอ่อน และใช้เป็นพลังงานสำรองของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ด้วย

การ ตรวจครรภ์ ในปัจจุบัน เป็นการวัดระดับฮอร์โมน hCG ที่ออกมากับน้ำปัสสาวะด้วยชุดตรวจที่ผ่านการวิจัยและพิสูจน์มายาวนานว่ามีความแม่นยำในผลลัพธ์ถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อ นับอายุครรภ์ ในระยะหนึ่งเดือนแรกของการตั้งครรภ์จะแนะนำให้ตรวจในเวลาช่วงเช้า เพราะมีความเข้มข้นของระดับฮอร์โมนในปัสสาวะมากที่สุด
แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เกิดการแท้งตัวอ่อนไป ร่างกายจะยังมีระดับฮอร์โมน hCG สูงอยู่ต่ออีกราว ๆ หนึ่งเดือน ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกจากช่องคลอดหลังจากที่พบว่าตั้งครรภ์ ก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดอีกครั้งเป็นดีที่สุด