ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ลูคีเมีย โรคอันตรายรักษาให้หายขาดได้ หากรู้เร็ว


ลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นโรคร้ายแรงที่ส่วนใหญ่การรักษาทำได้เพียงประคับประคองไปตามอาการและความรุนแรงของโรค ไม่สามารถรักษาให้หายได้ พบได้มากใน 10 อันดับแรกของมะเร็งทุกชนิด ปัจจุบันจากความก้าวหน้าทางการแพทย์ หากพบอาการป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมียตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อัดราการรักษาให้หายขาดค่อนข้างสูง
ทำความรู้จัก โรคลูคีเมีย 
ลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว คือโรคที่เซลล์เม็ดเลือดขาวมีความผิดปกติ โดยมีการแบ่งเซลล์อย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคหรือส่งผลให้ร่างกายขาดภูมิต้านทานโรค นอกจากนั้นยังสามารถแพร่กระจายไปทำลายกระบวนการสร้างเม็ดเลือด เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือดในไขกระดูก จนร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จนถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในที่สุด
สาเหตุของโรคลูคีเมีย
สาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด แต่ก็สันนิษฐานว่าอาจเป็นได้จากพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผู้ที่มีญาติที่ใกล้ชิดเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันรวมทั้งผู้ที่มีกรรมพันธุ์เป็นดาวซินโดรม หรือผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด ได้รับรังสี การได้รับสารเบนซีนโดยตรง ได้รับคลื่นไฟฟ้าแรงสูงจากเครื่องใช้ไฟฟ้า มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้สูง ลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเป็นเรื้อรัง (Chronic leukemia) การเกิดโรคจะค่อยเป็นค่อยไป ร่างกายจะมีความสมดุลของเลือดเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ มักไม่แสดงอาการร่างกายยังคงสร้างเม็ดเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดได้ เมื่อเริ่มมีความผิดปกติเม็ดเลือดขาวจะค่อยๆเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงระดับที่เป็นอันตราย
มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเป็นเฉียบพลัน (Acute leukemia) พบมากในเด็กนี้ร่างกายจะมีการสร้างเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ แต่กลับสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง ทำให้เกล็ดเลือดต่ำอย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต 
อาการของผู้ป่วยลูคีเมีย
ผู้ป่วยลูคีเมียหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค หากเป็นแบบเรื้อรังมักไม่มีอาการที่เด่นชัด ลักษณะอาการเริ่มจาก รู้สึกอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะในตอนกลางคืน น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดหรือมีอาการกดเจ็บบริเวณกระดูก ส่วนมะเร็งเม็ดเลือดแบบเฉียบพลันมักมีอาการผิดปกติที่สังเกตได้ ดังนี้
ระยะแรก มักเป็นไข้เป็นเวลานาน ปวดตามกระดูก น้ำหนักลด มีแผลในช่องปาก ตัวซีดเป็นจ้ำเขียวจ้ำแดง ผิวซีดเหลือง เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล มีประจำเดือนมากผิดปกติ ถ่ายเป็นเลือด
ระยะที่สอง มักตามพร่ามัว เวียนศีรษะ อาเจียน มีอาการชัก ปวดท้อง ตับ ไต ม้าม โตขึ้น 
วิธีสังเกตอาการของลูคีเมีย
ผู้ป่วยที่พบความผิดปกติ หรือมีอาการของโรคตามที่กล่าว โดยเฉพาะมีเลือดออกตามอวัยวะ มีจ้ำตามร่างกาย ติดเชื้อง่าย ปวดกระดูกมากขึ้นเรื่อย ๆ มีก้อนที่ขาหนีบ ต่อมน้ำเหลือง ขาหรือ คอ รวมทั้งมีปัจจัยเสี่ยงคือบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน ควรรีบไปพบแพทย์เพราะปัจจุบันลูคีเมีย หากตรวจพบได้เร็วยังสามารถรักษาให้หายขาดได้
การวินิจฉัยของแพทย์
เมื่อพบแพทย์ ในเบื้องต้นจะสอบถามอาการ ซักประวัติทางการแพทย์ และตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น ตรวจดูการบวมโตของต่อมน้ำเหลือง ม้าม หรือตับ ตรวจภาวะผิวซีดด้วยการตรวจผิวหนังและดวงตา เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือไม่ และอาจใช้การตรวจการตรวจเลือด ตรวจไขกระดูก ตรวจภาพถ่ายรังสี และการเจาะและเก็บตัวอย่างน้ำไขสันหลัง เพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย 
ขั้นตอนการรักษาโรคลูคีเมีย
สำหรับขั้นตอนการรักษามะเร็วเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย แพทย์จะพิจารณาวิธีรักษาโดยประเมินจากอายุสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ตามขั้นตอน ดังนี้
ให้คีโม ด้วยการให้ทานหรือให้ฉีด โดยแบ่งออกเป็น ระยะทำลายมะเร็ง ระยะป้องกัน ระยะแพร่กระจายไปที่สมองและระยะควบคุม โดยจะให้เป็นชุด ๆ ขั้นตอนนี้อาจให้เวลา 1-2 ปี
ให้รังสี ด้วยการฉายรังสีเพื่อเตรียมปลูกถ่ายไขกระดูกหรือฉายรังสีที่ม้าม
การปลูกถ่ายไขกระดูก ทำหลังจากให้เคมีและฉายรังสี วิธีนี้เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยสร้างเม็ดเลือดที่เป็นปกติได้เอง
สร้างภูมิคุ้มกัน เป็นการกระตุ้นทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกัน
การดูแลตนเองของผู้ป่วยลูคีเมีย
โรคนี้ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำทำให้ติดเชื้อได้ง่าย การดูแลสุขอนามัยตนเองและทำให้ร่างกายแข็งแรงเพื่อสร้างภูมิตุ้มกันโรค ทำได้ดังนี้
ดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะต่าง ๆ เช่น การทำความสะอาดช่องปากควรใช้แปรงขนนุ่ม เพื่อลดการเป็นแผลในปาก
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เน้น ทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปด้วยดี ลดความเสี่ยงต่อการเป็นแผลที่ทวารหนักและน้ำจะช่วยลดการแตกสลายของเม็ดเลือด
พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันโรค ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
เชื่อฟังปฏิบัติตนและอยู่ในความควบคุมของแพทย์อย่างเคร่งครัด
อาการและความรุนแรงของลูคีเมีย ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อายุ สุขภาพของผู้ป่วย หากพบอาการของโรคได้เร็วก็สามารถดูแลรักษาให้หายหรือควบคุมโรคได้ หากพบล่าช้าอาการของโรคมีความรุนแรง ลูคีเมียชนิดเฉียบพลันอาจเสียชีวิตภายใน 3-4 เดือน เนื่องจากการติดเชื้อง่าย เชื่ออาจมีการลุกลามไปตามส่วนต่าง ๆของร่างกาย ส่วนชนิดเรื้อรังแม้อาการของโรคจะค่อยๆเป็นค่อยๆ หากอาการรุนแรงก็อาจเสียชีวิตได้ภายในระยะเวลา 6-8 เดือน

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/leukemia/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/