ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


หัดเยอรมัน โรคร้ายสำหรับทารกที่คนเป็นแม่ต้องรู้


หัดเยอรมัน โรคติดต่อที่มีอาการไข้และออกผื่น ติดต่อกันได้ง่ายโดยการไอจาม สัมผัสน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง ถือเป็นโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพโดยเฉพาะในทารก ลักษณะคล้ายคลึงกับโรคหัดธรรมดา แต่มีความรุนแรงมากกว่า หัดเยอรมันเกิดจากอะไร อันตรายจากโรคนี้ได้แก่อะไรบ้าง หาคำตอบได้จากบทความต่อไปนี้ครับ
หัดเยอรมันเ เกิดจากอะไร ?
หัดเยอรมัน (Rubella/German Measies) เป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัส Rubella  ซึ่งเป็นการติดเชื้อไวรัสคนละชนิดกับโรคหัดธรรมดา ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถแพร่กระจายด้วยการไอ จาม สูดเอาเชื้อที่ลอยในอากาศเข้าไป พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่  หัดเยอรมันไม่ใช่โรคร้ายแรง มักจะหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ยกเว้นในหญิงมีครรภ์ หากแม่เป็นหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ในระยะ 3-4 เดือนแรก ก็จะส่งผ่านโรคนี้เข้าสู่ทารกทางกระแสเลือด ทำให้เกิดความพิการทางหู ตา หัวใจ และสมอง แต่โรคนี้สามารถป้องกันได้จากการฉีดวัคซีน
อาการของโรคหัดเยอรมัน
โรคหัดเยอรมันเมื่อได้รับเชื้อเข้าไปแล้วจะมีระยะฟักตัวประมาณเฉลี่ย 14 วัน ครึ่งหนึ่งของผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ เมื่อมีอาการเริ่มแรกคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสทั่วไป เหมือนหัดธรรมดาหรือไข้หวัด ต่อจากนั้นอาการของโรคจะมีได้หลากหลาย คือ 
มีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูก 
ตาแดงอ่อนเพลีย มีไข้ เยื่อบุตาอักเสบ 
ปวดข้อ ปวดตามตัว 
ต่อมน้ำเหลืองโต และมีผื่นขึ้นที่ใบหน้าและลำตัว 
ส่วนอาการมีไข้ มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก เนื่องจากเด็กได้รับวัคซีนแล้ว 
มีผื่นสีชมพูจางๆ แบบแบนราบกระจายอยู่ห่างๆ โดยมักจะเริ่มขึ้นที่หน้าแล้วลามไปทั่วตัวภายใน 24 ชั่วโมง 
สำหรับอาการของโรคหัดเยอรมันจะหายได้เองภายใน 3 วัน ยกเว้นกรณีต่อมน้ำเหลืองโตอาจมีอาการนานหลายสัปดาห์ได้
การวินิจฉัยอาหารของหัดเยอรมัน
การวินิจฉัย แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายภายนอก เพื่อดูว่ามีผื่นขึ้นหรือไม่ มีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยมาก่อนหรือไม่ จากนั้นตรวจหาการติดเชื้อที่น้ำลายและตรวจเลือด การตรวจเลือดและน้ำลายนั้นเป็นการตรวจหาสารภูมิต้านทานจำเพาะต่อหัดเยอรมันคือสารภูมิต้านทานชนิดเอ็มและจี และจะทำการตรวจ 2 ครั้งโดยห่างจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ โดยผลการวินิจฉัยสรุปได้ดังนี้
ไม่พบสารภูมิคุ้มกันจี แสดงว่าอาจไม่เคยได้รับเชื้อหรือได้รับวัคซีนหัดเยอรมันมาแล้วแต่ป้องกันไม่ได้
พบภูมิคุ้มกันจีแต่ไม่พบสารภูมิคุ้มกันชนิดเอ็ม แสดงว่าอาจเคยได้รับเชื้อไวรัสและวัคซีนมาแล้ว
พบภูมิคุ้มกันชนิดเอ็ม หรืออาจจะพบหรือไม่พบชนิดจีก็ได้ แสดงว่า เกิดการติดเชื้อไวรัสขึ้นมาใหม่
พบสารภูมิคุ้มกันชนิดเอ็มในทารกแสดงว่า ทารกนั้นติดเชื้อจากมารดาที่เป็นหัดเยอรมัน
ไม่พบสารภูมิต้านทานใดใดเลย แสดงว่าไม่เคยติดเชื้อและยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน

แนวทางการรักษา โรคหัดเยอรมัน
โดยปกติคนที่เป็นหัดเยอรมัน อาการจะเริ่มดีขึ้นเองภายใน 10 วัน การรักษาแพทย์จะรักษาไปตามอาการเพื่อให้อาการทุเลาหรือลดน้อยลงด้วยการใช้ยา ดังนี้ 
หากมีอาการไข้ ปวดตามข้อ แพทย์ก็จะให้ยาแก้ไข้หรือยาบรรเทาอาการปวด เช่นยาพาราเซตามอล โดยจะหลีกเลี่ยงการให้แอสไพริน และจะให้กลับมาพักผ่อนที่บ้าน ซึ่งหากมีอาการไข้ขึ้นสูงก็ควรหมั่นเช็ดตัวเพื่อลดอาการไข้ด้วย
กรณีเป็นหญิงตั้งครรภ์ แพทย์จะรักษาด้วยการให้สารภูมิต้านทาน เพื่อให้อาการดีขึ้น แต่ก็ต้องมีการพบแพทย์เป็นระยะดังนั้นจึงต้องปฏิบัติตนและมาตามนัดของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อกับทารกในครรภ์
ภาวะแทรกซ้อน
ในหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 25-40 หากติดเชื้อหัดเยอรมันภายใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจทำให้หัดเยอรมันผ่านเข้ามาติดทารกที่อยู่ในครรภ์ โดยอาการที่เกิดจากการติดหัดเยอรมันเช่น เจริญเติบโตช้า ทารกมีน้ำหนักน้อย คลังคลอดแล้วเลี้ยงไม่โต มีอาการหูหนวก เป็นต้อกระจก หัวใจและสมองพิการแต่กำเนิดได้ เนื่องจากเชื้อหัดเยอรมันจะอยู่ในลำคอและขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะได้นานถึง 1 ปี สามารถแพร่เชื้อให้กับเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนี้ได้อีกด้วย
โรคนี้มักไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และขณะเป็นก็มักอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเป็นแล้วก็จะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต ที่มักพบและเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ คือในผู้หญิง คือข้ออักเสบ เกล็ดเลือดต่ำและสมองอักเสบ ซึ่งจะมีอาการประมาณ 1 เดือน
การดูแลตนเองและแนวทางป้องกัน
เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ เป็นการป้องกันการขาดน้ำ ลดอาการไอ 
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อเพิ่มจนอาจทำให้อาการแย่ลง
ป้องกันการแพร่เชื้อของตนเองไปสู่ผู้อื่นด้วยการหยุดทำกิจกรรมที่ต้องติดต่อกับผู้อื่น เช่น หยุดเรียนหรือพักการทำงาน
หัดเยอรมันหากพบในบุคคลทั่วไปมักไม่ค่อยส่งผลหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง แต่ถ้าเกิดกับหญิงมีครรภ์ก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดในทารกสูง ดังนั้นเพื่อให้ทารกปลอดภัยจากโรคนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีการวางแผนฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/german-measies/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/