ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


พิษสุนัขบ้า โรคที่ไม่มียารักษาแต่มีวัคซีนป้องกัน


พิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ คือโรคติดต่อร้ายแรงที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเกิดกับสุนัขและเข้าใจว่าการรับเชื้อเกิดจากการถูกสุนัขกัด หรือสัมผัสกับน้ำลายของสุนัขที่เป็นโรคกลัวน้ำหรือเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงโรคนี้เกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง วันนี้มีความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า มาแนะนำครับ

พิษสุนัขบ้า โรคที่ไม่มียารักษา แต่มีวัคซีนป้องกัน
พิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสเรบี่ส์ ซึ่งพบในน้ำลายของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าที่รู้จักและคุ้นเคยกันดี ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและแมว การติดต่อจากสัตว์สู่คนจะผ่านทางน้ำลายของสัตว์ เช่น การกัด ข่วน เลีย หรือน้ำลายของสัตว์กระเด็นเข้าตา ปาก หรือทางผิวหนังที่มีบาดแผล 

ผู้ป่วยที่แสดงอาการจะมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้สูงถึง 100% และยังไม่มียารักษา แต่สามารถฉีดวัคซีนช่วยป้องกันเชื้อโรคไม่ให้ไปสู่ระบบประสาทได้ แต่ทั้งนี้ต้องรีบฉีดให้กับผู้ที่โดนสัตว์เลี้ยงกัด หรือโดนสัตว์เลี้ยงเลียในบริเวณที่มีรอบแผล รอยถลอก ก่อนที่ร่างกายของผู้ป่วยจะติดเชื้อจนแสดงอาการออกมา

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า
ผู้ป่วยเมื่อได้รับเชื้อไว้รัสจากสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคกลัวน้ำหรือพิษสุนัขบ้า จากการกัด การข่วน หรือเลีย เริ่มแรกอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เนื่องจากเป็นระยะการฟักตัวของเชื้อที่อาจใช้เวลา 4-5 วันหรือบางรายอาจใช่ระยะฝักตัวนาน  2-12 สัปดาห์ขึ้นไป อาการของผู้ป่วยโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะแรก
เมื่อผ่านการฝักตัวของเชื้อไวรัสแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้เล็กน้อย เจ็บคอ รู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อารมณ์หงุดหงิด 

ระยะที่สอง
อาการของโรคพิษสุนัขบ้าจะแสดงออกอย่างชัดเจนผู้ป่วยจะเริ่มกลืนน้ำและอาหารลำบาก มีอาการกลัวน้ำ กระสับกระส่าย ไม่ชอบแสงสว่าง ลม และเสียงดั เริ่มมีน้ำลายเหนียวข้นออกมาจากปาก

ระยะที่สาม
คืออาการทางประสาท ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการและความรุนแรงของโรคพิษสุนัขบ้าที่แตกต่างกัน 3 ลักษณะ ได้แก่

มีอาการคลุ้มคลั่ง เห็นภาพหลอน เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย มีอาการกลัว ซึม หมดสติ หยุดหายใจ และเสียชีวิต
บางรายอาจมีอาการอัมพาตกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ พบอาการกลัวน้ำและกลัวลมร่วมด้วย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมดสติและเสียชีวิต
บางกรณีอาจแสดงอาการไม่ตรงต้นแบบ มีอาการปวดประสาทหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชาแขนและเป็นอัมพาต ไม่พบการกลัวน้ำและกลัวลม และเสียชีวิตจากระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว


วิธีสังเกตสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิด สามารถเป็นโรคกลัวน้ำหรือพิษสุนัขบ้าได้หมด แต่สัตว์เลี้ยงที่พบว่าเป็นสาเหตุของการการติดต่อจากสัตว์สู่คนมากที่สุดได้แก่ สุนัขและแมว อาการของสัตว์เหล่านี้เมื่อป่วยเป็นโรคกลัวน้ำหรือพิษสุนัขบ้า จะมีระยะฝักตัวไม่เกิน 6 เดือน ส่วนอาการของโรคแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

อาการดุร้าย เมื่อได้สุนัขเป็นโรคนี้จะมีอาการเปลี่ยนไปจากปกติ คือจะหงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย ตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็ว เริ่มออกอาการตื่นเต้นวิ่งพล่านดุร้ายกัดทุกสิ่งที่ขวางหน้า ต่อมาจะเริ่มเป็นอัมพาตทั้งร่าง และตายไปในที่สุด
อาการเซื่องซึมพบได้น้อยและจะสังเกตได้ยากกว่าอาการดุร้าย สุนัขจะหลบอยู่ตามมุมมืดต่าง ๆ เชื่องซึมเหมือนเป็นไข้ ไม่ดุร้ายแต่จะกัดตอบโต้เมื่อมีสิ่งรบกวน ไม่กินน้ำและอาหาร อาการเหมือนมีก้างติดคอพยายามที่จะตะกุยที่คอตัวเอง และมักจะตายภายใน 10 วัน
ขั้นตอนการดูแลรักษาเมื่อถูกสุนัขกัด
หากถูกสุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้ากัด ก่อนพบแพทย์ควรดูแลตนเองในเบื้องต้นตามขั้นตอน ต่อไปนี้ 

เบื้องต้นควรฟอกล้างด้วยน้ำสบู่ ให้เร็วทีสุดและล้างหลายๆครั้ง ใช้เวลาล้างไม่น้อยกว่า 15 นาทีหากเลือดไหลปล่อยให้ไหลไม่ต้องห้ามเลือดเพื่อให้เชื้อไหลไปกับเลือด จดจำลักษณะและสังเกตอาการสัตว์ สืบหาเจ้าของเพื่อทราบประวัติ หากสุนัขตายให้นำซากมาให้แพทย์ส่งตรวจ
ขั้นตอนการรักษาของแพทย์ ล้างแผลใส่ยาฆ่าเชื้อ ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ หากแผลไม่ฉกรรจ์มาก แพทย์จะไม่เย็บแผลจะปล่อยให้แผลสมานเองเพื่อป้องกันการอักเสบ
การให้ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น อิริโทรมัยซิน เป็นเวลา 3-5 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อเป็นหนอง ทำให้ยากแก่การรักษา
การฉีดยาป้องกันโรคบาดทะยัก โดยจะฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อ หากผู้ที่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยักแล้ว หมอจะฉีดแค่ครั้งเดียว หากยังไม่เคยฉีดก็จะฉีด 3 ครั้ง
การฉีดยาป้องกันแก่ผู้ที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ที่ทำการรักษา ซึ่งต้องพิจารณาความเสี่ยงจากสัตว์ที่เป็นต้นเหตุ แพทย์จะพิจารณาให้อิมมูโนโกลบุลินที่มีภูมิต้านทานโรคพิษสุนัขบ้าร่วมอยู่ด้วย ซึ่งการฉีดวัคซีนทุกวันนี้จะไม่เหมือนการฉีดในอดีตที่ต้องฉีดรอบสะดือทุกวัน เพียงแค่ฉีด 3-5 ครั้ง และสามารถฉีดได้ทุกเพศทุกวัยตามที่แพทย์นัด
แนวทางป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
หากมีสัตว์เลี้ยงเช่นสุนัขหรือแมว ควรนำไปรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
ไม่เข้าใกล้สุนัขหรือแมวจรจัด หรือสัตว์เลี้ยงที่มีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า
ควรควบคุมการเจริญพันธุ์ของของสุนัขและแมวด้วยการทำหมัน
ไม่แหย่หรือรบกวนสุนัขในขณะที่สุนัขกำลังกินอาหารหรือนอนหลับ
ไม่ควรกักขังสุนัขหรือแมวเพราะจะทำให้มีนิสัยดุร้าย
เมื่อพบเจอสุนัขเห่าหรือสุนัขที่เราไม่คุ้นเคยควรยืนนิ่งไม่ควรตกใจวิ่งหนี ควรตั้งสติรอจนสงบแล้วหาทางเลี่ยง
ผู้ที่ทำงานเสี่ยงในการติดเชื้อโรคนี้เช่นสัตวแพทย์ เด็ก หรือผู้ที่มีโอกาสสัมผัสกับสัตว์ในตระกูลสุนัขและแมวควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคแบบล่วงหน้า หากสงสัยว่าถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดหรือข่วนควรรับวัคซีนเพื่อกระต้นซ้ำอีกครั้ง
พิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่ยังไม่มียารักษา แต่สามารถดูแลป้องกันตนเองและบุคคลใกล้ชิดให้ปลอดภัยจากโรคนี้ได้ ด้วยการเฝ้าระวังดูแลสัตว์เลี้ยงทุกชนิดที่เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่เฉพาะสุนัขหรือแมวเ โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสัตว์ตัวอื่นและแพร่มายังเจ้าของหรือคนเลี้ยง


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/rabies/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/