ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


โรควิตกกังวล ปัญหาสุขภาพของวัยทำงาน รักษาได้อย่าปล่อยไว้นาน


อาการวิตกกังวลที่มีมากจนเกินไป และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็จะกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และเป็นสาเหตุของโรควิตกกังวล ทำให้ความสุขในการใช้ชีวิตทั้งทางกายและทางใจลดลง โรคนี้เมื่อเกิดกับคนที่อยุ่ในวัยทำงานยังส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลงอีกด้วย โรควิตกกังวล เกิดจากสาเหตุใด มีวิธีป้องกันและรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบครับ
โรควิตกกังวล คืออะไร ?
โรควิตกกังวล คือ โรคทางจิตที่พบได้มากที่สุดโรคหนึ่ง เป็นโรคที่เกิดจากความวิตกกังวลซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่มีความแตกต่างจากความรู้สึกวิตกกังวลทั่ว ๆ ไป คนที่เป็นโรควิตกกังวลจะรู้สึกวิตกกังวล หรือหวาดกลัวอย่างเกินเหตุ จนมีผลทางลบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
ลักษณะอาการ และสาเหตุของโรค
จากปัจจัยหลัก ๆ ของโรควิตกกังวล คือจากพันธุกรรม และเกิดจากเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก และเกิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ผิดพลาดไป อันเกิดจากความเครียดที่มีระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง และแบ่งโรคนี้ออกได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้
1. โรควิตกกังวลทั่วไป
อาการของโรคจะไม่รุนแรง และเป็นความวิตกกังวลที่เกี่ยวกับเรื่องในชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป แต่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม เนื่องจากความวิตกกังวลส่งผลให้ร่างกายได้พักผ่อนน้อย และเกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น หรือทำให้หงุดหงิดได้ง่าย
2. โรคย้ำคิดย้ำทำ
ผู้ป่วยจะมีอาการย้ำคิด และทำในเรื่องที่ทำไปแล้วด้วยความกังวล ส่งผลให้ทำเรื่องเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาจนกว่าจะเกิดความมั่นใจ โรควิตกกังวลในลักษณะนี้มักไม่ส่งผลต่อสุขภาพ แต่จะส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงานหรือคนในครอบครัว ต่อการทำงานร่วมกันในสังคม
3. โรคแพนิค
ความวิตกกังวลและอาการประเภทนี้จะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ป่วยค่อนข้างมากอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว เหงื่อออก และใจสั่น
4. โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ
อาจเป็นผลมาจากการที่ผู้ป่วยได้ผ่านเหตุการณ์รุนแรง หรือเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ผู้ป่วยจะมีอาการหวาดกลัว ระแวง และตกใจง่าย
5. โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง
คือการกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมาก เช่น กลัวเลือด กลัวสัตว์บางชนิด กลัวเข็มฉีดยา สาเหตุมาจากเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้ายทำให้จดจำและหวาดหลัว

Businesswoman having headache after hard work

สัญญาณบ่งบอกอาการของโรควิตกกังทำให้ความสุขในชีวิตลดลง
อารมณ์หงุดหงิดหรือฉุนเฉียวง่าย และเกิดขึ้นบ่อย ๆ
อยู่ในภาวะซึมเศร้า ขาดแรงบันดาลใจ ไม่รู้สึกอยากได้อยากดี
ชีวิตขาดสีสัน ขาดชีวิตชีวาในการดำเนินชีวิต
นอนไม่หลับ มีความวิตกกังวลโดยไม่ทราบสาเหตุ
รู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียบ่อย ๆ ต้องการพักผ่อนมากขึ้น
มีอาการปวดเมื่อยตามแขนขา หรือนั่งนาน ๆก็จะมีอาการปวดหลัง
บางครั้งเหงื่อออกมากผิดปกติ รู้สึกร้อนวูบวาบโดยมีอาการเครียด
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง
ประสาทเครียด รู้สึกวิตกกังวล กระวนกระวาย
รู้สึกหมดไฟ ปล่อยตัว
แนวทางการรักษาโรควิตกกังวล
วิธีรักษาโรควิตกกังวลด้วยการรับประทานยา ซึ่งต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์  โดยตัวยาจะสามารถช่วยควบคุม และบรรเทาอาการลงได้ เช่น ยาอัลปราโซแลม ยาโพรพราโนลอล และยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ
รักษาด้วยการทำจิตบำบัด คือการเข้ารับคำแนะนำ และคอยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพื่อเรียนรู้การแก้ปัญหาเมื่อเกิดความวิตกกังวล ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ดนตรีบำบัด หรือกิจกรรมบำบัดรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งผู้ทำการรักษาจะพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยและจัดกิจกรรมบำบัดให้เหมาะสม
รักษาด้วยวิธีปรับเปลี่ยนความคิด เช่น เมื่อมีความกังวลให้หากิจกรรมอื่นทำเพื่อเกิดความสบายใจ หรือทำการนั่งสมาธิเพื่อผ่อนคลายจิตใจ นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนรูปแบบความคิดต่อเรื่องที่กังวลว่ามันไม่ได้เลวร้าย และกล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาก็เป็นทางออกที่ดีเช่นกัน
วิธีป้องกันตนเองจากโรควิตกกังวล 
หมั่นออกกำลังกาย หลายๆคน อาจมีปัญหาเรื่องเวลาและปัญหาสุขภาพทำให้มีข้อจำกัดในการออกกำลังกาย โดยเฉพาะคนในวัยทำงานอาจมีข้อจำกัดด้านเวลา การออกกำลังกายที่ช่วยให้มีสุขภาพจิตดี สามารถป้องกันโรควิตกกังวลได้ เช่น การเก็บกวาดบ้าน ปรับเปลี่ยนมุม ย้ายเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปรับภูมิทัศน์บริเวณบ้าน สิ่งเหล่านี้นอกจากช่วยให้ร่างกายของเราเคลื่อนไหวเป็นการออกกำลังกายไปในตัวแล้ว ยังทำให้สนุกเพลิดเพลินลดความวิตกกังวลลงได้
พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนแม้บางคนจะมีเวลานอนน้อย แต่หากนอนหลับโดยไม่มีสิ่งรบกวนก็ทำให้ผักผ่อนได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นก่อนนอนควรปิดเครื่องมือสื่อสาร ปิดทีวี ให้เรียบร้อยเพื่อช่วยให้นอนหลับได้อย่างสนิท
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ เพราะสิ่งเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม 
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยทานอาหารที่หลากหลายในปริมาณที่พอเหมาะ นอกจากควบคุมโรคได้แล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพ เมื่อสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตก็จะดีไปด้วย
ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด โดยหากิจกรรมทำร่วมกับเพื่อนๆหรือคนในครอบครัว
โรควิตกกังวล เป็นอาการของโรคหรือความวิตกกังวลใจซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หากเกิดขึ้นแล้วเมื่อสภาพปัญหาที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดความวิตกกังวลหมดไป อาการก็หายไปได้เอง แต่หากมีความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุส่งผลให้จิตใจเศร้าหมอง อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย อาจต้องพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการและความรุนแรงของโรค

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/anxiety-disorder-in-adults/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/