ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


รู้ทันอาการปวดท้อง “ไส้ติ่งอักเสบ”

รู้ทันอาการปวดท้อง “ไส้ติ่งอักเสบ”
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2020, 07:24:45 AM »

People photo created by jcomp – www.freepik.com

ปวดท้อง เป็นปัญหาสุขภาพเกิดได้จากหลายสาเหตุ และยังมีลักษณะความผิดปกติหรืออาการปวดท้องเหมือนหรือคล้าย ๆ กับหลายโรคทั้งอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและปวดเรื้อรัง  “ไส้ติ่งอักเสบ” เป็นหนึ่งในโรคที่เริ่มจากอาการปวดท้องและเป็นอาการปวดที่ไม่แตกต่างจากโรคทั่วไป แต่อาจมีอันตรายร้ายแรงได้หากดูแลรักษาไม่ทัน เพื่อให้รู้ทันอาการปวดท้องไส้ติ่งอักเสบ วันนี้มีความรู้มาแนะนำครับ
รู้ทันอาการปวดท้อง  “ไส้ติ่งอักเสบ”
ไส้ติ่ง คือส่วนของลำไส้ใหญ่ที่ยื่นออกมาเป็นติ่ง มีตำแหน่งอยู่บริเวณท้องน้อยด้านขวา เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่ไม่ได้มีหน้าที่สำคัญ แต่หากเกิดการอุดตันและมีการอักเสบอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนไส้ติ่งอักเสบ คืออาการปวดท้องแบบเฉียบพลันที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย พบได้มากในกลุ่มคนที่มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 15–30 ปี  ซึ่งผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้เท่า ๆ กัน
สาเหตุของไส้ติ่งอักเสบ 
ไส้ติ่งอักเสบ มาจากการอักเสบและติดเชื้อของไส้ติ่ง โดยสัญญาณบ่งบอกในเบื้องต้นผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องแบบเฉียบพลัน หากเกิดการอักเสบรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเจ็บตรงท้องน้อยด้านขวา และในที่สุดไส้ติ่งก็จะเกิดการเน่าตายและแตกทะลุได้ สาเหตุหลัก ๆของไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากภาวะอุดตันในรูหรือทางเข้า-ออกของไส้ติ่ง ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้
การมีเศษอุจจาระแข็ง ๆ ชิ้นเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “นิ่วอุจจาระ” (Fecalith) ตกลงไปในรูไส้ติ่ง
เกิดจากเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลือง (Lymphoid tissue) ที่ผนังไส้ติ่งที่หนาตัวขึ้นตามการอักเสบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย
เกิดจากสิ่งแปลกปลอม เช่น เมล็ดผลไม้ หนอนพยาธิ หรือก้อนเนื้องอก
อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองในไส้ติ่งเกิดการปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการขยายตัวขึ้นจนไปปิดกั้นไส้ติ่ง และทำให้ไส้ติ่งที่อาจมีเชื้อโรคอาศัยอยู่เกิดอาการอักเสบ
อาการปวดท้องไส้ติ่งอักเสบ
ไส้ติ่งอักเสบ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน มักเป็นมากขึ้นและอาการแย่ลงภายใน 6-24 ชั่วโมง ซึ่งอาการของภาวะไส้ติ่งอักเสบที่พบโดยทั่วไปมีดังนี้
มีอาการปวดอย่างเฉียบพลัน ที่บริเวณรอบสะดือ ต่อมาย้ายไปปวดที่ท้องด้านล่างขวาเนื่องจากการอักเสบที่ลุกลามมากขึ้น
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากขึ้นขณะที่ไอ เดิน หรือแม้แต่ขยับตัว
บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือรู้สึกเบื่ออาหาร
มีไข้ต่ำ ๆ ระหว่าง 37.2–38 องศาเซลเซียส และอาจสูงกว่า 38.3 องศาเซลเซียส หากเกิดภาวะไส้ติ่งแตก
มีอาการท้องเสีย ท้องผูก หรือมีอาการท้องอืดรวมด้วย
มีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากการอักเสบที่มากขึ้นของไส้ติ่งไปกระตุ้นท่อไตของระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งอยู่ใกล้กัน
การวินิจฉัยของแพทย์
การวินิจฉัยอาการไส้ติ่งอักเสบค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เนื่องจากอาการของไส้ติ่งอักเสบนั้นค่อนข้างคลุมเครือ และมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ โดยทั่วไปแพทย์จะทำการวินิจฉัยตามอาการหรือตามขั้นตอน ดังนี้
แพทย์จะทำการซักประวัติเพื่อให้ทราบลักษณะอาการเจ็บป่วยหรืออาการปวดท้องและนำมาวินิจฉัย
การตรวจร่างกายหาความผิดปกติหรืออาการของโรค อาจทำควบคู่กับการซักประวัติ เพราะอาการปวดท้องไส้ติ่งมีอาการคล้ายกันหลายโรค
หาก 2 วิธีแรกยังได้ผลไม่ชัดเจน แพทย์จะใช้การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัย
กรณีแพทย์มีความมั่นใจจากการวินิจฉัยโรค ก็จะทำการรักษาได้ทันที

Abstract vector created by macrovector – www.freepik.com

แนวทางการรักษาไส้ติ่งอักเสบ
ไส้ติ่งอักเสบสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเท่านั้น เพราะจะช่วยรักษาอาการและช่วยกำจัดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะไส้ติ่งแตก โดยการผ่าตัดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ 
การผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) เพราะเป็นการผ่าตัดเล็กสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ทันที เหมาะกับกรณีไส้ติ่งที่อักเสบยังอยู่ในระยะไม่ร้ายแรงนัก 
2.กรณีปวดท้องไส้ติ่งมีอาการที่รุนแรง หรืออยู่ในขั้นไส้ติ่งแตก ก็จะต้องใช้การผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery) ซึ่งเป็นผ่าตัดแบบมาตรฐาน เพราะนอกจากจะต้องนำไส้ติ่งที่แตกออกแล้ว ยังต้องทำความสะอาดภายในช่องท้อง และใส่ท่อเพื่อระบายหนองจากฝีที่เกิดขึ้นอีกด้วย
วิธีดูแลตนเองในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด
ผู้ป่วยที่อาการโรคไส้ติ่งอักเสบยังไม่รุนแรงมาก หรือยังไม่ได้เข้ารับการผ่าตัดไส้ติ่ง ควรเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติของตนเองอย่างระมัดระวัง หากพบว่า มีอาการ เบื่ออาหาร มีไข้สูง อาเจียน หรือกดบริเวณที่มีอาการแล้วรู้สึกปวดมากขึ้น และปวดนานกว่า 6 ชั่วโมง ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที 
วิธีดูแลตนเองในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่ผ่าตัดไส้ติ่งแล้ว
ในกรณีผู้ป่วยที่ผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบไปแล้ว การดูแลตนเองถือว่า เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูกลับมาแข็งแรงดังเดิม ควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำ ดังนี้
กระตุ้นการลุกจากเตียงหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก เพื่อให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวเร็วขึ้น
หลีกเลี่ยงการเกาแผลหรือกระทบกระเทือนแผล เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบ บวม แดง ได้
รักษาความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ ห้ามให้แผลเปียก และควรล้างมือก่อนสัมผัสแผล
การรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
พักผ่อนให้เพียงพอ 
ควรเลือกรับประทานอ่อนๆ และเป็นอาหารที่กลืนง่าย ย่อยง่าย 
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชาและกาแฟ
โรคไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่คล้ายคลึงกับโรคปวดท้องทั่วไปแต่มีอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้คุณหลีกเลี่ยงจากการเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ นั่นก็คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่ายที่ดีของร่างกาย แต่ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติคล้ายอาการโรคไส้ติ่งอักเสบ และคุณยังไม่เคยผ่าตัดไส้ติ่งมาก่อน ข้อแนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการทันที 

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/appendicitis/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/