ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


รู้ทันอาการปวดหลัง ปวดแบบไหนอันตราย

รู้ทันอาการปวดหลัง ปวดแบบไหนอันตราย
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2020, 04:48:23 AM »

อาการปวดหลัง เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และพบใด้บ่อยในกลุ่มของวัยทำงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่นาน ๆ หรือในกลุ่มคนที่ต้องทำงานหนักหรือต้องใช้แรง และเมื่อเกิดอาการปวดหลังหากปล่อยละเลยไม่รีบดูแลรักษา หรือหายาแก้ปวดมาทานเองเพราะคิดว่าไม่อันตราย นอกจากรักษาอาการปวดไม่หายแล้ว อาการของโรคอาจรุนแรงจนยากต่อการรักษา เพื่อรู้ทันอาการปวดหลัง เรามีความรู้มาแนะนำครับ

โรคปวดหลัง คืออะไร ?
ปวดหลัง เป็นอาการปวดเหมือนกับการปวดอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย และจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากหรือน้อยแตกต่างกันไปตามอาการ ลักษณะการปวดหลังอาจเริ่มจากการปวดแบบเรื่อย ๆ ไม่รุนแรง แต่ปวดอย่างต่อเนื่อง หรือมีอาการปวดแบบเฉียบพลัน ปวดเสียวแปลบ ซึ่งทำให้ยากต่อการเคลื่อนไหว 

สัญญาณเตือนอันตรายจากการปวดหลัง 
อาการปวดหลังเกิดจากหลายปัจจัย และมีอาการแสดงแตกต่างกันโดยส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น ก้มเงย บิดตัวไปมา นั่งในท่าเดิมนาน ๆ ทำงานหรือเล่นกีฬา อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นและหายได้เองภายใน 2-4 สัปดาห์ ส่วนสัญญาณเตือนอันตรายจากการปวดหลังที่ควรพบแพทย์ ได้แก่ ปวดหลังปวดรุนแรงฉับพลันมีอาการชา อ่อนแรง ไม่สามารถขยับร่างกายได้ และมีอาการปวดนานเกิน 4 สัปดาห์หากอาการปวดไม่หายควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป

สาเหตุหลักของการปวดหลังเรื้อรัง 
อาการปวดหลัง แม้จะเกิดขึ้นจากการทำงานหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การนั่งทำงาน การขับรถทางไกล หรือใช้แรงงานที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ ซึ่งสามารถหายได้เอง แต่หากไม่ได้รับการดูแลรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจกลายเป็นปวดหลังเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น สาเหตุหลักของอาการปวดเรื้อรัง ได้แก่

ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม เนื่องจากกระดูกข้อเป็นส่วนที่ขยับได้ เมื่อทำหน้าที่รับน้ำหนักและเคลื่อนไหว กระดูกอ่อนจะทำหน้าที่ลื่นและลดแรงเสียดทานไปพร้อม ๆ กัน จึงทำให้กระดูกอ่อนสึกและบางลงได้  และเป็นสาเหตุทำให้กระดูกออนสึกและเสื่อม ส่งผลให้เกิดผลการปวดหลังเรื้อรัง
กระดูกสันหลังเสื่อมทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง หรือ ปวดร้าวลงสะโพก และ ขา ทำให้เคลื่อนไหวยากลำบาก และเป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ปวดจากหมอนรองกระดูกหลัง เนื่องจากหมอนรองกระดูกหลังที่เสื่อมจะทำให้มีสารอักเสบออกมาบริเวณรอบ ๆ และส่งผลให้มีอาการปวดหลังเรื้อรัง
ปวดจากกล้ามเนื้อหลังอักเสบเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อหนึ่งมัด หรือมากกว่าเกิดการอักเสบ แล้วมีอาการปวดร้าวลามไปบริเวณหลัง 


การวินิจฉัยทางการแพทย์ 
แพทย์จะทำการตรวจสอบประวัติพื้นฐานของผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยและโรคประจำตัวที่อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังแบบเรื้อรัง
ตรวจสภาพร่างกายของผู้ป่วย โดยจะดูจากการนั่ง การยืน การเดิน การยกขา และรวมไปถึงการเคลื่อนไหวของแผ่นหลัง
สอบถามหรือซักถามเกี่ยวกับลักษณะการทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน
ตรวจและสอบถามเกี่ยวกับลักษณะอาการปวด รวมทั้งระยะเวลาที่เริ่มมีอาการปวดหลัง เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการรักษาอย่างถูกวิธี
แนวทางการรักษาโรคปวดหลัง  
สำหรับแนวทางการรักษา หลังจากแพทย์วินิจฉัยเหาสาเหตุของอาการปวดหลังได้แล้ว จะแบ่งการรักษาออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ การรักษาโดยการใช้ยา และการรักษากายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย ดังนี้

1. การรักษาโดยการใช้ยา 
ได้แก่

ยาคลายกล้ามเนื้อ
ยาแก้ปวด เช่น ไทลีนอล ยาไอบูโปรเฟน มอตรินไอบี ยานาพรอกเซน และโซเดียม 
ยาทาบรรเทาอาการปวดเฉพาะที่
การรักษาระยะสั้น และอยู่ในการดูแลของแพทย์ โดยใช้ยาโคเดอีน ไฮโดรโคโดน
การฉีดยาคอร์ติโซน
2. รักษาโดยวิธีกายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย
นักกายภาพบำบัดจะทำการรักษาอาการปวดหลัง โดยใช้วิธีการบำบัด เช่น ความร้อน อัลตร้าซาวด์ การกระตุ้นด้วยคลื่นไฟฟ้า หรือวิธีการคลายกล้ามเนื้อบริเวณกล้ามเนื้อหลังและเนื้อเยื่ออ่อนเพื่อลดอาการปวด 

3. รักษาโดยการการให้คำปรึกษา
แพทย์หรือผู้เชียวชาญ จะให้ความรู้กับผู้ที่ปัญหาอาการปวดหลัง และแนะนำวิธีจัดการกับอาการอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การดูวิดิโอให้ความรู้ การทำกิจกรรมหรือหาวิธีลดความกังวลและความเครียด แนะนำวิธีที่จะหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้

4. รักษาโดยการผ่าตัด
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง รวมทั้งมีอาการเจ็บหลังต่อเนื่องร่วมกับอาการเจ็บแปลบบริเวณขา มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างต่อเนื่อง จากเส้นประสาทถูกกดทับ แพทย์อาจทำการรักษาด้วยการผ่าตัด


Medicine bottles and tablets on wooden desk

วิธีป้องกันตนเองจากโรคปวดหลัง
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปวดหลังมาจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป  ส่งผลให้เอว และหลังมีการรับน้ำหนักมากกเกินไป กรณีมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานและมีอาการปวดหลัง ควรลดน้ำหนัก เพื่อป้องกันอาการปวดหลังเรื้อรัง ที่ส่งผลกระทบต่อการชีวิตประจำวัน
การนอนในท่าหงายเป็นเวลานาน ๆ ทำให้นำหนักของร่างกายกดลงไปที่กระดูกสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ควรนำหมอนมารองใต้ขาเวลานอน ส่วนการนอนตะแครง ให้นำหมอนสอดไว้ระหว่างขา จะช่วยการลงน้ำหนักของตัวป้องกันอาการปวดหลังได้ดี
หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรเลือกการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เป็นการเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อบริเวณท้องและหลังมีความแข็งแรงและลดความเสี่ยงของอาการปวดหลังได้
การสวมรองเท้าส้นสูง ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดหลัง ควรเลือกสวมรองเท้าที่ใส่แล้วสบาย รองเท้าที่มีส้นไม่เกิน 1 ซม. หรือสวมรองเท้าส้นเตี้ยช่วยลดอาการปวดหลังเวลาเดินได้
หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน โดยควรเปลี่ยนอิริยาบถอย่างน้อย ทุก 20-45 นาที
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การยกของหนักเป็นสาเหตุหลัก ทำให้เกิดอาการปวดหลัง 
บำรุงกระดูก ด้วยการรับประทานแคลเซียม
ดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุน
อาการปวดหลัง แม้อาการปวดจะไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง แต่การป้องกันย่อมดีกว่าการดูแลรักษา เมื่อมีอาการปวดหลังควรหมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติ หากมีอาการปวดอย่างต่อเนื่องและปวดนานเกินกว่า 3-4 สัปดาห์ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจกลายเป็นอาการปวดหลังเรื้อรังที่ยากต่อการรักษาได้


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/back-pain-signals-something-serious/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/