ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - คิดส์ จะพักต์

หน้า: [1]
1
ช่วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีอย่าง Cloud กำลังมาแรง ทำให้เกิดธุรกิจ Cloud Computing ไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยของเราเอง ก็กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก บริการ Cloud เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถติดตั้งแอปพลิเคชั่นและข้อมูล ลงบน ระบบ Cloud ได้เลย ลดค่าใช้จ่าย และใช้งานง่าย

จากระบบไอทีแบบเก่า หรือ Legacy IT เป็นการใช้เทคโนโลยีที่มีฮาร์ดแวร์มากเกินความจำเป็น การบริหารจัดการที่ยุ่งยาก ความยืดหยุ่นน้อย งบประมาณสำหรับการดูแลระบบสูงเกินความจำเป็น ดังนั้นการย้ายระบบมาสู่ Cloud Computing จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมรองรับเทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อการพัฒนาองค์กรและธุรกิจในอนาคต เช่น Big Data, Machine Learning หรือ AI


7 ขั้นตอนย้ายข้อมูลสู่ระบบ Cloud Computing

การวางแผนและกระบวนการเริ่มต้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการย้ายไปสู่โครงสร้างพื้นฐานของ Cloud โดยเริ่มต้นองค์กรส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้งาน Public Cloud ก่อน มีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวสูง ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของกันและกัน และค่าใช้จ่ายตามจริง หรืออีกแนวทาง คือ Private Cloud เป็นระบบ Cloud สำหรับองค์กรโดยเฉพาะ มีความปลอดภัย สามารถบริหารจัดการทรัพยากรได้ตามต้องการขององค์กร แต่จะมีการลงทุนเริ่มต้นที่สูงขึ้น

กลยุทธ์ขององค์กรขนาดใหญ่ ในการโยกย้ายข้อมูลมากสู่ Cloud Computing โดยพื้นฐานมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ต่อไปนี้


1. กำหนดเป้าหมาย

แรงจูงใจในการใช้ Cloud Computing จะแตกต่างกันไปตามองค์กร บางกรณีใช้ทรัพยากรคลาวด์เพื่อป้องกันและการกู้คืนเมื่อเกิดเหตุการณ์ความเสียหาย (Disaster Recovery) และการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์, การทำข้อมูลแบบ Big Data, การทำ Machine Learning หรือ AI


2. ประเมิน Environment

องค์กรสามารถประเมินการใช้งานจากแอปพลิเคชั่นและข้อมูลจำนวนมากที่มีอยู่ เพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีบน Cloud Computing พร้อมกับกำหนดค่าระบบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคลาวด์ เช่น Elastic Compute, Software Defined Storage และ Networking นำมาซึ่งขั้นตอนการย้ายระบบสู่ Cloud Computing


3. เตรียมข้อมูลและแอปพลิเคชั่น

การเตรียมข้อมูลและ Metadata เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการก่อนการโยกย้ายสู่ Cloud Computing รวมถึงการระบุรายละเอียดการกำหนดค่าโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การระบุที่อยู่เครือข่าย, รายละเอียด CPU, หน่วยความจำ และขนาดการจัดเก็บ การเตรียมข้อมูลต้องให้ผู้ใช้สร้าง Snapshots และ VM หรือ Container images พร้อมกับเตรียม Data ต่างๆ เพื่อการโอนย้ายไปยังฐานข้อมูล


4. การโอนย้าย

องค์กรสามารถคัดลอกข้อมูลต่างๆ ไปยัง Cloud Computing ได้หลายวิธี เช่น การถ่ายโอนข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อ Private Network หรือ VPN รวมถึงการถ่ายโอนจำนวนมากผ่านฮาร์ดไดรฟ์ หรือทางเลือกอื่นๆ ได้แก่ ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป และบริการที่ออกแบบมาเพื่อสร้าง DR สำหรับโครงสร้างพื้นฐานเฉพาะ เช่น Veeam Backup เป็นต้น 


5. จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานบน Cloud Computing

นี่เป็นขั้นตอนการโยกย้ายไปสู่ Cloud Computing ซึ่งองค์กรต่างๆ ที่ได้ทำการสร้างโครงสร้าง Cloud Environment เพื่อติดตั้งแอปพลิเคชั่นและพื้นที่การย้ายข้อมูล ซึ่งอาจรวมถึงการตั้งค่า VMs, Volume Storage, Networking, Databases, Load balancer, Access Management และอื่น ๆ


6. ทดสอบและปรับ Environment ให้เหมาะสม

ก่อนที่จะมีการใช้งาน Cloud Computing อย่างเต็มรูปแบบ โครงสร้างพื้นฐานของ Cloud Computing จะต้องได้รับการทดสอบต่างๆ เพื่อการันตีการทำงานของระบบ และความเสถียรที่มากเพียงพอ และมีประสิทธิภาพการทำงานที่ได้รับการยอมรับ เพื่อกำหนดการตั้งค่าระบบและทรัพยากร หากมีปัญหาที่ไม่คาดคิดขึ้น


7. ลดปริมาณงานการทำงานของ Cloud Computing ในช่วงเริ่มต้น

ขั้นตอนสุดท้ายคือ การปรับปริมาณงานการทำงานที่ใช้บนระบบ Cloud Computing ซึ่งในช่วงเริ่มต้นอาจใช้ระบบการทำงานแบบเก่าร่วมกับการทำงานบน Cloud Computing ควบคู่กัน เพื่อให้เกิดการปรับตัวไปยังแพลตฟอร์มใหม่ รวมถึงการทำงานบน Cloud Computing จะสามารถปรับกระบวนการทำงานได้รวดเร็ว เนื่องจากการประมวลผลการทำงานที่ยังต่ำ แล้วจึงปรับการทำงานไปอย่างเต็มรูปแบบ


ทั้งหมดนี้ คือ ขั้นตอน Migrate-to-Cloud ของแต่ละองค์กรที่ต้องการย้ายระบบการทำงานแบบ Legacy IT มายัง Cloud โดยการย้ายระบบต่างๆ มาใช้งานบนระบบ Cloud ยังมีสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไปมาก เช่น การย้าย Cloud-to-Cloud, การเพิ่ม-ลดขนาดของ Cloud เป็นต้น ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะเป็นการเตรียมความพร้อมของการย้ายระบบต่างๆ ไปสู่ Cloud นั่นเอง

2
เดี๋ยวนี้เรามีหลากหลายช่องทางในการทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็น การทำการตลาดผ่าน Line การตลาดผ่าน Facebook และผ่านสื่อโซเชียลมากมาย แต่คุณลืมไปหรือเปล่า ว่าการทำการตลาดโดยใช้ Email ก็สามารถทำได้ ลองมาดูกันว่า Email Marketing มีดีอย่างไร


Email Marketing คืออะไร ?


การทำการตลาดผ่านทางอีเมลด้วยการส่งอีเมลจำนวนมากผ่านระบบ Nipamail ซึ่งเป็นระบบที่มีคุณภาพสูง ช่วยให้คุณสามารถส่งอีเมลข่าวสารประชาสัมพันธ์ อีเมลโปรโมชั่นในการกระตุ้นยอดขาย หรืออีเมลทำ CRM เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ ซึ่งสามารถส่งอีเมลได้เป็นจำนวนมาก ง่าย และส่งได้ในเวลาอันรวดเร็ว พร้อมด้วย ‘Automation Marketing’ สุดยอดเครื่องมือทำการตลาดแบบอัตโนมัติ ที่จะช่วยให้การทำการตลาดผ่านทาง Email & SMS เป็นเรื่องที่ง่ายมากยิ่งขึ้น รวมถึงยังมีสถิติรายงานผลการส่งแบบ Real time ที่จะช่วยวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางการตลาด ทำให้คุณเข้าใจพฤติกรรมของผู้รับอีเมลมากยิ่งขึ้น เพื่อประเมินผล และวางกลยุทธ์สำหรับต่อยอดธุรกิจของคุณต่อไป


ทำไมต้องทำ Email Marketing ?

 

ด้วยยุคนี้เป็นยุคของโซเชียลมีเดียที่กำลังมาแรง สื่อสังคมออนไลน์ที่นอกจากจะเป็นพื้นที่ที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารหากันแล้ว ยังถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางเพื่อใช้ในการทำการตลาดที่ถือว่าได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี ผู้ประกอบการจึงให้ความสนใจและเลือกที่จะลงทุนทางการตลาดผ่านสื่อโซเชียลมีเดียเหล่านี้ และมองว่า Email Marketing ล้าสมัยไปแล้ว โดยอาจจะลืมนึกไปว่า ก่อนที่เราจะสามารถ Log in เข้าใช้งาน หรือ Sign in เพื่อเข้าสู่โซเชียลมีเดียเหล่านั้น สิ่งแรกที่เราต้องมีก็คือ ‘อีเมล’ เพราะฉะนั้นยิ่งมีผู้ใช้งานสื่อโซเชียลมีเดียมากขึ้นเท่าไหร่ จำนวนผู้ใช้อีเมลก็มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งกับปัจจุบันหลายๆ อย่างได้ผูกเข้ากับบัญชีอีเมลมากขึ้น เช่น การแจ้งเตือนการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอีเมล การยืนยันการลงทะเบียน หรือสมัครเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องทำรายการ หรือแจ้งเตือนผ่านทางอีเมล สิ่งเหล่านี้ทำให้อีเมลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันและทำให้คนเข้าไปมีส่วนร่วมโดยการเปิดอ่าน เช็คข่าวสาร หรือกิจกรรมต่างๆ ผ่านทางอีเมลมากขึ้น และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ชัดเจนมากเพียงพอกับคำถามที่ว่า ‘ทำไมต้องทำ Email Marketing’


ขอบคุณ https://www.nipamail.com/

3
หลังจากที่คุณติดต่อ ประสานงานเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องไปออกบูธในงานอีเว้นท์สักที แต่ก่อนที่คุณจะไปออกงานก็ควรเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อให้การออกงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จ และเป็นไปอย่างราบรื่นนั่นเอง จะต้องเตรียมตัวอะไรบ้างไปดูกันได้เลย

1. กำหนด/ วางแผนล่วงหน้า

ควรกำหนดเป้าหมายในการขายให้ชัดเจน และวางแผนแนวทางต่างๆ เช่น รายชื่อสินค้า การขนส่ง โปรโมชั่น รวมถึงจำนวนสินค้าที่จะนำไปจำหน่าย ซึ่งเราควรจัดเตรียมสต็อกสินค้าให้เพียงพอ และควรมีแนวทางการแก้ไขปัญหาไว้เป็นทางเลือกสำรอง

2. จัดวางสินค้าให้น่าสนใจ

บางครั้งขนาดของบูธก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด แต่สิ่งที่เราจะทำได้ก็คือการออกแบบพื้นที่ในการจัดวางสินค้าให้น่าสนใจที่สุด หรืออาจออกแบบป้ายโฆษณามาช่วยในการประชาสัมพันธ์ด้วยก็ได้

3. เลือกคนที่เหมาะสมที่จะทำงานที่บูธ

คุณสมบัติของผู้ดูแลบูธ ต้องมีความรู้ในเรื่องของสินค้า และประโยชน์ของสินค้านั้นๆ เป็นอย่างดี สามารถนำเสนอ และสื่อสารออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

4.  สร้างการติดตาม และการขายที่มีคุณภาพ

เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการขายหลังจบงาน ควรมีการเก็บข้อมูลสำหรับคนที่สนใจเพิ่มเติม เพราะบางคนสนใจสินค้า และบริการของเราแต่ยังไม่พร้อมที่จะซื้อในตอนนั้น ก็จะสามารถนำข้อมูลในส่วนนี้มาติดต่อกลับไปในภายหลังได้ ถือเป็นการเพิ่มยอดขายได้อีกทาง

5. ประเมินผลหลังการออกงาน

พยายามรวบรวมข้อมูลต่างๆ ทั้งคำติชม ผลตอบรับการดำเนินงานให้มากที่สุด เพื่อที่เราจะได้นำมาประเมิน และปรับใช้ในการออกงานในรอบต่อไปได้

เพราะการออกงานอีเว้นท์ถือเป็นการประชาสัมพันธ์แบรนด์อีกช่องทางหนึ่ง แถมยังได้ประสบการณ์จากการวางแผน การแก้ไขปัญหา หรือแม้กระทั่งเทคนิคการขายเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณประสบความสำเร็จ และมีโอกาสสร้างยอดขายได้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ที่มา: https://365creation.com/

4
การตลาดออนไลน์ | Internet Marketing / เทรนด์ Digital Marketing
« เมื่อ: มิถุนายน 13, 2019, 11:36:29 AM »
ปัจจุบันเรียกได้ว่า Digital Marketing เข้ามามีบทบาท ความสำคัญกับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ทั้งนั้น จนถึงตอนนี้ความก้าวหน้าของ Digital Marketing ก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทุกช่วงต้นปี ปลายปีก็จะมีเทรนด์ต่าง ๆ ออกมาให้บรรดาเหล่านักการตลาด นักธุรกิจหลายคนได้เตรียมรับมือกับสิ่งใหม่ ๆ ที่กำลังจะเข้ามา

เทรนด์ที่เด่น ๆ ว่าสิ่งที่คุณไม่ควรพลาดในการทำ Digital Marketing ในปีนี้มีอะไรบ้าง เพื่อที่คุณจะได้นำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ในช่วงกลางปีไปจนถึงปลายปีกันเลยทีเดียว และคาดว่าสามารถต่อยอดได้ในปีต่อ ๆ ไปด้วย

        Content Marketing

        เป็นสิ่งที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทุกวันนี้กลายเป็นเครื่องมือ Digital Marketing ที่หลาย ๆ บริษัทให้ความสำคัญ เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย แน่นอนว่าคนเหล่านี้ต้องการคอนเทนต์ที่ดี และคอนเทนต์ที่ดีนั้นต้องมีความเฉพาะตัว สร้างความเข้าใจและเข้าถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้เนื้อหาได้ถูกแชร์ออกไปในวงที่กว้างมากขึ้น หากคุณทำได้ คุณก็จะสามารถสร้างคอนเทนต์ที่เอื้อประโยชน์ให้กับสินค้าและบริการของธุรกิจคุณได้เช่นกัน

Videos Content

เป็นสื่อที่เข้าใจง่ายและเป็นสิ่งที่น่าจับตามองที่สุด หากลองสังเกตดูว่าที่ผ่านมาเนื้อหาประเภทนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ videos content โตแล้ว ก็ยังมีอีกเหตุผลที่ทำให้หลายธุรกิจต้องปรับเนื้อหากันยกใหญ่ คือการที่อัลกอริทึมของ Facebook มีการปรับให้ videos content หรือเนื้อหาที่มีภาพเคลื่อนไหวมีความสำคัญมากขึ้นนั่นเอง

        Facebook Ads

        ช่องทางการโฆษณาบน Facebook เป็นช่องทางที่เพิ่งเริ่มได้รับความนิยมอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ Facebook เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการโฆษณา การนำเสนอ รวมไปถึงเครื่องมือในการจัดการโฆษณาและโพสต์ต่าง ๆ บน Facebook ด้วย และนอกจากผู้ใช้งานสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นบนโฆษณานั้น ๆ ได้แล้ว ยังเป็นตัวช่วยที่จะทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ดังนั้นในปีนี้หากใครยังไม่ทำโฆษณาผ่าน Facebook คงต้องรีบลองใช้ในธุรกิจของคุณดูบ้างแล้ว

        และทั้งหมดนี้คือเทรนด์ Digital Marketing ที่เราคัดมาย้ำให้ทุกคนได้รู้กันอีกสักรอบในช่วงนี้ ซึ่งแน่นอนว่าหากนักการตลาด นักธุรกิจสามารถนำไปปรับใช้ได้ มันจะเป็นสิ่งที่ท้าทายและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้คุณได้ก้าวไปข้างหน้ามากขึ้นด้วย แต่การนำไปใช้นั้นก็ต้องผ่านการพิจารณาดูก่อนว่าเหมาะสมกับธุรกิจของเราด้วยหรือไม่ เพื่อโอกาสในการพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ที่มา : https://www.nipa.co.th/

5
ปัจจุบันเมื่อเข้าสู่ยุค Digital marketing ที่อะไรๆก็เป็นดิจิตอลไปหมด การค้าขายหรือการทำธุรกิจก็จะต้องพึ่งพาช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ ซึ่ง 2 ช่องทาง Digital marketing  หลักๆ ที่คนทำธุรกิจนิยมใช้ในการโฆษณาคือ Google และ Facebook ซึ่งหากใครยังไม่รู้ หรือตัดสินใจไม่ได้ว่าจะใช้ช่องทางไหนในการโฆษณาสินค้าหรือบริกาของตน วันนี้เราจะมาเทียบให้ดูกันจะๆ เลยว่าระหว่าง Google และ Facebook ช่องทางไหนมีฟังก์ชันเด็ดๆ อะไรบ้าง และธุรกิจของเราควรเลือกแบบไหน



Google

มาเริ่มกันที่ช่องทางแรก ที่ได้รับความนิยมในการลงโฆษณาเป็นอย่างมากกันเลยดีกว่า สำหรับ Google ซึ่งถือว่าเป็นช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีบริการให้เลือกมากมาย มาดูกันดีกว่าว่ามีบริการดีๆ อะไร ที่จะช่วยโฆษณาธุรกิจของคุณได้บ้าง

- Google Adwords

Google Adwords ถือว่าเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเนื่องจากเราสามารถมั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าโฆษณาของเราจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงกลุ่ม ด้วย Keywords ที่คิดมาแล้วว่าคนจะค้นหาด้วยคำนี้ ซึ่งหากเราตั้ง Keywords ของเราให้ตรงตามคำนั้นๆ รับรองได้เลยว่ากลุ่มเป้าหมายจะต้องเห็นสินค้าหรือบริการของคุณและมีโอกาสมาเป็นลูกค้าได้เลยทีเดียว

- Google Display Network (GDN)

Google Display Network หรือ GDN เป็นการลงโฆษณาผ่านเว็บไซต์พันธมิตรของ Google ที่มีหมวดหมู่ให้เลือกมากมายหลายล้านเว็บไซต์ โดยภาพ Display ต่างๆ ของเราจะไปขึ้นที่เว็บไซต์เหล่านั้น โดยเราสามารถเข้าถึงผู้ที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้มากถึง 90% เลยทีเดียว ทั้งยังสามารถสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

- Search Engine Optimization (SEO)

SEO เป็นการใช้เนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น คอนเทนต์หรือบทความต่างๆ ในการช่วยให้เว็บไซต์ของเราไปติดอยู่ในตำแหน่งที่ดีของ Google เมื่อมีผู้ค้นหาคำใดคำหนึ่ง ซึ่งข้อดีของ SEO ก็คือเมื่อเว็บไซต์ของคุณติดอันดับหน้าแรกของ Google แล้ว ลำดับของคุณจะคงอยู่ตรงนั้นเป็นระยะเวลาที่นานและมั่นคงนั่นเอง



Facebook

Facebook ถือเป็นช่องทางยอดนิยมในการทำการตลาดออนไลน์ เพราะถือว่าเป็นสื่อที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ ทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจหลายๆ อย่าง ประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย เนื่องจากเข้าถึงง่าย และอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกๆ คนอยู่แล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่ามีฟังก์ชันใดน่าสนใจในการโฆษณาออนไลน์บ้าง

- Page Post Engagement / Boost Post

การ Boost Post เป็นการขึ้นโฆษณาโปรโมทโพสต์ที่เราได้ลงไว้ในเพจ ไม่ว่าจะเป็นโพสต์ขายสินค้า หรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มค่าการเข้าถึงต่อกลุ่มเป้าหมายของคุณ ทำให้เกิดการไลก์ คอมเมนต์ และแชร์มากขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เพจของคุณเป็นที่รู้จัก หากโพสต์ที่คุณโฆษณาเหล่านั้นเกิดการแชร์ต่อเยอะๆ จนไปสู่ในวงกว้าง

- Page Like

ถือเป็นการโฆษณาทาง Facebook สำหรับคนที่เพิ่งเปิดเพจใหม่ๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเห็นเพจของเรามากขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เพจของเราเป็นที่รู้จัก และยังสามารถเพิ่มยอดไลก์ให้กับเพจ ทำให้เพจมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นอีกด้วย

- Clicks to Website

วิธีนี้เหมาะกับคนที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองอยู่แล้ว โดยเราจะลงโฆษณาผ่านทาง Facebook และเมื่อคนคลิกเข้ามาก็จะเชื่อมสู่หน้าเว็บของเราทันที ถือว่าเป็นการทำงานร่วมกันของทั้ง 2 ช่องทางเลยก็ว่าได้

และนี่ก็เป็นฟังก์ชันของทั้งทาง Google และ Facebook ที่เรานำมาฝากกัน หากคุณคิดจะลงโฆษณาทางช่องทางไหน ก็สามารถเลือกได้เลยว่าช่องทางใดเหมาะสมและจะทำให้ธุรกิจของคุณปังที่สุด หากเลือกช่องทางถูก รับรองได้เลยว่าธุรกิจของคุณจะขายดีไม่มีสะดุดอย่างแน่นอน

ที่มา : https://www.nipa.co.th/

6
การตลาดออนไลน์ | Internet Marketing / ใช้ Google Adwords หรือ ทำ SEO ?
« เมื่อ: มิถุนายน 07, 2019, 10:49:42 AM »
ผู้ประกอบการหลายคน คงสงสัยหรือลังเลในการทำ Digital marketing กับ Google ว่าแบบไหนจะดีกว่ากัน ระหว่าง การทำ SEO กับการซื้อโฆษณา Google Adwords วันนี้เรามาดูกันถึงข้อดีข้อเสียของทั้ง SEO และ Google Adwods แล้วคุณควรตัดสินใจทำแบบไหน


SEO คืออะไร 

SEO คือ การสร้าง Content รวมไปถึงปรับแต่งทั้งภายในและภายนอกของเว็บไซต์เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการจัดอันดับของ Google ซึ่งข้อดีของ SEO ก็คือ ไม่ต้องเสียเงินหรืองบประมาณในการเขียน Content และช่วยเพิ่มมาตรฐานของเว็บไซต์เพราะกว่าที่เว็บไซต์ติดอันดับได้ ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบหลายขั้นตอนเพื่อให้เว็บไซต์มีคุณภาพที่สุด ซึ่งอันดับที่ติดก็จะค่อนข้างมั่นคงด้วย แต่ข้อเสียของ SEO คือใช้ระยะเวลานานในการรอให้เว็บไซต์ติดอันดับบน Google และมีการปรับเกณฑ์ในการจัดอันดับทุก 3 - 6 เดือน ซึ่งมีโอกาสที่จะสลับสับเปลี่ยนกับเว็บอื่น ๆ ได้ทุกเมื่อ ดังนั้น SEO จึงตอบโจทย์ในการทำ Digital marketing ระยะยาวมากกว่า Google Adwords



Google Adwords คืออะไร 

Google Adwords คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำโฆษณากับ Google ซึ่งผู้ลงโฆษณาจะต้องเสียเงินในการใช้เครื่องมือนี้ในการทำ Digital marketing กับ Google แต่จะเสียเงินก็ต่อเมื่อเกิดการคลิกโฆษณานั้นเท่านั้น โดยเมื่อเราสร้างโฆษณานั้นเสร็จ โฆษณาตัวนั้นก็จะแสดงผลในหน้าแรกของ Google ทันที ซึ่งเหมาะกับการทำการตลาดออนไลน์ในระยะสั้นมากกว่าการทำ SEO เนื่องจากต้องรอเวลานานในการติดอันดับ แต่การคอนโทรล Keyword ของ Google Adwords ไม่แน่นอนเพราะถ้ามีคู่แข่งบิดราคาที่สูงกว่าเรา อันดับในการแสดงผลบนหน้าแรกของ Google อาจจะแซงเราได้

แล้ว SEO หรือ Google Adwords แบบไหนดีกว่ากัน

คำตอบก็คือ การทำทั้ง SEO และ Google Adwords ควบคู่กันไปย่อมดีกว่าการทำเพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะว่าการทำแบบนี้ทำให้เรามีกลยุทย์ทางการทำ Digital marketing ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และไม่เสียโอกาสทางธุรกิจ โดยหัวใจของการทำ 2 สิ่งควบคู่กันไปนี้ก็คือ Keyword ซึ่งทั้ง SEO และ Google Adwords ต่างใช้ Keyword เป็นสิ่งสำคัญในการขึ้นหน้าแรกของ Google เพราะเป็นสิ่งที่ลูกค้าใช้ค้นหาสินค้าหรือบริการจากเรา

ไม่ว่าคุณจะเลือกทำ SEO หรือ Google Adwords ก็ตาม หัวใจสำคัญของการทำการตลาดออนไลน์กับ Google ก็คือ Keyword เพราะว่าทั้ง 2 แบบมุ่งเน้นให้ลูกค้าค้นหาสินค้าหรือบริการจากการใช้ Keyword ที่เป็นเป้าหมายของเรา และ เราต้องไปปรากฎต่อหน้าลูกค้าเมื่อเขาค้นหาเรา จาก Keyword 

ที่มา : https://www.nipa.co.th/

7
การซื้อขายสินค้าในสมัยนี้เป็นสิ่งที่ง่าย และสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เพราะอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตของมนุษย์แทบทุกคนไปแล้ว และถ้าหากคุณกำลังคิดจะสร้างร้านค้าออนไลน์ ลองมาทำความรู้จักกับตัวเลือกในการสร้างหน้าร้านออนไลน์อย่าง “Magento” กันดู

Magento คือระบบจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์ (Content Management System หรือ CMS) ที่ออกแบบมาเพื่อการทำ E-commerce โดยเฉพาะ ซึ่งเป็น CMS แบบ Open Source ที่โดดเด่นกว่า CMS ตัวอื่นๆ เพราะมีฟังก์ชันการใช้งานที่ครบถ้วน ยิ่งถ้าเรามีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์ก็จะยิ่งสร้างเว็บไซต์ของตัวเองด้วย Magento ได้อย่างง่ายดาย ตั้งแต่ขั้นตอนจัดหมวดหมู่สินค้า, เพิ่มสต๊อกสินค้า, จัดการระบบชำระเงิน, การจัดส่ง, จัดอันดับสินค้ายอดนิยม และการออก Tracking Number ให้ลูกค้าเช็คสถานะสินค้า

นอกจากนี้ Magento ยังมีฟังก์ชันเสริม หรือ Extensions ที่ทำให้ต่างจาก CMS ตัวอื่นๆ เพราะมีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา สามารถเลือกใช้ได้ทั้งแบบฟรี (Magento Community) หรือจะแบบมีค่าใช้จ่าย (Magento Enterprise) และอนุญาตให้ผู้พัฒนา หรือผู้ที่สนใจนำไปพัฒนาต่อได้ อีกทั้งยังรองรับภาษาไทยได้อย่างเสถียรที่สุดอีกด้วย

ข้อได้เปรียบของ Magento คือการที่เราสามารถดีไซน์หน้าตาของร้านค้าได้อย่างอิสระ และมีความยืดหยุ่นสูงมาก เรียกได้ว่าไม่มีขีดจำกัดในเรื่องของหน้าตาและดีไซน์เลยก็ว่าได้ แต่ถ้าคุณอยากทำให้เว็บไซต์ดูน่าจับตามอง Magento ยังมีคุณสมบัติที่น่าสนใจเพิ่มเติมอยู่ด้วย นั่นก็คือ
Market Place สามารถทำให้เว็บไซต์ของคุณกลาย Shopping mall online เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ค้ารายอื่นมาวางขายสินค้าที่หน้าร้านของคุณเองแบบไม่ต้องกังวลหรือสับสนเลยแม้แต่น้อย เพราะ Magento จะจัดการในเรื่องของสี ไซต์ รูปแบบ ประเภท ยอดเงิน และผู้ขายให้คุณทั้งหมด
ระบบ Dropship มีประโยชน์มากสำหรับตัวแทนขายสินค้า เพียงแค่เข้ามาดูระบบ Dropship จากเว็บไซต์ของคุณโดยที่ตัวแทนไม่ต้องสต๊อกสินค้า ก็จะสามารถจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าของตัวแทนได้เลย

ระบบ Affiliate หรือระบบกระจายสินค้าและบริการจากเจ้าของกิจการ ผ่านคนกลางหรือนักการตลาดออนไลน์ ด้วยการดึงข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตของลูกค้าแล้วชี้เป้าไปยังสินค้าที่ลูกค้ามีแนวโน้มว่าจะสนใจ แบบไม่ต้องทำการตลาดเอง

สำหรับใครที่ยังไม่มีประสบการณ์ E-commerce หรือเว็บขายของออนไลน์มาก่อน การใช้ Magento ถือว่าตอบโจทย์ที่สุด เพราะมีความหลากหลายในฟังก์ชันเสริม และสามารถจัดการรองรับสินค้าที่หลากหลายได้อย่างเป็นระบบ รวดเร็ว และเสถียร รองรับการเติบโตของธุรกิจได้ทั้งในเชิงออนไลน์และออฟไลน์ได้ดีอย่างแน่นอน

ผู้ให้บริการ Magento และ ผู้ให้บริการ Cloud ในประเทศไทย https://www.nipa.cloud/Magento

8
ระบบ Cloud ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการใช้งานของอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ ถึงธุรกิจขนาดเล็ก ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น

ซึ่ง Cloud ก็เป็นสื่งที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และมีแนวโน้มที่จะเป็นทางเลือกหลักในอนาคต ที่สำคัญเลยคือปัจจุบัน Cloud กำลังได้รับความนิยม และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจ เพราะระบบ Cloud นั้นมีความยืดหยุ่น และความสะดวกสบายในการจัดการข้อมูล ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และง่ายขึ้น แถมต้นทุนต่ำด้วย อย่างที่ทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าระบบ Cloud เป็นระบบที่สามารถเชื่อมต่อ หรือเช่าพื้นที่เก็บข้อมูล แม้แต่คุณสามารถยกเลิกการเก็บข้อมูลบน Cloud เมื่อไรก็ได้  โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานมาคอยดูแลระบบให้คุณตลอด 24 ชั่วโมง และยิ่งหากคุณต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลที่มากขึ้นกว่าเดิม ระบบ Cloud ก็สามารถเพิ่มให้คุณได้อย่างสบายๆ โดยที่ไม่ต้องวุ่นวายซื้อเครื่องอะไรเพิ่มเติม ถือว่าตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจของคุณได้มากกว่าเดิมได้อย่างแน่นอน



หากองค์กรไหนกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และต้องการคำแนะนำ หรืออยากหาคอร์สหลักสูตรเกี่ยวกับ Cloud ให้พนักงานได้พัฒนาฝีมือ เพื่อนำไปปรับใช้สำหรับองค์กรของคุณ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเข้ามากับทาง Nipa.Cloud ได้เลยนะคะ เพราะทางเรามีการเปิดอบรม Training ในหลายหลักสูตรเลย

แต่ผู้ที่เริ่มต้นเราขอแนะนำหลักสูตร Cloud Computing Fundamentals เลยค่ะ โดยจะได้เรียนรู้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ OpenStack และ Cloud Computing กับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ที่สำคัญคือจะได้อบรมเชิงปฏิบัติด้วย คอร์สเริ่มต้นนี้คุ้มแน่นอน หากสนใจสามารถเข้าไปสำรองที่นั่ง และดูรายละเอียดของแต่ละหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ https://training.nipa.cloud/courses/ หรือโทรสอบถามได้ที่ 02-107-8251 ต่อ 810 เลยนะคะ

หน้า: [1]