ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - เอยู ฟาร์ม

หน้า: [1] 2 3
1

เกลื้อน เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เป็นปัญหาต่อบุคลิกภาพ โดยเฉพาะเกลื้อนที่เกิดบริเวณผิวหนังซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และคนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความสกปรก จากคราบเหงื่อไคลหมักหมม ความเป็นจริงโรคนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุรวมทั้งสามารถรักษาได้หลายแนวทาง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องถึงสาเหตุ อาการ และการรักษา  เรามีข้อมูลความรู้และการรักษาด้วยสมุนไพรมาแนะนำครับ
เกลื้อนคืออะไร ?
เกลื้อน เป็นโรคเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งเชื้อราชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในรูขุมขนของทุกคนอยู่แล้วโดยกินไขมันที่มีอยู่ในรูขนเป็นอาหาร หากร่างกายอ่อนแอหรือมีภูมิต้านทานลดลง มีคราบเหงื่อไคลหมักหมมอยู่ในรูขุมขน เชื้อราชนิดนี้จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นแล้วก่อให้เกิดโรคที่ผิวหนัง ในลักษณะเป็นดวงเล็ก ๆ ที่อาจมีสีเข้มหรือสีอ่อนกว่าสีผิวปกติบริเวณรอบ มักเกิดขึ้นที่ลำตัวหรือต้นแขน และหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาก็จะสามารถรวมตัวกันและขยายเป็นดวงใหญ่ขึ้น พบมากบริเวณผิวหนังที่มีต่อมไขมันมาก ๆ เช่น หน้าอก และแผ่นหลัง
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคเกลื้อน
โดยส่วนใหญ่ตามรูขุมขนหรือใต้ผิวหนังของคนเราะมีเชื้อรามาลาสซีเซียอาศัยอยู่ตามผิวหนังอยู่แล้ว แต่การแพร่กระจายมากผิดปกติจนทำให้ติดเชื้อและกลายเป็นเกลื้อนยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจ มีปัจจัยที่เป็นตัวเร่ง ได้แก่
ร่างกายอ่อนแอทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
อยู่ในช่วงวัยรุ่น หรือช่วงอายุ 20 ปีตอนต้นซึ่งเป็นช่วงวัยที่ฮอร์โมนต่าง ๆ ภายในร่างกายกำลังเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่มาจากสภาพแวดล้อม เช่น ช่วงที่อากาศร้อนและชื้น
คนที่ผิวมันมักมีปัญหาผิวหนังหรือเป็นโรคเกลื้อนได้มากกว่าคนผิวแห้ง
คนที่มีเหงื่อออกมากเกินไป เช่น คนที่ทำงานใช้กำลังแรงกาย นักกีฬาหรือคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
อาการและลักษณะของโรคเกลื้อน
โรคเกี่ยวกับผิวหนังมีหลายลักษณะที่คล้ายคลึงกัน อาจทำให้เข้าใจผิดระหว่างกลากและเกลื้อน ซึ่งลักษณะของการติดเชื้อราเกลื้อนอาจสังเกตได้ ดังนี้
เกลื้อนคือการติดเชื้อราที่ผิวหนังทำให้สีของผิวหนังเปลี่ยนแปลงโดยจะมีสีเข้มหรืออ่อนกว่าผิวหนังปกติบริเวณรอบ
บริเวณจะมีลักษณะเป็นผื่นและมีขุยอยู่รอบรูขุมขน ผื่นมีทั้งสีจางและสีเข้ม หรือชมพูอ่อนๆ ต่อกันเป็นแผ่นใหญ่
มีดวงขึ้นเป็นสีขาว ชมพู แดง หรือน้ำตาลอาจขึ้นเป็นดวงเดียวหรือหลายดวงก็ได้
เกลื้อนสามารถเกิดบนร่างกายของคนเราได้ทุกส่วน และมักพบได้มากบริเวณลำตัว คอ ต้นแขน และแผ่นหลัง
ลักษณะของเกลื้อน อาจทำให้ผิวแห้ง ตกสะเก็ด หรือมีอาการคันโดยเฉพาะเวลาเหงื่อออก
การวินิจฉัยโรคเกลื้อน
เกลื้อน เป็นโรคผิวหนังที่พบได้มากในกลุ่มวัยรุ่น รวมทั้งคนหนุ่มและสาววัยทำงาน เพราะเป็นวัยที่ต่อมไขมันทำงานมากซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นการแพร่กระจายของเชื้อราใต้ผิวหนัง การวินิจฉัยโรคเกลื้อน สามารถตรวจดูได้ด้วยการใช้ตาเปล่าสังเกตลักษณะของดวงเกลื้อน ส่วนการวินิจฉัยจากแพทย์อาจใช้แสงอัลตร้าไวโอเล็ตส่อง หากเป็นการติดเชื้อจากเชื้อรามาลาสซีเซีย จะส่งผลให้ผิวบริเวณนั้นเรืองแสงขึ้น
การรักษาโรคเกลื้อน
การรักษาโรคเกลื้อน สามารถรักษาให้หายได้หลายวิธี ทั้งการรักษาจากแพทย์ การรักษาด้วยสมุนไพรและการดูแลตนเอง ดังนี้
การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น การดูแลเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ควรจะซักและผึ่งให้แห้งก่อนนำมาใช้อีกครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับผู้อื่น อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้เหงื่อไคลหมักหมม นอกจากลดการเจริญเติบโตของเชื้อราทำให้เกลื้อนจางลงหรือหายได้ ยังเป็นการป้องกันการเกิดเชื้อราได้ดีอีกด้วย
การรักษาโดยแพทย์ อาจให้ยากดการเจริญเติบโตของเชื้อราเป็นยาทา เช่น ยาทาที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อรา ให้ทาก่อนนอนวันละครั้งเป็นเวลาสองสัปดาห์ หรือยารับประทานฆ่าเชื้อรากรณีที่เป็นมาก
แพทย์อาจแนะนำให้ใช้แชมพูขจัดเชื้อราที่ประกอบด้วยตัวยาต้านเชื้อรา เช่น คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) หรือซีลีเนียมซัลไฟด์ (Selenium sulphide) ซึ่งแพทย์อาจสั่งจ่ายแชมพูนี้ให้ผู้ป่วย หรือหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
การทาด้วยครีมหรือเจลขจัดเชื้อรา กรณีที่ผิวหนังติดเชื้อราเพียงจุดเล็ก ๆโดยทาวันละ 1-2 ครั้ง ลงบนผิวหนังเช่นเดียวกับการใช้แชมพู แต่ไม่ต้องล้างออก
การรักษาโรคเกลื้อนด้วยสมุนไพร เป็นวิธีดูแลรักษาที่ทำได้ง่ายโดยไม่ต้องพบแพทย์ สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคผิวหนัง เช่น กลากและเกลื้อน ได้แก่
ทองพันชั่ง
ใช้ได้ทั้งรากและใบ โดยนำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วผสมเหล้าเล็กน้อย หรือนำใบสดที่ตำละเอียดผสมกับน้ำมันดิบแล้วทาบริเวณรอยเกลื้อนวันละ 1 ครั้ง เป็นประจำ
กระเทียม
โดยนำกระเทียม 1 กลีบที่ปอกเปลือกและล้างสะอาดแล้ว มาตำเบา ๆ ให้พอแหลก จากนั้นจึงนำมาถูบริเวณที่เป็นเกลื้อน ปล่อยทิ้งไว้ 30 นาที เสร็จแล้วก็ล้างออก
เหง้าข่าแก่
นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเหล้าขาว คนจนละลาย ล้วนำไปทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน เกลื้อนเป็นโรคผิวหนังที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ และไม่เกี่ยวกับการไม่รักษาสุขอนามัยแต่อย่างใด และยังเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และจะไม่แพร่ไปสู่ผู้อื่น เพราะคนส่วนใหญ่มักมียีสต์มาลาสซีเซียอยู่บนผิวหนังอยู่แล้ว เพียงดูแลรักษาสุขภาพหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อรา ก็ทำให้ปลอดภัยจากโรคผิวหนังชนิดนี้ได้แล้ว

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/tinea-versicolor/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

2
สุขภาพ | Health / สมุนไพรช่วยลดน้ำตาลในเลือด
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2021, 03:39:06 PM »

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเรื้อรังต้องรับประทานยาตลอดชีวิต หรือผู้ที่เริ่มป่วยเป็นเบาหวานอาจอยู่ในช่วงคัดกรองและควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดน้ำตาลในเลือด  รวมถึงผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ สิ่งที่ควรเรียนรู้ก็คือ การดูแลและป้องกันตนเองให้สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดในอยู่เกณฑ์ปกติหรือลดน้ำตาลในเลือดไม่ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

สมุนไพรที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
การรักษาหรือป้องกันตนเองจากโรคเบาหวาน ก็คือการควบคุมหรือลดน้ำตาลในเลือด ซึ่งนอกจากการรักษาด้วยยา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การควบคุมปริมาณอาหาร จำกัดการรับประทานอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลแล้ว การดูแลสุขภาพด้วยพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นอกจากสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ยังส่งผลดีต่อสุขภาพอีกด้วย สมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาช่วยลดน้ำตาลในเลือด ได้แก่



 เห็ดหลินจือ
คือสุดยอดสมุนไพร สารที่มีบาทบาทต่อการควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดของเห็ดหลินจือคือ “โพลีแซคคาไรด์” จากผลงานการวิจัยพบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือชนิดนี้ช่วยลดดับน้ำตาลในเลือดได้



ถั่งเช่า
สมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงร่างกาย ถือเป็นราชาแห่งสมุนไพรและยังสามารถออกฤทธิ์ได้ดีกับผู้ป่วยมะเร็งในตับ ลำไส้  และเบาหวาน โดยสารในกลุ่มคอร์ดิเซ็ป สเตอรอล ที่มีอยู่ในถั่งเช่าจะช่วยให้ร่างกายมีการดูดซึมไขมันคลอเลสเตอรอลน้อยลง เมื่อดูดซึมคลอเลสเตอรอลมาน้อยไขมันในเลือดก็ลดลงตามไปด้วย



กะเพรา
ถือเป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่นอกจากใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูอาหาร ยังมีสรรพคุณทางยา โดยมีผลงานวิจัยของประเทศอินเดีย ชี้ให้เห็นว่าการรับประทานผงใบกะเพราแห้งในปริมาณ 2.5-3 กรัม วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า สามารถลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ หรือให้รับประทานในปริมาณ 6 กรัม วันละ 2 ครั้ง ก่อนและหลังอาหารเช้า ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดสูงและลดไขมันในเลือดสูงได้



ขิง
เป็นพืชสมุนไพร ที่มีสรรพคุณทางยา สาระสำคัญในน้ำมันหอมระเหยจากขิงจะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ช่วยขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ และยังมีผลงานการวิจัยระบุว่าขิงผงสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2



บอระเพชร
เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา โดยสารสกัดจากต้นบอระเพชรจะออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ เพราะมาสารกลุ่มอัลคาลอยด์ ที่ช่วยควบคุมน้ำตาลในหลอดเลือดได้ โดยที่ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ



ตำลึง
พืชผักริมรั้วที่หาได้ไม่ยาก และยังมีสรรพคุณทางยาในตำราทางอายุรเวทระบุไว้ว่า ตำลึงเป็นสมุนไพรที่นำมาใช้รักษาโรคเบาหวานได้ทั้ง เถา ราก และใบ การรับประทานตำลึงเพียงวันละ 50 กรัม ติดต่อกันเป็นประจำทุกวัน สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้อย่างเห็นผล



มะเขือพวง
เป็นพืชผักสมุนไพรที่แพทย์แผนโบราณบันทึกสรรพคุณไว้ว่า สามารถใช้ส่วนราก ใบ และผลในการรักษาอาการของโรคได้หลายชนิด เช่น ผล มีสรรพคุณแก้ไอขับเสมหะ ราก ใช้แก้เท้าแตกเป็นแผล ใบใช้ห้ามเลือด และต้น ใช้รักษากลากเกลื้อน รักษาโรคผิวหนัง ปัจจุบันยังมีผลงานการวิจัยระบุว่า มะเขือพวงมีสารต่าง ๆ ที่ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี เช่น สารทอร์โวไซด์ เอ, เอช สารทอร์โวนิน บี สารโซลานีน สารโซลาโซนีน และโซลามาจีน



มะระขี้นก
มีรายงานการศึกษาจากหลายประเทศระบุว่า มะระขี้นก มีกลไกการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้หลายวิธี คือ ออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ออกฤทธิ์เกี่ยวกับการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสในตับ



กระเทียม
เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสารอัลซิลีนที่อยู่ในกระเทียม มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต และลดไขมันในเลือด นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มการหลังของอินซูลีน และสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้



ขมิ้น
สมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยานิยมนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในเวชสำอางและยาสมุนไพรหลากหลายชนิด จากการทดลองใช้สารสกัดจากขมิ้นชันเพิ่มเติมจากยาควบคุมเบาหวาน สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้



ว่านหางจระเข้
นอกจากมีสรรพคุณช่วยลดการบวม อาการอักเสบ และช่วยสมานแผลได้แล้ว การศึกษาจากหลายสถาบันและผลงานวิจัยยังพบว่าน้ำของว่านหางจระเข้สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้



กระเจี๊ยบเขียว
เป็นพืชผักสมุนไพรอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เส้นใยของกระเจี๊ยบเขียวจะช่วยกำจัดไขมัน สามารถลดไขมันและคอเลสเตอรอล รวมทั้งลดน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายได้



อบเชย
เป็นเครื่องเทศที่มีสรรพคุณช่วยสมานแผล ป้องกันอาการท้องร่วง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และลดระดับน้ำตาลในเลือดเนื่องจากเปลือกของอบเชยประกอบไปด้วยสารแทนนิน (Tannins) เป็นสารอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย



ผักเชียงดา 
พืชสมุนไพรที่มีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อย มีสีเขียวเข้ม และมีสารสำคัญชื่อ Gymnemic acid ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งและชะลอการดูดซึมน้ำตาลบริเวณลำไส้เล็ก กระตุ้นการสร้างและซ่อมแซมเบต้าเซลล์ในตับอ่อน ทำให้มีการหลั่งอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้น้ำตาลในเลือดลดลง



โสม
เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีการทดลองให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากโสมเกาหลีแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และทำการวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังได้รับสารละลายกลูโคส พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับโสมเกาหลี มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโสมเกาหลีอย่างชัดเจน

สมุนไพรหลากหลายชนิดสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ และบางชนิดยังหาได้ง่ายเช่นสมุนไพรไทย ที่นอกจากเป็นพืชผักสวนครัวที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารแล้ว ยังนำสารสกัดไปเป็นส่วนประกอบในอาหารเสริมเพื่อบำรุงดูแลสุขภาพ ทราบกันแล้วว่าพืชสมุนไพรอะไรบ้างที่มีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด บทความนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่สนใจนะครับ


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/herbs-reduce-the-risk-of-diabetes/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

3

เชื่อว่าหลายคนเคยเป็น ตากุ้งยิง อาการของโรคทางตาที่มีลักษณะเป็นก้อนบริเวณเปลือกตา อาจเป็นที่ขอบตาล่างหรือบริเวณขอบตาด้านบน หลายคนอาจเป็นซ้ำเมื่อเป็นตากุ้งยิงที่บริเวณเปลือกตาข้างซ้ายเมื่อรักษาหายแล้ว อาจเปลี่ยนมาเป็นที่เปลือกตาข้าวขวา หรือสลับจากขอบตาด้านล่างเป็นปลือกตาด้านบน อาหารเหล่านี้เป็นอันตรายร้ายแรงหรือไม่  สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร เมื่อเป็นแล้วควรดูแลตนเองอย่างไร  มีความรู้มาแนะนำครับ

ตากุ้งยิง (Hordeolum) คืออะไร ?
ตากุ้งยิง คือ การติดเชื้อที่บริเวณเปลือกตา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหนังตาหรือรู้สึกคับบริเวณขอบตา ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งขอบตาล่างและขอบตาบน ก่อนที่จะเกิดเป็นฝีหรือตุ่มหนองที่ขอบเปลือกตา มีอาการเจ็บและปวดที่บริเวณเปลือกตามากขึ้น เปลือกตาบวมและก้อนหนองอาจจะแตกได้เอง ทำให้ผู้ป่วยมีขี้ตาปนหนองออกมาด้วย

สาเหตุของตากุ้งยิง
อาการของโรคตากุ้งยิง เกิดจากการติดเชื้อแบคที่เรีย ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจมีการอุดตันของต่อมบริเวณเปลือกตามาก่อน และสามารถเป็นได้มากกว่าหนึ่งจุด ปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบ ได้แก่

เปลือกตาไม่สะอาด เมื่อขยี้ตาบ่อย ๆ ทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อแบคทีเรียได้
เกิดจากการแต่งหน้า แล้วล้างเครื่องสำอางออกไม่หมดหรือล้างหน้าไม่สะอาด
การใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์ หากไม่รักษาความสะอาดหรือล้างมือก่อนใส่หรือถอดทุกครั้ง อาจเป็นสาเหตุของตากุ้งยิงได้
มีภาวะที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ภูมิต้านทานในร่างกายบกพร่อง
ผู้ที่มีผิวหน้ามัน อาจทำให้เกิดการอุดตันของต่อมไขมันบริเวณใบหน้ารวมทั้งหนังตาได้สูงกว่าปกติ
ลักษณะและ ชนิดของตากุ้งยิ่ง
ลักษณะของตากุ้งยิงส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในต่อมไขมันที่อยู่ใต้เปลือกตา แบคทีเรียที่พบได้มาก คือ สแตฟฟิโลค็อกคัส ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ไม่ร้ายแรงหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นที่เป็นอันตราย อาการตากุ้งยิงยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

ตากุ้งยิงภายนอก อาจเกิดขึ้นที่รูขุมขนเล็ก ๆ ที่มีขนตางอกขึ้นมาซึ่งต่อมไขมันที่อยู่ในรูขุมขนดวงตาจะทำหน้าที่ผลิตซีบัม สารที่ช่วยหล่อลื่นไม่ให้ลูกตาแห้ง หรือเกิดขึ้นที่ต่อมเหงื่อบริเวณรูขุมขนดวงตาที่ขับสารน้ำช่วยหล่อลื่นไม่ให้ตาแห้ง นอกจากนั้นตากุ้งยิงอาจเกิดจากเปลือกตาอักเสบได้ด้วย
ตากุ้งยิงภายใน จะเกิดขึ้นเมื่อต่อมไมโบเมียนที่อยู่บริเวณเปลือกตาซึ่งทำหน้าที่ผลิตไขมันเหลวส่วนหนึ่งของน้ำตามีการติดเชื้อ


อาการของตากุ้งยิง
เริ่มจากมีอาการเคืองตาหรือคันตาคล้ายมีผงอยู่ในตา
บริเวณแปลือกตาหรือขอบตาทั้งขอบตาด้านบน ด้านล่าง หัวตาหรือหางตา จะเกิดตุ่มฝี อาจมีน้ำตาไหล ทำให้ผู้ต้องขยี้ตาอยู่สมอ ๆ ระยะ 1-2 วันจะเริ่มบวมแดงเป็นตุ่มแข็ง
มีอาการปวดที่บริเวณเปลือกตาหรือบริเวณตุ่มนูน ในลักษณะปวดแบบตุบ ๆ
บางครั้งอาจมีขี้ตาออกมากผิดปกติหรือมีขี้ตาไหล เปลือกตาบวม ปวดตา หรือตาแดง
ตากุ้งยิง อาจมีอาการกำเริบแบบเป็น ๆ หาย ๆ โดยอาจจะเป็นตรงจุดเดิม หรือย้ายที่ สลับข้างไปมาก็ได้
การรักษาอาการตากุ้งยิง
การรักษาด้วยตัวเอง
อาการตากุ้งยิง หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนปล่อยทิ้งไว้ 4-5 วันตุ่มฝีมักจะแตกเอง หัวฝีจะยุบลงและหายปวด ถ้าหนองระบายออกได้หมดก็จะยุบหายไป ส่วนการดูแลรักษาด้วยตัวเอง ในส่วนของตุ่มนูนที่เกิดขึ้น ให้หลับตาแล้วใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณรอบ ๆ ดวงตาประมาณ 5-10 นาที และนวดเบา ๆ ทำซ้ำวันละ 3-4 ครั้งจนกว่าอาการตากุ้งยิงจะดีขึ้นและหายไป ควรหลีกเลี่ยงการบีบให้หนองบริเวณตากุ้งยิง เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบและควรปล่อยให้หนองไหลออกมาเอง กรณีมีอาการปวดตากุ้งยิง สามารถกินยาบรรเทาอาการปวดได้ เช่น พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน

รักษาโดยแพทย์
แพทย์จะทำการรักษาโดยเริ่มจากการวินิจฉัยหาสาเหตุให้แน่ชัด หรือให้รู้ว่าเป็นตากุ้งนยิงชนิดใด เพราะแม้จะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะไม่จ่ายยาปฏิชีวนะให้หากไม่มีความจำเป็น เนื่องจากอาการส่วนใหญ่จะหายได้เองในเวลาไม่นาน ส่วนแนวทางการรักษาแพทย์จะทำการรักษาตามอาการป่วยอื่นที่เป็นสาเหตุของตากุ้งยิง เช่น

มีอาการเปลือกตาอักเสบ แพทย์จะแนะนำวิธีทำความสะอาดบริเวณดวงตา ด้วยการใช้สำลีเช็ดทำความสะอาดรอบดวงตา
กรณีเยื่อบุตาอักเสบ แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะแบบขี้ผึ้งใส่ไปยังจุดที่เป็นตากุ้งยิง หรือให้ยารับประทานในระยะสั้น ๆ
การรักษาอาการตุ่มนูนที่เปลือกตา แพทย์อาจทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเอาตุ่มออก
ตากุ้งยิง เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อเป็นแล้วยังเป็นซ้ำได้อีก หากดูแลรักษาไม่ให้มีภาวะแทรกซ้อนอาการก็จะไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เอง  กรณีตากุ้งยิงเกิดจากปัญหาสุขภาพ มีสาเหตุมาจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่ส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากมีอาการอักเสบควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/hordeolum/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

4

อาการร้อนในที่ทำให้เกิดแผลในช่องปาก ไม่ได้เป็นปัญหาส่งผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาต่อบุคลิกภาพ เพราะอาจทำให้เกิดกลิ่นปากและยังทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง สาเหตุของร้อนในเกิดจากอะไร มีวิธีดูแลรักษาและป้องกันอาการร้อนในได้อย่างไร  คำถามนี้ มีคำตอบ
อาการร้อนใน คืออะไร ?
ร้อนใน คือ การเกิดแผลภายในช่องปากเป็นแผลขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ขึ้นบริเวณ กระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือส่วนใดส่วนหนึ่งภายในปาก บางรายพบว่าเกิดแผลเปื่อยขึ้นบริเวณด้านในริมฝีปาก แก้มหรือลิ้น ทำให้มีอาการแสบ เจ็บและรับประทานอาหารหรือพูดคุยได้ลำบาก
สาเหตุของอาการร้อนใน
ร้อนใน เป็นอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ส่วนใหญ่แผลร้อนในที่เกิดขึ้นในช่องปาก จะสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยที่ไม่ต้องรักษา ส่วนสาเหตุทางการแพทย์สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้
เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
เกิดจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อม เช่น จากสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ
เกิดจากการแพ้อาหารบางชนิด
เกิดจากการตอบสนองต่อแบคทีเรียในปาก
เกิดจากชื้อไวรัสในช่องปาก
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่าง ๆ ภายในร่างกาย
เกิดจากปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ และดื่มน้ำน้อย
เกิดจากความเครียดหรือมีภาวะเครียดสะสม
เกิดจากร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ขาดเกลือแร่ วิตามินบี เหล็ก และสังกะสี
อาการร้อนในและลักษณะอาการที่ต้องพบแพทย์
อาการร้อนในที่พบส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่การเป็นแผลบวมแดงและเจ็บในช่องปาก หรืออาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการไข้ หรือต่อมน้ำเหลืองบวม มีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นบริเวณลิ้น แก้ม และริมฝีปากด้านใน ร้อนในแม้จะเป็นอาการที่สามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ หากมีอาการต่อไปนี้ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา เช่น
มีอาการร้อนในเกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยที่แผลเดิมยังคงอยู่และมีแผลใหม่เกิดขึ้นก่อนแผลเก่าจะหาย 
มีอาการร้อนในและเป็นแผลในช่องปากพร้อมกับมีไข้สูง
มีอาการร้อนในหรือเป็นแผลเปื่อยในช่องปากนานเกินกว่า 2 สัปดาห์
แผลในช่องปากที่เกิดจากร้อนในมีขนาดใหญ่กว่าปกติ หรืออาการรุกลามไปยังบริเวณริมฝีปาก
แผลในช่องปากที่เกิดจากร้อนใน ส่งผลให้รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มได้ลำบากมาก
แผลร้อนในภายในช่องปาก ไม่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง

การวินิจฉัยอาการร้อนในจากแพทย์
อาการร้อนในที่ส่งผลให้เกิดแผลในช่องปาก หากอาการรุนแรงและต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยทั่วไป แพทย์หรือทันตแพทย์สามารถระบุโรคได้ด้วยการตรวจดูที่แผล ยกเว้นกรณีที่พบความผิดปกติหรืออาการแผลร้อนในเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือดหรือตรวจชิ้นเนื้อจากผู้ป่วยที่มีอาการดังต่อไปนี้
พบความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มีความบกพร่อง
มีความผิดปกติเกี่ยวกับระดับฮอร์โมนในร่างกายของผู้ป่วย
ตรวจพบแผลในช่องปากเกิดจากเชื้อไวรัส
แผลร้อนในเกิดจากร่างกายขาดวิตามินหรือแร่ธาตุต่าง ๆ 
แนวทางการรักษาแผลร้อนใน
โดยทั่วไปแผลร้อนในสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ กรณีพบความผิดปกติหรือเกิดแผลในช่องปากรุกลามและผลใหญ่มากขึ้น สามารถแบ่งการรักษาออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ การรักษาด้วยตนเองและรักษาอาการร้อนในโดยแพทย์ ดังนี้
1.รักษาอาการร้อนในและผลในช่องปากด้วยตนเอง 
การดูแลรักษาอาการร้อนในหรือแผลร้อนในด้วยตนเอง สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การรักษาสุขอนามัยภายในช่องปากเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยการแปรงฟันให้สะอาดด้วยแปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม หรือใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ ขณะมีแผลในช่องปากที่เกิดจากร้อนในควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น กลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากอ่อน ๆ หรือน้ำเกลือ ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผลในช่องปากได้
2.รักษาอาการร้อนในโดยแพทย์
เมื่อมาพบแพทย์ด้วยอาการร้อนในนานเกินกว่า 1-2 สัปดาห์ รวมทั้งมีอาการผิดปกติของแผลภายในช่องปาก เมื่อวินิจอาการแล้วขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาบ้วนปากต้านแบคทีเรีย หรือยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาเดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) หรือยาลิโดเคน (Lidocaine) เพื่อลดการอักเสบและความเจ็บปวด บางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ เช่น ยาไตรแอมซิโนโลน ส่วนผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติเมื่อตรวจวินิจฉัยพบสาเหตุและอาการของโรคแล้ว แพทย์จะทำการรักษาไปตามแนวทางที่ถูก่ต้องและเหมาะสมกับอาการของโรคต่าง ๆ เหล่านั้น
วิธีป้องกันตนเองจากอาการร้อนใน
ดื่มน้ำมาก ๆ และการป้องกันอาการร้อนในที่ได้ผลดีควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นและเป็นน้ำที่อุณหภูมิห้อง
ทานอาหารประเภทผักผลไม้ที่มีกากใย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน
นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ดูแลสุขอนามัยของช่องปาก แปรงฟันหลังมื้ออาหารเป็นประจำหรือใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง จะช่วยให้ช่องปากสะอาด
ควรหลีกเลี่ยงยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโซเดียม ลอริล ซัลเฟต
ร้อนในและการเกิดแผลในช่องปาก เป็นปัญหาสุขภาพที่เป็นแล้วสารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือรักษาอาการด้วยตนเองได้หลายวิธี แต่การป้องกันตนเองย่อมดีกว่าดูแลรักษา เพียงดูแลสุขอนามัยในช่องปาก หมั่นออกกำลังกายพักผ่อนอย่างเพียงพอเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เมื่อร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทานที่ดี ก็ช่วยให้ห่างไกลจากอาการร้อนในได้แล้ว

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/apthous-ulcer/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

5

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับคำว่า “ความดันโลหิตสูง” เพราะเป็นอาการของโรคอันตรายและยังเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้กับทุกโรค จนอาจทำให้มองข้ามหรือไม่ได้ให้ความสำคัญกับโรคความดันต่ำมากนัก ในความเป็นจริงความดันต่ำ เป็นโรคเรื้อรังเช่นเดียวกับความดันสูงและไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมได้ หากรู้สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงแล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมทั้งดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ความดันต่ำเกิดจากอะไร เมื่อเป็นแล้วควรดูแลตนเองอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

โรคความดันต่ำ  คืออะไร ?
ความดันต่ำ  คือ ภาวะที่ความดันของกระแสเลือดในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ หรือมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท พบได้ทั้งชายและหญิงทุกช่วงอายุ มักพบมากในผู้หญิงที่ร่างกายอ่อนแอหรือผู้สูงอายุที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน

สาเหตุของโรคความดันต่ำ
ภาวะความดันต่ำ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เป็นผลกระทบมาจากปัญหาสุขภาพ ส่วนสาเหตุของความดันต่ำที่พบได้บ่อยอาจมาจากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้

เป็นผลมาจากพันธุกรรม พบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำ ส่วนหนึ่งมีพ่อแม่ป่วยด้วยภาวะความดันโลหิตต่ำมาก่อน ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ว่าภาวะความดันโลหิตต่ำมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
อายุที่มากขึ้น โดยพบว่าผู้ป่วยภาวะความดันต่ำมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น
ผู้ป่วยมีภาวะเลือดจาง ส่งผลให้ความเข้มข้นของเลือดลดลงจากปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง จนนำไปสู่ความดันในหลอดเลือดต่ำ
ผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำ ทำให้เลือดไหลเวียนและกลับเข้าสู่หัวใจได้น้อย ส่งผลให้หัวใจเต้นบีบตัวน้อยลง จนเกิดภาวะความดันในเลือดต่ำ
การตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเพิ่มเลือดเพื่อหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ ทำให้การไหลเวียนหรือปริมาณชองเลือดในร่างกายของแม่ลดลง ส่งผลให้เกิดความดันต่ำได้ ซึ่งมักเกิดในระยะ 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด  เช่น  ยาขับปัสสาวะ ยาเบต้า บล็อกเกอร์ที่รักษาโรคหัวใจ ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยากลุ่มไตรไซคลิก ยารักษาผู้ที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ยาลดความดันในเลือดสูง ยาทางจิตเวชบางชนิด
เกิดจากภาวะติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือด ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดขยายตัวมากขึ้นพร้อม ๆ กัน รวมทั้งเกิดการล้มเหลวในการทำงานของหัวใจและปอด จึงส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
ปัญหาเกี่ยวกับโรคต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ภาวะต่อมหมวกไตทำงานบกพร่อง จึงส่งผลถึงการไหลเวียนของเลือด
จากการแพ้ยา หรือแพ้อาหาร หรือแพ้สารต่าง ๆอย่างรุนแรง ส่งผลให้หลอดเลือดทั่วตัวขยายตัวทันที จึงเกิดการขาดเลือดไหลเวียนในกระแสโลหิต ส่งผลให้ความดันต่ำลง
 ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตต่ำ
ผู้สูงอายุ 
ผู้ที่ดื่มน้ำน้อย และไม่ออกกำลังกายหรือไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคของต่อมไทรอยด์และภาวะเลือดจาง
ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยายาบางชนิดเป็นประจำ โดยเฉพาะ ยาขับปัสสาวะ ยาโรคความดันโลหิตสูง และยาโรคเบาหวาน
ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ท้องเสีย หรือ อาเจียน รุนแรง หรือภาวะลมแดด

ภาพโดย Anastasia Gepp จาก Pixabay

อาการของภาวะความดันโลหิตต่ำ
ชีพจรเบา เต้นเร็ว
หายใจเร็ว เหนื่อย
ตาลาย วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ทรงตัวไม่อยู่
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
กระหายน้ำ  ปัสสาวะน้อย
อาจมีผื่นแดงขึ้นตามตัว หน้า ตัวบวม เมื่อเกิดจากการแพ้สิ่งต่าง ๆ
อาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
อาการมึนงง สับสน
เป็นลม หมดสติ เมื่อความดันโลหิตต่ำมาก
การวินิจฉัยและแนวทางการรักษา
แพทย์วินิจฉัยโรคความดันต่ำได้จาก การวัดความดันโลหิต สอบถามประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ประวัติกินยาต่าง ๆ กินอาหาร การแพ้อาหาร หรือถูกสัตว์/แมลงต่อย การตรวจร่างกาย และการตรวจเพิ่มเติมต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ ส่วนแนวทางการรักษามี ดังนี้

การเพิ่มความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตามสาเหตุ เช่น ให้น้ำและเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำเมื่อเกิดจากภาวะขาดน้ำ
การให้เลือด กรณีเมื่อเสียเลือดมาก
การให้ยาเพิ่มความดันโลหิต หรือยาเพิ่มการบีบตัวของหลอดเลือดเมื่อเกิดจากหลอดเลือดขยายตัวผิดปกติ
การรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ การปรับยาเบาหวานเมื่ออาการเกิดจากโรคเบาหวาน
การดูแลตนเอง เมื่อมีภาวะความดันต่ำ
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และทานยาอย่างต่อเนื่อง
พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการ
พยายามไม่เครียด ดูแลสุขภาพจิต
4.เคลื่อนไหวร่างกาย หรือหมั่นออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ
ต้องรู้ตัวเองว่าว่าแพ้อาหาร หรือแพ้ยาอะไร เพื่อการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง
ดูแลตนเอง รักษา ควบคุมโรคต่าง ๆที่เป็นสาเหตุของภาวะความดันต่ำ
ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
ความดันต่ำหรือภาวะความดันต่ำ เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการของโรคไม่ให้มีความรุนแรงโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และหมั่นตรวจเช็กค่าความดัน เพื่อควบคุมให้ค่าความดันเป็นปกติอยู่เสมอ


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/hypotension/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

6

กัญชง เป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกัญชามากที่สุด เนื่องจากเป็นพืชวงศ์เดียวกัน แตกต่างกันที่กัญชาเป็นพืชอยู่ในบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ส่วนกัญชง ไม่จัด เป็นพืชสารเสพติดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 เพราะมีสาร THC เป็นองค์ประกอบในปริมาณที่น้อยมาก และสารสกัดต่าง ๆ ที่มีในกัญชงยังสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และยา ได้ด้วย สารสกัดเหล่านั่นได้แก่อะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
กัญชงอุดมด้วยสาร THC CBD CBG ที่มีประโยชน์
กัญชง เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีอายุเพียงปีเดียว และคล้ายคลึงกับต้นกัญชาในด้านลักษณะทางพฤกษศาสตร์ทำให้มีการเข้าใจผิดว่าต้นกัญชงคือกัญชา หากพิจารณาและศึกษาจะพบว่ามีความแตกต่างกัน และที่สำคัญกัญชงไม่ใช่พืชที่เป็นสารเสพติดเหมือนกัญชา เนื่องจากมีสาร THC เป็นส่วนประกอบในปริมาณที่น้อยมาก แต่ประกอบด้วยสาร CBG และ CBD ในปริมาณที่มากกว่ากัญชา
สาร THC คืออะไร ?
THC คือสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท มีผลลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง และส่งผลแบบเฉียบพลัน ทำให้ร่างกายผ่อนคลายและมีความรู้สึกสนุก แต่มีอาการข้างเคียงต่อจิตประสาท กระวนกระวาย ซึมเศร้า มีความบกพร่องในความจำและการเรียนรู้ มีผลต่อการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ซึ่งสารชนิดนี้จะมีมากในกัญชาแต่มีปริมาณน้อยมากในกัญชง และสารสกัดที่มี THC ปนไม่เกิน 0.2% สามารถเป็นยา และผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้
สาร CBD คืออะไร ?
CBD คือสารแคนนาบินอยด์ ที่สามารถสกัดได้จากกัญชง หรือกัญชา ไม่ทำให้เมา ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และไม่ทำให้เกิดการเสพติด สาร CBD (pure 99%) จากกัญชา และกัญชง ถูกยกเว้นไม่เป็นยาเสพติด สามารถนำไปผสมในอาหาร เครื่องสำอาง ได้ โดย กัญชงที่นำมาใช้สกัดเพื่อเอาสาร CBD ส่วนใหญ่เป็นกัญชงที่ผ่านการพัฒนาสายพันธุ์มาแล้ว เพื่อนำมาสกัดเอาน้ำมันจากเมล็ด หรือเส้นใย
สาร CBG คืออะไร ?
CBG (Cannabigerol) เป็นเซลล์ต้นกำเนิดของกัญชาในพืชกัญชา ทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นที่ไม่ออกฤทธิ์ทางจิต แต่เป็นสารเคมีหลักในการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสาร CBD และTHC โดยสาร CBG ในกัญชงสดจะอยู่ในรูปของสารประกอบที่เป็นกรดคือ CBGA ซึ่งในการผลิตจะต้องผ่านกระบวนการกลั่นที่ใช้ความร้อนเพื่อกำจัดโมเลกุลของสารคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarboxylation) จึงกลายมาเป็นสาร CBD และ CBG ที่ใช้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ซึ่งให้ประโยชน์มากมาย
CBD และ CBG มีผลต่อร่างกายอย่างไร
สาร CBD และ CBG ไม่ใช่สารเสพติดจึงไม่ทำให้ติดและมีความต้องการใช้ในปริมาณที่มากขึ้น เมื่อต้องการหยุดก็สามารถหยุดได้โดยไม่ผลเสียต่อร่างกายและไม่แสดงอาการมึนเมา แต่อาจมีผลข้างเคียงบ้างในบางกรณีที่ใช้ในปริมาณที่มากเกินไป เช่น ง่วงซึม วิงเวียนศีรษะ หรืออาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
น้ำมัน CBD จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้สอดคล้องกับสภาวะจิตใจ ทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่สมดุลไม่เจ็บป่วยง่าย เช่น ช่วยให้เป็นผู้ที่มีอารมณ์คงที่ไม่แปรปรวน ไม่โมโหร้าย เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ช่วยให้หลับง่าย ช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ และช่วยควบคุมความอยากอาหารให้อยู่ในระดับที่พอดีไม่มากไม่น้อยจนเกินไป
น้ำมัน CBG ช่วยในการทำงานของระบบประสาท ช่วยชะลอความเสื่อมของระบบประสาท ป้องกันไม่ให้ระบบประสาทถูกทำลาย กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง ลดความดันโลหิต ลดความเครียด ลดอาการโกรธ ทำให้เป็นผู้ที่มีอารมณ์ดี ลดอาการปวดจากการบาดเจ็บ ช่วยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้สาร THC และช่วยในเรื่องของความจำทำให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น

ประโยชน์ที่ได้จากสาร CBD และ CBG 
จากการวิจัยการใช้สาร CBD และ CBG พบว่ามีประโยชน์ในทางการแพทย์อย่างมากมาย ทั้งความเจ็บป่วยในการทำงานของร่างกายและจิตใจ 
น้ำน้ำมัน CBD ที่ได้จากกัญชง สามารถใช้ในการควบคุมอาการต่าง ๆ เช่นการอักเสบ คลื่นไส้ ชัก วิตกกังวล ซึมเศร้า อาการสมองค้างนอนไม่หลับ การปวดเรื้อรัง และรักษาโรคต่าง ๆ ได้ดังนี้
โรคเบาหวาน
โรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์
ลดอาการอักเสบต่าง ๆ
โรคสะเก็ดเงิน
ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด
ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
โรคลำไส้แปรปรวน
ลดอาการเจ็บปวดที่เกิดจากระบบประสาท เช่น ไมเกรน 
ลดอาการที่เกิดโรคปลอกประสาทอักเสบของระบบประสาทส่วนกลาง (MS) ลดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากโรคเอแอลเอส (ALS)
โรคลมบ้าหมู
โรคพากินสัน
โรคอัลไซเมอร์
โรคจิตเภท
ลดอาการวิตกกังวลและสมาธิสั้น
น้ำมัน CBG ช่วยในการป้องกันเซลล์ประสาท สารต้านอนุมูลอิสระ ต้านจุลชีพจำพวกไวรัส แบคทีเรียและรักษาโรคต่าง ๆ ดังนี้
โรคพาร์กินสัน
โรคอัลไซเมอร์
โรคออทิสติก
โรคซึมเศร้า
โรคนอนไม่หลับโดยการเพิ่มระดับสารโดพามีนทำให้หลับง่ายขึ้น
ภาวะอารมณ์แปรปรวน
ภาวะวิตกกังวล
โรคไบโพล่า
โรคต้อหิน โดยการลดความดันในลูกตา
โรคลมชัก
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคฮันติงตัน
โรคสะเก็ดเงิน
ช่วยต่อต้านและชะลอการแพร่กระจายของโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด มะเร็งรังไข่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งไต และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
ต่อต้านอาการลำไส้อักเสบและโรคในระบบทางเดินอาหาร
กัญชงและสารสกัดของกัญชง ได้มีประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขให้ยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5  ได้แก่ แคนนาบิไดออล (CBD) บริสุทธิ์ และผลิตภัณฑ์ที่มี CBD เป็นส่วนประกอบหลักและสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในสัดส่วนที่น้อยกว่าร้อยละ 0.2 รวมทั้งได้มีการยกเว้นให้เมล็ดกัญชงหรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง ให้สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางได้ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการภายในประเทศ ได้ใช้ประโยชน์จากกัญชงในการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อื่น นอกเหนือจากประโยชน์ด้านเส้นใย เพื่อพัฒนาพืชกัญชงให้เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/hemp-cbd-cbg-oil/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

7

อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน และเสียการทรงตัว อาจเป็นปัญหาสุขภาพที่มีลักษณะอาการคล้ายกันในหลาย ๆ โรค รวมทั้งการพักผ่อนน้อยหรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดัน ก็ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ ผู้ป่วยน้ำในหูไม่เท่ากันส่วนใหญ่ จึงไม่รู้ตัวเองว่าเป็นโรคนี้ อันตรายของน้ำในหูไม่เท่ากัน ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมูนที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว นอกจากอันตรายของโรคแล้วยังเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายทำให้มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

น้ำในหูไม่เท่ากัน คืออะไร ?
น้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคมีเนีย (Meniere’s disease)  เป็นอาการผิดปกติของหูชั้นในที่มีน้ำมากผิดปกติ ส่งผลทำให้ผู้ป่วย มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เสียการทรงตัว มีอาการหูอื้อ หากอาการรุนแรงอาจอาเจียนและเหงื่อออกร่วมด้วย อันตรายของโรคนี้ผู้ป่วยมักมีอาการบ้านหมุนเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด อยู่เฉยๆก็เป็นขึ้นมา เมื่อเป็นแล้วต้องนอนหรือนั่งนิ่ง ๆ เพราะการขยับร่างกายและเสียการทรงตัวอาจทำให้ผู้ป่วยทรงตัวไม่อยู่หรือเซล้มลงได้

สาเหตุและอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมากกว่าร้อยละ 50 ไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ อาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ก็เป็นหนึ่งในหลาย ๆ โรคที่มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมูนและปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่าอาการของโรคเป็นผลมาจากความผิดปกติของน้ำที่อยู่ภายในหูชั้นใน ลักษณะอาการที่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นน้ำในหูไม่เท่ากัน ได้แก่

อาการบ้านหมุน หรือเวียนศีรษะอย่างรุนแรง มีความรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุน ทำให้ต้องนั่งหรือนอนนิ่ง ๆ หากลุกขึ้นก็จะทรงตัวไม่อยู่ และเมื่อเปลี่ยนท่าทางปรับเปลี่ยนอิริยาบถก็จะทำให้อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนรุนแรงมากขึ้น แต่ละครั้งมักเป็นอยู่นานเกิน 20 นาทีขึ้นไปถึง 2 ชั่วโมง แล้วหายไปได้เอง หากอาการรุนแรงผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
มีอาการหูอื้อ ประสาทหูเสื่อม อาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ระยะแรกมักมีอาการชั่วคราว เมื่ออาการเวียนศีรษะทุเลาอาการหูอื้อก็หายไปด้วย หากเป็นแบบเรื้อรังอาจทำให้การได้ยินเสื่อมลงถาวรได้
ได้ยินเสียงดังในหู ทำให้รบกวนคุณภาพชีวิต นอนไม่หลับ และกลายเป็นคนหงุดหงิดง่าย หากเป็นบ่อย ๆ อาจพบว่าเสียงรบกวนในหูจะดังมากขึ้น
การได้ยินลดลง ส่วนมากจะเกิดขึ้นชั่วคราว โดยการได้ยินจะลดลงเมื่อเกิดอาการเวียนศีรษะ หากร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ การได้ยินจะดีขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากปล่อยให้โรครุนแรงมากขึ้น การได้ยินอาจเสื่อมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งหูตึงหรือหูหนวกได้ในที่สุด
การวินิจฉัยโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
การตรวจวินิจฉัยโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แพทย์จะทำการวินิจฉัยไปตามขั้นตอนเช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ เช่น

ซักประวัติอาการ เช่น ลักษณะอาการเวียนศีรษะ ความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาและความถี่ของอาการ
ซักประวัติสุขภาพ เช่น ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ประวัติโรคซิฟิลิส โรคคางทูม โรคการอักเสบของตา โรคภูมิคุ้มกัน โรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ โรคทางระบบประสาท รวมทั้งประวัติการรักษา เช่น เคยผ่าตัดหูมาก่อนหรือไม่
การตรวจร่างกายทั่วไป เช่น การตรวจหู คอ จมูก และระบบประสาท การตรวจระบบสมดุลของร่างกาย การตรวจดูการเคลื่อนไหวของลูกตาในท่าทางต่าง ๆ
การตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจการได้ยิน ตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน 
การตรวจพิเศษทางรังสี เช่น ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (MRI)

ภาพโดย Anastasia Gepp จาก Pixabay

แนวทางการรักษาน้ำในหูไม่เท่ากัน
รักษาด้วยยาตามอาการ ผู้ป่วยร้อยละ 80 จะหายจากอาการน้ำในหูไม่เท่ากันด้วยวิธีนี้ เช่น ยาขยายหลอดเลือดเพื่อลดการบวมและการคั่งของน้ำในหูชั้นใน ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้ อาเจียน โดยให้รับประทานในขณะที่มีอาการ ส่วนยาอื่น ๆ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยากล่อมประสาท ยานอนหลับก็ช่วยทำให้อาการดีขึ้นอย่างมาก
การฉีดยา Gentamicin เข้าหูชั้นกลาง เพื่อให้ซึมเข้าหูชั้นใน เป็นการควบคุมอาการ เวียนศีรษะ การรักษาด้วยวิธีนี้ใช้ในกรณีที่กินยาไม่ได้ และยังเวียน ศีรษะอยู่
รักษาด้วยการผ่าตัด ใช้ในกรณีคนไข้มีอาการมาก และรักษาวิธีการใช้ยาข้างต้นไม่ได้ผล
วิธีดูแลตนเองและการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน มีโอกาสจะเกิดอาการได้หลาย ๆ และมักเกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนขึ้นได้โดยไม่มีอาการบ่งบอกมาก่อน วิธีดูแลตนเองและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเมื่อเวียนศีรษะบ้านหมุน มีดังนี้

ขณะมีอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ควรหลีกเลี่ยงการขับรถ หรือการยืนที่สูง 
หลีกเลี่ยงการอดนอน เพราะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีอาการเวียนศีรษะ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
เมื่อมีอาการเวียนศีรษะขณะเดิน ควรหยุดเดินและนั่งพัก เพราะการยืนหรือเดินขณะเวียนศีรษะ อาจทำให้เสียการทรงตัวล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้
หากพบแพทย์แล้วได้รับยาแก้อาการเวียนศีรษะ ให้รับประทานยา
ออกกำลังกายด้วยการบริหารประสาทการทรงตัว จะทำให้สมองปรับตัวเร็วขึ้น
น้ำในหูไม่เท่ากัน แม้จะเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ไม่มีวิธีรักษาที่ทำให้โรคหายขาด และอาการบ้านหมุนมักเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด แต่ส่วนใหญ่โรคน้ำในหูไม่เท่ากันสามารถควบคุมได้ด้วยการรับประทานยา และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/menieres-disease-symptoms-cause/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

8

เชื่อว่าผู้หญิงเกือบทุกคนเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับอาการปวดท้องประจำเดือนมาแล้ว แต่อาการปวดอาจรุนแรงแตกต่างกัน อาการปวดท้องประจำเดือน ถือเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งโดยเฉพาะคนที่มีอาการปวดอย่างรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทำให้ต้องหยุดงาน หยุดเรียน หรือทำภารกิจต่าง ๆในชีวิตประจำวันได้ไม่เต็มที่ ใครที่มีปัญหาปวดท้องเป็นประจำทุกเดือน เรามี 3 วิธี รับมือกับอาการปวดมาแนะนำ
ปวดท้องประจำเดือน คืออะไร?
อาการปวดประจำเดือน คือ อาการปวดท้องน้อยในช่วงที่มีรอบเดือนอาจมีอาการปวดก่อนมีรอบเดือน 1-2 วัน หรือปวดระหว่างมีรอบ และอาการปวดจะพบได้ในรอบเดือนที่มีการตกไข่เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่พบว่ามีอาการปวดท้องประจำเดือนในเด็กหญิงที่มีประจำเดือนในครั้งแรก เนื่องจากช่วงแรกของการมีประจำเดือน การทำงานของรังไข่ยังทำไม่เป็นเป็นปกติ โดยทั่วไปมักพบอาการปวดครั้งแรก เมื่อเริ่มเป็นประจำเดือนแล้วเป็นเวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 3 ปี
สาเหตุและอาการปวดท้องประจำเดือน
อาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือท้องน้อย (อาการปวดแบบปฐมภูมิ) ที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน เป็นอาการปวดแบบทั่วไป โดยพบได้บ่อยที่สุดมักมีสาเหตุมาจาก เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดินมากจนเกินไป ลักษณะอาการปวดแบบบีบ ๆ บิดเกร็ง ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่ต้นขาและหลัง อาการปวดชนิดนี้ไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมบางรายมีอาการปวด ส่วนบางรายไม่มีอาการปวด
อาการปวดประเภทนี้มีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ ภาวะผิดปกติของมดลูก (ปวดแบบทุติยะภูมิ) เช่น
ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง มักเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยจะติดเชื้อที่มดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ หากไม่ได้รับการรักษาให้หายขาด จะส่งผลให้เกิดการอักเสบและมีอาการปวดท้องในขณะที่มีประจำเดือนได้
การมีเนื้องอกมดลูก ทำให้มีการบีบตัวเพื่อขจัดสิ่งขัดขวางการหดรัดตัวในโพรงมดลูกออก ทำให้มีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อย ๆ
การมีพังผืดในช่องท้อง หรือจากการที่เคยมีการอักเสบในอุ้งเชิงกรานมาก่อน
การไม่มีบุตร ทำให้รังไข่ต้องทำงานตลอดเวลาและมีรอบประจำเดือนมากกว่าคนที่มีลูก
ปากมดลูกตีบ ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยนัก เกิดขึ้นจากการที่ปากมดลูกตีบแคบเกินไป ส่งผลให้เลือดประจำเดือนไหลได้ช้า ก่อให้เกิดแรงกดภายในมดลูกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีอาการปวดท้องรุนแรงและเรื้อรัง

วิธีรับมือกับอาการปวดท้องประจำเดือน
อาการปวดท้องประจำเดือน เป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับผู้หญิงที่ต้องเผชิญ การรับรู้สาเหตุและลักษณะอาการปวดท้อง จึงมีความสำคัญสำหรับการดูแลตัวเองและมีแนวทางหรือวิธีรับมือกับอาการประจำเดือนได้ โดยการจัดการกับอาการปวดท้องทำได้หลากหลายวิธี เช่น การรับประทานอาหารเสริมและวิตามิน การบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนด้วยการใช้ยา และการรักษาทางเลือก ดังนี้
การรับประทานอาหารเสริมและวิตามิน
กรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 มีผลงานการวิจัยระบุว่า อาหารเสริมที่มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 สามารถลดอาการลงได้ แต่อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยที่ไม่เป็นอันตราย เช่น เป็นสิว หรือมีอาการคลื่นไส้
วิตามิน ช่วยยับยั้งการหลั่งกรดไขมันชนิดอะราชิโนนิค ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารโพรสตาแกลนดิน
วิตามินบี 1 มีส่วนช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือน โดยใช้หลักการเดียวกับการแก้ไขอาการขาดวิตามิน 1 ในคนที่เป็นตะคริว มีอาการอ่อนล้าและทนต่อการเจ็บปวดได้น้อยลง จากงานวิจัยระบุว่า เมื่อร่างกายได้รับวิตามินบี 1 ขนาด 100 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด เป็นเวลา 90 วัน ช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้
แม็คนีเซียม ช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ โดยการลดการหดตัวของกล้ามเนื้อ
บรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนด้วยการใช้ยา
ยาแก้ปวดท้อง มีหลายชนิดที่ใช้รักษาอาการปวดท้องประจำเดือน แต่ยาที่ให้ผลทางการรักษาได้ดี  ได้แก่ ยาที่ยับยั้งการผลิตสารโพรสตาแกลนดิน ยากลุ่มนี้เป็นยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตรอยด์ และยาคุมกำเนิด ก็เป็นอีกหนึ่งตัวยาที่ช่วยรักษาอาการปวดท้องประจำเดือนได้
การรักษาทางเลือก
การรักษาทางเลือกเพื่อบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน ได้แก่ การกดจุด การฝังเข็ม การกระตุ้นระบบประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านทางผิวหนัง การประคบร้อนและการรักษาด้วยการใช้สมุนไพร
การกดจุดและการฝังเข็ม วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสมดุลของร่างกาย วิธีนี้สามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้
การกระตุ้นระบบประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านทางผิวหนัง ช่วยลดอาการปวดด้วยการเพิ่มความทนต่อการรับความรู้สึกเจ็บปวด
การประคบร้อนบริเวณที่มีความปวด สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ชั่วคราว เช่น การทับท้องหรือบริเวณปวดด้วยกระเป๋าน้ำร้อน
การรักษาด้วยการใช่สมุนไพร การรักษาอาการปวดท้องประจำเดือน ด้วยสมุนไพรสามารถทำได้หลายวิธี โดยใช้ใบแห้งของสมุนไพร เช่น ใบช่อยคั่วแห้งแล้วนำมาชงดื่ม หรือนำต้นตะไคร้สดต้มแล้วดื่มน้ำ หรือใช้ต้นและใบบัวบกคั้นน้ำดื่มก่อนอาหาร เป็นต้น
การจัดการหรือรับมือกับอาการปวดท้องประจำเดือน ทำได้หลากหลายวิธี ส่วนใหญ่มักนำหลาย ๆ แนวทางมาผสมผสานร่วมกัน อาการปวดท้องประจำเดือนเป็นสิ่งที่ผู้หญิงเกือบทุกคนต้องเผชิญอยู่แล้ว การรับรู้สาเหตุและแนวทางการรับมือกับอาการปวด เป็นการดูแลสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีซึ่งเริ่มต้นได้จากตัวเราเอง

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/3-ways-to-stop-period-cramps/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

9

อาการแน่นหน้าอก เป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกลักษณะของโรคร้ายแรงหลายชนิด โรคหลอดเลือดหัวใจ คือหนึ่งในโรคร้ายแรงเหล่านั้น และสิ่งสำคัญคนที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือเริ่มป่วยด้วยโรคนี้ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการบ่งบอก หรือไม่มีอาการแสดงออกมา จนกระทั่งหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น เมื่อเกิดการตีบตันทำให้หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง หากอาการยังไม่รุนแรงมากนักก็จะทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกเพียงชั่วขณะ กรณีอาการรุนแรงมาก ๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้
โรคหลอดเลือดหัวใจ คืออะไร ?
โรคหลอดเลือดหัวใจ คือภาวะที่ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจเกิดการเกาะของคราบไขมัน ซึ่งเป็นการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆส่งผลให้หลอดเลือดตีบและอุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือด ให้ร่างกายไม่สามารถส่งกระแสเลือดและออกซิเจนไปยังหัวใจได้
อาการ และความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
แน่นหน้าอก ผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจขาดเลือดชั่วขณะจะมีอาการปวดแน่นหน้าอกคล้ายมีอะไรกดทับหรือจุกแน่นบริเวณกลางหน้าอกหรือยอดอก ซึ่งมักจะเจ็บร้าวมาที่หัวไหล่ซ้ายด้านในของแขน หรือบางรายอาจร้าวมาที่คอ ขากรรไกรหลัง หรือแขนขวาในรายที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บหน้าอกในลักษณะเดียวกับโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ แต่จะเจ็บรุนแรงและต่อเนื่องนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันๆ แม้จะได้พักก็ไม่ทุเลา บางรายอาจรู้สึกจุกแน่นที่ใต้ลิ้นปี่ คล้ายอาการอาหารไม่ย่อยหรือท้องอืดเฟ้อ
หายใจติดขัด ผู้ป่วยบางรายที่หัวใจไม่ได้รับเลือดที่เพียงพอในการส่งต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจมีอาการหายใจติดขัดหรือหอบเหนื่อยรุนแรง
หัวใจวาย ภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ผู้ป่วยมักมีอาการแน่นหน้าอกและปวดบริเวณหัวไหล่หรือแขน มีอาการหายใจติดขัดและเหงื่อออก หากผู้ป่วยมีภาวะความดันตกหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย อาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติเกิดภาวะหัวใจวาย และเสียชีวิตได้
หัวใจล้มเหลว เกิดขึ้นในขณะที่หัวใจอ่อนแรงจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจติดขัด จนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือเส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดจากผนังหลอดเลือดแดงแข็งและหนาตัว เนื่องจากมีไขมันเกาะอยู่ภายในผนังหลอดเลือดเรียกว่า “ตะกรันท่อหลอดเลือด” ซึ่งจะค่อยๆพอกตัวหนาขึ้นจนทำให้ช่องทางเดินของเลือดตีบและแคบลงทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อย  เมื่อมีการทำกิจกรรมต่าง ๆกล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้นในการเผาผลาญให้เกิดพลังงาน หากเลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกขึ้นชั่วขณะ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
เพศ จากข้อมูลพบว่าผู้ชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่า แต่เมื่อเข้าสู่วัยทอง ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น
กรรมพันธุ์ จากสถิติพบว่าคนที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือเส้นเลือดหัวใจตีบมาก่อน มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวสูงด้วยเช่นกัน
อายุ คนที่มีอายุเท่าหรือมากกว่า 55 ปีในผู้ชายและอายุเท่าหรือมากกว่า  65 ปีในผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าคนอายุน้อย
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้ด้วยตัวเอง เช่น หลีกเลี่ยงหรืองดการสูบบุหรี่ ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน  โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน หากการทานยาไม่ถูกสุขลักษณะหรือขาดยาไม่ทานยาอย่างต่อเนื่อง และขาดการออกกำลังกาย ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจได้
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ความเครียด อารมณ์โกรธ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า  และผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจหนา และอื่น ๆ

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ
หากผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการแน่นหน้าอก หรืออาการอื่นที่บ่งบอกสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดหัวใจ จะได้รับการตรวจวินิจฉัยตามขั้นตอนต่าง ๆ ตามอาการและความเห็นของแพทย์ ดังนี้
เมื่อมาพบแพทย์ด้วยอาการแน่นหน้าอก คนไข้จะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที ร่วมกับซักประวัติคนไข้ สอบถามระยะเวลาที่เจ็บแน่นหน้าอก
การเอกซเรย์ทรวงอก ใช้ตรวจดูสาเหตุและอาการต่าง ๆ ที่เกิดขี้นบริเวณหัวใจ ปอดและผนังทรวงอก
การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อวัดระดับ อัตราและความคงที่ของการเต้นหัวใจ
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การสวนหลอดเลือดหัวใจ เป็นการตรวจดูภายในหลอดเลือดหัวใจ
การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย
บางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงเพื่อบันทึกความผิดปกติของจังหวะการเต้นหัวใจระหว่างการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
การฉีดสารกัมมันตรังสีไอโซโทป เข้าสู่กระแสเลือดเพื่อทราบถึงประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดและการไหลเวียนของเลือดไปยังผนังกล้ามเนื้อหัวใจ
แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถดูแลป้องกันตนเองได้ ส่วนแนวทางการรักษา มีดังนี้
การรักษาด้วยการใช้ยา
กลุ่มยาคอเลสเตอรอล ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด
ยาต้านเกล็ดเลือด
ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ ใช้รักษาความดันโลหิตสูงและป้องกันอาการเจ็บแน่นหน้าอก
ยาขยายหลอดเลือด มีทั้งในรูปแบบเม็ด สเปรย์ หรือแผ่นสำหรับติดบริเวณผิวหนัง
การรักษาด้วยการผ่าตัดและกระบวนการทางการแพทย์
การทำบอลลูนหัวใจ
การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจหรือการทำบายพาสหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ใช้สำหรับกรณีที่รุนแรงและไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา หรือหัวใจไม่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
โรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่ดูแลป้องกันตนเองได้ด้วยการดูแลปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน ควบคุมเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และหลีกเลี่ยงอบายมุขหรือการเสพสิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรค และหากมีปัจจัยเสี่ยงควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ หรือมีอาการแน่นหน้าอก ปวดบริเวณหัวไหล่ แขน มีอาการหายใจติดขัดและเหงื่อออก ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและทำการรักษาต่อไป

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/chest-tightness-signs-of-coronary-artery-disease/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

10

การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ต้องอาศัยความมีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิตอย่างมาก โดยรอบเวลา 24 ชั่วโมง ตามเวลาทั่วไป ต้องมีการบริหารจัดการชีวิตอย่างเป็นระบบ นาฬิกาชีวิต ก็เช่นเดียวกัน เพราะวงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ได้ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้สามารถใช้ชีวิตไปตามนาฬิกาชีวิตได้อย่าง มีระเบียบวินัย คำถามนี้มี วิริยะ หลักธรรมทางพุทธศาสนากับการดูแลสุขภาพเพื่อการมีสุขภาพชีวิตที่ดีมาแนะนำ

นาฬิกาชีวิต หมายถึงอะไร
นาฬิกาชีวิต คือ วงจรของระบบการทำงานในร่างกายของคนเราที่ถูกกำหนดไว้อย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการตื่นนอน การนอนหลับ การหลั่งฮอร์โมน การขับถ่าย การที่ร่างกายต้องการอาหารและน้ำ รวมทั้งการแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในร่างกาย โดยนาฬิกาชีวิตนั้นจะมีรอบเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง

นาฬิกาชีวิต ทำงานอย่างไร
นาฬิกาชีวิต ภายในร่างกายของคนเรา จะถูกควบคุมโดยแสงและอุณหภูมิ เมื่อร่างกายได้รับแสงแดดและมีอุณหภูมิในระดับที่เหมาะสม ร่างกายก็จะเริ่มทำงานตามวงจรในแต่ละวัน โดยวงจรดังกล่าวจะถูกควบคุมด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีชื่อว่า นิวเคลียสซูพราไคแอสมาติก ดังนั้นร่างกายของเราไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะใด ขึ้นอยู่กับสัญญาณเอสซีเอ็นที่ส่งมาจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส นาฬิกาชีวิตจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ หากการใช้ชีวิตของคนเราไม่เป็นไปตามระบบ

ระบบการทำงานของ นาฬิกาชีวิต
05.00 – 07.00 เวลาของลำไส้ใหญ่
กิจวัตรประจำวันของคนเราได้แก่ ตื่นนอน ล้างหน้า แปรงฟัน และดื่มน้ำ 2–3 แก้ว เพื่อช่วยในระเรื่องระบบขับถ่ายทำให้ของเสียและกากอาหารถูกขับออกจากร่างกายได้ดีที่สุด

07.00 – 09.00 เวลาของกระเพาะอาหาร
กิจวัตรประจำวันของคนเราได้แก่ อาบน้ำ กินข้าว (มื้อหนักและเป็นมื้อสำคัญต่อสุขภาพ) ห้ามงดอาหารเช้าเพราะช่วงนี้กระเพาะอาหารจะแข็งแรง สามารถย่อยอาหาร และดูดซึมได้ดีที่สุด

09.00 – 11.00 เวลาของม้าม และตับอ่อน
กิจวัตรประจำวันของคนเราได้แก่ การปฏิบัติภารกิจประจำวัน การประกอบสัมมาอาชีพ ช่วงนี้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะกระปรี้กระเปร่า พร้อมทำงาน เนื่องจากม้ามจะดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ จากอาหารเช้า และส่งสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น สมองทำงานได้ดี

11.00 – 13.00 เวลาของหัวใจ
กิจวัตรประจำวันของคนเราได้แก่ การผ่อนคลายหรือพักเบรกจากการทำงาน เพราะเมื่อหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงทั้งร่างกาย ระดับความดันเลือดในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น เพราะหัวใจทำงานหนักการพักเบรกเป็นการพักผ่อนลดภาวะเครียด และเตรียมร่างกายเข้าสู่เวลาอาหารเที่ยง

13.00 – 15.00 เวลาของลำไส้เล็ก
กิจวัตรประจำวันของคนเราได้แก่ การปฏิบัติภารกิจประจำวัน เป็นช่วงเวลาที่สมองซีกขวาทำงานดี ทั้งเรื่องความจำ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และการวางแผนต่าง ๆ การดูแลสุขภาพให้เป็นไปตามระบบ ควรงดทานของจุกจิก เพราะจะเป็นการรบกวนการทำงานของลำไส้เล็ก





15.00 – 17.00 เวลาของกระเพาะปัสสาวะ
กิจวัตรประจำวันของคนเรา เนื่องจากในช่วงนี้เป็นช่วงเวลานี้กระเพาะปัสสาวะ รอกำจัดของเสียออกจากร่างกาย จึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ และช่วงเวลานี้หลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อในร่างกายมีความแข็งแรง เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย เพื่อช่วยขับของเสียออกจากร่างกายทางเหงื่อ

17.00 – 19.00 เวลาของไต
กิจวัตรประจำวันของคนเราในช่วงนี้ ควรเป็นเวลาผ่อนคลายไม่ควรรีบเข้านอน เนื่องจากเป็นเวลาทำงานของไตในการกรองของเสียออกจากเลือด และรักษาสมดุลในร่างกาย 

19.00 – 21.00 เวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ
กิจวัตรประจำวันของคนเราในช่วงนี้ เข้าสู่ช่วงเวลาพักผ่อนร่างกายพร้อมที่เข้านอน ควรหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานหรือทำให้รู้สึกตื่นเต้นเช่น ออกกำลังหนัก ๆ หรือทานอาหารปริมาณมาก เพราะจะทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวและนอนไม่หลับ

21.00 – 23.00 เวลาการทำงานของระบบอุณหภูมิในร่างกาย
กิจวัตรประจำวันที่เหมาะสม ได้แก่ การทำให้ร่างกายอบอุ่น หลีกเลี่ยงการอาบน้ำเย็น ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย พร้อมปรับสมดุลในร่างกาย อุณหภูมิในร่างกายจะค่อย ๆ ลดลง ร่างกายเริ่มหลั่งเมลาโทนิน ช่วงนี้จึงควรนอนหลับพักผ่อน

23.00 – 01.00 เวลาของถุงน้ำดี
กิจวัตรประจำวันที่เหมาะสม ได้แก่ การจิบน้ำก่อนนอน เพราะช่วงเวลานี้จะมีผลกับถุงน้ำดีพร้อมส่งไปช่วยย่อยไขมันในลำไส้เล็ก หรือถ้าอวัยวะใดในร่างกายขาดน้ำ จะดึงน้ำจากถุงน้ำดี ถ้ามีการดึงมากเกินไป ทำให้น้ำดีข้น เป็นผลทำให้สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ ปวดหัว การจิบน้ำก่อนนอนจึงเป็นการดูแลสุขภาพที่ดี

01.00 – 03.00 เวลาของตับ
กิจวัตรประจำวันที่เหมาะสมในช่วงนี้ คือการพักผ่อนนอนหลับ เพราะขณะที่เรานอนหลับ ตับจะกำจัดของเสียออกจากร่างกาย พร้อมเก็บสะสมเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด หากนอนหลับพักผ่อนน้อย จะส่งผลให้ตอนเช้าเวียนศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย กลายเป็นคนขี้หงุดหงิดง่าย

03.00 – 05.00 เวลาของปอด
กิจวัตรประจำวัน กิจวัตรประจำวันในช่วงนี้ ได้แก่ การนอนหลับให้เต็มตื่นหรือนอนหลับสนิท เตรียมตัวตื่นนอนในช่วงเช้า เพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ ทำให้ระบบหายใจทำงานเต็มที่ เป็นช่วงเวลาที่ปอดทำหน้าที่ฟอกเลือดได้อย่างเต็มที่

การรักษาสุขภาพหรือการดูแลตนเองเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามหลัก นาฬิกาชีวิต นอกจากจะต้องมีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิต ยังต้องอาศัยความอดทนและใช้ระยะเวลาเพื่อปรับเปลี่ยนและฝึกฝนตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้เป็นไปตามระบบ นาฬิกาชีวิต โดยอาจใช้หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้เป็นแนวทางปฏิบัติด้วยความบากบั่นและมีความเพียรหรือมีความวิริยะ ในการใช้ชีวิตให้เป็นไปตามระบบเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี



ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/biological-clock/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

11

ลมพิษ คืออาการภูมิแพ้ทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดความรำคาญและทุกข์ทรมานจากอาการคัน และสามารถเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนในร่างกาย หากมีการอักเสบของผิวหนังก็จะเป็นปัญหาต่อบุคลิกภาพ ทำให้เกิดผื่นแดงและมีริ้วรอยตามมา ผื่นลมพิษและอาการภูมิแพ้ แม้ไม่ใช่โรคเป็นเพียงอาการที่เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และมักจะหายได้เองภายใน 24 ชั่วโมง แต่ก็ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้หากเกิดอาการแพ้บ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ

ผื่นลมพิษ และอาการภูมิแพ้ คืออะไร ?
ลมเพิษ คืออาการภูมิแพ้อย่างหนึ่ง ที่เริ่มจากอาการคันบริเวณผิวหนัง มีอาการบวม เป็นผื่นหรือปื้นนูนแดงไม่มีขุย บางรายมีอาการบวมใต้ชั้นผิวหนัง ทำให้ริมฝีปากบวม ตาบวม มือเท้าบวมสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งคนที่มีอาการแพ้หรือเป็นผื่นลมพิษ ไม่รู้ตัวด้วยว่าเกิดอาการแพ้จากอะไร การเกิดลมพิษจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 

ลมพิษเฉียบพลัน ส่วนใหญ่มักเกิดจากสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้แก่ อาหาร ยา อากาศ การติดเชื้อไวรัส
อาการลมพิษษเรื้อรัง คือ มีอาการผื่นลมพิษลักษณะเป็น ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องกันเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป สาเหตุอาจเกิดจากการได้รับสารที่แพ้อย่างต่อเนื่องเช่น ได้รับยาปฏิชีวนะ ในนมที่ดื่มเป็นประจำ นสารถนอมอาหาร หรือสีสารปรุงรส
สาเหตุของโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากกรรมพันธุ์ หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายก็สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ โรคภูมิแพ้ที่เกิดจากสภาวะอากาศเป็นพิษ ซึ่งคนที่เป็นโรคภูมิแพ้มักจะมีปฏิกิริยาไวต่อการรับสารพิษเหล่านั้นมากกว่าคนปกติ เช่น แพ้ฝุ่นละออง แพ้ขนสัตว์ หรือแพ้เกสรดอกไม้ และเป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากอาหาร เช่นแพ้อาหารทะเล หรือแพ้นม เป็นต้น



อาการของผื่นลมพิษ และอาการภูมิแพ้
คนที่มีอการผื่นลมพิษและอาการแพ้จะมีอาการตามสาเหตุของการแพ้ เช่น ในคนที่แพ้เกสรดอกไม้ แพ้ฝุ่นละออง หรือแพ้ขนสัตว์ จะมีอาการคันจมูกหรือจามบ่อย ๆ ส่วนคนที่แพ้อากาศ อาจมีอาการแน่นจมูก หายใจไม่สะดวก มีน้ำมูกไหล และคนที่แพ้อาหาร อาจมีผดผื่นหรือบวมแดงตามผิวหนัง และขอบตา รวมทั้งมีผื่นหรือตุ่มนูนขึ้นบริเวณผิวหนังในลักษณะเดียวกัน ทำให้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากลมพิษหรืออาการแพ้สิ่งใด

สาเหตุของผื่นลมพิษและอาการภูมิแพ้
เกิดจากอาการแพ้อาหาร เช่น อาหารทะเล สารกันบูด สีผสมอาหารบางชนิด
การแพ้ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผื่นลมพิษได้
แพ้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (เช่น ยุง มด ต่อ ผึ้ง ฯลฯ)
แพ้ฝุ่น ละอองเกสร จากพืชหรือไม้ดอกบางชนิด แพ้ขนสัตว์
อาการแพ้ที่เกิดจากการสัมผัสสารเคมีหรือสารบางอย่าง เช่น เครื่องสำอาง สเปรย์ ยาฆ่าแมลง
ผื่นลมพิษ ที่อาจเป็นผลจากปฏิกริยาของผิวหนังที่ตอบสนองผิดปกติต่อความร้อน ความเย็น น้ำหนักกดทับ แสงแดด และการออกำลังกายที่ทำให้มีเหงื่อออกมามาก
แนวทางการรักษาและการบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติ
การรักษาผื่นลมพิษและอาการภูมิแพ้โดยทั่วไป ได้แก่การใช้ยารักษาเพื่อระงับอาการ เช่น การกินยา การพ่นยา และการฉีดวัคซีน เพื่อช่วยปรับภูมิต้านทานในร่างกาย นอกจากนั้นยังมีแนวทางการบำบัดรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ ที่ผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาได้ด้วยตนเอง ดังนี้

1. บำบัดด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
ได้แก่

1) เลือกทานอาหารที่ต้านอนุมูลอิสระ เช่น อาหารที่มีวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน ซึ่งมีอยู่ในผักผลไม้ที่มีสีเขียวจัด สีเหลือง สีแดง สีม่วง  

2) เลือกทานอาหารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อาหารที่มีวิตามินซี ซึ่งจะมีอยู่ในอาหารที่มีรสเปรี้ยว หรือ  รสฝาด 

3) เลือกทานอาหารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อาหารที่มีวิตามินอี ซึ่งมีอยู่ในเมล็ดธัญพืช เช่น เมล็ด ทานตะวัน เมล็ดฝักทอง จมูกข้าว และการดื่มน้ำผลไม้เป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 แก้ว

2. บำบัดรักษาผื่นลมพิษด้วยการออกกำลังกาย
วิธีบำบัดด้วยการออกกำลังกาย ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที จะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่ดีขึ้น และหลังจากออกกำลังกายควรอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายป้องกันอาการผื่นลมพิษที่อาตเกิดจากการแพ้เหงื่อ

3. บำบัดรักษาผื่นลมพิษด้วยสมุนไพรไทย
การบำบัดอาการภูมิแพ้และผื่นลมพิษด้วยสมุนไพรไทย เป็นวิธีธรรมชาติที่ปฏิบัติแล้วได้ผลดี เช่น

การอบสมุนไพร ที่มีสรรพคุณในการบำรุงผิวและแก้อาการอักเสบ 
การอบซาวน่า ลักษณะการบำบัดด้วยวิธีนี้สามารถกระตุ้นให้ภูมิต้านทานทำงาน โดยการอบซาวน่า ร่างกายจะอุ่นเหมือนมีไข้ ภูมิต้านทานจะออกมาทำงานทำให้เกิดความสมดุลในร่างกาย 
วิธีอาบแสงตะวัน ควรเป็นแสงแดดในช่วงบ่ายๆ โดยให้ผู้ป่วยนอนหันหน้าและหันหลัง ข้างละ 10-15 นาที หรือใช้วิธี อาบน้ำอุ่นสลับน้ำเย็นอย่างละ 1 นาที โดยทำสัก 3-5 รอบ
ผื่นลมพิษ และอาการภูมิแพ้ ถึงแม้จะยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยก็สามารถดูแลและบำบัดรักษาตนเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรงได้ หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นหรือพยายามสังเกตอาการภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดลมพิษ เพื่อป้องกันและบำบัดรักษาอาการแพ้ได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/natural-ways-to-treat-your-hives/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

12

กระดูกสันหลังคด เป็นอาการของโรคที่พบได้มากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันยังพบอาการเหล่านี้ได้ในคนหนุ่มสาววัยทำงานรวมทั้งในกลุ่มวัยรุ่นและวัยเด็ก ที่ต้องให้ความสำคัญคืออาการของกระดูกสันหลังคดส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นแบบไม่ทราบสาเหตุ ต้องอาศัยการสังเกตและตรวจคัดกรอง เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรค 

อาการกระดูกสันหลังคด คืออะไร ?
กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือลักษณะอาการที่แนวกระดูกสันหลังผิดรูปจากปกติ ซึ่งกระดูกสันหลังของคนทั่วไป จะมีกระดูกเรียงต่อกันทั้งหมดเป็นแนวเส้นตรง แต่ในผู้ที่เป็นกระดูกสันหลังคด กระดูกจะกลายเป็นโค้งงอ คดงอ บิดเบี้ยวไปทางด้านข้าง ส่งผลให้ไหล่ เอว สะโพกไม่เท่ากัน มีลักษณะคล้ายตัวซีหรือตัวเอส ทำให้ร่างกายเสียสมดุลการทรงตัวส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต

สาเหตุการเกิดโรคกระดูกสันหลังคด
อาการกระดูกสันหลังคด ที่เป็นมาตั้งแต่เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ  กรณีนี้อาจเกิดจากการทานยาบางชนิดของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือเกิดจากเด็กมีการสร้างกระดูกสันหลังผิดปกติตั้งแต่อยู่ในท้อง เช่น กระดูกสันหลังมีการเชื่อมติดกันผิดรูป หรือกระดูกสันหลังแหว่ง
กระดูกสันหลังปกติตั้งแต่แรกเกิด แต่เริ่มมีการคดในภายหลัง กรณีนี้อาจเกิดจากกระดูกสันหลังเจริญเติบโตผิดปกติ โดยค่อย ๆ เพิ่มองศาความเอียงขึ้นเรื่อย ๆ มีสาเหตุมาจากสารฮอร์โมนบางอย่างที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวทำงานผิดปกติ ส่งผลให้กระดูกสันหลังคด ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่พบได้ประมาณร้อยละ 80
เกิดจากโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ เช่น มีความผิดปกติของสมอง สมองพิการ โรคโปลิโอ หรือโรคของระบบกล้ามเนื้อ มีโอกาสทำให้กระดูกสันหลังคดได้
กระดูกสันหลังคดจากกระดูกเสื่อม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังจากการใช้งานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน พบมากในผู้สูงอายุและผู้ที่ต้องนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ
ลักษณะอาการและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
ผู้ที่กระดูกสันหลังคด ลักษณะของไหล่จะไม่เท่ากัน
ลักษณะพิการ แนวสะโพกเอียง เอวไม่เสมอกัน สะโพกสองข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน
กระดูกสะบักนูนไม่เท่ากัน
มีปัญหาสุขภาพ มักมีอาการปวดหลัง เป็นอาการปวดเรื้อรังที่ส่งผลค่อคุณภาพชีวิต
มีปัญหาทางระบบหายใจ และมีอาการหอบเหนื่อยง่ายกว่าคนที่มีรูปร่างปกติ
มักมีโรคแทรกร้อง เช่น เป็นโรคปอดบวม ปอดอักเสบ
อาการกระดูกสันหลังคด ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักจนสามารถเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
ปัญหาเกี่ยวกับรูปลักษณ์ ความผิดปกติของกระดูกที่เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น เอวและลำตัวเบี้ยว ทำให้ผู้ป่วยกังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตนเอง


แนวทางการรักษาอาการกระดูกสันหลังคด
สำหรับแนวทางการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด สามารถรักษาได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ว่าอาการของผู้ป่วยมีความรุนแรงอยู่ในระยะใด โดยทั่วไปการรักษาทำได้ 2 แนวทาง ได้แก่ การรักษาด้วยกระบวนการทางการแพทย์ และการรักษาด้วยตัวเอง ดังนี้

การรักษาด้วยกระบวนการทางการแพทย์
รักษาด้วยการผ่าตัด  หากการรักษาด้วยวิธีการอื่นไม่ได้ช่วยชะลอความรุนแรงของโรค แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัด
การใส่เสื้อเกราะดัดหลัง เหมาะสมกับผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังยังคงมีการเจริญเติบโตเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูดคดงอมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยอาจใส่เสื้อเกราะดัดหลังไว้ตลอดเวลา หรือใส่เฉพาะเวลานอน ขึ้นอยู่กับอาการและการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญ
การรักษาอาการกระดูกสันหลังคด ด้วยวิธีกายภาพบำบัด โดยการสอนการจัดท่าขณะนอน การทรงท่า และการออกกำลังกายต่าง ๆที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยรักษาให้กระดูกสันหลังกลับเข้าสู่แนวเดิม หรือให้ใกล้เคียงแนวปกติให้มากที่สุด
การรักษาด้วยตัวเอง
การออกกำลังกายด้วยวิธีเฉพาะที่เหมาะสมกับอาการกระดูกสันหลังคดของผู้ป่วยแต่ละบุคคล เพื่อช่วยรักษาให้กระดูกสันหลังกลับเข้าสู่แนวเดิม หรือให้ใกล้เคียงแนวปกติให้มากที่สุด
การฝึกการหายใจให้ถูกต้องเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด
รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อมีอาการ แต่ต้องได้รับแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชเท่านั้น
การรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เช่น การรักษาทางกายภาพบำบัดตั้งแต่ระยะแรก โดยเริ่มจากการปรับท่านั่ง ท่ายืน และการออกกำลังกายในเบื้องต้นจากการสอนหรือแนะนำท่าทางต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ
อาการกระดูกสันหลังคด เป็นอาการที่แนวกระดูกสันหลังผิดรูปซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นอาการกระดูกเสื่อมชนิดหนึ่ง ที่มักเกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ความเป็นจริงโรคนี้เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และที่น่ากลัวสำหรับผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงคืออาการกระดูกสันหลังเสื่อมอาจค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงและไม่พบความผิดปกติหากไม่สังเกต เมื่อแสดงอาการที่ชัดเจนมักยากต่อการรักษา ดังนั้นการดูแลสุขภาพเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคนี้ หรือลดความรุนแรงของโรคจะต้องเริ่มต้นจากตัวเรา เมื่อพบความผิดปกติและเข้ารับการรักษาโดยเร็ว ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/scoliosis-symptoms-causes/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

13

เชื่อว่าโรคที่น่ากลัวสำหรับทุกคนอีกหนึ่งโรคนอกจากมะเร็ง ก็คือ วัณโรค เนื่องจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดต่อหรือได้รับเชื้อและป่วยด้วยโรควัณโรคปอดได้ง่าย อาการ ความรุนแรง และสาเหตุของโรคนี้เกิดจากอะไร เมื่อเป็นแล้วมีวิธีดูแลตนเองอย่างไร วันนี้มีความรู้มาแนะนำ ครับ
วัณโรค คืออะไร?
วัณโรค คือโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ไมโครแบคทีเรียทูเบอร์คูโลซิส(Mycobacterium Tuberculosis) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทนอยู่ในอากาศและสิ่งแวดล้อมได้นาน สามารถแพร่กระจายได้โดยการที่ผู้ป่วย ไอ จาม แล้วมีผู้สูดหายใจรับเอาอากาศที่มีละอองของเชื้อวัณโรคเข้าไปในปอด 
สาเหตุของโรควัณโรค
วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทูเบอร์คูโลซิส และเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกายแต่ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยที่รับเชื้อร้อยละ 80 ป่วยเป็นวัณโรคปอดเนื่องจากรับเชื้อเข้าสู่ปอดจากการหายใจ ไอ จาม อันตรายของโรคนี้ โดยทั่วไปผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมักไม่แสดงอาการใด ๆ แต่อาการและความรุนแรงของโรคจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
การติดเชื้อระยะแฝง ซึ่งผู้ป่วยวัณโรค ส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะนี้ เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการและไม่แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น หรืออาจจะแสดงอาการเพียงเล็กน้อย
ระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบ เป็นระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่าง ๆ ซึ่งจากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อจะมีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่ในระยะนี้ โดย 5% จะป่วยเป็นวัณโรคภายใน 2 ปี ส่วนอีก 5% จะป่วยเป็นวัณโรคหลังจาก 2 ปีไปแล้ว ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาก็จะหายขาดจากโรคได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธี ผู้ป่วยร้อยละ 50-65 จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี
อันตรายของวัณโรคระยะแฝง
ความน่ากลัวและอันตรายของวัณโรค ที่เปรียบเสมือนภัยเงียบ จะอยู่ในระยะแฝงตัว เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อจะไม่แสดงอาการโดยทันที เพราเมื่อร่างกายได้รับเชื้อจะแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายภายในระยะเวลา 2-8 สัปดาห์ เระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่ป้องกันและยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อโรค ทำให้เชื้อค่อย ๆ พัฒนาไปอย่างช้า ๆ และไม่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้  วัณโรคระยะแฝง จึงเป็นภัยเงียบที่อันตราย เพราะนอกจากไม่แสดงอาการแล้บ จำนวนผู้ป่วยระยะแฝงประมาณ 90% ที่เชื้อโรคอาจจะอยู่ในระยะนี้เป็นเวลาหลายสิบปี หรือตลอดทั้งชีวิตโดยไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถกำจัดหรือควบคุมเชื้อได้ เชื้อวัณโรคจะแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงก็จะกลายเป็นผู้ป่วยวัณโรคที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อทราบระยะความรุนแรงของโรคและทำการรักษาทันที 
สัญญาณบ่งบอกอาการของวัณโรค
เริ่มมีอาการไอติดต่อกันนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ อาจเป็นได้ทั้งแบบไอแห้งๆ ไอมีเสมหะ หรือไอมีเสมหะปนเลือด ร่วมกับมีอาการคล้ายไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงบ่ายหรือค่ำ
มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ
เหงื่อออกมากผิดปกติช่วงกลางคืน ลักษณะอาการเป็นแบบเรื้อรังต่อเนื่องนาน 2-3 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น
ผู้ป่วยวัณโรคบางราย อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอกในขณะไอหรือหายใจเข้าลึก ๆ
ผู้ป่วยอาจมีอาการไอออกมาเป็นเลือดสีแดงหรือดำได้ ซึ่งมักจะออกมาในปริมาณไม่มาก
ส่วนในผู้ป่วยที่เป็นเรื้อรังมานาน หรืออยู่ในระยะลุกลามมาก จะมีลักษณะซูบผอม ซีด หรือหายใจหอบ
สำหรับผู้ที่มีอาการต่าง ๆ ซึ่งอาจสงสัยว่าเป็นสัญญาณบ่งบอกอาการของวัณโรค ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการตามขั้นตอนของแพทย์อย่างละเอียด หากพบว่าเป็นอาการของวัณโรคเมื่อพบได้เร็วก็สามารถรักษาให้หายขาดหรือทำการรักษาเพื่อลดความรุนแรงของโรคไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้
ปัจจัยเสี่ยงและการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอด
แม้ผู้ที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียทูเบอร์คูโลซิสทุกคน อาจไม่ได้เป็นวัณโรคทุกคนเพราะจากข้อมูลมีประมาณร้อยละ 10 เท่านั้นที่จะเป็นวัณโรค โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวาน ความดัน ผู้ที่เคยสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ผู้สูงอายุ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ที่ตรากตรำทำงานหนัก และคนที่มีความเครียดสูง ส่วนการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค หรือวัณโรคปอด ทำได้ดังนี้
หลีกเลี่ยงหรืองดการสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ 
กรณีพ่อแม่ที่ป่วยเป็นวัณโรค ควรแยกออกห่างจากลูก ไม่กอดหรือสัมผัสใกล้ชิดจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
กินอาหารที่มีประโยชน์ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่อย่างสมดุล และพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
ป้องกันการแพร่เชื้อ โดยขณะไอหรือจามควรใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่ปิดปากทุกครั้ง ส่วนเสมหะควรบ้วนลงในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
หากหลังกินยาแล้ว มีอาการอาการจะดีขึ้นก็ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะอาจทำให้เชื้อดื้อยา รักษาให้หายได้ยาก
ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
การรักษาวัณโรค หากตรวจพบเชื้อในระยะแรก ๆ หรือตรวจพบเชื้อได้เร็วก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อันตรายของโรคนี้มักไม่แสดงอาการ แม้ร่างกายจะได้รับเชื้อแล้วและจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือมีภูมิต้านทานต่ำ และอาจตรวจพบเมื่ออยู่ในระยะรุนแรงที่ยากต่อการรักษา การดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกายและตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จึงเป็นแนวทางป้องกันตนเองให้ห่างไกลและปลอดภัยจากวัณโรคได้ดีที่สุด

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/tuberculosis/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

14

อาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้เสมอในผู้สูงอายุ และนอกจากอาการท้องอืดจะรบกวนและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงวัยแล้ว ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการทำงานของลำไส้และอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายที่เสื่อมสภาพทำงานได้ลดน้อยลง โดยสาเหตุสำคัญมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ภาวะท้องอืดอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร มีวิธีดูแลและป้องกันตนเองอย่างไร บทความนี้มีคำแนะนำครับ

ภาวะท้องอืดอาหารไม่ย่อย  คืออะไร?
อาหารไม่ย่อย คืออาการแน่นท้อง รู้สึกไม่สบายภายในบริเวณท้องด้านบนส่วนกลางหรือบริเวณลิ้นปี่ ผู้สูงอายุบางคนอาจมีอาการจุกเสียด มีลมในท้อง และเรอบ่อย ส่วนใหญ่ลักษณะอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ไม่รุนแรงแต่รบกวนการใช้ชีวิต ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ท้องอืดอาหารไม่ย่อยไม่ใช่โรคแต่เป็นกลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหารส่วนบน แต่หากอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุเกิดขึ้นเป็นประจำและมีอาการอื่น ร่วมด้วยอาจเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ ได้

สาเหตุและสัญญาณเตือนโรคที่เกิดจากระบบทางเดินอาหาร และอาหารไม่ย่อย
ผู้สูงอายุที่มีอาการอาหารไม่ย่อย ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น ๆ หาย ๆ ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เฉลี่ยมีประมาณ 40% ของผู้ป่วยที่สามารถตรวจพบสาเหตุของอาการได้ แต่มากกว่าครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 60% จะหาสาเหตุของอาการไม่พบ อาการอาหารไม่ย่อยแม้ไม่ใช่โรคร้ายแรงเป็นเพียงอาการเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต แต่หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่าง ๆ โดยทั่วไปอาการท้องอืดจากอาหารไม่ย่อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

สาเหตุมาจากแผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาการท้องอืดที่มีสาเหตุมาจากการเกิดแผลบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจเป็นสัญญาณจากอาการของโรคต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ พยาธิในทางเดินอาหาร และโรคมะเร็งหลอดอาหารมะเร็งในกระเพาะอาหารที่เป็นโรคอันตรายซึ่งส่วนใหญ่จะพบในคนอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป
สาเหตุมาจากอาการของโรคต่าง ๆ เช่น โรคของทางเดินน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคของตับ ตับอ่อน เบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ โรคกรดไหลย้อน โรคกังวลทั่วไป หรือ โรคซึมเศร้า
สาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาการท้องอืดอาหารไม่ย่อยลักษณะนี้พบได้มากถึงร้อย 60 เป็นอาการรอาหารไม่ย่อยชนิดไม่มีแผล เช่น เกิดจากการรับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่รับประทาน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน
อาการท้องอืดอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุที่ควรรีบพบแพทย์
ผุ้สูงอายุที่มีอาการท้องอืด อาการจุกเสียด มีลมในท้อง และเรอบ่อย แต่เกิดขึ้นในลักษณะเป็น ๆ หาย ๆ หรือเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ หากเป็นแบบเรื้อรังคือเกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยเฉพาะคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร และโรคตับ
ผู้สูงอายุที่มีอาการท้องอืดเป็นประจำ ร่วมกับน้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
อาการอาหารไม่ย่อย และมีความผิดปกติต่าง ๆ  เช่น มีก้อนในท้อง การขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงไป ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ตัวเหลือง ตาเหลือง มีอาการซีด
ผู้สูงอายุ มีอาการท้องอืดแน่นท้องมาก ปวดท้อง กลืนอาหารไม่ได้ หรือมีอาเจียนติดต่อกัน
ผู้สูงอายุที่มักมีอาการท้องอืด ร่วมกับเจ็บแน่นหน้าอก และเหนื่อยหลังมื้ออาหารเป็นประจำ
วิธีป้องกันอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุ
สาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อยที่พบได้มากในผู้สูงอายุ ได้แก่อาการรอาหารไม่ย่อยชนิดไม่มีแผลในระบบทางเดินอาหาร แต่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภคอาหาร ดังนั้นวิธีป้องกันอาการท้องอืดที่ได้ผลดีที่สุด ได้แก่

เลือกบริโภคอาหารประเภทที่มีไฟเบอร์สูง หรืออาหารที่มีกากใยอาหาร แต่ต้องนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนปรุงสุกหรือรับประทาน เพื่อช่วยในการเคี้ยวทำให้เคี้ยวอาหารได้ละเอียด เพราะแม้จะเป็นอาหารที่มีกากใยก็เป็นสาเหตุทำให้ท้องอืด แน่นท้องได้ หากอาหารนั้นย่อยยากและเคี้ยวไม่ละเอียด
เลือกรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย และอาหารที่มีแป้งน้อย ประเภทนอาหารช่วยย่อย เช่น เนื้อปลา ข้าวต้ม หรือ โจ๊ก
เลือกรับประทานผลไม้ที่มีสรรพคุณช่วยย่อย เช่น สับปะรด มะละกอ เพราะอุดมไปด้วยเอนไซม์ รวมถึงผลไม้ไฟเบอร์สูงอย่างแก้วมังกร ช่วยระบายท้องและยังลดอาการท้องอืดของผู้สูงอายุได้ดี
การดื่มนม หรือนมถั่วเหลือง ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุได้ เนื่องจากระบบย่อยทำงานไม่ดี หลังการดื่มนมแล้วมีอาการท้องอืดควรปรับพฤติกรรมการดื่ม โดยการทดลองดื่มทีละน้อย ๆ เพื่อให้รู้ว่าร่างกายสามารถรับนมที่ดื่มเข้าไปได้หรือไม่ หากทราบสาเหตุก็จะทำให้หลีกเลี่ยงการดื่มนม
หลังการรับประทานอาหาร ผู้สูงอายุไม่ควรนอนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ควรลุกเดินหรือทำให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว ช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้เป็นปกติ ก็จะเป็นการป้องกันปัญหาโรคท้องอืดอาหารไม่ย่อยได้ทางหนึ่ง
ผู้สูงอายุถือเป็นช่วงวัยที่อวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งระบบการทำงานเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงหรืออยู่ในสภาพเสื่อมถอย ภาวะท้องอืดอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ควรทราบสาเหตุเพื่อป้องกันอาการได้อย่างถูกวิธี รวมทั้งหมั่นสังเกตอาการผิดปกติอื่นที่เกิดขึ้นร่วมกับอาหารอาหารไม่ย่อยที่อาจเป็นอาการของโรคต่าง


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/indigestion-in-elderly/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

15

“มะเร็ง” คือโรคร้ายแรงและน่ากลัวสำหรับทุกคน เพราะนอกจากเกิดขึ้นได้กับอวัยวะเกือบทุกส่วนภายในร่างกายของคนเราแล้ว ปัจจุบันมะเร็งเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษา อันตรายที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในลำดับต้น ๆ ของโลกก็คือ มะเร็งปอดและในประเทศไทยยังมีข้อมูลระบุว่า ผู้ป่วยมะเร็งปอดมีอัตราการเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งตับและท่อน้ำดี เพื่อรู้ทันอาการของโรค ทำให้เราสามารถป้องกันตนเองจากโรคร้ายเหล่านี้ วันนี้ความรู้ดี ๆ มาแนะนำ

มะเร็ง คืออะไร ?
ก่อนที่เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งปอด ผู้ป่วยจะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เพราะเมื่อเข้าใจอย่างถูกต้องก็จะทำให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่าง มะเร็งแต่ละชนิด ได้ดียิ่งขึ้น สำหรับมะเร็ง เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ เป็นโรคไม่ติดต่อ โดยความผิดปกติของเซลล์จะส่งผลทำให้มีการแบ่งตัวของเซลล์ และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้อ ตุ่ม ไต หรือเนื้องอกภายในร่างกายหรือบริเวณผิวหนัง เมื่อเกิดความผิดปกติของก้อนเนื้อก็จะทำให้เซลล์เหล่านั้นตายไปเพราะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงจนกลายเป็นเนื้อร้าย

มะเร็งปอด โรคร้ายที่ไม่มีสัญญาณเตือน
มะเร็งปอด คือ เซลล์ส่วนใดส่วนหนึ่งภายในปอดที่มีความผิดปกติ และเจริญเติบโต อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย การตรวจพบในระยะแรกนั้นทำได้ยากเพราะผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดง ความน่ากลัวของมะเร็งปอด จากสถิติภายในระยะเวลา 5 ปี คนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอด มีอัตราการรอดชีวิตเพียง 13% เท่านั้น



สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด
การสูบบุหรี่ สาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด โดยอัตราเสี่ยงจะสูงขึ้นตามจำนวนบุหรี่ที่สูบ พบว่าในคนที่สูบบุหรี่จัด ประมาณ 40 มวน/วัน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคสูง และยังรวมถึงคนที่ไม่ได้สูบแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน
การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม หรือได้รับจากการประกอบอาชีพ เช่น ฝุ่นและไอระเหยจาก นิกเกิล โครเมียมและโลหะอื่น ๆ
ปัจจัยทางพันธุกรรม จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่าผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนหนึ่งมักมีบุคคลในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นมะเร็งปอดมาก่อน
อายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุเนื่องจากอวัยวะรวมถึงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลง โดยผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดมากที่สุดจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 55 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัด และผู้ที่ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีกลิ่นและควันบุหรี่เป็นประจำ
อาการของผู้ที่ป่วยมะเร็งปอด
มะเร็งปอด ถือเป็นโรคร้ายที่ไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน โดยระยะแรกเริ่มจะไม่แสดงอาการใด ๆ เมื่อตรวจพบหรือเริ่มมีความผิดปกติก็ต่อเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 3-4 แล้ว ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

มีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเวลานาน มีเสมหะเป็นเลือด เสียงแหบ เจ็บหน้าอกเมื่อไอ
มีปัญหาด้านการหายใจ มีอาการหายใจลำบาก รู้สึกเหนื่อยหอบตลอดเวลา หายใจมีเสียงหวีด
เบื่ออาหาร เกิดจากเนื้อร้ายไปกดเบียดหลอดอาหารทำให้ผู้ป่วยกลืนอาหารลำบากจึงไม่อยากทานอาหาร 
ร่างกายอ่อนเพลียง่าย
น้ำหนักลดลงอย่างผิดปกติ

Heart photo created by diana.grytsku – www.freepik.com

การวินิจฉัยหรือตรวจหามะเร็งปอด 
การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจทางรังสีวิทยา ที่ใช้รังสีเอกซ์ถ่ายภาพทรวงอกลงบนแผ่นฟิล์ม การตรวจเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจที่แพทย์นิยมสั่งตรวจมาก เพราะสามารถช่วยวินิจฉัยความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องอก เช่น ปอด หัวใจ กระดูกซี่โครง ได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว
ส่องกล้องตัดชิ้นเนื้อ เป็นการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจ โดยเจาะรูที่ผนังทรวงอก และส่องกล้องเข้าไปตัดชิ้นเนื้อออกมา
ตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี ซีทีสแกนเป็นการถ่ายภาพแบบสามมิติ โดยนำ ภาพที่ถ่ายด้วยรังสีเอกซ์หลาย ๆ ภาพมาประกอบกัน และสร้างเป็นภาพสามมิติของร่างกาย ทำให้มองเห็นโครงสร้างภายในปอดได้ละเอียด จึงช่วยให้ตรวจหาก้อนมะเร็งได้ถูกต้องชัดเจน
วิธีการรักษามะเร็งปอด
การรักษาโรคมะเร็งปอด แพทย์จะพิจารณาจากอาการ และความรุนแรงของโรค รวมทั้งพิจารณาตำแหน่ง ขนาด และระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย เพื่อทำการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

การผ่าตัด เป้าหมายการรักษาด้วยวิธีนี้เพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด ซึ่งบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมด
การฉายรังสี เป็นการใช้พลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง เพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น วิธีนี้ใช้เวลาไม่นานและไม่ทำให้เจ็บปวด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น กลืนลำบาก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี
การให้ยาเคมีบำบัด เป็นการใช้ยากำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโต ของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วร่างกาย โดยทั่วไปยาเคมีบำบัดที่ใช้กับมะเร็งปอดเป็นรูปแบบ ยาฉีดเข้าเส้นเลือด
การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ ให้ประสิทธิผลในการรักษาและไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนเช่นยาเคมีบำบัด
การรักษาด้วยการผสมผสาน โดยทั่วไปการรักษามะเร็งจะใช้มากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป มะเร็งปอด แม้จะเป็นโรคร้ายที่ไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน และเมื่อตรวจพบหรืออาการแสดงออกก็จะอยู่ในภาวะรุนแรงและทำการรักษาได้ยาก การรู้ทันโรคและหมั่นออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หยุดสูบบุหรี่หรือเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ และหมั่นตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปีหรือทุก 6 เดือนอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันตนเองจากมะเร็งปอดได้แล้ว

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/lung-cancer/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

16

โรคไซนัส เป็นอาการทางระบบทางเดินหายใจคล้ายอาการเป็นหวัด แต่มีอาการที่รุนแรงมากกว่า หากเป็นมากอยู่ในขั้นไซนัสอักเสบจะมีอาการปวดตามโพรงจมูก คัดจมูก ปวดบริเวณโหนกแก้ม ปวดหน้าผาก และบริเวณหัวคิ้ว กรณีรู้ตัวว่าเป็นไซนัสและอาการยังไม่รุนแรง สามารถดูแลรักษาเพื่อบรรเทาอาการหรือรักษาให้หายขาดได้หลายวิธี

โรคไซนัส และสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ
ไซนัส คือโพรงอากาศบริเวณใบหน้าและฐานของกะโหลกศีรษะที่มีรูเปิด ติดต่อกับช่องจมูก ภายในไซนัสมีเยื่อบาง ๆ บุอยู่แบบเดียวกับเยื่อบุในช่องปาก เยื่อบุบาง ๆ นี้ต่อเป็นผืนเดียวกันกับเยื่อบุภายในช่องจมูกและปาก 

ส่วนอาการไซนัสอักเสบ หมายถึง ภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อบุภายในไซนัสที่เกิดจากการติดเชื้อ หากมีอาการที่รุนแรง เช่น มีอาการไซนัสอักเสบเรื้อรังอาการอาจเปลี่ยนแปลงเป็นริดสีดวงจมูก มีการอักเสบติดเชื้อและกลายเป็นหนองในโพรงจมูก

อาการของโรคไซนัสอักเสบ
อาการไซนัสอักเสบ จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามระยะเวลาการเกิดโรค ได้แก่ ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งสามารถรักษาหายภายในระยะเวลา 3 เดือนระยะนี้จะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดหรือภูมิแพ้ทั่วไป แต่หากมีการอักเสบเรื้อรังกินระยะเวลาในการรักษานานเกินกว่า 3 เดือน จะเรียกว่า ไซนัสอักเสบเรื้อรัง และมีอาการที่รุนแรงกว่า เช่น

มีอาการปวดตื้อๆบริเวณหน้าผาก บริเวณโหนกแก้ม 
บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวไปที่ศีรษะ 
น้ำมูกมีสีเขียวเหลืองมีกลิ่นเหม็น 
ลมหายใจมีกลิ่น จมูกได้กลิ่นน้อยลง และอาจมีอาการไข้ร่วมด้วย


การวินิจฉัยและรักษาโรคไซนัสอักเสบ
การวินิจฉัยไซนัสอักเสบ แพทย์จะทำการซักประวัติ การตรวจโพรงจมูก ในรายที่อาการและอาการแสดงไม่สัมพันธ์กันหรือในรายที่ยากต่อการวินิจฉัยจากวิธีแรก ๆ แพทย์อาจตรวจรักษาจากภาพรังสีเอกซเรย์ และการส่งเพาะเชื้อช่วยในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการให้ยาต้านจุลชีพหรือสงสัยเชื้อดื้อยา

ด้านการรักษาโรคไซนัสอักเสบ ทำได้หลายวิธี เช่น รักษาโดยการกำจัดเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุด้วยการให้ยาต้านจุลชีพเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้น รักษาโดยการทำให้เลือดไหวเวียนของสารคัดหลั่งและอากาศภายในไซนัสดีขึ้น เช่น การพ่นยา การผ่าตัด การล้างจมูกด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ การรักษาด้วยสมุนไพร หรือรักษาด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด ร่วมกับการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายตามความเหมาะสม เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ประเภทผัก และผลไม้ 

การบำบัดรักษาด้วยวิธีสูดไอน้ำร้อน
วิธีบำบัดรักษาโรคไซนัสอักเสบ ด้วยการสูดไอน้ำร้อน จากการศึกษาพบว่าการสูดอากาศที่อุ่นและชื้นจะทำให้โพรงจมูกโล่งขึ้น ทำให้อาการของโรคบรรเทาลงได้ ขั้นตอนการสูดไอน้ำ มีดังนี้

ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นเทน้ำร้อนที่เดือดแล้ลงในภาชนะหรืออ่างที่ทำจากวัสดุทนความร้อน
หากอาการยังเป็นไม่มาก หรือแพทย์ไม่ได้สั่งยาเพื่อให้เติมลงในน้ำเดือด ก็สามารถเริ่มขึ้นตอนการสูดไอน้ำร้อนได้เลย ในกรณีที่แพทย์สั่งยาเพื่อเติมลงในน้ำเดือน ควรเติมยาลงไปในปริมาณน้อยๆก่อน 
ใช้ผ้าผืนใหญ่ ๆ คลุมศีรษะและภาชนะที่ใส่น้ำร้อน จากนั้นยื่นหน้าไปอังอยู่เหนือน้ำร้อน สูดหายใจเข้าออกตามปกติ อาจพักชั่วคราวโดยการเอาหน้าออกจากน้ำร้อนเป็นระยะ ๆ
ควรสูดไอน้ำร้อนจนกว่าไอน้ำจะหมด หากมีอาการคัดจมูกหรือต้องพ่นยา ควรพ่นยาหลังจากสูดไอน้ำร้อน เพราะยาจะเข้าไปสัมผัสเยื่อบุจมูกได้สะดวกทำให้ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น


สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาไซนัสอักเสบ
สมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณในการรักษาอาการไซนัสอักเสบ มีหลายชนิด ซึ่งส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยและเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน เพื่อช่วยให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก ทำให้รู้สึกโล่ง บรรเทาอาการคัดแน่นจมูก เช่น

ฟ้าทะลายโจร มีสรรพคุณในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ แก้อาการปวดหัว น้ำมูกไหล ในการศึกษาวิจัยพบว่า สามารถใช้ฟ้าทะลายโจรป้องกันและรักษาหวัด  ไซนัสอักเสบ  ชนิดไม่รุนแรง หลอดลมอักเสบ คออักเสบ และทอนซิลอักเสบได้ ตรงกับอาการที่มักเกิดหลังจากสัมผัสสะสมฝุ่นพิษแบบเฉียบพลันได้
พริกไทย เนื่องจากในพริกไทยมีสารอาหารสำคัญที่มีส่วนทำให้อาการอักเสบของเยื่อบุจมูกลดลง 
หอมแดงสด มีสรรพคุณแก้หวัด คัดจมูก แก้อาการอักเสบและมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยขยายหลอดลม
ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระสูง และมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน
รางจืด ได้ชื่อว่าเป็นราชายาแก้พิษ มีสรรพคุณโดดเด่นเรื่องการล้างพิษ แก้พิษ ลดอาการแพ้ และต้านอนุมูลอิสระ 
มะขามป้อม เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา ช่วยละลายเสมหะและบำรุงเสียงได้ดีที่สุด ในด้านอายุรเวทใช้แก้ไอ แก้หอบ และรักษาหลอดลมอักเสบ
ถั่งเช่า เป็นสมุนไพรที่โดดเด่นด้านระบบทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ หอบหืด ขยายและลดการอักเสบของหลอดลม เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ออกซิเจน เพิ่มภูมิคุ้มกัน
โรคไซนัสหรือไซนัสอักเสบที่มีอาการไม่มาก หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง หรือรู้วิธีดูแลตัวเองด้วยสมุนไพรที่หาได้ไม่ยาก ก็สามารถหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ หากปล่อยให้มีอาการเรื้องรังรวมถึงมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย อาจทำให้มีอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรามากยิ่งขึ้น


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/herbs-for-fighting-a-sinus/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

17

อาการจุกลิ้นปี่ แน่นกลางอก เรอบ่อย และแสบร้อนท้อง เป็นอาการของกรดไหลย้อน โรคที่ไม่รุนแรงแต่สร้างความทุกข์ทรมานและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และหากไม่ได้ดูแลรักษาอย่างถูกวิธีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่พบได้คือโรคคอและกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง เรื้อรัง โรคหืด และฟันผุง่ายจากช่องปากเป็นกรด ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้อาจทำให้เซลล์ที่อักเสบเรื้อรังกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้

อาการกรดไหลย้อน 3 ระยะ และการรักษา
การเกิดโรคกรดไหลย้อน แม้จะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การมีอายุที่มากขึ้นทำให้เซลล์เนื้อเยื่อทุกชนิดของร่างกายจะเสื่อมลง เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย แต่สาเหตุที่พบได้มาก ได้แก่พฤติกรรมการบริโภค กรดไหลย้อน สาเหตุหนึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยอาหารที่ไม่สมบูรณ์จนเกิดปัญหาขึ้น โดยแบ่งระยะความรุนแรงของโรคออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 

กรดไหลย้อน ระยะที่ 1
กรดไหลย้อนระยะแรก เกิดจากกระเพาะอาหารอ่อนแรงหรือมีปัญหาสุขภาพ เช่น เป็นโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา รับประทานอาหารรสจัด หรือไม่ชอบทานผัก ลักษณะอาการของกรดไหลย้อนระยะที่ 1 ได้แก่

ท้องอืดบ่อย เนื่องจากเกิดลมในท้องได้ง่าย
 หลังจากกินอาหารแล้ว มักทำให้จุกแน่น อึดอัดเหมือนมีอะไรมาจุกที่ลำคอ หรือ ลิ้นปี่ 
มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณบ่า เพราะมีลมมากในลำไส้
หน้าตา ผิวพรรณ ไม่สดใส
มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่หรือทรวงอก เพราะอาจมีแผลในกระเพาะอาหาร 
กรดไหลย้อน ระยะที่ 2
ระยะนี้เกิดจากกระบวนการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์เป็นเวลานาน ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะเนื่องจากอาหารที่ย่อยได้ไม่หมดตกค้างอยู่ในลำไส้ปริมาณมาก ผู้ป่วยจะมีอาการจุกแน่น  เริ่มมีกลิ่นปาก ผายลมเหม็น มีลมในท้องได้ตลอดเวลา ขับถ่ายไม่ตรงเวลา หรืออาจจะมีอาการท้องผูกเรื้อรังร่วมด้วย ความรุนแรงของโรคที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่

กระเพาะอาหารและม้ามจะเย็นชื้น และอ่อนแรงทำให้ลมดันขึ้นได้ง่าย
ลำไส้มีอุจจาระตกค้างมาก ทำให้มีจุลินทรีย์ที่ไม่ดีที่สร้างแก๊สอยู่ตลอดเวลา
หากมีแก๊สมากลำไส้จะเคลื่อนไหวได้น้อยลง ทำให้มีโอกาสท้องผูกร่วมด้วย
กรดไหลย้อน ระยะที่ 3
ระยะนี้ เนื่องจากกระบวนการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์เป็นเวลานาน ทำให้สารอาหารในเลือดเหลือน้อยลงมาก ภาวะที่รุนแรงแรงของโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้

มีอาการจุกแน่นท้อง และมีอาการจุกแน่นถึงคอ
มีอาการท้องอืดเป็นประจำ
เมื่อรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาจะรู้สึกแสบท้อง
อ่อนเพลีย และเวียนศีรษะง่าย เพราะสารอาหารในเลือดน้อยลงมากจนอวัยวะภายในทำงานได้น้อย บางคนอาจมีอาการบ้านหมุน
อาหารตกค้างในลำไส้เป็นเวลานานทำให้สมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้แย่ลง


การวินิจฉัยโรคของแพทย์และขั้นตอนการรักษา
แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยอาการและภาวะความรุนแรงของกรดไหลย้อน เพื่อหาแนวทางการรักษา เริ่มจากการซักประวัติสอบถามอาการและตรวจวินิจฉัยตามขั้นตอน ต่อไปนี้

การส่องกล้องทางเดินอาหาร
การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง
การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
ตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร
ตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร
เมื่อตรวจวินัยอาการของโรคแล้ว แพทย์จะทำการรักษาภาวะกรดไหลย้อนตามอาการซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น รักษาตามอาการโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค  รักษาด้วยการทานยาเคลือบกระเพาะอาหาร การผ่าตัด และรักษาด้วยสมุนไพรหรือหลาย ๆ วิธีร่วมกัน

วิธีการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน
การดูแลตัวเองของผู้ป่วยกรดไหลย้อน นอกจากทานยาหรือปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรค ดังนี้

หมั่นสังเกตอาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้อาการของโรคกำเริบ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการบริโภคได้
เรียนรู้และทำความเข้าใจกับอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้อาการกำเริบ 
จำกัดอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยลง ทานอาหารอิ่มใหม่ ๆไม่ควรนอนทันที ควรรอให้อาหารย่อยผ่านกระเพาะอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง
ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนควรนอนในท่าเอนตัวเสมอ ไม่นอนราบ
ควรควบคุมหรือลดน้ำหนักเมื่อมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
เมื่อมีอาการกำเริบตอนเข้านอน ควรหนุนศีรษะให้สูง 6-10 นิ้ว โดยการหนุนขาเตียงด้านศีรษะให้สูง ไม่ควรหนุนหมอนให้สูงขึ้นเพราะอาจจะทำให้ท้องโค้งงอ และความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้นได้
ควรออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ 
พักผ่อนให้เพียงพอ และผ่อนคลายอย่าปล่อยให้เกิดความเครียด
ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าหรือรัดเข็มขัดจนแน่น เพราะเป็นการเพิ่มความดันต่อกระเพาะอาหาร
ทานสมุนไพรที่มีสรรพคุณบรรเทาโรคกรดไหลย้อนได้ เช่น กะเพรา กระเจี๊ยบเขียว ขมิ้นชัน ขึ้นฉ่าย ย่านาง และสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
กรดไหลย้อน เป็นโรคที่มีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตของผู้ป่วย การรู้ทันหรือศึกษาอาการ สาเหตุ และภาวะความรุนแรงของโรค ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ ทานยาตามแพทย์สั่งและไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้อาการของโรคกำเริบ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากอาการกรดไหลย้อน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้แล้ว


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/3-stages-of-gerd/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

18
ผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย
การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการดูแลเรื่องอาหาร การพักผ่อนโดยไม่ต้องมีภารกิจใด ๆ ถือเป็นแนวทางการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริงการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว หรือมีโอกาสได้พบปะพูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกันของคนที่อยู่ในวัยเดียวกัน คือการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ถูกต้อง

การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ด้วยการออกกำลังกาย
ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมถอย เช่น มีปัญหาด้านข้อเข่า กระดูกเสื่อม หรือภาวะเจ็บป่วยจากโรคเบาหวานและโรคเรื้อรังอื่น ๆ การมีปัญหาสุขภาพส่งผลต่อสภาพจิตใจ ทำให้วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย และบางคนอาจมีภาวะซึมเศร้า การออกกำลังกายที่เหมาะสมจึงเป็นกิจกรรมที่สร้างความสนุกเพลิดเพลิน ได้พบปะพูดคุยกับคนที่อยู่ในวัยเดียวกัน และยังเป็นการดูแลสุขภาพที่ได้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น

ช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว เสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก
ทำให้กล้ามเนื้อกระชับไม่หย่อนคล้อย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงกับร่างกาย
การออกกำลังกายในลักษณะที่เหมาะสม ยังช่วยเกี่ยวกับการทรงตัว เช่น การเล่นโยคะแบบง่าย ๆ หรือการรำมวยจีน
ช่วยให้การทำงานของหัวใจ ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจดีขึ้น
หลักการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ควรออกกำลังอย่างต่อเนื่องนาน 30-45 นาที แต่ควรเริ่มจากเวลาน้อย ๆ ไปก่อนแล้วค่อยเพิ่มเวลาการออกกำลังกายตามที่กำหนด
การออกกำลังกายที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ ควรเน้นที่ให้ความเพลิดเพลินหรือทำให้รู้สึกสนุกสนานไปกับการออกกำลังกาย โดยเลือกรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
การออกกำลังกายทุกครั้งควรเริ่มจากการอบอุ่นร่างกาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อ ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อต่าง ๆ คล่องแคล่ว การอบอุ่นร่างกายควรใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที โดยการเดินช้า ๆ การแกว่งแขน แกว่งขา หรือทำท่ากายบริหารแบบง่าย ๆ
ผู้สูงอายุควรเลือกออกกำลังกายให้เหมาะกับสุขภาพของตนเอง หากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากแพทย์
เลือกสวมใส่เสื้อผ้าหรือสวมรองเท้าที่เหมาะสมคล่องแคล่ว เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่เกิดจากการออกกำลัง
ปั่นจักรยาน สูงอาย

กิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ
การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ผลดีของการออกกำลังกาย คือลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ ป้องกันโรคเบาหวานหรือบรรเทาความรุนแรงของโรคได้ กิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ มีหลายวิธี เช่น

การเดิน อาจเป็นการเดินช้า ๆ ให้ได้ระยะทางหรือเวลาตามที่กำหนดไว้ อาจเริ่มจากระยะสั้น ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มระยะทาง การดินนอกจากเป็นการอบอุ่นร่างกายแล้ว เมื่อเริ่มเดินให้เร็วขึ้นจนรู้สึกเหนื่อยหรือชีพจรเต้นเร็ว จึงค่อย ๆ สลับด้วยการเดินช้า ๆ เพื่อผ่อนคลายร่างกาย การเดินยังเป็นการเพิ่มสมรรถภาพให้ปอดและหัวใจอีกด้วย
การปั่นจักรยาน การออกกำลังกายด้วยวิธีนี้อาจเป็นการออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกาย เช่น การปั่นจักรยานอยู่กับที่ โดยเริ่มจากช้า ๆ แล้วเพิ่มความเร็วและแรงขึ้น จนรู้สีกชีพจรเต้นเร็วจึงค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นการปั่นช้า ๆ เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย
การใช้ท่าบริหาร การออกกำลังกายของผู้สูงอายุด้วยวิธีนี้เน้นการเคลื่อนไหวของข้อต่อเป็นหลัก เช่น การบริหารคอด้วยท่าก้มเงย เอียงหมุนคอ การบริหารแขนโดยการเหยียดแขนกางและหุบแขนหมุนเข้าหรือหมุนออก  การบริหารลำตัวด้วยการก้มเงย เอียงด้านข้าง และหมุนตัว ข้อควรระวังสำหรับท่าบริหารไม่ควรเร็วเกินไป เพราะอาจเกิดการบาดเจ็บฉีกขาดของกล้ามเนื้อข้อต่อต่าง ๆ ได้
การออกกำลังกายโดยการรำมวยจีน การออกกำลังกายด้วยวิธีนี้เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อและช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
การออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น กระบอง หรือการออกกำลังกายโดยเครื่องออกกำลังกายที่มีทั้งเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้งและในร่ม
ข้อพึงระวังในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ
ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมากหรือกิจกรรมที่ไม่คุ้นเคย
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่า ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องลงน้ำหนักไปที่ข้อเข่า เช่น การวิ่งหรือกิจกรรมการเต้นแอโรบิก
ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงแดดร้อนจัด เพราะอาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำจากเหงื่อ ทำให้อ่อนเพลียหรือเป็นลมได้ง่าย
ผู้สูงอายุ ควรฝึกปฏิบัติให้การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประจำวัน
ขณะออกกำลังกาย หากมีอการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก อ่อนเพลียมากผิดปกติ ให้หยุดออกกำลังกายและรีบไปพบแพทย์ทันที
ผู้สูงอายุกับการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย เป็นสิ่งสำคัญ หากเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม และทำเป็นประจำจนกลายเป็นกิจกรรมหนึ่งในชีวิตประจำวันจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และยังสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆได้ ช่วยให้สุขภาพจิตดี รู้สึกผ่อนคลาย รวมทั้งได้พบปะสังสรรค์หรือทำกิจกรรมร่วมกับคนในช่วงวัยเดียวกัน ป้องกันภาวะซึมเศร้า ทำให้เห็นคุณค่าในตนเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/exercises-for-seniors/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

19

ตกขาว เป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน อาการตกขาวแม้จะเป็นเรื่องปกติ แต่ก็สามารถสร้างความวิตกกังวลใจให้ผู้หญิงหลาย ๆ คนได้ เพราะหากไม่ดูแลตนเองอย่างดีอาจติดเชื้อหรือมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเองได้ และที่สำคัญ ตกขาว ที่มีความผิดปกติอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกอันตรายที่ผู้หญิงไม่ควรไว้ใจ  
อาการตกขาว คืออะไร อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่
อาการตกขาว คือ ภาวะที่มีสารคัดหลั่งสีขาวออกมาจากช่องคลอด โดยทั่วไปตกขาวที่มีลักษณะปกติจะมีสีใสหรือสีขาวคล้ายแป้งเปียกไม่มีกลิ่น และไม่มีอันตราย อาจมีปริมาณมากในช่วงกลางรอบเดือนที่มีการตกไข่ หรือก่อนมีประจำเดือนและหลังมีประจำเดือน อาการตกขาวยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ตกขาวแบบปกติและตกขาวแบบเป็นโรคหรือติดเชื้อ  ทั้งสองชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
อาการตกขาวปกติหรือที่พบได้ทั่วไป
จะมีลักษณะคล้ายแป้งเปียกสีขาว การตกขาวแบบนี้ไม่น่าเป็นกังวลและพบได้ในภาวะกำลังตั้งครรภ์ และในช่วงก่อนหรือหลังเป็นประจำเดือน มีปริมาณไม่มาก ไม่มีกลิ่น
อาการตกขาวผิดปกติ
คือตกขาวที่มีปริมาณมาก มีสีน้ำตาล หรือสีเหลือง และมีกลิ่น อาจเป็นหนอง มูกปนหนอง ปนเลือด มีฟอง และมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีอาการ คัน แสบ หรือปวดท้องน้อย นอกจากนั้นสีของตกขาวที่แตกต่างกัน ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกอาการของโรคที่แตกต่างกัน เช่น
ตกขาวที่มีสีเขียว มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด
สีขาวขุ่น เป็นลักษณะถึงอาการของเชื้อรา มักมีอาการคันร่วมด้วยหรือแสบร้อนบริเวณช่องคลอด
ตกขาวที่มีเทา มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีหลายชนิดการวินิจฉัยของแพทย์อย่างละเอียดจะทำให้ทราบว่าเป็นเชื่อราชนิดใด
อาการตกขาวที่มีสีน้ำตาล หรือตกขาวที่มีเลือดปน อาการนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง ต้องได้รับการตรวจอย่างละเอียด เพราะมีโอกาสเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งปากมดลูกได้
สาเหตุของตกขาว
อาการตกขาวเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังช่องคลอดที่หลุดลอกออกมา หรือโปรตีนและเกลือแร่ที่มาจากผนังช่องคลอด เยื่อบุโพรงมดลูก และหลอดมดลูก ส่วนสาเหตุที่ทำให้อาการตกขาวเกิดความผิดปกติ เช่น
เกิดจากการที่ปากมดลูกเป็นแผล เพราะมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในช่องคลอด เช่น เศษกระดาษทิชชู สำลีจากเศษผ้าอนามัย หรืออื่น ๆ
เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนมากจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจมีอาการตกขาวผิดปกติ เช่น ตกขาวมีกลิ่น มีสีเหลือง สีน้ำตาล หรือในบางครั้งของเหลวอาจมีฟองและมีกลิ่นน้ำคาวปลา ทำให้เกิดอาการคัน และแสบบริเวณช่องคลอด
เกิดจากการติดเชื้อรา ทำให้ตกขาวมีลักษณะคล้ายนมบูดและจับตัวเป็นก้อนสีขาว มีกลิ่นยีนส์ เป็นลักษณะความผิดปกติที่พบได้มากที่สุด ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อราในช่องคลอด ได้แก่ โรคเบาหวาน การใช้ยาปฎิชีวนะเป็นเวลานาน การมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้นหรือได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากภายนอก เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด ภาวะตั้งครรภ์ ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี การได้รับยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน

การรักษาตกขาว
เมื่อเกิดการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นจากเชื้อไวรัสที่ติดมาจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ตกขาวมีสี มีกลิ่น หรือมีอาการผิดปกติ การรักษาแพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจอย่างละเอียดเพื่อให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อหาแนวทางการรักษาไปตามขั้นตอนได้แก่
รักษาด้วยการใช้ยาเหน็บช่องคลอด โดยการใช้ยอดสอดเข้าไปในช่อคลอด ร่วมกับการใช้ยาทาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
การทานยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อโรคจากการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของการเกิดตกขาว ซึ่งแนวทางการรักษาหรือการรับประทานยาปฏิชีวนะ ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
นอกจากนั้น แนวทางป้องกันรักษาตกขาว ยังมีหลายทางเลือก เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร และยังพบอีกว่าการทานนมเปรี้ยว ทานโยเกิร์ตหรือการทานยาคูลท์ เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีเข้าไปทำลายแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่น 
วิธีป้องกันตนเองจากอาการขาว
หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่อคลอดด้วยน้ำยาอนามัยล้างเฉพาะที่ ควรใช้เพียงแค่น้ำสะอาดล้างภายนอกเพียงอย่างเดียวเพื่อรักษาความสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด
เมื่อเป็นประจำเดือน ควรเปลี่ยนแผ่นผ้าอนามัยบ่อย ๆ ไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ หรือทุกวัน เนื่องจากจะทำให้เกิดการอับชื้นได้
ควรป้องกันการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยการใช้ถุงยางอนามัย 
หากพบว่ามีอาการผิดปกติของตกขาว เช่น มีสีหรือกลิ่น ควรควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาหรือวินิจฉัยโรค
ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน หากไม่จำเป็น
ควรดูแลทำความสะอาดชุดชั้นในให้สะอาดไม่อับชื้น
อาการตกขาวเป็นปัญหาสุขภาพของผู้หญิงที่เป็นกันได้ทุกคน แม้ตกขาวจะไม่มีอาการผิดปกติแต่หากเป็นมากหรือไม่ได้รับการดูแลตนเองที่ถูกต้องอาจทำให้ติดเชื้อและกลายเป็นปัญหาต่อสุขภาพได้  หากเรารู้ทันอาการตกขาวนอกจากช่วยคลายความวิตกกังวลแล้ว ยังสามารถเลือกแนวทางการรักษาและรู้วิธีดูแลป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/leukorrhea/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

20

อาการปวดศีรษะข้างใดข้างหนึ่งหรืออาการปวดเป็นพัก ๆ ที่เรียกกันว่าอาการปวดไมเกรน เป็นปัญหาต่อสุขภาพที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยทำงาน การมีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับโรคนี้ ช่วยให้รู้ทันอาการของโรคและสามารถรับมือด้วยการดูแลป้องกันตนเอง จากอาการปวดไมเกรนได้
ไมเกรน
ไมเกรน คือโรคทางสมองที่มักเกิดขึ้นกับกลุ่มคนทำงานที่เผชิญกับสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องลักษณะของอาการไมเกรน คือมีอากาดรปวดหัวเป็นพัก ๆ เป็น ๆ หาย ๆ ระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งประมาณ 8-12 ชั่วโมง บางรายอาจปวดนานถึง 72 ชั่วโมง และอาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว โดยจะพบผู้ป่วยอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 25 – 30 ปี มากที่สุด มักพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
อาการปวดศีรษะไมเกรน
อาการปวดศีรษะในโรคไมเกรนมีลักษณะสำคัญ คือ มักมีอาการปวดข้างเดียว เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปจะเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุยังน้อย และมีอาการนำมาก่อน เช่น ชาซีกใดซีกหนึ่ง หรือตามองไม่เห็นและตามด้วยอาการเหล่านี้
ปวดศีรษะข้างใดข้างหนึ่งเป็นพักๆ ปวดแบบตุบๆ
บางครั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัวร่วมด้วย 
ปวดศีรษะมากจนทำงานไม่ได้ หรือมีอาการปวดมากจนน้ำตาไหล
เมื่อเคลื่อนศีรษะจะทำให้มีอาการปวดมากยิ่งขึ้น
มีอาการปวดบริเวณหน้าฝากหรือรอบดวงตา
ความรุนแรงของอาการปวดไมเกรน
ความรุนแรงของอาการปวดไมเกรน หรือระยะความรุนแรงของโรคสามารถจำแนกได้ด้วยระดับความปวดศรีษะ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะ คือเริ่มมีอาการปวดศีรษะประมาณ 1-2 วัน อาจมีอาการตัวบวม ปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย
ระยะอาการเตือน คือการเตือนก่อนเกิดอาการปวดศีรษะ ประมาณ 5-60 นาที แต่จะไม่เกิดกับผู้ป่วยทุกคน เช่น มองเห็นแสงกระพริบ ๆ แสงซิกแซก มองเห็นเป็นเส้นคลื่น รู้สึกชาที่มือหรือเท้า การพูดลำบาก พูดไม่ชัด
ระยะปวดศีรษะ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีอาการปวดแบบตุบ ๆ ตามจังหวะหัวใจเต้น อาจมาพร้อมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาการปวดศีรษะอาจยาวนาน 4-72 ชั่วโมง
ระยะหลังจากปวดศีรษะหรือระยะพัก คืออาการปวดศีรษะและอาการอื่น ๆ จะค่อย ๆ ลดลง ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจจะมีความรู้สึกเหนื่อยล้า ซึ่งอาจกินระยะเวลาไม่กี่วันหลังจากหายปวดศีรษะ

ภาพโดย Anastasia Gepp จาก Pixabay

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคไมเกรน
ไมเกรน อาการของโรคเกิดได้จากหลายปัจจัย ส่วนใหญ่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น อยู่ในที่ ๆ มีแดดจัดแสงจ้า  ในที่มีอากาศเย็นหรือร้อนเกินไป  หรืออากาศมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้การพักผ่อนไม่เพียงพอก็เป็นสาเหตุสำคัญของโรคไมเกรน และยังมีสาเหตุอื่นที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดอาการปวด ได้แก่
การกระตุ้นทางระบบประสารทสัมผัส เช่น – ประสาทสัมผัสทางตา มีการจ้องมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ เช่น ดูทีวี เล่นเกมส์ เล่นคอมพิวเตอร์ – ประสาทสัมผัสทางการได้ยินหรือทางหู เมื่อได้ยินเสียงดัง  เช่นใส่หูฟัง ฟังเสียงดัง ๆ – ประสาทสัมผัสทางกลิ่นหรือทางจมูก เมื่อได้กลิ่นต่าง ๆ เช่น บุหรี่ น้ำหอมฉุน ๆ – ประสาทสัมผัสทางรสหรือทางปาก เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ หรือหรือดื่มคาเฟอีนมากไป – ด้านความรู้สึก หรือทางจิตใจ เช่น เมื่อมีอาการเครียด คิดมาก เศร้า ซึม – ประสาทสัมผัสทางสภาพแวดล้อม เช่น ฝุ่นควัน แดด อากาศ
การเปลี่ยนของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไมเกรน เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางสมองและหลอดเลือด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน  เช่น เริ่มมีประจำเดือน 
ทางพันธุกรรม ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น มีคนคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคไมเกรนมาก่อน
การวินิจฉัยอาการปวดหัวไมเกรน 
อาการปวดหัวไมเกรน เกิดขึ้นได้กับทุกคนและอาจแยกอาการปวดไม่ออกระหว่างไมเกรนและอาการปวดที่มีผลข้างเคียงมาจากโรคอื่น ๆ โดยทั่วไปอาการปวดไมเกรนผู้ป่วยมักมีประวัติจำเพาะและตรวจร่างกายพบว่ามีความปกติดีของระบบประสาท ในการตรวจวินิจฉัยเพื่อแยกแยะอาการปวดหัวทั้งสองออกจากกัน แพทย์จะทำการซักประวัติคนไข้และตรวจร่างกายอย่างละเอียดว่าระบบประสาทมีความผิดปกติหรือไม่
วิธีป้องกันรักษาโรคไมเกรน
ไมเกรนเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นเพียงบรรเทาอาการปวดหรือทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดลดน้อยลง โดยแบ่งวิธีป้องกันรักษาได้เป็น 3 ข้อ ดังนี้
การควบคุมปัจจัยชักนำ เช่น หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้นอาการปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์ เนย นม กล้วยหอม ผมชูรส และหลีกเลี่ยงการดื่มชากาแฟ พักผ่อนให้เพียงพอ ควบคุมความเครียด 
การรักษาด้วยตัวยา ได้แก้ พาราเซตามอล กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ยาต้านไมเกรน โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยแนะนำการใช้ยา และเมื่อสามารถควบคุมอาการได้แล้ว แพทย์จะแนะนำให้ค่อยๆลดยาลง
การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น การทำสมาธิ การฝังเข็ม และการออกกำลังกาย
ไมเกรน เป็นโรคที่ยังไม่พบแนวทางการรักษาที่ชัดเจน และยังเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่มีสิ่งเร้ามากมายทำให้อาการปวดไมเกรนถูกกระตุ้น เพียงเรา รู้ทัน อาการไมเกรน และรู้จักวิธีป้องและดูแลตนเองอย่างถูกต้อง อาการปวดศีรษะไมเกรนก็ไม่ใช่ปัญหาและอุปสรรคสำหรับการดำเนินชีวิต

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/migraine/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

21

เครื่องปรุงรส คือตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้อาหารมีรสชาติอร่อย และในแต่ละเมนูอาหารยังใช้เครื่องปรุงรสหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา ซีอิ๊วขาว และซอสปรุงรสต่าง ๆ ที่อาจใช้มากกว่า 2 หรือ 3 ชนิด ซึ่งเครื่องปรุงรสส่วนใหญ่มีรสเค็มจากโซเดียม ในขณะที่ร่างกายของคนเราต้องจำกัดรสเต็มหรือกินเค็มในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักโซเดียมในเครื่องปรุงรสว่ามีคุณและโทษอย่างไร

รู้จักโซเดียม และความสำคัญที่มีต่อร่างกาย
โซเดียม คือ เกลือแร่หรือเกลือแกงประกอบด้วยสารอาหารสำคัญ 2 ชนิดได้แก่ โซเดียมกับคลอไรด์ เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่ต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสม ความสำคัญของโซเดียมหรือเกลือแกง มีหน้าที่ช่วยควบคุมของเหลวในร่างกายให้มีความสมดุล ทำให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติ ช่วยให้การทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อรวมทั้งการดูดซึมสารอาหารในไตและในลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ 

แหล่งอาหารที่มีโซเดียม
อาหารจากธรรมชาติ ประเภท ผักหรือผลไม้ทุกชนิดรวมทั้งเนื้อสัตว์ และยังเป็นแหล่งอาหารที่ไม่ต้องปรุงแต่งรสชาติแต่ร่างกายสามารถได้รับโซเดียมอย่างเพียงพอ
เครื่องปรุงต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับเพิ่มรสชาติของอาหารซึ่งจะมีส่วนประกอบของโซเดียมที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมา ประเภทของเครื่องปรุง เช่น ผงปรุงรส กะปิ น้ำปลา ซอสปรุงรสสูตรต่าง ๆ น้ำมันหอย ซีอิ้วขาว ซอสพริก เต้าเจี้ยว ซุปก้อน หรืออื่น ๆ
อาหารแปรรรูปต่าง ๆ ล้วนเป็นแหล่งโซเดียม ไม่ว่าจะเป็นการหมัก  ดอง หรือตากแห้ง  กระบวนการถนอมอาหารเหล่านี้จะมีทั้งการปรุงรสชาติและการเพิ่มความเค็ม
อาหารกึ่งสำเร็จรูป  รวมทั้งอาหารแช่แข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กคัพ ซุปซอง หรือ อาหารปรุงเสร็จแช่แข็งพร้อมรับประทาน   อาหารกลุ่มนี้ ถือว่ามีการเติมโซเดียมลงไปเป็นจำนวนมากเพื่อทำถนอมอาหาร
อาหารถุงปรุงสำเร็จ ที่ปรุงขายพร้อมทาน มีรายงานว่าอาหารประเภทนี้มีปริมาณโซเดียม เฉลี่ยต่อถุง 815-3,527 มิลลิกรัม เช่น ไข่พะโล้ แพงไตปลา  คั่วกลิ้ง ส่วนอาหารจานเดียว จะมีปริมาณโซเดียม 1,000 – 2,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งจาน หรือครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
อาหารว่างประเภทขนมกรุบกรอบ มักจะมีปริมาณโซเดียมอยู่มาก ทำให้ปัจจุบันมีการใช้ฉลากหวาน มัน เค็ม หรือ ฉลาก GDA มาคอยกำกับและเตือนว่าควรบริโภคแค่ไหน  เช่น คุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 ซอง ควรแบ่งรับประทาน 3 ครั้ง
เครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้ พบว่าผลไม้บรรจุกล่อง ขวด หรือกระป๋อง มีการเติมสารกันบูด หรือโซเดียมเบนโซเอต  ลงไปด้วย ทำให้ผู้บริโภคได้โซเดียมไปด้วย


ผลของโซเดียมที่มีต่อสุขภาพ  
ความต้องการในการบริโภคโซเดียมในแต่ละวันพบว่า ในวัยผู้ใหญ่ไม่ควรบริโภคเกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวันหรือประมาณมื้อละไม่เกิน 600 มิลลิกรัม ซึ่งหากเป็นเกลือก็ไม่ควรเกิน 1 ช้อนชาหรือน้ำปลาไม่เกิน 5 ช้อนชา สำหรับเด็กไม่ควรบริโภคเกิน 1900 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัยแล้ว หากได้รับโซเดียมมากจนมีปริมาณโซเดียมในเลือดสูงเกินไปหรือโซเดียมในร่างกายไม่สมดุล จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนี้

ส่งผลให้รู้สึกกระหายน้ำมากกว่าปกติ เกิดอาการอ่อนเพลียหรือชักเกร็ง ปัสสาวะน้อยผิดปกติ ง่วงซึม หงุดหงิดง่าย หายใจเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน หากเกิดในทารกมักทำให้ร้องไห้งอแง หงุดหงิด กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ 
 หากร่างกายได้รับโซเดียมเกินความต้องการในแต่ละวัน เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคไต ความดันโลหิตสูง ปริมาณที่เหมาะสมควรได้รับไม่เกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ถึง 10 % ลดโรคหลอดเลือดอุดตันได้ 13 % ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตและโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย 
ข้อแนะนำในการลดบริโภคโซเดียม
การบริโภคอาหารที่ได้จากธรรมชาติและจากการปรุงแต่งเพื่อเพิ่มรสชาติในอาหารแต่ละอย่าง ล้วนมีโซเดียมอยู่แล้วทั้งสิ้น ข้อแนะนำในการบริโภคอาหารเพื่อลดปริมาณโซเดียมในแต่วันควรปฏิบัติ ดังนี้

หลีกเลี่ยงหรือลดการใช้เครื่องปรุงรสต่าง ๆ เช่น น้ำปลา ซีอิ้ว น้ำมันหอย และเครื่องปรุงรสอื่นโดยค่อย ๆ ปรับเพื่อให้เกิดความความเคยชิน
ใช้เครื่องปรุงรสจากธรรมชาติทดแทน เพราะมีโซเดียมน้อยและยังได้อาหารที่มีรสชาติอร่อยช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้นได้ เช่น มะนาว พริก หากเป็นน้ำผัก ผลไม้ก็ควรกินแบบธรรมชาติไม่ใช่แบบแปรรูปจะดีต่อสุขภาพมากกว่า
เลือกบริโภคอาหารสดเพิ่มขึ้น และลดอาหารแปรรูปหรืออาหารปรุงสำเร็จให้น้อยลง
ปรับพฤติกรรมลดการกินอาหารรสจัด โดยไม่ต้องจิ้ม ซีอิ๊ว น้ำปลา ซอส น้ำจิ้ม พริกเกลือ น้ำปลาหวาน อาจาด และน้ำพริก
ปรับพฤติกรรมการกิน ลดการเติมเครื่องปรุง หรือชิมก่อนเติมเครื่องปรุงเสมอ
การรับประทานอาหารจากธรรมชาติ ประเภทผักผลไม้ รวมทั้งอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ การลดปริมาณการบริโภคโซเดียม ก็เพียงเลี่ยงการบริโภคอาหารหมักดอง อาหารรสเค็มจัด อาหารแปรรูป พยายามบริโภคอาหารที่ได้จากธรรมชาติไม่ปรุงรสจัด เท่านี้ก็จะช่วยให้ร่างกายปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคไต  โรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่มีปัจจัยมาจากสารอาหารเหล่านี้ได้แล้ว


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/sodium-in-food-good-or-bad/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

22

ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงกับการที่ร่างกายจะเกิดภาวะขาดน้ำได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเขตร้อน ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังบางโรค รวมทั้งในเด็กเล็กและทารก ภาวะขาดน้ำส่งผลเสียต่อทุกส่วนในร่างกายโดยเฉพาะสมองทำให้รู้สึกไม่แจ่มใส คิดช้า คิดอะไรไม่ออก อีกทั้งยังมีผลเสียต่ออวัยวะและระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ภาวะขาดน้ำคืออะไร สาเหตุที่เป็นปัจจัยทำให้ร่างกายขาดน้ำ บทบาทหน้าที่และความสำคัญของน้ำในร่างกาย มีอะไรบ้าง aufarm.shop มีคำตอบมาให้อีกเช่นเคยครับ

ภาวะขาดน้ำ หมายถึงอะไร ?
ภาวะขาดน้ำ คือ การสูญเสียน้ำออกจากร่างกายมากกว่าการได้รับ จนทำให้ร่างกายมีน้ำและแร่ธาตุไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำซึ่งมีอาการและความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

ภาวะขาดน้ำ ที่มีอาการความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง เช่น รู้สึกกระหายน้ำบ่อย ๆ ง่วงซึม อ่อนเพลีย ผิวแห้ง ตาแห้ง ปากแห้ง ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ ท้องผูก มีอาการมึนงง วิงเวียน ปวดศีรษะ เป็นต้น
ภาวะขาดน้ำ ที่มีความรุนแรงและควรพบแพทย์โดยด่วน เช่น มีอาการกระหายน้ำอย่างรุนแรง ไม่มีเหงื่อ ปัสสาวะน้อยและมีสีเข้ม ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็วและแรง หายใจหอบ มีไข้ อ่อนเพลีย ท้องเสียรุนแรง หรืออุจจาระเป็นเลือด
หน้าที่และความสำคัญของน้ำในร่างกาย
น้ำเป็นสารอาหารและส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ภายในร่างกายของคนเราจะประกอบด้วยของเหลวประมาณร้อยละ 60 – 70 ของน้ำหนักตัว ในจำนวนนี้เป็นเป็นน้ำเสีย 2 ส่วนใน 3 ส่วน น้ำดีที่อยู่ในเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายมีหน้าที่ ดังนี้

ช่วยละลายสารอาหารต่าง ๆ เช่น น้ำตาลกลูโคส กรดแอมิโนรวมทั้งวิตามินต่าง ๆ ในร่างกาย
ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ หรือช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
ช่วยย่อย ดูดซึมและนำสารอาหารเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายรวมทั้งช่วยให้สารต่าง ๆ ไหลเวียนในร่างกายได้ดี
ช่วยให้การขับถ่ายและการกำจัดของเสียที่ละลายอยู่ในน้ำขับออกจากร่างกายได้ดี
ทำให้การเกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆที่เกิดขึ้นในร่างกายเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์
ช่วยเป็นน้ำหล่อลื่นในอวัยวะทำให้อวัยวะทำหน้าที่ได้อย่างดี เช่นตามข้อต่อต่าง ๆ ในลูกตา ในถุงน้ำคร่ำ
รู้ได้อย่างไร ว่าร่างกายมีภาวะขาดน้ำ ?
ภาวะขาดน้ำในผู้ใหญ่ มักมีอาการเหนื่อย อ่อนล้า ไม่มีแรง ปากแห้งและปวดศีรษะ หลังจากนั้นมักมีอาการหน้ามืด ปัสสาวะน้อยและมีสีเหลืองเข้มกว่าปกติ เมื่ออาการรุนแรงชีพจรจะเต้นเร็วขึ้น ไม่มีเหงื่อ ตาลึกโหล หิวกระหายน้ำรุนแรง ความดันลดลงและหมดสติ
ภาวะขาดน้ำ ในเด็กเล็ก จะพบว่าปัสสาวะน้อยลง หงุดหงิด ซึม ไม่กระตือรือร้น ไม่ร้องไห้ ผิวหนังเหี่ยว ชีพจรเต้นเร็วบางรายพบอาการกระหม่อมยุบ


สาเหตุทำให้ร่างกายขาดน้ำ 
เกิดจากการออกกำลังกายเป็นเวลานาน ๆ และอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน 
เกิดการเจ็บป่วยที่ทำให้อาเจียน ถ่ายท้องจนร่างกายเสียน้ำและแร่ธาตุ 
รับประทานยารักษาโรคบางชนิดที่ทำให้ขับปัสสาวะ เช่น ยาลดความดัน ยาเบาหวาน การดื่มแอลกอฮอล์
เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ดื่มน้ำไม่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขาดน้ำ
ในกรณีที่ออกกำลังกายหนักร่างกายเสียเหงื่อมาก ๆ อาจทำให้หมดแรง เป็นตะคริว และเป็นลมได้ง่าย
เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นนิ่วหรือไตวาย 
อาจมีอาการชักหมดสติเพราะกล้ามเนื้อหดอันเนื่องมากจากแร่ธาตุในร่างกายไม่สมดุล
เกิดความดันเลือดและออกซิเจนลดต่ำ ทำให้อาจถึงภาวะช็อกและเสียชีวิตได้
การวินิจฉัยภาวะขาดน้ำของแพทย์
การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังนี้

การตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบว่าร่างกายขาดน้ำหรือไม่ เช่น การตรวจความดัน ตรวจการเต้นของหัวใจ เพราะการขาดน้ำจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น เกิดการเวียนศีรษะ เพราะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้การคิดก็ช้าลงด้วย
ตรวจเลือด เพื่อหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หาค่าความเป็นกรดเป็นด่าง หาการทำงานของตับไต หรือปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ
ตรวจปัสสาวะเพื่อหาน้ำตาล หาปริมาณโปรตีนเพื่อดูว่าตับไต ปกติหรือไม่ ซึ่งหากมีความผิดปกติก็จะเสี่ยงภาวะขาดน้ำได้สูง  
แนวทางการรักษาการ และดูแลตนเองจากภาวะขาดน้ำ
การรักษาภาวะขาดน้ำในแพทย์ก็จะใช้วิธี ให้ดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือแร่ หากไม่สามารถดื่มได้ก็จะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ เพื่อเป็นการชดเชยปริมาณของน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป ส่วนการป้องกันและดูแลตนเองจากภาวะขาดน้ำ ทำได้ดังนี้

ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หากออกกำลังที่มีการเสียเหงื่อมาก ๆ ควรดื่มน้ำหรือเกลือแร่ทุก ๆ 20 นาที 
หากต้องทำกิจกรรมหนัก ๆ เมื่อมีอาการเหนื่อย เหงื่ออกมาก ๆ เวียนศีรษะ สมองมึนงง ไม่แจ่มใส คิดช้า คิดไม่ออก ควรมีการหยุดพัก
ขณะออกกำลังกาย ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีและเหมาะกับกิจกรรม 
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อบอ้าว หรือ แสงแดดจัด
ภาวะขาดน้ำ นอกจากส่งผลเสียต่ออวัยวะและระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายของคนเราแล้ว ยังทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เพราะภาวะขาดน้ำส่งผลทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานไม่ดี เป็นผลทำให้การส่งออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เมื่อสมองไม่แจ่มใส ทำให้คิดอะไรไม่ออก จนส่งผลกระทบต่องานในหน้าที่


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/dehydration/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

23

เชื่อว่านาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักกัญชา (Cannabis sativa indica) พืชที่หลายคนต่างก็ให้ความสนใจเนื่องจากมีผลงานการวิจัยระบุว่าสารสำคัญในกัญชาสามารถรักษาโรคร้ายหลายโรคให้หายได้ และนอกจากกัญชาที่มีคุณประโยชน์มากมายแล้วยังมีกัญชง (Cannabis sativa) พืชล้มลุกที่มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์อีกชนิดหนึ่งที่คล้ายกัญชามาก ซึ่งอาจทำให้คนที่สนใจสรรพคุณของกัญชง และกัญชา ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สำหรับข้อสงสัยนี้ aufarm.shop มีคำตอบครับ

กัญชง คืออะไร ?
กัญชง เป็นไม้ล้มลุกมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกัญชาและอยู่ในวงศ์เดียวกัน การจำแนกจึงทำได้ค่อนข้างยาก กัญชงถือว่าเป็นพืชพื้นบ้านที่มีความสำคัญกับวัฒนธรรมประเพณีของชาวม้ง เพราะมีความเชื่อว่า กัญชง เป็นพันธุ์พืชชนิดหนึ่งที่เทพเจ้าได้ประทานมาให้มนุษย์ได้ใช้ทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม และใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ เดิมที กัญชง เคยเป็นพืชล้มลุกที่จัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกับพืชตระกูลตำแย แต่ภายหลังพบว่ามีคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะหลายอย่างที่ต่างออกไปจากพืชตระกูลตำแยเป็นอย่างมาก จึงได้รับการแบ่งเป็นพืชอีกวงศ์หนึ่ง

ลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างกัญชงและกัญชา
ประเทศไทย กัญชาและกัญชง ถูกจำแนกเป็นพืชเสพติดประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เนื่องจากสารสำคัญในพืชกลุ่มกัญชาและกัญชง มีสารออกฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้ผู้เสพมีอาการตื่นเต้น อารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลง ความคิดเลื่อนลอยสับสน ความคุมตัวเองไม่ได้ แต่ในกัญชงมีปริมาณน้อยกว่ากัญชามาก ในหลายประเทศสามารถปลูกกัญชงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับประเทศไทยยังไม่มีเกณฑ์หรือมาตรการควบคุมที่ชัดเจน 

สำหรับลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างกัญชงและกัญชา ทั้งด้านกายภาพและความแตกต่างกันในเรื่องของวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ มีดังนี้

ลักษณะใบ ใบกัญชงจะมีขนาดใหญ่ เรียงกันห่าง ไม่มียางเหนียวมีสีเขียวอมเหลือง ส่วนใบกัญชามีขนาดเล็กใบเรียงติดกันมียางเหนียวมีสีเขียวสด
ลำต้นกัญชงมีขนาดสูงใหญ่มากกว่า 2 เมตร ส่วนกัญชาต้นเตี้ยสูงไม่เกิน 2 เมตร
ลักษณะปล้องกัญชงมีข้อปล้องยาวกว่ากัญชา
กิ่งของกัญชงจะแตกกิ่งก้านสาขาน้อยกว่ากิ่งของกัญชา
ลักษณะดอกกัญชงจะเริ่มออกดอกเมื่อมีอายุเกิน 4 เดือนและไม่มียางที่ดอกส่วนกัญชาเริ่มออกดอกเมื่ออายุเกิน 3 เดือนมียางเหนียวที่ดอก
ลักษณะเปลือก เนื่องจากกัญชงให้เส้นใยที่มีคุณภาพสูงเส้นยาวจึงทำให้เปลือกเหนียวลอกง่าย ส่วนกัญชาเปลือกไม่เหนียวลอกยาก
ต่อมน้ำมันของกัญชงมีน้อยกว่า จัดอยู่ในพืชซึ่งให้ประโยชน์หลักทางด้านสิ่งทอเป็นสำคัญ


ประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้จากต้นกัญชง
ในกัญชงมีสารเคมีสำคัญชนิดกับกัญชาและสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ที่ให้ผลเหมือนกัน เช่น ลดอาการปวดเรื้อรัง แผลอักเสบ ลดอาการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง ลดอาการที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด  ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด รักษาโรคลมชักในเด็ก รักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยทำให้ผ่อนคลายหลับง่ายขึ้น ช่วยชะลอการเติบโตและรักษามะเร็งบางชนิด เช่นมะเร็งปอด
ในกัญชงจะมีสาร CBD มากกว่าในกัญชา ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น ลดอาการวิตกกังวลทางจิต ลดอาการซึมเศร้า สมาธิสั้น ความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ลดอาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาท ปวดไมเกรน ลดอาการกระตุกจากโรคพากินสัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากโรคเอแอลเอส โรคเบาหวาน โรคหัวใจ อาการลำไส้แปรปรวน ช่วยกระตุ้นให้มีความอยากอาหาร และยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
น้ำมันในเมล็ดกัญชง เป็นกรดไขมันชนิดเดียวกันกับทีมีในน้ำมันจากปลา ซึ่งจะมีอยู่ในน้ำมันจากปลาและกัญชงเท่านั้น ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่บริโภคอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
ในเมล็ดกัญชงนั้นมีโปรตีนในปริมาณที่สูงกว่าโปรตีนที่ได้รับจากถั่วเหลือง มีปริมาณเส้นใยสูง ที่สำคัญคือมีราคาที่ถูกกว่า โปรตีนในเมล็ดกัญชงจึงสามารถนำมาใช้ทำเป็นวัตถุดิบทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้เกษตร เนย ชีส โปรตีนเกษตร น้ำมันสลัด ไอศกรีม และนม
เส้นใยจากกัญชงมีความยืดหยุ่น แข็งแรง มีความทนทานสูงในประเทศญี่ปุ่นนิยมนำมาผลิตกิโมโน เนื่องจากเส้นใยของกัญชงมีคุณสมบัติที่แข็งแรงกว่าฝ้าย ดูดซับความชื้นได้ดีกว่าไนลอน อบอุ่นกว่าลินิน ทำให้เนื้อผ้าบางเบาสวมใส่สบาย
กัญชงมีข้อดีกว่าคือเจริญเติบโตได้เร็วกว่า ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่ายในการผลิต การขนส่งและการแปรรูปต่ำกว่า
นอกจากนั้น กัญชงยังมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ได้แก่ ในอนาคตกัญชงมีโอกาสที่จะเป็นพืชที่ถูกกฎหมายในประเทศไทย เนื่องจากมีเส้นใยที่เหนียว เหมาะแก่การทำเครื่องนุ่งห่มและยังให้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้เช่นเดียวกันกับกัญชา เนื่องจากมีสารเคมีเป็นสารชนิดเดียวกันมีสรรพคุณทางยาและให้ผลการรักษาเป็นแบบเดียวกัน และยังมีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมอาหารและอาหารเสริม


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/hemp-cannabis/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

24

เชื่อว่าหลายคนเคยมีอาการ คอเคล็ด และยังเป็นสาเหตุทำให้ปวดตึงตามต้นคอและปวดกล้ามเนื้อ แม้จะไม่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตมากนัก แต่สร้างความรำคาญทำให้รู้สึกไม่สบายตัว การเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว เนื่องจากรู้สึกเจ็บเมื่อเคลื่อนไหวบริเวณคอ อาการคอเคล็ด เกิดจากอะไร การดูแลตนเองและป้องกันตนเองควรทำอย่างไร เรามีคำแนะนำครับ
อาการคอเคล็ด เกิดจากอะไร ?
คอเคล็ด คืออาการที่กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นบริเวณคอเกิดการบาดเจ็บ ตึง ปวด ทำให้เคลื่อนไหวได้ยาก หรือบางครั้งการเคลื่อนไหวยิ่งทำให้อาการปวดรุนแรงมากขึ้น อาการคอเคล็ดเกิดขึ้นได้จากหลายสาตุ ส่วนปัจจัยเสี่ยงได้แก่
เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุหรือแรงกระทบอย่างฉับพลัน ทำให้คอมีการยืดและหดเกร็งเร็วเกินไปจนเกิดการบาดเจ็บและมีอาการเคล็ดตามมา
การออกกำลังกายอย่างผิดวิธี หรือออกกำลังกายโดยไม่มีการอบอุ่นร่างกายที่เพียงพอ
การเคลื่อนไหวบริเวณคอหรือลำตัวอย่างกะทันหัน ก็เป็นสาเหตุของกาการคอเคล็ด ได้
การเกิดอุบัติเหตุ เช่น การหกล้มในท่าทางที่ผิดปกติ 
การนอนตกหมอน หรือการเคลื่อนไหวร่างกายที่รุนแรงและรวดเร็ว 
การใช้ร่างกายแบบหนักหรือหักโหม
การรักษาอาการคอเคล็ด
อาการคอเคล็ดส่วนใหญ่จะมีอาการปวด ประมาณ 2-3 วันก็จะหายเป็นปกติได้เอง กรณีทรมานหรือสร้างความรำคาญ อาจรักษาหรือแก้อาการคอเคล็ดได้ด้วยตนเองหรือพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา ได้หลายวิธี ดังนี้ 
การประคบร้อนเพื่อคลายอาการปวด สามารถทำได้ด้วยตนเอง 
ใช้น้ำเย็นประคบในช่วง 24 ชั่วโมงแรกที่เกิดอาการการ โดยใช้แผ่นสำเร็จรูปหรือถุงใส่น้ำและน้ำแข็งประคบบริเวณคอ 15-20 นาที ทุก ๆ 2 ชั่วโมง
หากมีอาการปวดก็สามารถทานยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการ ทำให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อคลายความตึง คอเคล็ดก็จะหายและกลับมาเป็นปกติได้
การทายาและนวดคลายกล้ามเนื้อ 
การใช้ยารักษาซึ่งใช้ได้ทั้งนาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณที่มีสรรพคูณในการรักษาอาการปวดและคลายกล้ามเนื้อ
การทำกายภาพบำบัด เพื่อช่วยยืดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น 
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น เปลี่ยนท่านอน อบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายเสมอ และอื่น ๆ
หากมีอาการปวดที่รุนแรง เคลื่อนไหวบริเวณคอแล้วมีอาการปวด อาจใส่เฝือกอ่อนเพื่อป้องกันอาการกระทบกระเทือน
หากอาการรุนแรง แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเกิดจากกระดูกแตกร้าว ก็จะต้องพิจารณาแนวทางการรักษา เช่น การผ่าตัด บางกรณีตามความเหมาะสมของผู้ป่วยในแต่ละราย 

อาการคอเคล็ดมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายหรือไม่ ?
หากเป็นอาการคอเคล็ดโดยทั่วไปมักไม่ค่อยพบอาการแทรกซ้อน ยกเว้นอาการ คอเคล็ด ที่รุนแรง เช่น กระดูกแตกร้าวหรือกระดูกไขสันหลังได้รับความเสียหาย ก็จะพบอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นตามมาได้เช่น แขนขาอ่อนแรง ควบคุมอุจจาระปัสสาวะหรือการเดินไม่ได้ 
การป้องกันตนเองจากอาการคอเคล็ด
หากต้องออกกำลังกายก็ควรมีการวอร์มทำให้ร่างกายพร้อมเสียก่อน ไม่ออกกลังกายแบบผิดวิธีหรือรุนแรงจนเกินไป
หมั่นยืด นวด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นเพื่อให้ผ่อนคลายไม่ให้เกิดการตึงจนเกินไปหรือหลังจากการนั่งทำงานนาน ๆ 
กรณีเกิดอาการคอเคล็ดจากการนอนผิดท่า ควรเปลี่ยนท่านอนใหม่ให้เหมาะสม เลือกใช้หมอนที่ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป สามารถรองรับกับศีรษะและลำคอได้ดี
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งท่าเดิมนาน ๆ หรือจัดอุปกรณ์ในการทำงาน เช่นคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เช่นการแบกของไว้บนหลังหรือไหล่ ไม่หันหรือหมุนคอ เคลื่อนไหวเร็วจนเกินไป
วิธีนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวด
อาการเคล็ดคอ บางครั้งเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากอาการเคล็ดคอแล้ว ยังอาจปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ และช่วงไหลทั้งสองข้าง เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น นอกจากวิธีดูแลตนเองตามที่กล่าวมาแล้ว ยังสามารถนวดผ่อนคลายด้วย 2 วิธีง่ายๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้
1. กรณีนั่งทำงานแล้วรู้สึกปวดหรือเคล็ดคอ 
วิธีนวด ให้นั่งฟุบกับโต๊ะทำงาน ใช้มือข้างเดียวกับด้านที่ปวดคอ วางลงบริเวณศีรษะทางด้านหลัง กางนิ้วโป้งออก ใช้นิ้วโป้งกดคลึงบริเวณที่เจ็บที่สุดของลำกล้ามเนื้อ ใช้แรงกดพอประมาณให้รู้สึกตึงหรืออาจจะปวดเล็กน้อย กดค้าง 30 วินาทีแล้วผ่อนแรง กดซ้ำรวมระยะเวลา 3-5 นาที หรือจนรู้สึกว่าลำกล้ามเนื้อนิ่มลงหรืออาการปวดลดลง ทำวันละ 1-2 ครั้ง อาการจะดีขึ้น  
2. วิธียืดกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการคอเคล็ด
  วิธีนี้ทำได้โดยการก้มศีรษะ หันหน้า และใช้มือด้านตรงข้ามกับข้างที่มีอาการ โดยวางมือบนศีรษะ กดศีรษะลงให้รู้สึกตึงก้านคอเล็กน้อย ทำค้างไว้นับ 1-10 โดยจะรู้สึกผ่อนคลายที่กล้ามเนื้อคอบริเวณที่มีอาการ สามารถทำซ้ำได้ไม่เกิน 10 ครั้ง วันละ 3 รอบ คอเคล็ด เป็นอาการทีเกิดขึ้นได้กับทุกคน อาการส่วนใหญ่ที่รุนแรง หากไม่เกิดจากการกระแทกหรือเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงจนมีกระดูกแตกหัก หรือเกิดจากความเสื่อมของวัย เพียงหมั่นออกกำลังกาย ยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นตามวิธีที่แนะนำเป็นประจำ ก็จะลดปัจจัยเสี่ยงจากอาการคอเคล็ดได้

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/stiff-neck/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

25

หัดเยอรมัน โรคติดต่อที่มีอาการไข้และออกผื่น ติดต่อกันได้ง่ายโดยการไอจาม สัมผัสน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง ถือเป็นโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพโดยเฉพาะในทารก ลักษณะคล้ายคลึงกับโรคหัดธรรมดา แต่มีความรุนแรงมากกว่า หัดเยอรมันเกิดจากอะไร อันตรายจากโรคนี้ได้แก่อะไรบ้าง หาคำตอบได้จากบทความต่อไปนี้ครับ
หัดเยอรมันเ เกิดจากอะไร ?
หัดเยอรมัน (Rubella/German Measies) เป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัส Rubella  ซึ่งเป็นการติดเชื้อไวรัสคนละชนิดกับโรคหัดธรรมดา ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถแพร่กระจายด้วยการไอ จาม สูดเอาเชื้อที่ลอยในอากาศเข้าไป พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่  หัดเยอรมันไม่ใช่โรคร้ายแรง มักจะหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ยกเว้นในหญิงมีครรภ์ หากแม่เป็นหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ในระยะ 3-4 เดือนแรก ก็จะส่งผ่านโรคนี้เข้าสู่ทารกทางกระแสเลือด ทำให้เกิดความพิการทางหู ตา หัวใจ และสมอง แต่โรคนี้สามารถป้องกันได้จากการฉีดวัคซีน
อาการของโรคหัดเยอรมัน
โรคหัดเยอรมันเมื่อได้รับเชื้อเข้าไปแล้วจะมีระยะฟักตัวประมาณเฉลี่ย 14 วัน ครึ่งหนึ่งของผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ เมื่อมีอาการเริ่มแรกคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสทั่วไป เหมือนหัดธรรมดาหรือไข้หวัด ต่อจากนั้นอาการของโรคจะมีได้หลากหลาย คือ 
มีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูก 
ตาแดงอ่อนเพลีย มีไข้ เยื่อบุตาอักเสบ 
ปวดข้อ ปวดตามตัว 
ต่อมน้ำเหลืองโต และมีผื่นขึ้นที่ใบหน้าและลำตัว 
ส่วนอาการมีไข้ มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก เนื่องจากเด็กได้รับวัคซีนแล้ว 
มีผื่นสีชมพูจางๆ แบบแบนราบกระจายอยู่ห่างๆ โดยมักจะเริ่มขึ้นที่หน้าแล้วลามไปทั่วตัวภายใน 24 ชั่วโมง 
สำหรับอาการของโรคหัดเยอรมันจะหายได้เองภายใน 3 วัน ยกเว้นกรณีต่อมน้ำเหลืองโตอาจมีอาการนานหลายสัปดาห์ได้
การวินิจฉัยอาหารของหัดเยอรมัน
การวินิจฉัย แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายภายนอก เพื่อดูว่ามีผื่นขึ้นหรือไม่ มีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยมาก่อนหรือไม่ จากนั้นตรวจหาการติดเชื้อที่น้ำลายและตรวจเลือด การตรวจเลือดและน้ำลายนั้นเป็นการตรวจหาสารภูมิต้านทานจำเพาะต่อหัดเยอรมันคือสารภูมิต้านทานชนิดเอ็มและจี และจะทำการตรวจ 2 ครั้งโดยห่างจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ โดยผลการวินิจฉัยสรุปได้ดังนี้
ไม่พบสารภูมิคุ้มกันจี แสดงว่าอาจไม่เคยได้รับเชื้อหรือได้รับวัคซีนหัดเยอรมันมาแล้วแต่ป้องกันไม่ได้
พบภูมิคุ้มกันจีแต่ไม่พบสารภูมิคุ้มกันชนิดเอ็ม แสดงว่าอาจเคยได้รับเชื้อไวรัสและวัคซีนมาแล้ว
พบภูมิคุ้มกันชนิดเอ็ม หรืออาจจะพบหรือไม่พบชนิดจีก็ได้ แสดงว่า เกิดการติดเชื้อไวรัสขึ้นมาใหม่
พบสารภูมิคุ้มกันชนิดเอ็มในทารกแสดงว่า ทารกนั้นติดเชื้อจากมารดาที่เป็นหัดเยอรมัน
ไม่พบสารภูมิต้านทานใดใดเลย แสดงว่าไม่เคยติดเชื้อและยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน

แนวทางการรักษา โรคหัดเยอรมัน
โดยปกติคนที่เป็นหัดเยอรมัน อาการจะเริ่มดีขึ้นเองภายใน 10 วัน การรักษาแพทย์จะรักษาไปตามอาการเพื่อให้อาการทุเลาหรือลดน้อยลงด้วยการใช้ยา ดังนี้ 
หากมีอาการไข้ ปวดตามข้อ แพทย์ก็จะให้ยาแก้ไข้หรือยาบรรเทาอาการปวด เช่นยาพาราเซตามอล โดยจะหลีกเลี่ยงการให้แอสไพริน และจะให้กลับมาพักผ่อนที่บ้าน ซึ่งหากมีอาการไข้ขึ้นสูงก็ควรหมั่นเช็ดตัวเพื่อลดอาการไข้ด้วย
กรณีเป็นหญิงตั้งครรภ์ แพทย์จะรักษาด้วยการให้สารภูมิต้านทาน เพื่อให้อาการดีขึ้น แต่ก็ต้องมีการพบแพทย์เป็นระยะดังนั้นจึงต้องปฏิบัติตนและมาตามนัดของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อกับทารกในครรภ์
ภาวะแทรกซ้อน
ในหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 25-40 หากติดเชื้อหัดเยอรมันภายใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจทำให้หัดเยอรมันผ่านเข้ามาติดทารกที่อยู่ในครรภ์ โดยอาการที่เกิดจากการติดหัดเยอรมันเช่น เจริญเติบโตช้า ทารกมีน้ำหนักน้อย คลังคลอดแล้วเลี้ยงไม่โต มีอาการหูหนวก เป็นต้อกระจก หัวใจและสมองพิการแต่กำเนิดได้ เนื่องจากเชื้อหัดเยอรมันจะอยู่ในลำคอและขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะได้นานถึง 1 ปี สามารถแพร่เชื้อให้กับเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนี้ได้อีกด้วย
โรคนี้มักไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และขณะเป็นก็มักอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเป็นแล้วก็จะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต ที่มักพบและเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ คือในผู้หญิง คือข้ออักเสบ เกล็ดเลือดต่ำและสมองอักเสบ ซึ่งจะมีอาการประมาณ 1 เดือน
การดูแลตนเองและแนวทางป้องกัน
เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ เป็นการป้องกันการขาดน้ำ ลดอาการไอ 
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อเพิ่มจนอาจทำให้อาการแย่ลง
ป้องกันการแพร่เชื้อของตนเองไปสู่ผู้อื่นด้วยการหยุดทำกิจกรรมที่ต้องติดต่อกับผู้อื่น เช่น หยุดเรียนหรือพักการทำงาน
หัดเยอรมันหากพบในบุคคลทั่วไปมักไม่ค่อยส่งผลหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง แต่ถ้าเกิดกับหญิงมีครรภ์ก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดในทารกสูง ดังนั้นเพื่อให้ทารกปลอดภัยจากโรคนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีการวางแผนฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/german-measies/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

26

ลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นโรคร้ายแรงที่ส่วนใหญ่การรักษาทำได้เพียงประคับประคองไปตามอาการและความรุนแรงของโรค ไม่สามารถรักษาให้หายได้ พบได้มากใน 10 อันดับแรกของมะเร็งทุกชนิด ปัจจุบันจากความก้าวหน้าทางการแพทย์ หากพบอาการป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมียตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อัดราการรักษาให้หายขาดค่อนข้างสูง
ทำความรู้จัก โรคลูคีเมีย 
ลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว คือโรคที่เซลล์เม็ดเลือดขาวมีความผิดปกติ โดยมีการแบ่งเซลล์อย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคหรือส่งผลให้ร่างกายขาดภูมิต้านทานโรค นอกจากนั้นยังสามารถแพร่กระจายไปทำลายกระบวนการสร้างเม็ดเลือด เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือดในไขกระดูก จนร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จนถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในที่สุด
สาเหตุของโรคลูคีเมีย
สาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด แต่ก็สันนิษฐานว่าอาจเป็นได้จากพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผู้ที่มีญาติที่ใกล้ชิดเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันรวมทั้งผู้ที่มีกรรมพันธุ์เป็นดาวซินโดรม หรือผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด ได้รับรังสี การได้รับสารเบนซีนโดยตรง ได้รับคลื่นไฟฟ้าแรงสูงจากเครื่องใช้ไฟฟ้า มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้สูง ลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเป็นเรื้อรัง (Chronic leukemia) การเกิดโรคจะค่อยเป็นค่อยไป ร่างกายจะมีความสมดุลของเลือดเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ มักไม่แสดงอาการร่างกายยังคงสร้างเม็ดเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดได้ เมื่อเริ่มมีความผิดปกติเม็ดเลือดขาวจะค่อยๆเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงระดับที่เป็นอันตราย
มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเป็นเฉียบพลัน (Acute leukemia) พบมากในเด็กนี้ร่างกายจะมีการสร้างเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ แต่กลับสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง ทำให้เกล็ดเลือดต่ำอย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต 
อาการของผู้ป่วยลูคีเมีย
ผู้ป่วยลูคีเมียหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค หากเป็นแบบเรื้อรังมักไม่มีอาการที่เด่นชัด ลักษณะอาการเริ่มจาก รู้สึกอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะในตอนกลางคืน น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดหรือมีอาการกดเจ็บบริเวณกระดูก ส่วนมะเร็งเม็ดเลือดแบบเฉียบพลันมักมีอาการผิดปกติที่สังเกตได้ ดังนี้
ระยะแรก มักเป็นไข้เป็นเวลานาน ปวดตามกระดูก น้ำหนักลด มีแผลในช่องปาก ตัวซีดเป็นจ้ำเขียวจ้ำแดง ผิวซีดเหลือง เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล มีประจำเดือนมากผิดปกติ ถ่ายเป็นเลือด
ระยะที่สอง มักตามพร่ามัว เวียนศีรษะ อาเจียน มีอาการชัก ปวดท้อง ตับ ไต ม้าม โตขึ้น 
วิธีสังเกตอาการของลูคีเมีย
ผู้ป่วยที่พบความผิดปกติ หรือมีอาการของโรคตามที่กล่าว โดยเฉพาะมีเลือดออกตามอวัยวะ มีจ้ำตามร่างกาย ติดเชื้อง่าย ปวดกระดูกมากขึ้นเรื่อย ๆ มีก้อนที่ขาหนีบ ต่อมน้ำเหลือง ขาหรือ คอ รวมทั้งมีปัจจัยเสี่ยงคือบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน ควรรีบไปพบแพทย์เพราะปัจจุบันลูคีเมีย หากตรวจพบได้เร็วยังสามารถรักษาให้หายขาดได้
การวินิจฉัยของแพทย์
เมื่อพบแพทย์ ในเบื้องต้นจะสอบถามอาการ ซักประวัติทางการแพทย์ และตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น ตรวจดูการบวมโตของต่อมน้ำเหลือง ม้าม หรือตับ ตรวจภาวะผิวซีดด้วยการตรวจผิวหนังและดวงตา เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือไม่ และอาจใช้การตรวจการตรวจเลือด ตรวจไขกระดูก ตรวจภาพถ่ายรังสี และการเจาะและเก็บตัวอย่างน้ำไขสันหลัง เพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย 
ขั้นตอนการรักษาโรคลูคีเมีย
สำหรับขั้นตอนการรักษามะเร็วเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย แพทย์จะพิจารณาวิธีรักษาโดยประเมินจากอายุสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ตามขั้นตอน ดังนี้
ให้คีโม ด้วยการให้ทานหรือให้ฉีด โดยแบ่งออกเป็น ระยะทำลายมะเร็ง ระยะป้องกัน ระยะแพร่กระจายไปที่สมองและระยะควบคุม โดยจะให้เป็นชุด ๆ ขั้นตอนนี้อาจให้เวลา 1-2 ปี
ให้รังสี ด้วยการฉายรังสีเพื่อเตรียมปลูกถ่ายไขกระดูกหรือฉายรังสีที่ม้าม
การปลูกถ่ายไขกระดูก ทำหลังจากให้เคมีและฉายรังสี วิธีนี้เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยสร้างเม็ดเลือดที่เป็นปกติได้เอง
สร้างภูมิคุ้มกัน เป็นการกระตุ้นทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกัน
การดูแลตนเองของผู้ป่วยลูคีเมีย
โรคนี้ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำทำให้ติดเชื้อได้ง่าย การดูแลสุขอนามัยตนเองและทำให้ร่างกายแข็งแรงเพื่อสร้างภูมิตุ้มกันโรค ทำได้ดังนี้
ดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะต่าง ๆ เช่น การทำความสะอาดช่องปากควรใช้แปรงขนนุ่ม เพื่อลดการเป็นแผลในปาก
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เน้น ทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปด้วยดี ลดความเสี่ยงต่อการเป็นแผลที่ทวารหนักและน้ำจะช่วยลดการแตกสลายของเม็ดเลือด
พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันโรค ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
เชื่อฟังปฏิบัติตนและอยู่ในความควบคุมของแพทย์อย่างเคร่งครัด
อาการและความรุนแรงของลูคีเมีย ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อายุ สุขภาพของผู้ป่วย หากพบอาการของโรคได้เร็วก็สามารถดูแลรักษาให้หายหรือควบคุมโรคได้ หากพบล่าช้าอาการของโรคมีความรุนแรง ลูคีเมียชนิดเฉียบพลันอาจเสียชีวิตภายใน 3-4 เดือน เนื่องจากการติดเชื้อง่าย เชื่ออาจมีการลุกลามไปตามส่วนต่าง ๆของร่างกาย ส่วนชนิดเรื้อรังแม้อาการของโรคจะค่อยๆเป็นค่อยๆ หากอาการรุนแรงก็อาจเสียชีวิตได้ภายในระยะเวลา 6-8 เดือน

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/leukemia/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

27

พิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ คือโรคติดต่อร้ายแรงที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเกิดกับสุนัขและเข้าใจว่าการรับเชื้อเกิดจากการถูกสุนัขกัด หรือสัมผัสกับน้ำลายของสุนัขที่เป็นโรคกลัวน้ำหรือเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงโรคนี้เกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง วันนี้มีความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า มาแนะนำครับ

พิษสุนัขบ้า โรคที่ไม่มียารักษา แต่มีวัคซีนป้องกัน
พิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสเรบี่ส์ ซึ่งพบในน้ำลายของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าที่รู้จักและคุ้นเคยกันดี ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและแมว การติดต่อจากสัตว์สู่คนจะผ่านทางน้ำลายของสัตว์ เช่น การกัด ข่วน เลีย หรือน้ำลายของสัตว์กระเด็นเข้าตา ปาก หรือทางผิวหนังที่มีบาดแผล 

ผู้ป่วยที่แสดงอาการจะมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้สูงถึง 100% และยังไม่มียารักษา แต่สามารถฉีดวัคซีนช่วยป้องกันเชื้อโรคไม่ให้ไปสู่ระบบประสาทได้ แต่ทั้งนี้ต้องรีบฉีดให้กับผู้ที่โดนสัตว์เลี้ยงกัด หรือโดนสัตว์เลี้ยงเลียในบริเวณที่มีรอบแผล รอยถลอก ก่อนที่ร่างกายของผู้ป่วยจะติดเชื้อจนแสดงอาการออกมา

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า
ผู้ป่วยเมื่อได้รับเชื้อไว้รัสจากสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคกลัวน้ำหรือพิษสุนัขบ้า จากการกัด การข่วน หรือเลีย เริ่มแรกอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เนื่องจากเป็นระยะการฟักตัวของเชื้อที่อาจใช้เวลา 4-5 วันหรือบางรายอาจใช่ระยะฝักตัวนาน  2-12 สัปดาห์ขึ้นไป อาการของผู้ป่วยโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะแรก
เมื่อผ่านการฝักตัวของเชื้อไวรัสแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้เล็กน้อย เจ็บคอ รู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อารมณ์หงุดหงิด 

ระยะที่สอง
อาการของโรคพิษสุนัขบ้าจะแสดงออกอย่างชัดเจนผู้ป่วยจะเริ่มกลืนน้ำและอาหารลำบาก มีอาการกลัวน้ำ กระสับกระส่าย ไม่ชอบแสงสว่าง ลม และเสียงดั เริ่มมีน้ำลายเหนียวข้นออกมาจากปาก

ระยะที่สาม
คืออาการทางประสาท ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการและความรุนแรงของโรคพิษสุนัขบ้าที่แตกต่างกัน 3 ลักษณะ ได้แก่

มีอาการคลุ้มคลั่ง เห็นภาพหลอน เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย มีอาการกลัว ซึม หมดสติ หยุดหายใจ และเสียชีวิต
บางรายอาจมีอาการอัมพาตกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ พบอาการกลัวน้ำและกลัวลมร่วมด้วย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมดสติและเสียชีวิต
บางกรณีอาจแสดงอาการไม่ตรงต้นแบบ มีอาการปวดประสาทหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชาแขนและเป็นอัมพาต ไม่พบการกลัวน้ำและกลัวลม และเสียชีวิตจากระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว


วิธีสังเกตสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิด สามารถเป็นโรคกลัวน้ำหรือพิษสุนัขบ้าได้หมด แต่สัตว์เลี้ยงที่พบว่าเป็นสาเหตุของการการติดต่อจากสัตว์สู่คนมากที่สุดได้แก่ สุนัขและแมว อาการของสัตว์เหล่านี้เมื่อป่วยเป็นโรคกลัวน้ำหรือพิษสุนัขบ้า จะมีระยะฝักตัวไม่เกิน 6 เดือน ส่วนอาการของโรคแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

อาการดุร้าย เมื่อได้สุนัขเป็นโรคนี้จะมีอาการเปลี่ยนไปจากปกติ คือจะหงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย ตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็ว เริ่มออกอาการตื่นเต้นวิ่งพล่านดุร้ายกัดทุกสิ่งที่ขวางหน้า ต่อมาจะเริ่มเป็นอัมพาตทั้งร่าง และตายไปในที่สุด
อาการเซื่องซึมพบได้น้อยและจะสังเกตได้ยากกว่าอาการดุร้าย สุนัขจะหลบอยู่ตามมุมมืดต่าง ๆ เชื่องซึมเหมือนเป็นไข้ ไม่ดุร้ายแต่จะกัดตอบโต้เมื่อมีสิ่งรบกวน ไม่กินน้ำและอาหาร อาการเหมือนมีก้างติดคอพยายามที่จะตะกุยที่คอตัวเอง และมักจะตายภายใน 10 วัน
ขั้นตอนการดูแลรักษาเมื่อถูกสุนัขกัด
หากถูกสุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้ากัด ก่อนพบแพทย์ควรดูแลตนเองในเบื้องต้นตามขั้นตอน ต่อไปนี้ 

เบื้องต้นควรฟอกล้างด้วยน้ำสบู่ ให้เร็วทีสุดและล้างหลายๆครั้ง ใช้เวลาล้างไม่น้อยกว่า 15 นาทีหากเลือดไหลปล่อยให้ไหลไม่ต้องห้ามเลือดเพื่อให้เชื้อไหลไปกับเลือด จดจำลักษณะและสังเกตอาการสัตว์ สืบหาเจ้าของเพื่อทราบประวัติ หากสุนัขตายให้นำซากมาให้แพทย์ส่งตรวจ
ขั้นตอนการรักษาของแพทย์ ล้างแผลใส่ยาฆ่าเชื้อ ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ หากแผลไม่ฉกรรจ์มาก แพทย์จะไม่เย็บแผลจะปล่อยให้แผลสมานเองเพื่อป้องกันการอักเสบ
การให้ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น อิริโทรมัยซิน เป็นเวลา 3-5 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อเป็นหนอง ทำให้ยากแก่การรักษา
การฉีดยาป้องกันโรคบาดทะยัก โดยจะฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อ หากผู้ที่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยักแล้ว หมอจะฉีดแค่ครั้งเดียว หากยังไม่เคยฉีดก็จะฉีด 3 ครั้ง
การฉีดยาป้องกันแก่ผู้ที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ที่ทำการรักษา ซึ่งต้องพิจารณาความเสี่ยงจากสัตว์ที่เป็นต้นเหตุ แพทย์จะพิจารณาให้อิมมูโนโกลบุลินที่มีภูมิต้านทานโรคพิษสุนัขบ้าร่วมอยู่ด้วย ซึ่งการฉีดวัคซีนทุกวันนี้จะไม่เหมือนการฉีดในอดีตที่ต้องฉีดรอบสะดือทุกวัน เพียงแค่ฉีด 3-5 ครั้ง และสามารถฉีดได้ทุกเพศทุกวัยตามที่แพทย์นัด
แนวทางป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
หากมีสัตว์เลี้ยงเช่นสุนัขหรือแมว ควรนำไปรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
ไม่เข้าใกล้สุนัขหรือแมวจรจัด หรือสัตว์เลี้ยงที่มีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า
ควรควบคุมการเจริญพันธุ์ของของสุนัขและแมวด้วยการทำหมัน
ไม่แหย่หรือรบกวนสุนัขในขณะที่สุนัขกำลังกินอาหารหรือนอนหลับ
ไม่ควรกักขังสุนัขหรือแมวเพราะจะทำให้มีนิสัยดุร้าย
เมื่อพบเจอสุนัขเห่าหรือสุนัขที่เราไม่คุ้นเคยควรยืนนิ่งไม่ควรตกใจวิ่งหนี ควรตั้งสติรอจนสงบแล้วหาทางเลี่ยง
ผู้ที่ทำงานเสี่ยงในการติดเชื้อโรคนี้เช่นสัตวแพทย์ เด็ก หรือผู้ที่มีโอกาสสัมผัสกับสัตว์ในตระกูลสุนัขและแมวควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคแบบล่วงหน้า หากสงสัยว่าถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดหรือข่วนควรรับวัคซีนเพื่อกระต้นซ้ำอีกครั้ง
พิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่ยังไม่มียารักษา แต่สามารถดูแลป้องกันตนเองและบุคคลใกล้ชิดให้ปลอดภัยจากโรคนี้ได้ ด้วยการเฝ้าระวังดูแลสัตว์เลี้ยงทุกชนิดที่เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่เฉพาะสุนัขหรือแมวเ โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสัตว์ตัวอื่นและแพร่มายังเจ้าของหรือคนเลี้ยง


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/rabies/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

28

ไต คืออวัยวะสำคัญภายในร่างกายที่ทำหน้าที่กำจัดของเสีย ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หากเมื่อใดที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ในการกรองหรือกำจัดของเสียออกจากร่างกาย จนทำให้ร่างกายเกิดวิกฤติและเกิดโรคแทรกซ้อนจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ฟอกไต คือขั้นตอนการรักษาที่ทำควบคู่กับการใช้ยา เพื่อช่วยพยุงและประกับประคองให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้
การฟอกไต และประโยชน์ของการฟอกไต
ฟอกไตหรือ Hemodialysis เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายหรือไตวายเฉียบพลัน เป็นการกำจัดของเสียที่อยู่ในร่างกายหรือในเลือดให้ออกไป ช่วยควบคุมความดันโลหิต โดยจะต้องกระทำร่วมกับการรับประทานยาควบคุมสารเคมีในร่างกายให้สมดุล เช่น โซเดียม โพแทสเซียม ให้ใกล้เคียงกับสภาพของร่างกายคนปกติ ช่วยกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย เป็นการพยุงให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ การฟอกไต ถือเป็นขั้นตอนการทำงานแทนที่การทำงานของไต หรือที่เรียกกันว่าไตเทียม ซึ่งเป็นการทำงานแทนไตของผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อีกต่อไป หรือการฟอกไต ในกรณีที่ร่างกายของผู้ป่วยได้รับสารพิษที่เป็นอันตราย ฟอกไต จึงเป็นวิธีการช่วยกำจัดสารพิษที่อยู่ในร่างกายของผู้ป่วยเพื่อทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
การฟอกไต มีกี่ประเภท
การฟอกไตมี 2 วิธี ซึ่งก่อนการรักษาผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการได้ และการฟอกไตแต่ละครั้งสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการได้ตามความเหมาะสม ดังนี้
การใช้ไตเทียม (Hemodialysis) เป็นการฟอกไตด้วยการใช้เครื่องฟอกไตเทียม โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดสร้างเส้นฟอกเลือดเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ระหว่างร่างกายของผู้ป่วยกับเครื่องฟอกไตเทียม เมื่อเลือดสามารถเข้าเครื่องฟอกได้ เลือดก็จะได้รับการกรองให้สะอาดก่อนนำกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย โดยเส้นเลือดที่รองรับการฟอกไตแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ – เส้นเลือดที่เชื่อมระหว่างเส้นเลือดแดงและดำเพื่อให้เป็นเส้นเลือดขนาดใหญ่ – เส้นเลือดเทียม เป็นการนำเส้นเลือดเทียมเชื่อมระหว่างเส้นเลือดแดงและดำ – เส้นเลือดที่คอ เป็นการใช้พลาสติกใส่ไว้ที่เส้นเลือดดำที่บริเวณคอหรือขาหนีบ
การฟอกทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) เป็นการฟอกเลือดด้วยน้ำยาล้างไตผ่านทางช่องท้อง เพื่อให้ร่างกายปล่อยของเสียรวมกับน้ำยาที่อยู่ในช่องท้องตลอดเวลา เมื่อครบกำหนด 4-6 ชั่วโมงก็จะปล่อยน้ำยาออกมาและนำกลับเข้าไปใหม่
วิธีการและขั้นตอนการฟอกไต
การใช้ไตเทียม (Hemodialysis) มีวิธีการและขั้นตอนต่าง ๆ เริ่มจากผู้เชี่ยวชาญจะนำเข็ม 2 เล่ม ใส่ในเส้นเลือดที่ใช้สำหรับฟอกไต เข็มแรกเป็นการส่งเลือดเข้าฟอกที่เครื่องไตเทียม โดยในเครื่องไตเทียมจะประกอบไปด้วยตัวกรองและน้ำยาฟอกไต เมื่อกรองของเสียเสร็จแล้วเลือกก็จะถูกฟอกด้วยน้ำยาฟอกไต เมื่อเลือดสะอาดก็จะถูกส่งกลับเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเข็มที่ 2 วิธีการนี้ใช้เวลาประมาณ 3-5 ชั่วโมงต่อครั้งและต้องฟอก 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
การฟอกไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) วิธีการก็คือ แพทย์จะทำการผ่าตัดใส่สายพลาสติกเพื่อเป็นช่องทางนำน้ำยาเข้าสู่ร่างกาย เมื่อทำการล้างไต โดยนำน้ำยาเข้าผ่านทางสาย ทางช่องท้อง จากนั้นก็ทิ้งไว้เพื่อให้ร่างกายขับของเสียออกมา เมื่อครบตามเวลาประมาณ 4 ชม.ก็จะนำน้ำยาออกจากช่องท้องและนำน้ำยาใหม่กลับเข้าทิ้งไว้ วิธีการนี้จะใช้เวลาในการล้างประมาณ 40 นาที ด้วยการทิ้งน้ำยาไว้ในช่องท้องประมาณ 4-6 ชั่วโมงและต้องทำซ้ำประมาณ 3-4 ครั้งต่อวัน ทำเช่นนี้ตลอดไปจนกว่าเนื้อเยื่อของช่องท้องจะเสีย
การเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการฟอกไต
เมื่อผู้ป่วยไตวายจำเป็นต้องมีการฟอกไต จะต้องมีการเตรียมตัวก่อนทำการฟอกไตดังนี้
ผ่าตัดทำช่องทางนำเลือดหรือน้ำยาเพื่อเข้าสู่ขบวนการฟอกไต คือการผ่าตัดเส้นเลือดหากเป็นการฟอกไตด้วยเครื่องฟอกและผ่าตัดเพื่อสอดท่อพลาสติกทางช่องท้องหากเป็นการล้างไตทางหน้าท้อง ซึ่งขั้นตอนนี้จะกระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ป่วยควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย ไม่อึดอัด ไม่เครียด
ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัดเพื่อให้วิธีฟอกไตเป็นไปอย่างถูกต้อง และป้องกันการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ การดูแลตนเองหลังการฟอกไต
ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องฟอกไต จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติแต่ต้องมาฟอกเป็นประจำตามจำนวนครั้งที่ต้องฟอกใน 1 สัปดาห์และต้องกลับมาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง
ผู้ป่วยที่ฟอกไตผ่านทางหน้าท้อง ถึงแม้จะมีน้ำยาอยู่ในท้องตลอดเวลาก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่การล้างไตจะต้องทำตามจำนวนครั้ง ด้วยวิธีที่ถูกต้องอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ผู้ป่วยจะต้องทานอาหารตามหลักโภชนาการของผู้ป่วยโรคไต รวมทั้งจำกัดปริมาณการดื่มน้ำตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาความสมดุลของสารอาหาร และเพื่อให้การฟอกไตเกิดประสิทธิภาพต่อตัวผู้ป่วยอย่างสูงสุดอีกด้วย

ผลข้างเคียงของการฟอกไต
กรณีเครื่องฟอกไต
อาจมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ เป็นตะคริว
เกิดการติดเชื้อ ที่บริเวณเส้นเลือด มีอาการไข้ หรือเส้นเลือดโป่งพอง เส้นเลือดอุดตัน
เกิดความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ร่างกายเสียสมดุล เกิดอาการปวดหัว อยู่ในอาการโคม่า
ในด้านจิตใจ ผู้ป่วยเกิดอาการเครียดหรือเป็นซึมเศร้า
กรณีฟอกทางหน้าท้อง
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ไม่สามารถฟอกต่อด้วยวิธีนี้ได้
เกิดการติดเชื้อ ท่ออุดตัน
บวมน้ำ ขับถ่ายยาก
น้ำตาลในเลือดสูง
ปวดหลังน้ำหนักตัวขึ้น ขาดสารอาหาร
เครียดเป็นซึมเศร้า
การฟอกไต นับเป็นวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่สามารถประกับประคองและช่วยยื้อชีวิตผู้ป่วยไตวายขั้นสุดท้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ และยังเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยรอการปลูกไตที่สามารถเข้ากับร่างกายอย่างเหมาะสมได้ในอนาคตอีกด้วย

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/hemodialysis/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

29
การวินิจฉันของแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคต่าง ๆ นอกจากการตรวจเลือดแล้ว การตรวจปัสสาวะก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญ โดยเฉพาะสีปัสสาวะที่สามารถบ่งบอกความผิดปกติหรือเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพได้ เพื่อให้ทุกคนรู้ทันอาการของโรคจากสีปัสสาวะ เรามีความรู้ดี ๆ มาแนะนำเช่นเคยครับ

สีปัสสาวะบ่งบอกปัญหาสุขภาพได้
ปัสสาวะเป็นของเสียที่ร่างกายจำเป็นต้องขับออกมาทุก ๆ วัน ในรูปของน้ำหรือของเหลวโดยไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กรองของเสียจากเลือดและทำการขับออกมาทางท่อปัสสาวะ สีปัสสาวะที่แตกต่างกันเกิดจากยูโรบิ ซึ่งได้มาจากสารฮีม ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง เมื่อเม็ดเลือดแดงตายตามอายุขัย สารฮีมจะสลายตัวให้เป็นสารยูโรบิลิน ซึ่งร่างกายจะกำจัดออกทางปัสสาวะและทางน้ำดีของตับ ปัญหาสุขภาพที่สามารถบ่งชี้ได้ด้วยลักษณะของสีปัสสาวะ คือ โรคไต โรคเบาหวาน โรคตับ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

ปัสสาวะปกติ เป็นสีอะไร ?
โดยทั่วไป สีปัสสาวะ ของคนปกติจะเป็นสีเหลืองใส แต่สีอาจปรับเปลี่ยนหรือแตกต่างกันได้ หากดื่มน้ำระหว่างวันมากหรือดื่มน้ำแล้วปัสสาวะทันที สีของปัสสาวะอาจมีลักษณะขาวใส ถือเป็นปกติ หรือบางคนอาจปัสสาวะออกมาเป็นสีเหลืองสดหรือสีนีออน อาจเกิดจากการทานวิตามินบีรวม ทานยาบางชนิด หรือการทานอาหารต่าง ๆ ก็อาจทำให้สีและกลิ่นของปัสสาวะเปลี่ยนได้ชั่วขณะเช่นกัน

สีและลักษณะของปัสสาวะที่เป็นสัญญาณบอกโรค
นอกจากสีและลักษณะของปัสสาวะจะเป็นตัวบ่งชี้ปัญหาสุขภาพหรือเป็นสัญญาณเตือนอาการของโรคต่าง ๆ ได้ แต่สีปัสสาวะอาจแตกต่างกันไปจากปัจจัยต่าง ๆ ทำให้การวินิจฉัยโรคด้วยตนเองอาจไม่ชัดเจน จึงควรสังเกตสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ร่วมด้วย ได้แก่

ปริมาณของปัสสาวะ กรณีปัสสาวะมีปริมาณมากหรือน้อยจากปกติ หากไม่มีปัจจัยอื่น ๆ เช่นดื่มน้ำมากหรือน้อย ก็ถือว่าอยู่ในภาวะผิดปกติ
สังเกตจากกลิ่นของปัสสาวะ หากมีกลิ่นเหมือนนมแมว เป็นกลิ่นที่ส่วนใหญ่พบว่าร่างกายอาจมีโรคเบาหวาน หรือกลิ่นเหม็นเน่า ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
ให้สังเกตสีปัสสาวะและลักษณะของความใส ขุ่น โดยปกติทั่วไปสีปัสสาวะจะใสหรือเหลืองอ่อนไม่ควรมีสีเข้มหรือเปลี่ยนสีจากปกติ
จำนวนที่ปัสสาวะในแต่ละวัน หากเป็นช่วงกลางวัน การปัสสาวะที่ปกติจะประมาณ 4–6 ครั้ง ส่วนช่วงเย็นถึงเข้านอน ไม่ควรเกิน 2 ครั้งและระหว่างกลางคืนขณะนอนหลับไม่เกิน 2 ครั้ง

Illustration of urine color chart illustration

สีปัสสาวะ บ่งบอกโรคอะไรบ้าง ?
สีของปัสสาวะไม่ได้มีเพียงสีเหลืองใสเท่านั้น ยังสามารถมีได้หลายสี ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่ร่างกายได้รับในช่วงนั่น ๆ เช่น ยาที่รับประทาน อาหาร รวมทั้งการเจ็บป่วย การมีโรคประจำตัว ซึ่งสีของปัสสาวะที่ผิดปกติ ยังสามารถบอกได้ว่าร่างกายอาจมีโรคใดแฝงอยู่  เช่น 

สีเหลืองอ่อน เป็นลักษณะของปัสสาวะในคนปกติทั่วไป 
สีเหลืองเข้ม เป็นลักษณะที่ปกติทั่วไป แต่เป็นสัญญาณเตือนว่าควรดื่มน้ำให้มากขึ้น
สีเหลืองส้ม อาจเป็นเพราะว่ามีวิตามินหรืออาหารเสริมบางชนิดอยู่ในร่างกาย จนเกินความต้องการของร่างกาย หรือเกิดจากการทานยาวัณโรค ยาลดการระคายเคืองทางเดินปัสสาวะ
สีเหลืองเข้มคล้ำ อาจเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ โรคดีซ่าน มะเร็งตับที่เกิดจากท่อน้ำดีในตับ 
สีขาวใส นั่นหมายถึงในร่างกายกำลังมีปริมาณน้ำมาก แต่กลับมีปริมาณเกลือแร่น้อย ซึ่งอาจมาจากการดื่มน้ำ การยาบางชนิดเช่นยาขับปัสสาวะ หรือกำลังมีโรคไตแฝงอยู่ หากเป็นกรณีนี้ปัสสาวะก็จะใสตลอดทุกครั้งไม่เกิดเป็นครั้งคราวเหมือนกรณีอื่น ๆ
สีขาวขุ่น เป็นเพราะร่างกายเกิดผลึกของสารฟอสเฟต หรือมีโปรตีนอยู่ในร่างกายเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาการนี้มักเกิดจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคกรวยไตอักเสบ
สีแดง เกิดจากการทานอาหารบางชนิด รวมทั้งอาจมีเลือดปนมากับปัสสาวะซึ่งอาจเป็นอาการของโรคนิ่วในไต ไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มะเร็งกระเพาะ  
สีน้ำตาลเข้ม อาจเกิดจากการทานอาหารบางชนิดเช่นถั่วปากอ้าในปริมาณมาก การทานยาบางชนิด เช่นยาระบาย ยาคลายกล้ามเนื้อ ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาปฏิชีวนะอื่น ๆ
สีดำ เป็นโรคทางพันธุกรรมเช่น โรคแอลแคปโตนูเรีย พบได้ไม่บ่อยนัก
การดูแลตนเองเพื่อให้สีปัสสาวะเป็นปกติ
สำหรับการดูแลตนเองเพื่อให้สีปัสสาวะเป็นปกติ ควรหมั่นสังเกตสีของปัสสาวะบ่อย ๆ จะทำให้ระมัดระวังและดูแลตนเอง เพื่อช่วยให้ปัสสาวะมีสีเหลืองใสเป็นปกติ  โดยการปฏิบัติตัว ดังนี้

ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6–8 แก้ว โดยแบ่งตามช่วงวัน ดังนี้
–  ผู้ที่มีอายุ 4–8 ปี ควรดื่มวันละ 5 แก้ว

–  อายุ 9–13 ปี ควรดื่มวันละ 8 แก้ว 

–  อายุ 14–18 ปี ควรดื่มวันละ 8–11 แก้ว

– อายุ 19 ปีขึ้นไป ควรดื่มวันละ 9 แก้ว

– สำหรับผู้ชายที่อายุมากกว่า 19 ปี ควรดื่มวันละ 13 แก้ว

ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ซึ่งขั้นตอนของแพทย์ จะทำการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่าร่างกายมีอาการของโรคแฝงอยู่หรือไม่
หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำตามความเหมาะสมของวัย และควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3–4 ครั้งแต่ละครั้งควรต่อเนื่อง 40 นาที
เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่นรับประทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีเส้นใยสูง เพื่อให้การขับถ่ายและปัสสาวะเป็นปกติ 
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ รวมทั้งไม่ควรอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน 
รักษาสุขอนามัยส่วนตัวให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เช่น ชำระล้างด้วยน้ำสะอาดเมื่อต้องขับถ่ายทั้งปัสสาวะและอุจจาระ
การที่สีปัสสาวะผิดปกติ ไม่เหลืองใสบางครั้งก็ไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกว่าร่างกายมีปัญหาสุขภาพเสมอไป หรือพบว่าสีของปัสสาวะเปลี่ยนไป หากเปลี่ยนไปชั่วคราวแล้วกลับมาเป็นสีเหลืองปกติ อาจหมายถึงร่างกายได้รับสารบางอย่างมากเกินไป แต่ถ้าสีของปัสสาวะเปลี่ยนไปบ่อย ๆ ร่วมกับมีความผิดปกติอื่น ๆ เกิดขึ้นกับร่างกาย ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และทำการรักษาได้อย่างถูกต้องตามภาวะของโรค

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/urine-color/

30

ไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติก็จะส่งผลกระทบต่อต่อสภาพร่างกายและจิตใจ ไทรอยด์คืออะไร ภาวะไทรอยด์เป็นพิษอันตรายหรือไม่ และควรมีวิธีป้องกันตนเองอย่างไร ข้อสงสัยเหล่านี้ เรามีคำตอบครับ
โรคไทรอยด์  รู้เร็วไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
ต่อมไทรอยด์ นอกจากทำหน้าผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายแล้ว ยังทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเผาผลาญต่าง ๆ กระตุ้นการเต้นของหัวใจ รักษาอุณหภูมิในร่างกายและการหลั่งเหงื่อ เมื่อการทำงานของไทรอยด์ผิดปกติ มีภาวะของต่อมไทรอยด์โต ก็จะส่งผลให้ร่างกายแปรปรวนอย่างมาก
ไทรอยด์ คืออะไร ?
ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่บริเวณลำคอในส่วนหน้าใต้ลูกกระเดือกหรือกระดูกอ่อน มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ มีขนาดยาว 4 ซม. กว้าง 1-2 ซม.เป็นต่อมที่ทำงานอยู่ภายใต้ระบบการทำงานของต่อมใต้สมองและส่วนที่เรียกว่า ไฮโปธาลามัส ซึ่งทั้งต่อมใต้สมองและสมองไฮโปธาลามัสยังควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ 
การทำงานของต่อมไทรอยด์
การทำงานของต่อมไทรอยด์นอกจากสัมพันธ์กับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายแล้ว ยังสัมพันธ์กับอารมณ์และสภาพจิตใจของคนเราด้วย หน้าที่สำคัญของต่อมไทรอยด์ คือ จะทำหน้าที่จับไอโอดีนจากอาหารที่เราทานเข้าไปในร่างกาย แล้วนำไปรวมกับกรดอะมิโนเพื่อสร้างไทรรอยด์ฮอร์โมน หน้าที่ของไทรอยด์ฮอร์โมน ได้แก่
ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต ควบคุมการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เร่งการสลายไขมัน เร่งการสลายไกลโคเจน
ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง

People photo created by freepik – www.freepik.com

ประเภทของไทรอยด์ และลักษณะความผิดปกติ
ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนหรือโรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ และภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานปกติ ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
1. ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
หมายถึง ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานสูงขึ้นกว่าปกติ มีสาเหตุมาจากสิ่งต่าง ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์เกิดการอักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคคอพอกเป็นพิษ ซึ่งส่งผลให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้น อาการจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินที่ผู้ป่วยสามารถสังเหตุได้ คือมีรูปร่างผอมลงทั้ง ๆ ที่กินจุ หัวใจเต้นเร็วและแรง ทนอากาศร้อนไม่ได้ อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย หรือมีไข้เมื่อต่อมไทรอยด์อักเสบ
การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
การกินยาต้านไทรอยด์ ซึ่งจะมียา 2 ประเภท คือ โพรพิลไทโอยูราซิล และเมทิมาโซล การรักษาด้วยการกินยาอาจมีผลข้างเคียง ได้แก่ มีอาการไข้ เม็ดเลือดขาวต่ำ มีผื่นขึ้นตามตัวตามผิวหนัง และมีภาวะตับอักเสบได้
การกลืนน้ำแร่ไอโอดีน เพื่อทำให้ต่อมมีขนาดเล็กลงและสร้างฮอร์โมนได้น้อยลง เป็นการรักษาทีได้รับความนิยมเนื่องจากได้ผลเร็ว มีมีผลข้างเคียงน้อย
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ วิธีนี้มักใช้ในผู้ป่วยที่คอโตมาก ๆ หรือมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่น กลืนอาหารหรือน้ำลำบาก หายใจลำบาก แม้จะได้ผลเร็วแต่อาจมีผลข้างเคียง ได้แก่ เสียงแหบ หรือระดับแคลเซียมต่ำจากการที่ต่อมพาราไทรอยด์ถูกตัดออก
2. ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ
ภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ซึ่งส่งผลให้ไทรอยด์ฮอร์โมนในร่างกายหรือในเลือดต่ำกว่าปกติ อาการที่พบเมื่อมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ เช่น ทนหนาวไม่ได้ หนาวเกินเหตุ ท้องผูก ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เฉื่อย ช้า เสียงแหบ พูดได้ช้าลง หรือมีอาการซึมเศร้า
การรักษาภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ
ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการเฉื่อยชา คิดช้า ง่วงนอน น้ำหนักขึ้น หนาวง่าย ผมร่วง ผิวแห้งหยาบ ตัวบวม หน้าบวม หรือเป็นตะคริวบ่อย ๆ จึงต้องทำการรักษาโดยการรับประทานยาที่เป็นไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมักต้องรับประทานไปตลอดชีวิต
3. ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานปกติ
ได้แก่ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมาตามปกติ แต่เกิดความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ และอาจส่งผลกระทบต่อการหลั่งปริมาณฮอร์โมนได้บ้าง หรือการที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้น แต่การสร้างฮอร์โมนยังปกติ ภาวะนี้ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาแต่อาการต่อมไทรอยด์โตมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องตรวจด้วยวิธีการดูดเซลล์จากก้อนเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง หากพบหลังจากนั้นจึงพิจารณาการรักษาที่เหมาะสม ไทรอยด์ เป็นโรคที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทุกราย ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยเป็นราย ๆ ไป หากอาการไม่อยู่ในขั้นรุนแรงและไม่ต้องทำการรักษาแต่จะต้องตรวจติดตามระดับฮอร์โมนอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับผู้ที่ต้องทำการรักษา และแม้ไทรอยด์จะไม่ใช่โรคร้ายแรงหรือเฉียบพลัน แต่เป็นโรคที่กระทบถึงหลายระบบ เมื่อเป็นแล้วเราต้องดูแลตัวเองตลอดเวลา การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ใช้ชีวิตอย่างสมดุลนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์พบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถปลอดภัยและใช้ชีวิตอยู่กับโรคนี้ได้เช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/understanding-thyroid-problems-basic/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

31

“เกาต์” เป็นโรคเรื้อรังที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเกิดอาการอักเสบอย่างรุนแรง ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกตามข้อต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด บวม แดงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลัน โดยโรคเกาต์ พบได้บ่อยในผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสามารถดูแลตนได้อย่างถูกต้อง วันนี้เรามีอาการปวดข้อของเกาต์และอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวด มาแนะนำเป็นความรู้ครับ
โรคเกาต์ คืออะไร ?
โรคเกาต์ คือการที่ร่างกายของคนเรารมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเกินจุดอิ่มตัว จนทำให้เกิดการตกตะกอนเป็นผลึกเกลือยูเรต เมื่อผลึกเหล่านี้ไปสะสมตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายโดยเฉพาะบริเวณข้อ ก็จะทำให้เกิดการอักเสบตามมา เกาต์เป็นโรคที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พฤติกรรมการบริโภคของผู้ป่วยหรือเกิดจากพันธุกรรม  สำหรับอาการกำเริบของโรค ผู้ป่วยที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงอาจจะกลายเป็นโรคเกาต์ในช่วงเวลาใดก็ได้ ภาวะของโรคที่พบได้บ่อยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเป็นเพศชายอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ส่วนเพศหญิงพบได้บ้างในวัยหลังหมดประจำเดือน
อาการของโรค และการอักเสบของเกาต์
เมื่อเกิดอาการอักเสบ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดข้ออย่างรุนแรง เช่น มีอาการปวดบริเวณข้อ หรือข้อนิ้วหัวแม่เท้า นอกจากอาการปวดแล้วยังมีอาการบวม ผิวหนังตึง แดง และเจ็บมาก แต่จะมีลักษณะจำเพาะคือเมื่ออาการเริ่มทุเลาผิวหนังบริเวณที่ปวดจะลอกและมีอาการคัน
อาการปวดของผู้ป่วย อาจเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารมากผิดปกติ ทานอาหารที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ หรือการดื่มแอลกอฮอล์ และมักเริ่มปวดในเวลากลางคืน
ส่วนใหญ่อาการปวดจากการอักเสบของโรคเกาต์ มักจะเป็นข้อเดียว จะปวดและอักเสบประมาณ 1 สัปดาห์แล้วจะค่อยๆหายได้เอง
ผู้ป่วยเป็นโรคเกาต์ ระหว่างที่ไม่มีอาการปวดหรืออักเสบ จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ทำให้ผู้ป่วยขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มบางประเภทที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ
เมื่อเกิดอาการอักเสบหรือปวดข้อ ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ หนาวสั่น ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเกาต์
เกาต์ เมื่อมีอาการแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาหรือไม่ไปพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนได้เช่นเดียวกับโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้แก่
มีปุ่มผลึกกรดยูริกในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้มีลักษณะเป็นก้อนนูนจนส่งผลเสียต่อบุคลิกและภาพลักษณ์
ผู้ป่วยที่ควบคุมอาการของโรคได้ไม่ดีและปล่อยให้เป็นโรคเรื้อรัง อาจกลายเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบ และไตวายจนทำให้เสียชีวิตได้
ผู้ป่วยเกาต์ ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะข้อพิการได้

แนวทางการรักษาโรคเกาต์
แนวทางการรักษานอกจากการทานยาไปตลอดชีวิตและการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด การรักษาโรคเกาต์ ยังมีแนวทางอื่นโดยไม่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องทานยาไปตลอด ซึ่งการรักษาทำได้ 2 แนวทาง ดังนี้
1. แนวทางการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
สำหรับการรักษาด้วยวิธีนี้ ต้องเริ่มจากการดูแลตนเองของผู้ป่วย เช่น การลดน้ำหนักในรายที่น้ำหนักตัวมากเกินไป การดื่มน้ำให้มากเพื่อช่วยการขับกรดยูริกออกทางไต งดการดื่มสุราและแอลกอฮอล์ทุกชนิด ลดการรับประทานอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก พืชผักที่มีกรดยูริก และอาหารทะเล ซึ่งการรับประทานอาหารเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องงดหรือเลิกทานเพียงลดปริมาณการรับประทานลงเท่านั้น 
2. วิธีปฏิบัติตัวไม่ให้โรคเกาต์กำเริบ
การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากไม่ทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น ลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ผลการรักษาโรคเกาต์เป็นไปด้วยดี โดยผู้ป่วยต้องมีส่วนร่วม ดังนี้
ทำความเข้าใจ และเรียนรู้สาเหตุของโรค และสิ่งกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ เพื่อดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค หากปฏิบัติตัวดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ยังลดความเสี่ยงต่อการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดอีกด้วย
ทานอาหารให้สมดุลและถูกส่วน ทานให้ครบทุกหมวดหมู่ ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 3000 มิลลิลิตร
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ
ต้องพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด เพื่อติดตามผลการรักษา ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องตรวจเลือดเพื่อดูระดับกรดยูริก และตรวจการทำงานของตับและไตเป็นระยะ ๆ
ผู้ป่วยควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อข้อที่อักเสบ
ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยโรคเกาต์ นอกจากอาการปวดข้ออย่างรุนแรงแล้วยังต้องวิตกกังวลกับอาหารต้องห้าม ซึ่งส่วนใหญ่มีอยู่ในเมนูอาหารประจำวันของคนไทยอยู่แล้ว เช่น พืชผักต่าง ๆ แต่ผักหลากหลายชนิดกลายเป็นอาหารกระตุ้นอาการปวดเกาต์ เมื่อทราบประเภทของอาหารที่เป็นตัวกระตุ้นอาการปวด ก็จะสามารถปรับเปลี่ยน หลีกเลี่ยง หรือควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องสมดุล

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/gout-symptoms-causes/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

32

คนที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ส่วนใหญ่จะมีภาวะอ้วนลงพุงร่วมด้วย ซึ่งนอกจากจะเป็นปัญหาต่อบุคลิกภาพที่ทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเอง ยังหาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายได้ยาก และสิ่งสำคัญผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง มักเข้าใจว่าเป็นลักษณะอาการของคนอ้วนทั่วไป ทำให้ขาดการดูแลตนเองจนประสบกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือมีปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ เกิดขึ้นได้
ทำความรู้จัก ภาวะอ้วนลงพุง
อ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) หมายถึงกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญอาหาร ทำให้เกิดไขมันสะสมที่บริเวณช่องท้องหรือบริเวณช่องเอวมากเกินไป เมื่อสะสมนาน ๆ ก็จะเห็นผนังหน้าท้องยื่นออกมาได้อย่างชัดเจน เกณฑ์ที่บ่งบอกภาวะอ้วนลงพุง มีดังนี้
ในเพศชาย ต้องพบว่ามีความยาวของเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. หรือมากกว่า 36 นิ้ว
ในเพศหญิง ต้องพบว่ามีความยาวของเส้นรอบเอวมากกว่า 80 ซม. หรือมากกว่า 32 นิ้ว
ต้องพบปัจจัยเสียงต่อไปนี้ร่วมด้วย อย่างน้อย 4 ข้อ ได้แก่
เป็นผู้ที่ต้องกินยารักษาความดันโลหิตสูง หรือความดันโลหิตตั้งแต่ 180/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
เป็นผู้ที่มีภาวะไขมันสูงและต้องกินยาลดไขมัน หรือระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
เป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (ภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้มีน้ำหนักเกิน มีถุงน้ำรังไข่ หรือรอยปื้นดำที่ผิวหนัง เช่น บริเวณต้นคอ)
ระดับคลอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือดหรือ HDL-cholesterol น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในเพศชาย และน้อยกว่า 50 มิลลิลิตร/เดซิลิตร ในเพศหญิง หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและต้องกินยาลดไขมันเป็นประจำ
สาเหตุของโรคอ้วนลงพุง
สาเหตุที่แน่ชัดของโรคอ้วนลงพุง หรือ Metabolic Syndrome ยังไม่ทราบแต่ชัด แต่อาจเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน พันธุกรรม อาหารที่รับประทาน รวมถึงพฤติกรรมการดำรงชีวิตก็เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะอ้วนลงพุง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วนลงพุง
สำหรับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วนลงพุง พบว่าสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยและที่พบได้มาก ได้แก่
อายุ พบว่าอายุมากมีโอกาสอ้วนลงพุงได้สูงกว่าคนอายุน้อย ผู้ที่มีอายุ 20 พบภาวะนี้เพียง 10% คนที่อายุ 60 มีอัตราการเกิดโรคนี้ร้อยละ 40
เชื้อชาติ คนผิวดำจะมีโอกาสเป็นโรคอ้วนลงพุงได้สูง
คนที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน จะพบว่าโอกาสอ้วนลงพุงได้มากกว่าคนผอม
ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นโรคอ้วนลงพุงได้สูง
คนที่เป็นโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิต
อันตรายต่อสุขภาพจากภาวะอ้วนลงพุง
เป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ง่าย
ไตจะขับเกลือออกได้น้อยลง เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
ผลจากไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ที่สูง เป็นปัจจัยเสียงของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ
ภาวะเลือดจะแข็งตัวได้ง่าย ทำให้อุดหลอดเลือดที่ไปเลียงสมองหรือหัวใจ
ผู้ที่เป็นโรคอ้วนลงพุง มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้ง่าย
เป็นสาเหตุของโรคหัวใจวาย หรือไตวาย
เป็นปัญหาต่อระบบหายใจ หายใจไม่เต็มอิ่ม ไม่เต็มปอด เสียงต่อภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่าง ๆ มากกว่าคนปกติทั่วไป
เป็นสาเหตุของโรคข้อเสื่อม มีความเสียงต่อโรคข้ออักเสบ อาการปวดหลัง หรือปวดเข่า จากการรับน้ำหนักตัวที่มากขึ้น
ง่วงซึม อ่อนเพลีย และมีโอกาสเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้
การรักษาผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มโรค Metabolic Syndrome หรืออ้วนลงพุง จะต้องได้รับการรักษาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคเบาหวาน ขั้นตอนการรักษาแพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น
การออกกำลังกาย วันละ 30 นาทีอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน
เน้นรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยลดอาหารประเภทไขมันลง และรับอาหารจำพวกแป้งไม่เกินร้อยละ 50 ของอาหารที่รับประทาน
รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ข้าวกล้อง ผัก ถั่ว และผลไม้
ลดอาหารพวกเนื้อสัตว์
รับประทานอาหารที่ใช้น้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันปาล์ม งดอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ
การรักษา โรคอ้วนลงพุง ด้วยวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หากปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและมี ระเบียบวินัยในตัวเอง ก็จะสามารถลดน้ำหนักตัวลดไขมันที่สะสมบริเวณช่องท้องและเอวได้อย่างเห็นผล กรณีการรักษาด้วยวิธีนี้ไม่ได้ผลงไม่สามารถลดน้ำหนักตัว หรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันหรือความดันโลหิตได้ แพทย์จำเป็นต้องใช้ยาในการควบคุม อ้วนลงพุง ถือเป็นภัยร้ายใกล้ตัวที่เป็นอันตรายต่อสุขร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อบุคลิกดภาพทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอีกด้วย

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/metabolic-syndrome-symptoms-causes/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

33

หูดหงอนไก่ โรคทางเพศสัมพันธ์ที่แม้อาการจะไม่ร้ายแรง แต่ก็มักสร้างความรำคาญหรือทำให้รู้สึกวิตกกังวลใจและขาดความไม่มั่นใจในการใช้ชีวิตคู่ หูดหงอนไก่เป็นโรคที่ค้นพบมานานแต่ยังมีการติดต่อและมีผู้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โรคนี้คืออะไร มีปัญหาต่อการใช้ชีวิตคู่อย่างไร เรามีคำตอบมาให้เช่นเคยครับ

รู้จักหูดหงอนไก่
หูดหงอนไก่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หูดอวัยวะเพศหรือหูดกามโรค เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งมาจากไวรัส ฮิวแมนแปปิโลมาไวรัส(HPV) สามารถเป็นได้ทุกวัยตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ที่พบมากที่สุดคือช่วงอายุ 16-25 ปี และมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย การติดต่อหากเป็นในวัยเด็กก็มักจะติดต่อทางการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติคือผ่านทางช่องคลอดจากแม่ที่เป็นหูดหงอนไก่ หากเป็นในวัยผู้ใหญ่จะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งโรคนี้มักเกิดขึ้นในบริเวณอับชื้นโดยเฉพาะที่อวัยวะเพศ

อาการของหูดหงอนไก่
หลังจากที่ได้รับเชื้อมา ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการเลย  ซึ่งกว่าจะมีอาการก็อาจกินเวลาหลายปี หูดหงอนไก่มีตั้งแต่ขนาดเล็กและเล็กมากจนตามองไม่เห็น ไปจนถึงเก้อนเนื้อขรุขระคล้ายดอกกระหล่ำ อาจมาอุดกั้นช่องคลอดท่อปัสสาวะหรือทวารหนัก มีอาการคันระคายเคือง บางรายมีเลือดออกจากก้อนเนื้อ มีตกขาวหรือแสบร้อนที่อวัยวะเพศ โดยตำแหน่งที่พบหูดหงอนไก่ได้มาก หากเป็นผู้หญิงมักพบที่ ปากช่องคลอด ปากมดลูก ผนังช่องคลอด ทวารหนักหรือบริเวณฝีเย็บ ในผู้ชายมักพบที่ตำแหน่ง หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ บริเวณรูเปิดของท่อปัสสาวะหรือบริเวณรอบทวารหนัก หากเป็นทารกที่คลอดผ่านทางช่องคลอดก็จะพบว่ามีมีสิ่งอุดกั้นกล่องเสียงและเสียงแหบ

สาเหตุของการเกิดโรคและการติดต่อ
หูดหงอนไก่ เกิดจากการติดเชื้อโรคฮิวแมน แปปิโลมาไวรัส ซึ่งไวรัสชนิดนี้ยังสามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้อีกด้วย โดยมีการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ไม่สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัส การกอด การจูบ หรือการใช้ของใช้ร่วมกัน 

ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง
โรคหูดหงอนไก่ เป็นโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้จึงเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย มีคู่นอนหลายคน เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ชอบรักร่วมเพศ และการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่เป็นโรคนี้



การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรค หูดหงอนไก่ สามารถทำได้ด้วยการ ดูจากลักษณะของโรคเช่น ตุ่มนูนที่ยื่นออกมา ซึ่งลักษณะของโรคของหูดหงอนไก่มี 4 แบบด้วยกันคือ 

ลักษณะขรุขระคล้ายดอกกะหล่ำ 
ลักษณะตุ่มเล็กมีขี้ไคลคลุม 
ลักษณะตุ่มสีเนื้อ
ลักษณะเป็นตุ่มนูนแบน หรือผู้ป่วยบางรายอาจเป็นลักษณะตุ่มนูนหลาย ๆประเภทปะปนอยู่พร้อม ๆ กันก็ได้
การรักษาหูดหงอนไก่
การรักษาหูดหงอนไก่ ส่วนใหญ่พบว่าการรักษาให้หายขาดได้ ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วยและการมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา ส่วนการรักษาเพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น แพทย์จะใช้ยาทาประเภทต่าง ๆ ดังนี้ 

1.สารละลายกรดเข้มข้น ยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์ทำให้เซลล์ของหูดหงอนไก่ตายและจะหลุดออกภายใน 2-3 วัน วิธีนี้แพทย์จะต้องเป็นผู้ทายาให้เท่านั้น

 2.ยากระตุ้นภูมิคุ้มกันกับยายับยั้งการแบ่งเซลล์ ซึ่งยาประเภทนี้ผู้ป่วยสามารถใช้ทาเองได้ 

3.ใช้วิธีอื่น ๆคือ การจี้ไฟฟ้า จี้เย็น การตัด ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ว่าจะต้องใช้วิธีการใด 

ภาวะแทรกซ้อนผลกระทบและการเกิดซ้ำ
1. หูดหงอนไก่ มักสร้างความรำคาญ ความน่ากังวล ซึ่งโรคนี้ไม่ทำให้เป็นมะเร็ง แต่การติดเชื้อไวรัส ก็มีโอกาสติดได้พร้อม ๆกันหลายสายพันธ์ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็ย่อมทำให้มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดเป็นมะเร็งปากมดลูกได้
สำหรับผู้หญิง หากเป็นหูดหงอนไก่ขณะตั้งครรภ์ ก็อาจทำให้ผนังมดลูกขยายตัวได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้มีเลือดออกได้ และหากมีขนาดใหญ่ก็อาจทำให้ขัดขวางการคลอดซึ่งอาจต้องใช้วิธีผ่าตัดแทนการคลอดแบบธรรมชาติ และทารกที่คลอดออกมามีโอกาสที่จะติดโรคนี้จากแม่ หรืออาจพบว่าทารกเกิดหูดหงอนไก่ ที่บริเวณลำคอ คอหอย หลอดลม ซึ่งทำให้ทารกหายใจลำบากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 
การเกิดซ้ำ หลังการรักษาโรคนี้ในผู้ป่วยร้อยละ 30-70% สามารถเกิดขึ้นซ้ำ ๆได้ภายในเวลา 6 เดือน ซึ่งก็มาจากหลายสาเหตุ เช่น รักษาไม่หายขาดเนื่องจากการใช้ยาหรือการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้
วิธีป้องกันโรคหูดหงอนไก่
ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ ซึ่งเป็นวัคซีนที่สามารถป้องกันไวรัสได้ 4 สายพันธ์ ที่ามารถใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่ที่ดีที่สุด คือ ไม่สำส่อนทางเพศ รักเดียวใจเดียว ก่อนมีเพศสัมพันธ์ควรสวมถุงยางอนามัย จะลดโอกาสการติดเชื้อนี้ได้ ในผู้ที่เป็นพาหะและไม่แสดงอาการ

การได้รับเชื้อไวรัสพบว่าชายหญิงในวัยเจริญพันธ์ สามารถกำจัดเชื้อนี้ไปได้เองภายใน 2 ปี ยกเว้นในผู้ที่มีภูมิต้านทานน้อยเช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ หญิงตั้งครรภ์ และถึงแม้ว่าผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสหูดหงอนไก่จะไม่มีอาการใด ๆเลย แต่ก็สามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ ซึ่งเมื่อทราบว่าเป็นโรคนี้แล้วก็ควรรีบรักษา และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/genital-warts-sexual-health/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

34

โรคภัยที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพช่วงอากาศเย็นและชื้นในฤดูฝนและฤดูหนาว ก็คือไข้หวัดใหญ่ แม้จะมีวัคซีนป้องกัน ก็มีรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่ามีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่เกิดขึ้นแทบทุกปี ดังนั้นการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากอาการไข้หวัดในช่วงอากาศเย็นและชื้น ย่อมดีกว่าการดูแลรักษา 
รู้จักไข้หวัดใหญ่และสาเหตุของโรค
ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่มีการระบาดและติดต่อกันได้ โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศเย็นและชื้น เกิดจากเชื้อไวรัส (Influenza Virus) ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจและระบบอื่น ๆ อาการของไข้หวัดใหญ่มักจะมีอาการที่รุนแรงมากกว่าอาการไข้หวัดทั่วไป และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แต่อัตราการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคหัวใจ โรคปอด และโรคไต
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่
อาการระยะฝักตัวใช้เวลา 1-4 วัน 
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
ทานอาหารไม่ได้ รู้สึกเบื่ออาหาร มีอาการคลื่นไส้
มีอาการเจ็บคอ และคอแดง มีน้ำมูกใสๆ ไหล เริ่มไอแห้งๆ ตาแดง
ปวดตามแขน ขา ปวดข้อ ปวดรอบตา ปวดเมื่อยตามตัว
ไข้สูง 39-40 องศา ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องเดิน อาเจียน และเป็นไข้ 2-4 วัน แล้วค่อยๆ ลดลง แต่อาการคัดจมูกและแสบคอยังคงอยู่ โดยทั่วไปจะหายใน 1 สัปดาห์
อาการรุนแรงที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่ระบบอื่น ๆ
ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อย หอบ เนื่องจากมีการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ
ผู้ป่วยจะปวดศีรษะมาก และซึมลง สาเหตุจากมีภาวะแทรกซ้อนที่ระบบประสาท หรือพบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
หลอดลมอักเสบและปอดบวม
ผู้ป่วยจะแน่นหน้าอก และเหนื่อย
สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากมีอาการปอดบวม และโรคหัวใจ
ลักษณะอาการที่ควรมาพบแพทย์
มีอาการ มากกว่า 7 วัน
เริ่มมีอาการหายใจหอบ หรือหายใจลำบาก
มีไข้สูงเกินกว่า 24-48 ชั่วโมง
หน้ามืด เป็นลม มีอาการสับสน
มีอาการเจ็บ หรือแน่นหน้าอก

Children photo created by lifeforstock – www.freepik.com

การติดต่อของโรคไข้หวัดใหญ่
การติดต่อของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่วนน้อยที่เกิดจากการสัมผัสกับเสมหะของผู้ป่วย หรือเกิดจากการใช้สิ่งของร่วมกันแล้วนำมาสัมผัสกับปากหรือจมูก การติดต่อของโรคที่พบได้มาก ได้แก่ติดต่อผ่านเสมหะของผู้ป่วย โดยการไอหรือจามแล้วเข้าสู่ปากหรือจมูกของผู้ใกล้ชิด
การป้องกันไข้หวัดใหญ่ และการฉีดวัคซีน ป้องกัน
การฉีดวัคซีนป้องกัน เป็นอีกทางเลือกในการเพิ่มภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปีเพราะไข้ ส่วนการป้องกันตนเองได้แก่ หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ๆ เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด เมื่อเวลาเจ็บป่วยให้พักที่บ้าน เวลาไอ หรือจามให้ใช้ผ้าปิดปาก และจมูก
วิธีดูแลตนเองในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่พบได้มากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นและเย็น การปฏิบัติตัวเพื่อให้ปลอดภัยจากไข้หวัดใหญ่ทำได้ ดังนี้
1. ใส่ใจดูแลสุขภาพมากกว่าปกติ
การดูแลตัวเองในช่วงช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว สิ่งที่ต้องระมัดระวังและต้องดูแลก็คืออาการป่วยไข้ วิธีดูแลตัวเองไม่ให้มีปัญหาสุขภาพหรือทำให้ปลอดภัยจากไข้หวัดใหญ่และโรคอื่น ๆ ได้แก่ – ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 20-30 นาที  – นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ มีวิตามินซีสูง – สวมใส่เสื้อผ้าที่อบอุ่น เพื่อให้ความอบอุ่นกับร่างกาย – มียาแก้ไข้ติดตู้ยาหรือติดกระเป๋าไว้เสมอ
2. ดูแลเรื่องการแต่งกาย
ช่วงอากาศเย็น ทั้งในฤดูฝนและฤดูหนาว เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายต้องเตรียมพร้อม เช่น เลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น สวมหมวกหรือมีพันคอเพื่อให้ความอบอุ่นกับร่างกาย ในช่วงฤดูฝนควรจัดเตรียม ร่ม หมวก หรือรองเท้าที่กั้นน้ำได้ เพื่อป้องกันความอับชื้น
3. จัดเตรียมอาหารที่เหมาะกับช่วงอากาศเย็นและชื้น
เลือกรับประทานอาหารที่ต้านอาการไข้หวัดหรือแก้ไข้หวัดได้ เช่น พืชผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง หรือเมนูอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น พริกไทย ดื่มน้ำขิงอุ่น ๆ การเลือกรับประทานอาหารเหล่านี้ ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็น เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี การป้องกันตนเองจากไข้หวัดใหญ่ นอกจากวิธีที่กล่าวมาแล้ว การบำรุงดูแลสุขภาพ  โดยการเลือกทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ส่วนประกอบของพืชสมุนไพรเช่น เห็ดหลินจือ หรือสารสกัดจากถังเช่าธิเบต ซึ่งมีขายอยู่หลากหลายชนิด เพียงเลือกสินค้าที่ผลิตจากบริษัทที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อสุขภาพร่างกายแข็งแรงได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ ก็สามารถป้องกันตนเองให้ห่างไกลและปลอดภัยจากไข้หวัดใหญ่ได้แล้ว 

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/influenza-a-symptoms/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

35

ช่วงฤดูฝน อากาศที่เย็นและมีความชื้นสูงเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด โรคที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าฝนและต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ไข้เลือดออก โรคที่มีลูกน้ำยุงลายเป็นพาหะสำคัญ หากสามารถกำจัดแหล่งลูกน้ำยุงลายได้ ถือเป็นการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคนี้ได้ดีที่สุด เพื่อให้ทุกคนสามารถรับมือกับโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูนี้ เรามีความรู้เกี่ยวกับโรคและ วิธีกำจัดลูกน้ำยุงลาย มาแนะนำครับ

ไข้เลือดออก โรคที่มากับหน้าฝน 
ไข้เลือดออก คือ โรคติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสเดงกี่ที่มียุงลายเป็นพาหนะนำ อาการเบื้องต้นจะคล้ายกับโรคไข้หวัดผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าเป็นเพียงไข้ไหวัดและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องในทันที ซึ่งอาการและความรุนแรงของโรคมีหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อก

อาการของไข้เลือดออก
อาการของโรคไข้เลือดออกจะคล้ายคลึงกับไข้หวัดทั่วไป เริ่มจากมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ส่วนลักษณะที่แตกต่างจากไข้หวัดทั่วไปได้แก่

ผู้ป่วยอาจมีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เพลียเป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์
มีผื่นราบหรือนูนเล็กน้อย ผื่นอาจจะคัน หน้าแดง หากทดสอบโดยการรัดต้นแขนด้วยสายรัดจะพบจุดเลือดออก
ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย
อาการตาแดง  ต่อมน้ำเหลืองโต อาจเลือดออกเป็นจุดเล็ก ๆ ตามผิวหนัง  และถ่ายดำ

Heart photo created by diana.grytsku – www.freepik.com

การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก
การสังเกตอาการไข้เลือดออกด้วยตนเอง เช่น มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดหัว มีผื่นแดงหรือห้อเลือด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
การวินิจฉัยจากแพทย์ เมื่อไปพบแพทย์ขั้นตอนแรกจะตรวจวัดความดันโลหิต สังเกตลักษณะอาการที่แสดง พร้อมกับการซักประวัติผู้ป่วย  เพื่อดูความเสี่ยงและโอกาสว่าผู้ป่วยอยู่ในบริเวณที่มีการระบาดของไข้เลือดออกหรือไม่ และอาจตรวจเลือดเพื่อดูความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดร่วมด้วย
การรักษาไข้เลือดออก และวิธีดูแลตนเอง
ไข้เลือดออกยังไม่มียารักษา หรือยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสสำหรับโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงประคับประคองตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งในรายที่อาการไม่รุนแรง โรคไข้เลือดออกอาจหายได้เองภายใน 2-7 วัน ข้อควรระวังของไข้เลือดออกคือเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ที่จะทำให้อาการรุนแรงและยากต่อการรักษา

สำหรับการดูแลตนเองในเบื้องต้น ผู้ป่วยควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อลดไข้เป็นระยะ ๆ รับประทานอาหารอ่อน และดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำเกลือแร่เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง และห้ามรับประทานยาแอสไพรินและยากลุ่ม NSAID เด็ดขาดเพราะอาจทำให้เลือดออกง่ายและมากขึ้น

ลูกน้ำยุงลาย พาหะของโรคไข้เลือดออก
ยุงลายที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกจะวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง น้ำต้องนิ่งใสและเป็นน้ำสะอาดไม่มีสารเคมีหรือแร่ธาตุเจือปน แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย เช่น โอ่งน้ำดื่มและน้ำใช้ที่ไม่ปิดฝา ทั้งภายในและภายนอกบ้าน การป้องกันไข้เลือดออกในช่วงฤดูฝนจึงต้องกำจัดทั้งแหล่งน้ำและลูกน้ำควบคู่กัน

วิธีกำจัดยุงลายและแหล่งเพราะพันธ์ยุงลาย
ปรับสภาพแวดล้อม โดยตัดแต่งกิ่งต้นไม้ภายในบริเวณบ้าน ให้โปร่งไม่มืดทึบเพื่อให้แสงแดดส่องถึง
ป้องกันการวางไข่ของลูกน้ำยุงลาย ด้วยการปิดภาชนะเก็บน้ำทั้งภายในและนอกบ้านด้วยฝาปิด หรือวัสดุอื่นที่สามารถปิดปากภาชนะได้อย่างมิดชิด
หมั่นเปลี่ยนน้ำในภาชนะต่าง ๆ เช่น แจกันดอกไม้สด แจกันศาลพระภูมิเจ้าที่ หากปลูกไม้กระถาง แล้วพบว่าในจานรองกระถางมีน้ำขังอยู่ ควรเทน้ำทิ้งบ่อย ๆ
เก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น ขวด ไห กระป๋อง ฯลฯ และยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้ หรือคลุมให้มิดชิดเพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้
ใช้ทรายกำจัดลูกน้ำ หรือทรายอะเบท (ABATE) ใช้ใส่ในน้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย อัตราส่วนที่ใช้ คือ ทรายกำจัดลูกน้ำ 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร
การปลูกบัวในอ่างน้ำ ควรใช้วิธีใส่ปลากินลูกน้ำไว้ในอ่างเพื่อช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลาย
การใช้ปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลากัด โดยใส่ไว้ในโอ่งหรือบ่อซีเมนต์ที่ใส่น้ำสำหรับใช้ ข้อดีของการกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยการใช้ปลากินลูกน้ำ ก็คือปลาสวยงามอย่างเช่นปลาหางนกยูงเลี้ยงง่ายและขยายพันธุ์เร็ว ทนทานต่อสภาพแวดล้อม และกินอาหารได้หลายชนิด ทำให้ไม่ยุ่งยากในการเลี้ยง
ใช้สารซักล้างที่มีใช้ประจำทุกครัวเรือน มาใช้กำจัดลูกน้ำและยุงลาย เช่น ผงซักฟอก แชมพู สบู่เหลว น้ำยางล้างจาน โดยใช้โรยหรือเทใส่ตามภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ขนาดเล็กอย่างเช่น จานรองกระถามต้นไม้ น้ำในแจกันดอกไม้
พ่นหมอกควันกำจัดยุง วิธีนี้องค์กรและหน่วยงานของรัฐมักจะให้บริการอยู่แล้วในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของยุงลาย
ไข้เลือดออก เป็นโรคอันตรายที่มียุงลายเป็นพาหะของโรค พบมากในช่วงฤดูฝนและยังเป็นโรคที่ยังไม่มียาต้านไวรัส การรักษาเป็นเพียงประคับประคองและรักษาไปตามอาการ แม้จะยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะหากเรารู้สาเหตุของโรค เพียงดูแลป้องกันตนเอง ร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลายควบคู่ไปกับการกำจัดยุงลาย ในช่วงฤดูฝนนี้ก็ทำให้ทุกคนห่างไกลและปลอดภัยจากไข้เลือดออกได้แล้ว

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/dengue-fever-symptoms-causes/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

36

ปัญหาสุขภาพที่ผู้หญิงทุกคนให้ความสำคัญ และยังมีการรณรงค์ให้ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 21 – 65 ปี ควรตรวจภายในเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกทุกปีหรืออย่างน้อยทุก ๆ 3 – 5 ปี นอกจากนั้นการตรวจนยังเป็นขั้นตอนสำคัญในการตรวจวินิจฉัยอาการเบื้องต้นของโรคร้ายแรงอื่น ๆ อีกหลายโรค ทำไมต้องตรวจภายใน การตรวจเกี่ยวข้องกับโรคอะไรบ้าง และควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนตรวจภายใน  เรามาหาคำตอบจากบทความนี้ได้เลย
การตรวจภายใน คืออะไร ?
การตรวจภายในเป็นการตรวจดูอวัยวะภายในบริเวณอุ้งเชิงกรานของผู้หญิง เพื่อตรวจหาความผิดปกติของระบบสืบพันธ์ โดยแพทย์จะทำการตรวจ ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก ท่อนำรังไข่ รังไข่ หรือกระเพาะปัสสาวะ  ที่อาจเป็นสัญญาณของความเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ 
การตรวจภายในสำคัญอย่างไร ?
การตรวจภายในเกิดได้ 2 กรณี ได้แก่การตรวจเพื่อคัดกรองหาอาการหรือโอกาสในการเกิดโรคร้ายแรง เป็นการตรวจในคนที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ และการตรวจเพื่อวินิจฉัยอาการของโรคหรือตรวจหาความชัดเจนของโรคนั้น ๆ ผู้หญิงสามารถตรวจภายในได้ทุกช่วงอายุ ซึ่งการตรวจเพื่อรอผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ส่วนการตรวจอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะทราบผลภายในหนึ่งวัน เช่น ตรวจหาการติดเชื้อที่ช่องคลอด หรือตรวจเช็คโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือปัญหาอื่น ๆ เป็นต้น และหลังตรวจภายในสามารถกลับบ้านได้เลย
ทำไมต้องเข้ารับการตรวจภายใน ?
การตรวจภายใน นอกจากเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองโรคจากคนที่ยังไม่มีอาการเพื่อเป็นการป้องกัน และตรวจหาสาเหตุของโรค รวมทั้งตรวจหาระยะความรุนแรงของโรคนั้น ๆ การตรวจภายในยังเกิดขึ้นได้ในหลาย ๆ กรณี ดังนี้
การตรวจสุขภาพประจำปีของผู้หญิง หรือเป็นการตรวจคัดกรองโรคที่ยังไม่เกิดขึ้น
ตรวจหาการติดเชื้อในช่องคลอด เช่น การติดเชื้อราหรือแบคทีเรีย
ตรวจเพื่อค้นหาหรือวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ตรวจและหาสาเหตุของภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก
ตรวจเมื่อมีเนื้องอกในมดลูก เนื้องอกรังไข่ หรือภาวะมดลูกหย่อน
ตรวจวินิจฉัยอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือบริเวณหลัง
ตรวจทั่วไปก่อนการคุมกำเนิด เพื่อช่วยให้แน่ใจว่าอุปกรณ์มีความเหมาะสมในการใช้งานเพื่อคุมกำเนิด เช่น การใส่ห่วงอนามัย
ตรวจหาร่องรอยในกรณีการถูกล่วงละเมิดทางเพศ

Woman photo created by jcomp – www.freepik.com

การเตรียมตัวก่อนการตรวจภายใน
การตรวจภายในไม่ใช่เรื่องผิดปกติ และยังถือเป็นขั้นตอนการตรวจรักษาหรือการดูแลสุขภาพป้องกันตนเองจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น มะเร็งปากมด เนื้องอกในมดลูก หรืออาการท้องนอกมดลูก สำหรับการเตรียมตัวก่อนตรวจภายในที่ผู้หญิงต้องให้สำคัญ ได้แก่
ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนตรวจภายในเป็นเวลาอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง เพื่อให้การตรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และผลตรวจวินิจฉัยไม่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอด (ภายนอก) ก่อนตรวจ โดยทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดด้วยการล้างด้วยสบู่แบบธรรมดาที่มีความอ่อนโยนต่อผิวและเช็ดให้แห้ง
การเตรียมตัวไปตรวจภายใน ควรสวมใส่กระโปร่งหรือกางเกงหลวมๆเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจ แม้ทางโรงพยาบาลจะมีชุดคนไข้ที่เหมาะสำหรับการตรวจอยู่แล้ว แต่การแต่งกายให้เหมาะสมก็จะทำให้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
งดเว้นการตรวจภายในช่วงมีประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่มดลูกอาจเกิดการติดเชื้อได้ง่าย  นอกนั้นสามารถตรวจภายในได้ทุกช่วงเวลา
หลีกเลี่ยงและไม่ควรสวนล้างช่องคลอดก่อนไปตรวจภายใน เพราะการสวนล้างอาจทำให้ส่วนที่เป็นสาเหตุของโรคถูกชำระล้างออกไปด้วย ทำให้แพทย์ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้
กรณีที่มีปัญหาตกขาว สามารถตรวจได้โดยไม่ต้องพยายามชำระล้างเพื่อให้แพทย์เห็นปริมาณและตรวจหาเชื้อได้อย่างถูกต้อง
ก่อนตรวจภายใน ควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อน เพื่อจะได้ไม่รู้สึกปวดปัสสาวะขณะตรวจภายใน
กรณีไม่เคยตรวจภายใน และยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ อาจแจ้งพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่เพื่อขอตรวจโดยแพทย์ผู้หญิงได้
ขั้นตอนการตรวจภายใน
กรณีนายแพทย์เป็นผู้ตรวจ จะมีพยาบาลผู้ช่วยซึ่งเป็นผู้หญิงภายในห้องตรวจด้วย
ก่อนเข้ารับการตรวจภายใน เจ้าหน้าที่พยาบาลจะให้เปลี่ยนเครื่องแต่งกายก่อน
เมื่อเปลี่ยนเครื่องแต่งกายแล้ว แพทย์จะให้ขึ้นขาหยั่ง โดยนอนบนเตียงพาดขา 2 ข้างในที่วางขาเพื่อให้แพทย์ตรวจได้สะดวก และใช้เวลาไม่นาน
ขั้นตอนการตรวจภายใน แพทย์อาจมีอุปกรณ์สำหรับใช้ในการตรวจร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการตราจว่าต้องการตรวจภายในเพื่ออะไร
การตรวจภายใน แม้จะเป็นเรื่องน่าอาจสำหรับผู้หญิงทุกคน แต่เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเพื่อลดความเขินอายควรถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะเป็นขั้นตอนหนึ่งในการตรวจรักษาโรคนั้น ๆ หากปล่อยให้อาการของโรคมีความรุนแรง หรือไม่ตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันตนเอง หากมีอาการรุนแรงหรือตรวจพบภายหลังก็ต้องมีการตรวจรักษาด้วยการตรวจภายในเช่นเดียวกัน ดังนั้นป้องกันไว้ย่อมดีกว่าการรักษา

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/what-is-a-pelvic-exam/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

37

อาการวิตกกังวลที่มีมากจนเกินไป และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็จะกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และเป็นสาเหตุของโรควิตกกังวล ทำให้ความสุขในการใช้ชีวิตทั้งทางกายและทางใจลดลง โรคนี้เมื่อเกิดกับคนที่อยุ่ในวัยทำงานยังส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลงอีกด้วย โรควิตกกังวล เกิดจากสาเหตุใด มีวิธีป้องกันและรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบครับ
โรควิตกกังวล คืออะไร ?
โรควิตกกังวล คือ โรคทางจิตที่พบได้มากที่สุดโรคหนึ่ง เป็นโรคที่เกิดจากความวิตกกังวลซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่มีความแตกต่างจากความรู้สึกวิตกกังวลทั่ว ๆ ไป คนที่เป็นโรควิตกกังวลจะรู้สึกวิตกกังวล หรือหวาดกลัวอย่างเกินเหตุ จนมีผลทางลบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
ลักษณะอาการ และสาเหตุของโรค
จากปัจจัยหลัก ๆ ของโรควิตกกังวล คือจากพันธุกรรม และเกิดจากเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก และเกิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ผิดพลาดไป อันเกิดจากความเครียดที่มีระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง และแบ่งโรคนี้ออกได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้
1. โรควิตกกังวลทั่วไป
อาการของโรคจะไม่รุนแรง และเป็นความวิตกกังวลที่เกี่ยวกับเรื่องในชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป แต่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม เนื่องจากความวิตกกังวลส่งผลให้ร่างกายได้พักผ่อนน้อย และเกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น หรือทำให้หงุดหงิดได้ง่าย
2. โรคย้ำคิดย้ำทำ
ผู้ป่วยจะมีอาการย้ำคิด และทำในเรื่องที่ทำไปแล้วด้วยความกังวล ส่งผลให้ทำเรื่องเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาจนกว่าจะเกิดความมั่นใจ โรควิตกกังวลในลักษณะนี้มักไม่ส่งผลต่อสุขภาพ แต่จะส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงานหรือคนในครอบครัว ต่อการทำงานร่วมกันในสังคม
3. โรคแพนิค
ความวิตกกังวลและอาการประเภทนี้จะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ป่วยค่อนข้างมากอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว เหงื่อออก และใจสั่น
4. โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ
อาจเป็นผลมาจากการที่ผู้ป่วยได้ผ่านเหตุการณ์รุนแรง หรือเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ผู้ป่วยจะมีอาการหวาดกลัว ระแวง และตกใจง่าย
5. โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง
คือการกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมาก เช่น กลัวเลือด กลัวสัตว์บางชนิด กลัวเข็มฉีดยา สาเหตุมาจากเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้ายทำให้จดจำและหวาดหลัว

Businesswoman having headache after hard work

สัญญาณบ่งบอกอาการของโรควิตกกังทำให้ความสุขในชีวิตลดลง
อารมณ์หงุดหงิดหรือฉุนเฉียวง่าย และเกิดขึ้นบ่อย ๆ
อยู่ในภาวะซึมเศร้า ขาดแรงบันดาลใจ ไม่รู้สึกอยากได้อยากดี
ชีวิตขาดสีสัน ขาดชีวิตชีวาในการดำเนินชีวิต
นอนไม่หลับ มีความวิตกกังวลโดยไม่ทราบสาเหตุ
รู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียบ่อย ๆ ต้องการพักผ่อนมากขึ้น
มีอาการปวดเมื่อยตามแขนขา หรือนั่งนาน ๆก็จะมีอาการปวดหลัง
บางครั้งเหงื่อออกมากผิดปกติ รู้สึกร้อนวูบวาบโดยมีอาการเครียด
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง
ประสาทเครียด รู้สึกวิตกกังวล กระวนกระวาย
รู้สึกหมดไฟ ปล่อยตัว
แนวทางการรักษาโรควิตกกังวล
วิธีรักษาโรควิตกกังวลด้วยการรับประทานยา ซึ่งต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์  โดยตัวยาจะสามารถช่วยควบคุม และบรรเทาอาการลงได้ เช่น ยาอัลปราโซแลม ยาโพรพราโนลอล และยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ
รักษาด้วยการทำจิตบำบัด คือการเข้ารับคำแนะนำ และคอยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพื่อเรียนรู้การแก้ปัญหาเมื่อเกิดความวิตกกังวล ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ดนตรีบำบัด หรือกิจกรรมบำบัดรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งผู้ทำการรักษาจะพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยและจัดกิจกรรมบำบัดให้เหมาะสม
รักษาด้วยวิธีปรับเปลี่ยนความคิด เช่น เมื่อมีความกังวลให้หากิจกรรมอื่นทำเพื่อเกิดความสบายใจ หรือทำการนั่งสมาธิเพื่อผ่อนคลายจิตใจ นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนรูปแบบความคิดต่อเรื่องที่กังวลว่ามันไม่ได้เลวร้าย และกล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาก็เป็นทางออกที่ดีเช่นกัน
วิธีป้องกันตนเองจากโรควิตกกังวล 
หมั่นออกกำลังกาย หลายๆคน อาจมีปัญหาเรื่องเวลาและปัญหาสุขภาพทำให้มีข้อจำกัดในการออกกำลังกาย โดยเฉพาะคนในวัยทำงานอาจมีข้อจำกัดด้านเวลา การออกกำลังกายที่ช่วยให้มีสุขภาพจิตดี สามารถป้องกันโรควิตกกังวลได้ เช่น การเก็บกวาดบ้าน ปรับเปลี่ยนมุม ย้ายเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปรับภูมิทัศน์บริเวณบ้าน สิ่งเหล่านี้นอกจากช่วยให้ร่างกายของเราเคลื่อนไหวเป็นการออกกำลังกายไปในตัวแล้ว ยังทำให้สนุกเพลิดเพลินลดความวิตกกังวลลงได้
พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนแม้บางคนจะมีเวลานอนน้อย แต่หากนอนหลับโดยไม่มีสิ่งรบกวนก็ทำให้ผักผ่อนได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นก่อนนอนควรปิดเครื่องมือสื่อสาร ปิดทีวี ให้เรียบร้อยเพื่อช่วยให้นอนหลับได้อย่างสนิท
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ เพราะสิ่งเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม 
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยทานอาหารที่หลากหลายในปริมาณที่พอเหมาะ นอกจากควบคุมโรคได้แล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพ เมื่อสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตก็จะดีไปด้วย
ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด โดยหากิจกรรมทำร่วมกับเพื่อนๆหรือคนในครอบครัว
โรควิตกกังวล เป็นอาการของโรคหรือความวิตกกังวลใจซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หากเกิดขึ้นแล้วเมื่อสภาพปัญหาที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดความวิตกกังวลหมดไป อาการก็หายไปได้เอง แต่หากมีความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุส่งผลให้จิตใจเศร้าหมอง อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย อาจต้องพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการและความรุนแรงของโรค

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/anxiety-disorder-in-adults/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

38
เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือ ได้ชื่อว่าเป็นราคาแห่งสมุนไพร โดยเฉพาะวงการแพทย์แผนจีนมีการนำมาใช้บำบัดรักษาโรคมานานมากกว่า 2,000 ปี โดยมีการบันทึกหลักฐานไว้ในตำราสมุนไพรที่มีอายุมากที่สุดของประเทศจีน ปัจจุบันมีการค้นคว้าทดลองมากมายเกี่ยวกับสรรพคุณและคุณประโยชน์ของเห็ดหลินจือ ส่วนจะมีอะไรบ้าง เรามีสรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือมาแนะนำอีกเช่นเคยครับ

เห็ดหลินจือ ราชาสมุนไพรเห็ดหลินจือ ถือเป็นยาจีนหรือสมุนไพรที่ใช้บำบัดรักษาโรคมานานกว่า 2,000 ปี มีและขึ้นอยู่ตามธรรมชาติซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ สำหรับสายพันธุ์ที่นิยมมีสรรพคุณทางยาดีที่สุดคือ กาโนเดอร์ม่า ลูซิดั่ม (Ganoderma lucidum) หรือสายพันธุ์สีแดง เห็ดหลินจือ นอกจากจะมีสรรพคุณทางยาแล้วยังปลอดภัยและรับประทานได้ในระยะยาวได้โดยไม่เป็นพิษต่อร่างกายอีกด้วย จากผลงานวิจัย ยังพบว่า เห็ดหลินจือ มีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ ดังนี้
1. โพลีแซคคาไรด์
เป็นสารสำคัญในเห็ดหลินจือที่จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย อีกทั้งยังสรรพคุณทางยาที่สำคัญ ได้แก่
กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ดูแลตับหรือต้านพิษต่อตับ
มีส่วนช่วยระบบน้ำตาลในเลือด
มีส่วนช่วยลดการเกิดโรคหอบหืดและโรคผิวหนังติดต่อ
ต้านการเจริญเติบโตของเส้นเลือดฝอย
2. ไตรเทอร์พีนอยด์
เป็นกลุ่มสารอาหารประเภทกรดไขมัน และมีสารประกอบทางยามากกว่า 100  ชนิด คุณสมบัติของสารไตรเทอร์พีนอยด์ มีดังนี้
ลดภาวะไขมันในเลือดสูง
ต้านการรวมตัวกันของเกร็ดเลือด
กระตุ้นการทำงานของหัวใจ
กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
ช่วยบรรเทาอาการปวด หรือแก้ปวด
3. อาดีโนซิน
เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์พลังของเซลล์ สามารถเข้าไปในเซลล์ที่ผิดปกติของร่างกาย และช่วยควบคุมไม่ให้เกิดเนื้องอก คุณสมบัติทางยาของสารอาดีโนซิน ได้แก่ คลายกล้ามเนื้อ แก้อาการปวด โดยเฉพาะอาการปวดไมเกรนจากความเครียด
4. เยอร์มาเนียม
เป็นสารที่สามารถกระตุ้นระบบประสาทได้ และมีคุณสมบัติทางยา ได้แก่ สามารถขจัดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการเกิดเซลล์เนื้อร้าย และเพิ่มการไหลเวียนเลือดและออกซิเจน
5. โปรตีน
คุณสมบัติของโปรตีนที่มีอยู่ในเห็ดหลินจือ ต้านภาวะภูมิไวเกิน ต้านไวรัสตับอักเสบ B และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
6. กรดโอเลอิก
มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการปล่อยสารก่อภูมิแพ้เห็ดหลินจือ
สรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือ
เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ด้วยสารสกัดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเห็ดหลินจือมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่ช่วยยับยั้งการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และรา  จากการกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวจะไปกระตุ้นให้เซลล์พิฆาตมะเร็ง ทำงานได้ดีขึ้นด้วย ส่งผลให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและเซลล์มะเร็งได้อย่างดี
ยับยั้งเซลล์มะเร็งและช่วยการทำงานของตับ สาระสำคัญที่มีอยู่ในเห็ดหลินจือหลายชนิดมีส่วนช่วยร่างกายขับสารพิษจึงทำให้ตับทำงานได้ดีขึ้น   ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับได้ดีอีกด้วย
รักษาอาการภูมิแพ้ สาระสำคัญในเห็ดหลินจือ มีส่วนช่วยยับยั้งกระบวนการอักเสบ บรรเทาผดผื่นคันบนผิวหนัง รวมถึงอาการไอ จาม คัดจมูก ซึ่งเกิดจากภูมิแพ้ได้
ป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ จากสารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดหลินจือ เพราะสามารถยับยั้งการเกาะตัวของไขมันและลิ่มเลือดบนผนังหลอดเลือด ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ทำให้ลดโอกาสเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้
บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน มีผลงานการวิจัยระบุว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือแดงสามารถลดน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองที่เป็นเบาหวานได้จึงสันนิษฐานว่า เห็ดหลินจือแดงน่าจะช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนอินซูลินและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้เช่นกัน
ป้องกันและลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิต มีการศึกษาที่พบว่า การให้สารสกัดเห็ดหลินจือ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จะช่วยลดระดับความดันโลหิตลงได้
ช่วยรักษาอาการอ่อนเพลียและซึมเศร้า จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่รับประทานเห็ดหลินจือ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากเห็ดหลินจือเป็นระยะเวลา 4-8 สัปดาห์ติดต่อกัน สามารถช่วยลดอาการอ่อนเพลีย  อาการกระวนกระวาย และภาวะซึมเศร้าได้
ผลิตภัณฑ์จากเห็ดหลินจือที่ได้รับความนิยม
สารสกัดจากเห็ดหลินจือ ได้นำมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลากหลายชนิด ที่ได้รับความนิยม ได้แก่
เห็ดหลินจือแดงสกัดล้วน แบบเข้มข้น 100% ชนิดแคปซูล ขนาดบรรจุ 1 กล่อง 60 แคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม เป็นผลิตภัณฑ์ที่รับประทานง่าย มีเลข อย. และผลิตจากบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
กาแฟเพื่อสุขภาพ ผสมเห็ดหลินจือแดงและถั่งเช่าสีทอง ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลและใช้ซูคราโรส เป็นสารแทนความหวานที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถทานได้
เครื่องดื่มเห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจืออบแห้ง
เห็ดหลินจือ ราชาสมุนไพรที่นอกจากเป็นสมุนไพรจากธรรมชาติ มีสรรพคุณทางนาที่สามารถรับประทานในระยะยาวได้โดยไม่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ สามารถป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอันตรายได้หลากหลายแล้ว เห็ดหลินจือ ยังส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยปกป้องเซลล์ผิวหนังจากการถูกทำลาย การทานผลิตภัณฑ์จากเห็ดหลินจือเป็นประจำ จึงนอกจากทำให้สุขภาพดี ยังช่วยในเรื่องความสวยความงาม ช่วยให้ผิวคงความอ่อนเยาว์ และยับยั้งการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/reishi-mushroom-benefits/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

39

ความเครียดเป็นภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะการดำเนินชีวิตในแต่ละวันทุกคนต้องพบเจอปัญหาอุปสรรคได้ทุกรูปแบบ บางปัญหายังเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัวมาก่อน เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้รู้สึกวิตกกังวล หรือเป็นทุกข์ และเป็นความเครียดสะสมที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ หรือเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอันตรายต่าง ๆ ได้หากไม่ได้รับการบำบัดหรือทำให้รู้สึกผ่อนคลายความเครียดเหล่านั้นก็จะคลายลง 

9 วิธีบำบัดความเครียด
ความเครียด เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาจากสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัว อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป  ฝุ่น มลภาวะทางเสียง สภาพเศรษฐกิจของครอบครัว ปัญหาเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงาน ความเครียดที่เกิดจากปัญหาสุขภาพ อาการเจ็บป่วย  แม้บางครั้งภาวะเหล่านี้จะหายได้เองหรือผ่อนคลายลงเมื่อปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นหมดไป แต่ก็ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต เช่น ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำให้หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย วิธีรับมือกับความเครียดโดยไม่ต้องกินยาทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

1. ควบคุมสติ
โดยการกำหนดลมหายใจเข้าออก พยายามสูดหายใจให้ช้าและลึกที่สุด ก่อนจะค่อย ๆ ผ่อนออกมา คนที่มีภาวะเครียดอาจส่งผลให้ความดันโลหิตสูงได้ วิธีนี้จะช่วยลดความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น 

2. จิบเครื่องดื่มอุ่น ๆ
เช่น ชาเขียว เพราะมีสารแอล-ธีเอนีน (L-Theanine) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการผ่อนคลาย แนะนำว่าก่อนดื่มขอให้สูดกลิ่นชาเข้าไปลึกๆ จะช่วยให้สดชื่นขึ้น

3. หากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ
เพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายเนื่องจากสมาธิจดจ่ออยู่กับงานที่ทำอยู่ตรงหน้า

4. เปลี่ยนบรรยากาศให้เหมาะกับการผ่อนคลาย
หากความเครียดนั้นเกิดจากงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ อาจลุกจากโต๊ะทำงานไปสูดอากาศ หรือมองสีเขียว ๆ ของธรรมชาติ ก็จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และสดชื่นขึ้น



5. ออกกำลังกายเบา ๆ
หากรู้สึกเครียดขณะทำงาน ทำภารกิจในชีวิตประจำวัน หรือเกิดความวิตกกังวลที่อาจส่งผลให้เกิดความเครียด ควรออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกายเบา ๆ เช่น สะบัดแขน แกว่งขา บริหารนิ้วมือ เอียงศีรษะซ้ายขวาสลับกัน หรือวิธีอื่น ๆ

6. ฟังเพลงจังหวะสนุก ๆ หรือแนวเพลงที่ชื่นชอบ
การดูคลิป ดูซีรีย์ ทำให้สมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า หรือเพลิดเพลินไปกับเนื้อและทำนองเพลง ช่วยให้ความวิตกกังวลหรือความเครียดผ่อนคลายลง

7. วิธีใช้กลิ่นบำบัด
การบำบัดความเครียดด้วยกลิ่น สามารถกระตุ้นพลังและมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของคนเรา เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยที่พืชผลิตขึ้นตามธรรมชาติแล้วเก็บตุนไว้ตามส่วนต่างของลำต้น เช่น กลีบดอก ใบ ผิวของผล เกสร ราก หรือเปลือกของลำต้น ช่วยให้เกิดความผ่อนคลายทางอารมณ์ได้ วิธีบำบัดด้วยกลิ่นเพื่อผ่อนคลายความเครียดทำได้ ดังนี้

นวดตัวด้วยน้ำมันหอมระเหย เพื่อกระตุ้นระบบการไหลเวียนของเลือด
ทาน้ำมันหอมระเหยบริเวณขมับ อุ้งมือ หยดลงบนผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษทิชชูแล้ววางไว้ที่หัวเตียง ที่โต๊ะทำงาน กลิ่นหอมอ่อนๆจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายเป็นการบำบัดความเครียดที่ได้ผลดี
แช่มือหรือแช่เท้า ในน้ำอุ่นประมาณ 10 นาที โดยหยดน้ำมันหอมระเหยลงไปในน้ำ 3-5 หยด จะช่วยให้รู้สึกสดชื่น
จุดเทียนหอมไว้ภายในบริเวณบ้าน กลิ่นหอมจะช่วยสร้างบรรยากาศและความรู้สึกที่ผ่อนคลาย ทำให้หายเครียดได้
แขวนเครื่องหอมสมุนไพรไทยไว้ภายในรถยนต์ กลิ่นหอมของสมุนไพรทำให้รู้สึกสดชื่น
ตัดใบเตยใส่ภาชนะตั้งไว้ภายในห้องน้ำ กลิ่นและสีเขียวของใบเตยช่วยสร้างความสดชื่นได้เช่นกัน
8. คลายความเครียดด้วยการอบสมุนไพร
การอบสมุนไพรนอกจากเป็นวิธีบำบัดความเครียดอย่างหนึ่งแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพของเราอีกด้วย สามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังนี้

ทำให้เหงื่อออก มีประโยชน์ในเรื่องของการลดน้ำหนัก เหงื่อยังช่วยขับสารพิษตกค้างที่เราได้รับจากมลภาวะเป็นพิษ และการทานอาหารที่มีสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย
ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น หลังจากอบสมุนไพรแล้วจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าเบาตัว
ผ่อนคลายอารมณ์ การอบสมุนไพรใช้เวลาอย่างน้อย 15-30 นาที ทำให้ได้พักสมอง พักร่างกาย ช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดลงได้
9. ดื่มน้ำสมุนไพรคลายเครียด 
การดื่มน้ำสมุนไพร เป็นการบำบัดความเครียดที่ทำได้ง่ายและไม่เสียเวลา เช่น เครื่องดื่มเห็ดหลินจือ ชงน้ำขิงดื่มขณะอุ่น ๆ ทำให้รู้สึกสดชื่น หรือดื่มน้ำมะนาว ทำให้รู้สึกชุ่มคอ หรือดื่มน้ำขิงทำให้ลมหายใจโล่งสบาย กลิ่นหอมทำให้ผ่อนคลายสดชื่น

ความเครียดเป็นภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ เพียงเรารับรู้ปัจจัยหรือสาเหตที่ทำให้เกิดความเครียด เพียงเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งที่กล่าวมา หรือทำร่วมกันหลาย ๆ แนวทาง ก็สามารถรับมือกับภาวะเครียด ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และขจัดความเครียดให้ลดน้อยลงหรือหมดไปได้ไม่ยาก


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/9-simple-ways-to-relieve-stress/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

40

การมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ และคำว่าสมรรถภาพทางเพศที่ผู้ชายส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญก็คือ ความสามารถในการประกอบกามกิจเพื่อการเจริญพันธุ์ตามธรรมชาติและเพื่อความสุขสมร่วมกันระหว่างหญิงและชาย แต่สิ่งที่เป็นปัญหาของผู้ชายก็คือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือการที่ อวัยวะเพศไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะสร้างความสุขให้ได้ ถั่งเช่า หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเพศชายที่มีถั่งเช่าทิเบต จึงเป็นตัวช่วยทำให้ความกังวลของคุณผู้ชายหมดไป

รู้ทันอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เปรียบเสมือนปัญหาสามัญประจำบ้านที่พบได้มากและส่งผลกระทบทั้งกายและจิตใจของคู่สมรส ทำให้ฝ่ายชายสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง เกิดความอับอายและมีคุณภาพชีวิตแย่ลง อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการหย่าร้างที่ไม่สามารถให้คำตอบกับสังคมได้ ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มีผลงานการวิจัย ระบุสาเหตุว่าเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้

เกิดจากปัญหาสุขภาพร่างกายและจิต จิตใจ 
ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม 
ปัญหาความเครียด และความวิตกกังวล
อายุ จากสถิติตัวเลขพบว่าผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-49 ปี พบได้ร้อยละ 20 ช่วงอายุ 50-59 ปี พบมากร้อยละ 45 และช่วงอายุ 60-70 ปี พบได้มากถึงร้อยละ 72


ถั่งเช่ากับการแก้ปัญหาภาวะเสื่อมสมรรภภาพทางเพศ
การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่งเช่าทิเบต เป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาสมรรถภาพทางเพศเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และปลอดภัยกว่าการกินยาบางประเภท ที่กินยาเม็ดเดียวหลังจากนั้นอีกครึ่งชั่วโมงก็สามารถปฏิบัติกามกิจให้สุขสมได้ แต่ก่อให้เกิดโรคภัยหรือมีปัญหาสุขภาพตามมา โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ

ถั่งเช่า หญ้าหนอน หรือเห็ดสมุนไพร มีคุณสมบัติและสรรพคุณต่าง ๆ มากมาย ซึ่งความพิเศษอย่างหนึ่งก็คือ ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศโดยสารอาหารสำคัญที่มีอยู่ในสมุนไพรชนิดนี้ ได้แก่

สารคอร์ไดเซปิน (Cordycepin)  เป็นสารที่สามารถออกฤทธิ์ได้เทียบเท่ากับฮอร์โมนเพศชาย เมื่อนำสารสกัดซึ่งมีอยู่ในถั่งเช่ามาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาการเสริม จึงทำให้สามารถออกฤทธิ์โดยตรงในการเพิ่มสมรรถภาพระบบทางเพศ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากสารตัวนี้ไม่ใช่ฮอร์โมนจึงไม่ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเสียสมดุล อีกทั้งยังช่วยเสริมให้มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น ช่วยกระตุ้นให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวเร็วขึ้น
สารไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxides) เป็นสารอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในถั่งเช่า โดยเฉพาะถั่งเช่าทิเบต คุณสมบัติของสารตัวนี้จะช่วยให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวเร็ว และจะเข้าไปขยายหลอดเลือดในอวัยวะเพศให้มีการไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้น ซึ่งการไหลเวียนเลือดที่ดีทำให้อวัยวะเพศมีการแข็งตัวที่สมบูรณ์และฉับไว ช่วยแก้แก้ปัญหานกเขาไม่ขันหรืออวัยวะเพศไม่แข็งตัว
ส่วนการทำงานของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากถั่งเช่า จะส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวอยู่ได้ต่อไปและคงสภาพการขยายตัวอยู่ได้ประมาณครึ่งชั่วโมง ทำให้เพียงพอกับเวลาที่จะใช้ในการร่วมเพศ สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การทำงานของสารทั้งสองชนิดจะเป็นไปอย่างสมดุล จึงช่วยให้การมีเพศสัมพันธ์เป็นไปตามธรรมชาติ



ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศส่งผลกระทบอย่างไร ?
ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นปัญหาต่อสุขภาพ เพราะถือเป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งแพทย์ระบุว่าอาการที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวอาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าอาจกำลังเป็นโรคบางอย่างที่ร้ายแรงในอนาคตเนื่องจากพบว่าผู้ชายร้อยละ 70 ที่ป่วยเป็นเบาหวาน ป่วยเป็นความดันสูง และผู้ชายที่เป็นโรคอ้วน ทั้ง 3 ปัจจัยนี้ มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ทำให้เกิดปัญหาครอบครัว หากไม่ทำการรักษาหรือไม่มีการพูดคุยทำความเข้าใจกันระหว่างสามี ภรรยา เพราะหากฝ่ายใดเก็บกดหรือสะสมไว้นาน ๆก็อาจกลายเป็นสาเหตุของการหย่าร้างได้ในที่สุด
ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เกิดความวิตกกังวลเมื่อต้องการมีเพศสัมพันธ์ หากอาการร้ายแรงอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าที่เป็นปัญหาต่อคุณภาพชีวิต
วิธีป้องกันตนเองจากภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือดื่มได้ไม่เกินวันละ 2 แก้ว
หลีกเลี่ยงหรืองดการสูบบุหรี่
เมื่อรับรู้ปัญหาของตนเอง ควรปรึกษานักบำบัดเพื่อการสื่อสารกับคู่สมรสหรือฝ่ายหญิงเพื่อให่การมีเพศสัมพันธ์มีความสมดุล
บำรุงสุขภาพด้วยการเลือกทานอาหารเสริมที่ช่วยแก้ปัญหาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางแพศ เช่น ผลิตภัณฑ์จากถั่งเช่า หรือถั่งเช่าทิเบต
หมั่นออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนอย่างเพียงพอ
อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเป็นภาวะที่ป้องกันหรือรักษาให้หายได้ หากบำรุงดูแลสุขภาพทานผลิตภัณฑ์บำรุงจากถั่งเช่าเป็นประจำ แม้จะยังไม่มีอาการ เพราะถั่่งเช่ายังมีคุณสมบัติในการบำรุงสุขภาพในด้านอื่น ๆ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญให้ทำเกิดโรคนี้ และควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำ ปฏิบัติตัวเพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ผู้ที่มีภาวะหย่อนสมรรถทางเพศ สามารถสุขสมได้อย่างปลอดภัย


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/cordyceps-sinensis-erectile-dysfunction/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

41
หัวใจเต้นผิดจังหวะ คือหนึ่งในหลายอาการผิดปกติที่บ่งชี้ว่าเรามีอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และอาการแบบไหนที่เรียกว่า หัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทั้งอาการ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เมื่อเป็นแล้วควรดูแลตนเองอย่างไรมีแนวทางการรักษาให้หายได้หรือไม่ สำหรับคำถามต่าง ๆ เรามีคำตอบมาให้ครับ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ คืออะไร ?
หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึง การที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ โดยอาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ซึ่งโดยทั่วไปการเต้นของหัวใจที่เรียกว่า “ปกติ” นั้น คืออยู่ที่ 60–100 ครั้งต่อนาที อาการเตือนที่ทำให้รู้ว่าการเต้นของหัวใจมีความผิดปกติ ได้แก่

หัวใจเต้นผิดจังหวะ ในกรณีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ จะส่งผลให้มีอาการมึนงง ใจหวิว ระดับความดันโลหิตต่ำลง และอาจทำให้เป็นลมหมดสติได้
สำหรับอาการ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ จะทำให้มีมีอาการเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หน้ามืด เสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายและเสียซีวิตเฉียบพลัน
สาเหตุของอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เกิดจากกินยาและสารบางชนิด เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามีน คาเฟอีนที่อยู่ในชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม
เกิดจากอาการของโรคเรื้อรังที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ
ตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า ECG หรือ Electrocardiogram ในขณะที่มีอาการ
การตรวจคลื่นหัวใจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์แบบพกติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ในขณะที่มีอาการ
การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram)


อาการของโรคหัวใจทั่วไป
คำว่าโรคหัวใจ มีความหมายกว้างมาก และนอกจากอาการที่เกิดจากโรคหัวใจ รวมทั้งอาการภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยังมีลักษณะอาการคล้ายกับอาการของโรคอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยสับสนหรือไม่มั่นใจว่าเป็นอาการของโรคหัวใจหรือไม่ โดยทั่วไปอาการของโรคหัวใจสามารถสังเกตหรือตรวจพบอาการได้ ดังนี้

1. อาการของโรคหัวใจที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน 
โดยปกติคนที่ออกกำลังกายจะรู้สึกเหนื่อยเมื่อออกกำลังไปได้ระดับหนึ่ง แต่ในกรณีของคนที่เริ่มต้นมีอาการของโรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อยก็จะเริ่มรู้สึกเหนื่อยมากผิดปกติ อาการเจ็บหน้าอก จะมีลักษณะแน่นบริเวณกลางหน้าอกคล้ายมีของหนักทับ ทำให้รู้สึกเหนื่อยและหายใจอึดอัด เป็นลมหมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน

2. อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากร่างกาย
อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากร่างกาย ได้แก่ การที่ปริมาณออกซิเจนในเลือดมีน้อยลง เนื่องจากทางเดินของเลือดในหัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ นอกจากนั้นยังอาจมีอาการ ขา หรือเท้าบวมโดยไม่ทรายสาเหตุ

3. อาการผิดปกติที่พบจากการตรวจร่างกายโดยแพทย์
ในคนที่มีการตรวจร่างกายประจำอาจตรวจพบความผิดปกติที่บ่งบอกได้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น พบไขมันในเลือดสูง หรือมีอาการของโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเรื้อรังเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ



ปัจจัยเสี่ยง ที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคหัวใจ รวมไปถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่ที่พบเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด และสาเหตุอื่น ๆ เช่น

พันธุกรรม เป็นปัจจัยเสี่ยงเนื่องจากมักพบผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคหัวใจมาก่อน
คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากคความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจเต้นเร็วและทำงานหนัก เกิดจากหัวใจต้องใช้พลังงานในการสูบฉีดโลหิตมากกว่าปกติ
ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูง
ความเครียด เพราะความเครียดทำให้หัวใจเต้นแรงโดยที่เป็นไม่รู้ตัว
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ไขมันในเส้นเลือดสูง และโรคอ้วน
การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
วิธีป้องกันการเกิดโรคหัวใจ 
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที และควรเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม กับสภาพร่างกายของตนเอง
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมอาหารให้มีความพอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
หากิจกรรมนันทนาการเพื่อคลายเครียด ควบคุมอารมณ์และดูแลสุขภาพจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ 
งดเว้น หรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
ในปัจจุบันมีโรคแปลกๆเกิดขึ้นมากมาย บางโรคก็ต้องกินยาไปตลอดชีวิตไม่มีทางหาย หรือบางโรคก็ยังไม่มีแนวทางการรักษา การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกาย กินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ หมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายและตรวจสุขภาพเป็นประจำ ก็สามารถป้องกันตนเองจากโรคหัวใจและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้แล้ว


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/10-ways-to-relieve-back-pain/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

42

ปวดหลัง เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกรุ่นทุกวัยและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คนที่มีอาการปวดหลังส่วนหนึ่งมักหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป และจะกลับมาปวดได้อีกเมื่อมีพฤติกรรมแบบเดิม ๆ ส่วนอาการปวดหลังที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าอาจเป็นปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้แก่การปวดแบบเรื้อรัง เพื่อให้รู้ทันอาการของโรคและสามารถดูแลตนเองได้เมื่อมีอาการปวด วันนี้มี 10 วิธีดูแลตนเองแบบง่าย ๆ  มาแนะนำ

อาการปวดหลัง และปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวด
ปวดหลัง เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาการปวดหลังที่เกิดจากการทำงาน จากการนั่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหลังเนื่องจากเลือกที่นอนที่แข็งหรือนิ่มเกินไป ส่วนใหญ่สาเหตุเหล่านี้มักทำให้มีอาการปวดแบบเฉียบพลันและสามารถหายได้เอง ส่วนอาการปวดที่เป็นอันตรายหรือปวดนานติดต่อกันเกินกว่า 3 เดือน ถือเป็นการปวดหลังแบบเรื้อรังที่อาจมีสาเหตุมาจากอาการของโรคต่าง  ๆ ดังนี้ 

เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อมีอาการตึงจากการยกของที่มีน้ำหนักมากเป็นประจำ ส่งผลให้มีอาการปวดเกิดขึ้นบ่อย ๆ จนกลายเป็นปวดเรื้อรังจากกล้ามเนื้ออักเสบ
อาการปวดที่เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังโป่งพองหรือฉีกขาด
อาการปวดที่เกิดจากข้ออักเสบ หรือโรคข้อเสื่อม 
อาการปวดหลังอาจเกิดขึ้นได้หากมีกระดูกสันหลังที่โค้งผิดรูป หรือกระดูกสันหลังคด
อาการปวดหลังที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหากระดูกพรุนหรือเปราะ
การรักษาอาการปวดหลังโดยแพทย์
สำหรับการรักษาอาการปวดหลังโดยแพทย์ สิ่งแรกแพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการปวดตามขั้นตอน เพื่อหาสาเหตุให้ได้ก่อนว่า อาการปวดหลังนั้นเกิดจากอะไร เพื่อทำการรักษาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี เช่น อาการปวดหลังที่เกิดจากโรคประจำตัวอ ได้แก่ หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเคลื่อน หรือ กระดูกสันหลังคอเสื่อม ซึ่งอาการปวดจากสาเหตุต่าง ๆ 



วิธีบำบัดอาการปวดหลัง ด้วยการนอนอย่างถูกวิธี
อาการปวดหลังที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือเป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน แม้จะสามารถหายได้เองเมื่อเวลาผ่านป แต่ก็สามารถสร้างความทุกข์ทรมานและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต หากรู้ตัวว่าอาการปวดหลังมักเกิดขึ้นจากการทำงาน หรือการนั่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาจใช้วิธีบำบัดรักษาเพื่อให้อาการบรรเทาลงได้ด้วยการนอนอย่างถูกวิธี ดังนี้ 

การนอนหงายที่ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการปวดหลัง ได้ ได้แก่ท่านอนหงายที่ถูกต้อง คือ นอนหงายแบบธรรมดาโดยใช้หมอน 2 ใบ สอดรองไว้ที่ขาตามความยาวให้ขาสูงขึ้นมากที่สุด ส่วนช่วงเอวให้ใช้ผ้าขนหนูพับแล้วสอดเข้าไป เพื่อรองรับส่วนของหลัง 
การบำบัดอาการปวดหลังด้วยท่านอนตะแคงที่ถูกต้อง เพื่อให้กระดูกสันหลังตรงก็คือ นอนตะแรงข้างใด ข้างหนึ่ง แล้วใช้หมอนสอดเข้าไประหว่างขาทั้งสองข้างให้ชิดโคนขา แล้วใช้หมอนอีกใบวางไว้ที่ด้านหน้า เพื่อให้ใช้มือพาด ส่วนด้านหลังให้ใช้หมอนวางขนาบไว้ที่ด้านหลัง เพื่อรักษาให้กระดูกสันหลังอยู่ในท่าตรง
วิธีแก้อาการปวดหลังด้วยการใช้ความเย็น ความเข้าใจของคนส่วนใหญ่อาจคิดว่าเมื่อมีอาการปวดแบบเฉียบพลันและปวดแบบรุนแรงต้องใช้ความร้อน ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง แต่สิ่งแรกที่ควรทำคือใช้แผ่นเจลเย็นที่มีขายอยู่ทั่วไป สอดเข้าไปในปลอกหมอน วางรองบริเวณที่มีอาการปวด ทำ 15-20 นาที ต่อเนื่องเป็นประจำทุกวันจนอาการปวดเริ่มดีขึ้น
บรรเทาอาการปวดหลังด้วยการใช้น้ำแข็ง วนเป็นวงกลมบริเวณบั้นเอวที่ปวด ทำประมาณ 3-4 วินาทีแล้วใช้ผ้าซับน้ำออก ทำซ้ำ ๆ รวมเวลาประมาณ 5 นาที ช่วง 2-3 วันแรกควรทำวันละ 5 รอบ จะช่วยให้อาการปวดหลังทุเลาลง
เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ นอกจากการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำแล้ว การเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ โดยเฉพาะคนที่ต้องนั่งทำงานอยุ่กับที่เป็นเวลานาน ๆ ยีนอยู่กับที่นาน ๆ ควรลุกเดินหรือขยับร่างกายปรับเปลี่ยนอิริยาบถทุก 30 นาทีหรือ 60 นาทีต่อครั้ง
การบริหารร่างกายเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลังด้วยตนเอง เช่น การนั่งทำงานนาน ๆ หรือเริ่มรู้สึกกล้ามเนื้อตึง ควรหยุดพักและจัดแบ่งเวลาในการบริหารร่างกายอยู่กับที่ด้วยท่าง่าย ๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
นั่งทำงานให้ถูกสุขลักษณะ สำหรับคนที่ต้องนั่งทำงานทั้งวันการนั่งที่ถูกต้องช่วยป้องกันอาการปวดหลังได้ เช่น นั่งตัวตรงหลังชิดพนักพิง หากเบาะนั่งลึกและกว้างอาจใช้เบาะรองนั่งและหมอนอิงสำหรับรองแผ่นหลัง เพื่อให้นั่งในท่าที่สบายทำให้หลังตรง 
เลือกรับประทานอาหารเสริมแคลเซียม เพื่อช่วยฟื้นฟูอาการข้อเสื่อมบำรุงกระดูก เป็นการป้องกันอาการกระดูกเสื่อม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดหลัง
การดูแลตนเองเพื่อรักษาหรือป้องกันอาการปวดหลัง ทำได้หลากหลายวิธี ซึ่งการบำบัดทุกวิธีต้องทำอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ จึงจะทำให้อาการปวดบรรเทาลง หรืออาจต้องใช้หลาย ๆ แนวทางร่วมกัน ทราบวิธีดูแลและป้องกันตนเองจากอาการปวดหลังแล้ว อย่าลืมนำไปปฏิบัติเพื่อสุขภาพที่ดีของเรานะครับ


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/erectile-dysfunction-impotence/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

43

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เชื่อว่าเป็นปัญหาสำคัญและเป็นปัญหาใหญ่ของผู้ชายทุกคน แต่ปัญหานี้มักไม่ค่อยพูดถึงหรือไม่กล้าเปิดเผย เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าอายและเป็นปมด้อยอย่างหนึ่ง ทำให้หลาย ๆ คนที่มีปัญหานี้เลือกวิธีแก้ปัญหาแบบผิด ๆ ส่งผลให้มีปัญหาครอบครัวหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพที่อาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต 

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คืออะไร ?
ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หมายถึง อาการที่เพศชายไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ หรือไม่สามารถทำให้การมีเพศสัมพันธ์สมบูรณ์แบบได้ เนื่องจากอวัยเพศไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวไม่นานพอ บางรายมีอาการหลั่งเร็ว หลั่งไว ปัจจุบันพบผู้ที่มีโอกาสป่วยด้วยอาการนี้สูงกว่าในอดีตที่ผ่านมาถึง 3 เท่า และส่วนมากมักปกปิดไม่พบแพทย์ แต่จะเลือกทานสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ เช่น ถั่งเช่า หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาการที่มีส่วนประกอบของถั่งเช่าธิเบต เป็นต้น

ลักษณะการมีสมรรถภาพทางเพศที่ดี
โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ  เป็นปัญหาที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันพบได้ในคนที่มีอายุน้อย ช่วงอายุตั้งแต่ 30 ตอนปลาย หรือ 40 ต้น ๆ อาการเหล่านี้ผู้ชายส่วนหนึ่งไม่ค่อยสังเกต  แต่ความจริงแล้วเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก โดยทั่วไปลักษณะการมีสมรรถภาพทางเพศที่ดี มีตัวบ่งบอก 4 ประการ คือ

เมื่อตื่นนอนในช่วงเช้า ๆ อวัยวะเพศจะแข็งตัวซึ่งเป็นไปเองตามหลักสรีระวิทยา 
สามารถที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ปกติ คือมีการแข็งตัวก่อนมีเพศสัมพันธ์และอยู่ได้นานประมาณ 20 นาที
หลังจากมีเพศสัมพันธ์หรือจบภารกิจแล้ว ไม่เกิดอาการเข่าอ่อน 
มีความสามารถในการมีเพศสัมพันธ์ในครั้งต่อไปได้ภายใน 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง  


ลักษณะอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การที่องคชาตไม่เคยแข็งตัวเต็มที่ หรือไม่แข็งพอที่จะทำให้การร่วมเพศสำเร็จสมบูรณ์
การที่องคชาตเคยแข็งตัวและร่วมเพศได้มาก่อน แต่ต่อมาเกิดความผิดปกติขึ้น ทำให้ไม่สามารถแข็งตัวเหมือนเดิม
การที่อวัยวะเพศไม่แข็งตัวเป็นครั้งคราว ผู้ที่มีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในลักษณะนี้พบได้มาก หากพบปัญหาและรีบรักษาแต่เนิ่น ๆ สามารถหายเป็นปกติได้ เช่น พบแพทย์เพื่อทำการรักษา หรือบำรุงดูแลตนเองด้วยการเลือกทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
สาเหตุของภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
เกิดจากการทำงานหนักและพักผ่อนน้อย เช่น การใช้แรงงาน การทำงานที่ต้องใช้สมองและความคิดทำให้เกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว
การพักผ่อนน้อย หรือทำงานไม่เป็นเวลา เช่น การทำงานในช่วงกลางคืนและพักผ่อนในช่วงกลางวัน การพักผ่อนอาจไม่เต็มที่เหมือนนอนหลับในช่วงกลางคืน
การมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน  ความดันโลหิต  และโรคหัวใจ
การทานยาบางชนิด เช่น ยาลดไขมันบางตัวก็อาจมีผลกระทบกับสมรรถภาพทางเพศได้
ภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง และอายุที่มากขึ้น
หรือเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุร่วมกัน
ปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่  การดื่มเหล้า  
การรับประทานอาหาร เช่น การทานอาหารหวานจัด มันจัด ส่งผลทำให้การหมุนเวียนของเลือดทำได้ไม่ดี
เป็นโรคอ้วน ร่างกายอ้วนเกินไปก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อม วิธีการบำบัดรักษา
วิธีรักษาและป้องกันตนเองจากโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การรักษาโดยการใช้ยานกลุ่ม PDE–5 Inhibitor เช่น Viagra, Levitra, Cialis โดยจะต้องรับประทานก่อนมีเพศสัมพันธ์ ประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง และการใช้ยาประเภทนี้อาจมีผลข้างเคียงเช่น มีอาการใจสั่น ปวดศรีษะ เห็นแสงวูบวาบ หรือมีอาการคัดจมูก
รักษาโดยการใช้กระบอกสุญญากาศครอบที่อวัยวะเพศ หลังจากนั้นก็สูบอากาศออกจากท่อ ทำให้เลือดเข้าไปในอวัยวะเพศจนอวัยวะเพศแข็งตัวได้ดี หลังจากนั้นจึงใช้ยางรัดเพื่อไม่ให้เลือดไหลออก
รักษาด้วยการใช้คลื่นเสียงความถี่ต่ำ เป็นเทคโนโลยีและทางเลือกใหม่ที่ช่วยให้เกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่ขึ้นในอวัยวะเพศ ทำให้เกิดการฟื้นฟูและรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศให้มีอาการดีขึ้น
การรักษาโดยการใช้ยาฉีดเข้าไปในอวัยวะเพศโดยตรง ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 5–10 นาที มีประสิทธิภาพประมาณ 70 %
รักษาโดยการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดใส่แกนอวัยวะเพศเทียมเข้าไปในอวัยวะเพศโดยตรง วิธีนี้เป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การบำรุงดูแลตนเอง โดยการทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีส่วนช่วยสมรรถภาพทางเพศ เช่น ถั่งเช่า กระชายดำ โสม เป็นต้น เป็นวิธีดูแลตนเองง่าย ๆ และได้ผลดี เพียงเลือกผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่นงดดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพย์ติดอื่น ๆ
โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่ควรดูแลเอาใจใส่ สังเกตตนเองอยู่เสมอ และการทำให้สมรรถภาพทางเพศดีไม่จำเป็นต้องพึ่งยาเพียงอย่างเดียว ต้องใช้หลายๆ อย่างร่วมกัน ที่สำคัญคือการเรื่องการควบคุมอาหาร ลดอาหารหวาน เค็ม อาหารประเภทไขมัน และเลือกรับประทานพืชผักสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา เช่น ถั่งเช่า กระชายดำ โสม ซึ่งมีผลิตออกมาจำหน่ายหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/erectile-dysfunction-impotence/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

44

การคุมกำเนิด คือวิธีป้องกันการปฏิสนธิหรือการตั้งครรภ์ของคู่สมรสที่ยังไม่พร้อมมีบุตร และมีด้วยกันหลายแนวทาง หลัก ๆ แบ่งออกเป็นการคุมกำเนิดแบบถาวรและการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยการกินยาคุมกำเนิด ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทั้งคนที่ยังไม่พร้อมตั้งครรภ์หรือต้องการเว้นระยะห่างของการมีบุตร ในบทความนี้มีความรู้เกี่ยวกับยาคุมกำเนิดและการกินอย่างถูกวิธีมาแนะนำครับ

ยาคุมกำเนิด คืออะไร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง 
ยาคุมกำเนิด (Contraceptive Pill) คือยาที่ใช้ทานเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เป็นการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยการบรรจุฮอร์โมนเพศหญิงสังเคราะห์ไว้เป็นตัวยาสำคัญ ยาคุมกำเนิด ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามจุดประสงค์ของการใช้ยา ได้แก่ การป้องกันแบบฉุกเฉิน และป้องกันเป็นประจำรายเดือน ทั้ง 2 ประเภทมีวิธีกินและมีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกัน ดังนี้

ยาคุมกำเนิด ประเภทป้องกันแบบฉุกเฉิน มีเพียง 2 เม็ด โดยจะต้องทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์โดยที่ไม่ได้มีการป้องกันมาก่อน หรือป้องกันแล้วมีความผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น ถุงยางอนามัยรั่ว แตก ซึ่งการใช้ยาคุมประเภทนี้ในบางรายอาจมีผลข้างเคียงบ้าง เช่น มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนคลาดเคลื่อนหรืออาเจียน ประสิทธิภาพในการป้องกันอาจไม่ได้ผลดีเท่ายาคุมกำเนิดแบบรายเดือน 
ยาคุมกำเนิด ประเภทป้องกันเป็นรายเดือน คือการกินยาคุมแบบต่อเนื่อง เพื่อคุมกำเนิดระยะยาว ยาคุมประเภทนี้ให้ผลดีคือ ช่วยปรับให้ประจำเดือนมาปกติสม่ำเสมอ ช่วยให้ผิวพรรณดี ช่วยลดการเกิดสิว แต่ต้องกินให้ตรงเวลา อย่างสม่ำเสมอ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
แบบมีฮอร์โมนรวม ประกอบไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตรเจน ยาคุมประเภทนี้จะช่วยไม่ให้ไข่ตกและลดฮอร์โมนเพศชาย ทำให้หน้ามันลดลงและลดการเป็นสิวอีกด้วย เป็นชนิดที่นิยมใช้กันทั่วไปเพราะให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง มีโอกาสพลาดเกิดการตั้งครรภ์ได้น้อยมากจนแทบไม่มีเลยเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น
แบบมีฮอร์โมนต่ำ ช่วยลดอาการแพ้เช่น เวียนศีรษะหรืออาเจียนได้ ไม่ทำให้น้ำหนักขึ้น เป็นแบบที่ลดฮอร์โมนเอสโตรเจนลงครึ่งหนึ่ง ทำให้เกิดอาการข้างเคียงน้อยลง เหมาะกับผู้ที่มีอาการแพ้จนไม่สามารถทานแบบฮอร์โมนรวมได้
แบบมีฮอร์โมนโปรเจสโตรเจน เหมาะกับผู้ที่กำลังให้นมบุตร และผู้ที่แพ้ฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ให้ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดได้น้อยกว่า 2 ชนิดแรก  ซึ่งแบบมีฮอร์โมนโปรเจสโตรเจน มี2 ขนาดคือ ขนาด 21 เม็ดและ 28 เม็ด  โดยจะแบบ 21 เม็ด จะอยู่ในรูปแบบมี 2 แผง การทานจะต้องทานแผงแรกให้หมดก่อน จากนั้นให้หยุด 7 วัน จึงเริ่มทานแผงที่สอง แต่สำหรับแบบ 28 เม็ด ให้ทานติดต่อกัน 2 แผงได้เลย
ยาคุมกำเนิดทำงานอย่างไร ?
การกินยาคุมกำเนิดเป็นการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว ดังนั้นการทำงานของยาคุมจะเป็นการทำให้ระงับการผสมของไข่และอสุจิชั่วคราว ด้วยการทำงานที่ขัดขวางไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ดังนี้

ระงับไม่ให้ร่างกายมีการตกไข่ 
สร้างเมือกที่ปากมดลูก ช่วยทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นหรือเหนียว เพื่อขัดขวางการเดินทางของอสุจิทำให้ไม่สามารถเดินทางเข้ามาผสมกับไข่ได้
ท่อนำไข่ผิดปกติทำให้ไข่ที่ผสมแล้วไม่สามารถเดินทางมาฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกได้
ทำให้ผนังมดลูกบางลง จนทำให้สภาพของเยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว

Woman photo created by jcomp – www.freepik.com

วิธีการทานยาคุม ทานอย่างไรให้ถูกต้อง
สำหรับการกินยาคุมกำเนิด และเพื่อให้การคุมกำเนิดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรเรียนรู้วิธีกินยาคุมให้ถูกต้อง ดังนี้

หากเป็นยาคุมแบบฉุกเฉิน มีวิธีกิน 2 แบบคือ กินเม็ดแรกให้เร็วที่สุดหลังการมีเพศสัมพันธ์ และสำหรับอีกเม็ดให้ทานหลัง 12 ชั่วโมงผ่านไป และอีกประเภทคือ กินพร้อมกัน 2 เม็ด ให้เร็วที่สุดหลังการมีเพศสัมพันธ์เช่นกัน ซึ่งการกินยาคุมกำเนิดพร้อมกัน 2 เม็ดมีผลดีคือสะดวกกกว่าและป้องกันการลืมทานยาอีกด้วย
ยาคุมแบบรายเดือนควรกินยาคุมตั้งแต่วันที่1-5 ของการมีประจำเดือน แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ก็ให้เริ่มกินตั้งแต่วันที่ 2-6 หรือภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน หากเกินจากนี้ไปการคุมกำเนิดอาจไม่ได้ผล
การกินยาคุมแบบรายเดือนจะต้องกินตามลูกศรที่แจ้งไว้บนแผงยา หรือให้ตรงกับวันนั้น ๆห้ามข้ามไปมา โดยจะต้องกินทุกวันจนหมดแผง และกินให้ตรงเวลาทุกวัน เช่น ก่อนนอนก็ควรกินก่อนนอนเป็นประจำทุกวัน 
ข้อควรรู้ของการใช้ยาคุมกำเนิด
ก่อนเริ่มกินยาคุมกำเนิดคุมแผงใหม่ วิธีที่ถูกต้อง ควรตรวจดูวันที่หมดอายุก่อน เพราะยาคุมที่หมดอายุจะไม่สามารถคุมกำเนิดได้
การกินยาคุมอาจทำให้ประจำเดือนมาน้อยลงได้ ซึ่งยาคุมกำเนิดจะไม่ทำให้มดลูกแห้ง แต่กลับมีผลดีคือทำให้ร่างกายสูญเสียเลือดน้อยลงและช่วยลดการปวดประจำเดือนได้
การกินยาคุมไม่ทำให้มีบุตรยากแต่อย่างใด หากหยุดการกินยาคุมกำเนิดประมาณ 2-3 เดือน ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ
การกินยาคุมกำเนิด เป็นการช่วยป้องกันไม่ให้มีบุตรเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ได้ หากต้องการคุมกำเนิดและป้องกันโรคทางเพศด้วย จำเป็นจะต้องใช้การคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย และการกินยาคุมกำเนิด เมื่อกินไปแล้วเกิดผลข้างเคียงควรเปลี่ยนยาคุมโดยเลือกชนิดที่มีผลข้างเคียงน้อย เพราะบรรจุฮอร์โมนเพศหญิงต่ำกว่าก็ได้ เมื่อทราบข้อมูลและวิธีกินยาคุมกำเนิดอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/how-to-take-birth-control-pills/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

45
ลิ้นหัวใจรั่ว
โรคหัวใจ ถือเป็นภัยเงียบที่อันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากอาการของโรคหัวใจบางชนิดจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจึงจะแสดงอาการ และจะแสดงอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยกลางคนหรือประมาณอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ลิ้นหัวใจรั่ว คือหนึ่งในโรคหัวใจที่นี้มีผลกระทบกับคุณภาพชีวิตในทุก ๆ ด้าน ลิ้นหัวใจรั่ว สาเหตุเกิดจากอะไร เป็นแล้วสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่ เรามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันจากบทความต่อไปนี้ครับ

โรคลิ้นหัวใจรั่ว คืออะไร ?
ลิ้นหัวใจรั่ว (Heart Valve Regurgitation) เป็นโรคที่เกิดจากลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท  ทำให้เลือดที่หัวใจสูบฉีดไหลย้อนกลับ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างทั่วถึง  ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเหนื่อยง่าย คุณภาพชีวิตลดลงและส่งผลระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ในผู้ป่วยบางรายที่อาการของโรคมีความรุนแรง อาจหัวใจล้มเหลวและทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจรั่ว
ปัจจัยหลักของการเกิดโรคลิ้นหัวใจรั่ว สามารถแบ่งออกเป็น 4 สาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

ความพิการแต่กำเนิด ในกรณีนี้ผู้ป่วยจะมีอาการมาตั้งแต่แรกคลอด เช่น ภาวะลิ้นหัวใจตีบ จนส่งผลให้หัวใจทำงานผิดปกติ
เกิดจากโรคลิ้นหัวใจรูมาติก โรคนี้มาจากเชื้อโรคสเตรปโตคอคคัส ที่เข้าไปทำลายลิ้นหัวใจจนเสียหายและจะแสดงอาการ 5-10 ปีหลังจากการเป็นไข้รูมาติก ซึ่งเป็นสาแหตุของอาการลิ้นหัวใจรั่วที่พบมากที่สุด
เกิดจากลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพ เนื่องมาจากอายุที่มากขึ้นทำให้ร่างกายมีความเสื่อม ส่งผลทำให้อวัยวะต่าง ๆรวมทั้งลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพตามมาด้วย
เกิดจากลิ้นหัวใจติดเชื้อในกระแสเลือด อาการหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน หรือการใช้ยาบางชนิดก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วได้เช่นกัน
เกิดจากกรรมพันธุ์ หากพบว่ามีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว ก็มักส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้สูง
ไอเรื้อรัง

อาการของโรคลิ้นหัวใจรั่ว
มีอาการเหนื่อยง่าย ในระยะแรก ๆ อาจยังไม่รุนแรงมากนัก แต่มักแสดงอาการขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ออกกำลังกายหรือทำงานหนักที่ต้องใช้แรงมาก ๆ เนื่องจากเลือดเกิดการคั่งอยู่ในปอด
ไอ มีเสมหะ เวียนศีรษะ เป็นลม มีปัญหาในการนอนหลับ เนื่องจากหายใจไม่สะดวก
มักมีอาการเจ็บหน้าอก รวมทั้งหัวใจเต้นผิดปกติ
มีอาการบวมที่เท้าและขา ท้องมาน ซึ่งเกิดจากการบวมน้ำ ในบางรายอาจพบปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน
การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่ว
แพทย์จะทำการตรวจด้วยเครื่องคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นการส่งคลื่นเสียงความถี่สูง สะท้อนภาพของหัวใจ ที่สามารถเห็นความผิดปกติและความรุนแรงของลิ้นหัวใจรั่วได้
ทดสอบสมรรถภาพของหัวใจด้วยการให้ผู้ป่วยออกกำลังกายด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อทดสอบการทำงานของหัวใจว่าทำได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ด้วยการใช้เครื่องมือที่บริเวณหน้าอก ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อบันทึกการทำงานของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ เพื่อดูขนาดของหัวใจว่าโตผิดปกติหรือไม่
ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก เป็นการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กและวิทยุ วิธีนี้แพทย์จะเห็นภาพรายละเอียดของหัวใจ ว่าทำงานผิดปกติอย่างไร
การเอกซเรย์ดูหลอดเลือดหัวใจ ด้วยวิธีการสอดท่อและฉีดสารทึบแสงผ่านทางข้อพับและขาหนีบ จากนั้นก็จะเอกซเรย์ วิธีนี้เป็นการดูการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ
เอกซเรย์ทรวงอก เพื่อดูว่ามีภาวะหัวใจโตหรือไม่ เพื่อหาความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นโรคหัวใจหรือโรคเกี่ยวกับปอด
การผ่าตัด
ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay

การรักษาโรคลิ้นหัวใจ
กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงมากนัก แพทย์จะใช้ยาในการรักษา เช่น ยาขับปัสสาวะเพื่อช่วยขับของเหลวออกมา ช่วยลดอาการเหนื่อยและอาการบวม หรือยาปรับสภาพของหัวใจ เพื่อช่วยไม่ให้หัวใจโต ช่วยควบคุมความดัน และยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อช่วยให้การทำงานของหัวใจทำได้ดีขึ้น
ผู้ป่วยในรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ดังนี้
การผ่าตัดรักษาอาการลิ้นหัวใจรั่ว ด้วยการใช้ลิ้นหัวใจเทียมทดแทนลิ้นหัวใจเดิม เป็นลิ้นที่ทำจากโลหะหรือเยื่อหุ้มหัวใจหมู และต้องทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดอย่างต่อเนื่อง วิธีนี้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ 10-15 ปี แต่ไม่สามารถมีบุตรหรือตั้งครรภ์ได้
ผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ เป็นการผ่าตัดเพื่อตกแต่งส่วนที่ผิดปกติหรือการลอกหินปูนที่จับออกและใช้เยื่อหุ้มหัวใจของผู้ป่วยเองมาซ่อมแซม วิธีนี้มีข้อดีคือร่างกายผู้ป่วยก็จะไม่เกิดปฏิกิริยาต่อต้าน อีกทั้งหัวใจจะแข็งแรงเทียบเท่าคนปกติ โดยไม่ต้องทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด และการประเมินผลการรักษาของแพทย์ยังสามารถประเมินได้อย่างแม่นยำ เกิดแผลผ่าตัดเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยไม่เจ็บตัวมาก ฟื้นตัวได้เร็ว
การดูแลตนเองของผู้ป่วยลิ้นหัวใจรั่ว
เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันสูง อาหารรสจัด อาหารหวานจัด เพื่อลดการทำงานของหัวใจ
ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างเหมาะสมและควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อให้หัวใจแข็งแรงขึ้น
ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ความดันสูง ไขมันสูง
ควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ เพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนักจนเกินไป
ผู้ป่วยลิ้นหัวใจรั่ว ไม่ควรสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันไม่ให้หัวใจทำงานหนักที่อาจทำให้อาการของโรคมีความรุนแรงมากขึ้น
ทานยาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การควบคุม การติดตามและการประเมินผลของโรคทำได้ดียิ่งขึ้น
หากเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วแล้วไม่ได้เข้ารับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้เช่น หัวใจเต้นผิดปกติหรือเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้เกิดเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง เกิดการติดเชื้อที่หัวใจ หรือทำให้เกิดความดันในปอด จนนำไปสู่ภาวะหัวใจวายจนเสียชีวิตได้ แต่ถ้าเข้ารับการรักษาทันทีไม่ทิ้งไว้นานจนเกินไป โรคนี้ก็ยังสามารถรักษาจนผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เช่นเดิม


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/heart-valve-regurgitation/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

46

โรคติดต่อที่เป็นอันตรายสำหรับเด็ก ๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนมีหลายโรคที่พ่อแม่ควรระวัง เนื่องจากส่วนใหญ่จะมีอาการคล้ายไข้หวัดซึ่งเป็นโรคที่สามาถดูแลและหายได้เอง  ทำให้ขาดความระมัดระวังจากพ่อแม่ผู้ปกครอง โรคมือเท้าปาก คือหนึ่งในโรคที่มากับฤดูฝนและมีอาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัด แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นอาการของโรคมือเท้าปาก สาเหตุและความรุนแรงของโรคต่างจากไข้หวัดอย่างไร บทความนี้มีคำตอบมาให้ครับ 

โรคมือเท้าปากในเด็ก อันตรายที่พ่อแม่ต้องระวัง
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่พบมากในช่วงหน้าฝนหรือช่วงปลายฝนต้นหนาว ส่วนใหญ่พบในวัยทารกจนถึงเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังซุกซน วิ่งเล่น หยอกล้อกันทำให้เชื้อโรคสามารถติดต่อกับเพื่อนๆในวัยเดียวกันได้ง่าย  

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปากเกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด แต่ไวรัสที่เป็นอันตรายที่มักจะถูกกล่าวถึงมากที่สุดคือ กลุ่มเอนเทอโรไวรัส 71 ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นโรคติดต่อที่มีอาการรุนแรงที่สุด แต่จะไม่ติดต่อจากคนสู่สัตว์หรือสัตว์สู่คน ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่ได้รับเชื้อนี้จะไม่ค่อยมีอันตรายหรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย

สัญญาณบ่งชี้ว่าเป็นอาการของโรคมือเท้าปาก
เด็กมีอาการหงอยเซื่องซึม ไม่ร่าเริง
เด็กบ่นว่ามีอาการปวดศรีษะ หรือปวดศรีษะมาก
เด็กมีอาการผวา เพ้อ เบลอ หรือพูดจาสับสนจับใจความไม่ได้
เด็กมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดบริเวณต้นคอมาถึงหัวไหล่
เด็กมีอาการไอ หายใจหอบเร็ว มีเสมหะมาก


อาการและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคมือเท้าปาก
เมื่อเด็กได้รับเชื้อไวรัสกลุ่มนี้จะทำให้เด็กมีอาการ ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ หรือไข้สูงประมาณ 5 -7 วัน เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย มีตุ่มใส 1-2 มิลลิเมตรเหนือบริเวณต่อมทอนซิล มีแผลในปาก บริเวณรอบ 2 -3 แผล เช่น เพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น ริมฝีปาก ทำให้เด็กเจ็บคอหรือกลืนอาหารและนมลำบาก รวมทั้งมีตุ่มขาวขุ่นรอบ ๆ ฐานมีสีแดงขนาด 4-7 มิลลิเมตร เกิดขึ้นที่บริเวณง่ามมือง่ามเท้าฝ่ามือฝ่าเท้าและจะแตกกลายเป็นแผล 

โรคมือเท้าปากในเด็ก หากมีอาการรุนแรงอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อเด็กมีผลกระทบต่อพัฒนาการการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของเด็ก และภาวะแทรกซ้อนที่มักพบคือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอัมพาต เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ ก้านสมองอักเสบ และภาวะขาดน้ำเนื่องจากแผลในปากทำให้รับประทานน้ำและอาหารลำบาก

การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก
การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก แพทย์ที่ทำการรักษาจะวิเคราะห์อาการบ่งชี้ที่เป็นสาเหตุของโรค เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส จึงนำสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ป่วยไปตรวจหาเชื้อ ดังนี้

การตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสโดยใช้วิธีเพิ่มจำนวน RNA ของเอนเทอโรไวรัส เรียกวิธีนี้ว่า PCR (Polymerase Chain Reaction) วิธีนี้ทราบผลภายใน 2-6 วัน
การนำสารคัดหลั่งไปทำการเพาะเชื้อเพื่อยืนยันว่าเป็นไวรัสชนิดใด โดยการทำเทคนิคการเพาะเชื้อ (Viral Culture) วิธีนี้ทราบผลภายใน 2-10 วัน
การติดต่อของโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก ติดต่อทางสารคัดหลั่งในร่างกายผ่านระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ โดยการสัมผัสกับน้ำลาย เสมหะ อุจาระของผู้ป่วย น้ำใส ๆ จากแผลหรือตุ่ม ซึ่งเชื้อไวรัสจะมีระยะในการฟักตัว 3-6 วัน และอาจทำให้เกิดการติดต่อได้โดยไม่พบอาการ

การรักษาโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก ยังไม่มีวัคซีนในการรักษา ดังนั้นการรักษาจึงต้องรักษาเพื่อประคับประคองตามอาการและความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น เช่น การให้ยาทาที่แผลที่ช่องปากเพื่อลดความเจ็บปวด การให้ยาทาบริเวณตุ่มใสใสที่เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาอาการคัน การให้ยาลดไข้หรืออาการที่เป็นหวัด ในเด็กที่มีแผลในปาก แพทย์ที่ทำการรักษามักจะแนะนำให้รับประไอศกรีม หรืออมน้ำแข็งเพื่อบรรเทาการปวดบวมจากการอักเสบของแผลภายในปาก พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่และอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

การป้องกันโรคมือเท้าปาก
หลีกเลี่ยงไม่ใกล้ชิด หรือสัมผัสผู้ป่วย หรือไปบริเวณที่มีมีการแพร่ระบาดของโรคการรักษาความสะอาดของร่างกายตลอดเวลา การล้างมือหลังจากการเข้าห้องน้ำหรือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง การดูแลความสะอาดของเสื้อผ้า และอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนให้มีความสะอาดอยู่เสมอ
ควรแยกภาชนะ เช่น จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ไม่ใช้ร่วมกัน
หากสงสัยว่าเด็กติดเป็นโรคพ่อแม่ควรพาไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน และหากเด็กเป็นโรคควรให้หยุดเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์
เนื่องจากโรคมือเท้าปากมักจะพบว่าติดและเป็นอันตรายในเด็กดังนั้นสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวหรือจัดกิจกรรมของเด็ก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันโรคติดต่อ
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่พบได้เสมอในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบมากในเด็กโดยเฉพาะในวัยเรียน เมื่อพบว่าเด็กมีอาการของโรคมือเท้าปากหรือมีสัญญาณบ่งชี้ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและทำการรักษา หากอยู่ในวัยเรียนควรหยุดเรียนเพื่อป้องกันหรือหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ อย่างไรก็ดีการป้องกันโรคย่อมดีกว่าการดูแลรักษา เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ผู้ปกครองอาจเพิ่มการดูแลเอาใส่ใจอย่างใกล้ชิด แนะนำบุตรหลานให้หมั่นรักษาความสะอาดร่างกาย ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็สามารถห่างไกลและปลอดภัยจากโรคมือเท้าปากได้แล้ว


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/hand-foot-mouth-disease-in-children/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

47
ภาวะเครียด
โรคเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดที่เกิดขึ้นจากการถูกกดดันหรือบีบคั้น และบางครั้งความเครียดก็ยังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ส่วนสาเหตุของความเครียดเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งอุปนิสัยส่วนตัว วิธีการดำเนินชีวิต และสภาพแวดล้อม แม้โรคเครียดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้านเพียงเรารู้ตัวว่ามีความเครียด ก็สามารถรับมือได้ วันนี้ aufarm.shop มี 15 วิธีรับมือกับภาวะเครียดมาแนะนำครับ
15 วิธีรับมือกับภาวะเครียด
แม้โรคเครียด จะเป็นภาวะของอารมณ์ที่เราไม่สามารถควบคุมหรือป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วเรารู้ตัวก็สามารถผ่อนคลายหรือกำจัดความเครียดนั้นให้หมดไปได้ ด้วย 15 วิธี ต่อไปนี้
อย่ากลัวปัญหาแต่ต้องกล้าเผชิญความจริง เพื่อทำใจยอมรับหรือหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้นให้หมดไป ก็จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายไปในทางที่ดีขึ้น ปัญหาความเครียดก็ลดน้อยลงหรือได้รับการแก้ไข
เข้าใจความเปลี่ยนแปลง ความเครียดส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการเมื่อมีความคาดหวัง หากผิดหวังหรือมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก็จะทำให้เกิดความเครียดความวิตกกังวล วิธีรับมือที่ดีที่สุด ควรพิจารณาความเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่เกี่ยวข้อง เมื่อเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างมีเหตุผล ก็จะทำให้ปล่อยวางและผ่อนคลายความเครียดลงได้
การทำสมาธิ เมื่อรู้สึกวิตกกังวลหรือเริ่มมีภาวะเครียด การรับมือกับโรคเครียดที่ทำได้ง่ายที่สุด ให้หาสถานที่เงียบสงบ ปราศจากสิ่งรบกวน หรือเลือกมุมสงบภายในบ้านนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจเข้าออกให้จิตใจของเราจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก เมื่อจิตใจแน่วแน่ก็จะช่วยขจัดความเครียดให้หมดไปได้
ฝึกแผ่เมตตานึกถึงกฎแห่งกรรม ความเครียดที่เกิดจากความคับแค้นใจหรือถูกกดดัน การปล่อยวางนึกถึงกฎแห่งกรรมแล้วฝึกแผ่เมตตา ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการรับมือกับโรคเครียด
เข้าใจชีวิต เข้าใจกฎของธรรมชาติว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีเหตุมีผล เช่น การเสียบางอย่างไป ก็เพื่อให้ได้บางอย่างกลับมา หรือความสุขกับความทุกข์เป็นของคู่กัน
รับรู้ข้อมูลข่าวสารให้น้อยลง  หากรู้ว่าความเครียดเกิดจากสภาพแวดล้อม เกิดจากปัญหาบ้านเมืองหรือเศรษฐกิจ การรับข่าวสารให้น้อยลงหรือเลือกอ่านและรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ก็จะทำให้ภาวะเครียดลดน้อยลง
จัดแบ่งเวลาเพื่อดูแลสุขภาพร่างกาย บางครั้งโรคเครียดก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ หากรู้ตัวว่ามีปัญหาทำให้รู้สึกเครียด การจัดแบ่งเวลาดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย การพักผ่อนด้วยการทำกิจกรรมกับคนในครอบครัว ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการรับมือกับความเครียด
สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับตัวเอง เพื่อทำให้รู้สึกสนุกและผ่อนคลาย เช่น เปลี่ยนทรงผมใหม่ เลือกซื้อเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับใหม่ ๆ ทานข้าวนอกบ้านกับครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน
ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เพื่อให้จิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เราสนใจ เช่น ทำงานฝีมือ งานอดิเรก ปลูกต้นไม้ดอกไม้ที่ชื่นชอบ วิธีเหล่านี้ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายแม้จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก็สามารถรับมือกับโรคเครียด ทำให้มีสติและมีเวลาทบทวนสาเหตุที่เป็นปัจจัยของความเครียดได้
พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หากความเครียดเกิดจากภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว รายได้ไม่เพียงสำหรับค่าใช้จ่าย มีภาระต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เพียงกล้าเข้าพบสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้เพื่อหาทางออก นอกจากมีแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันแล้ว ยังรับมือกับโรคเครียดได้อย่างเห็นผล
ออกกำลังกายเย่างสม่ำเสมอ  การออกกำลังกายทำให้สนุกเพลิดเพลินและลืมความวิตกกังวลได้ และควรเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสุขภาพร่างกาย หรือช่วงวัย
นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ  การพักผ่อนที่เพียงพอทำให้รู้สึกสดชื่นจะช่วยเพิ่มความสามารถ ในการรับมือกับโรคเครียดได้ คนที่อดนอนหรือนอนหลับไม่เพียงพอจะควบคุมตัวเองได้ไม่ดี มีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวได้ง่าย
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เหมาะสมกับช่วงวัย ก็เป็นอีกหนี่งวิธีในการรับมือกับโรคเครียด เพราะเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ ถือเป็นการดูแลสุขภาพร่างกายจากภายในที่ช่วยให้เรามีสภาวะจิตใจแจ่มใส ร่าเริง ขจัดภาวะเครียดหรือลดความเครียดลงได้
ระบายปัญหาที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลออกมาบ้าง ปัญหาบางเรื่องเราสามารถระบายออกมาได้ นอกจากช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายยังหาทางออกได้จากการแนะนำ โดยเลือกเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัวที่เข้าใจรับเพื่อรับฟังปัญหา
โรคเครียดหรือภาวะเครียดที่รุนแรง อาจต้องพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอคำแนะนำในการจัดการความเครียดด้วยตนเอง หรือเพื่อขอรับคำปรึกษาและพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึก ความคิด ซึ่งช่วยให้ได้รับการดูแล บำบัด รักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง
เครียด
Hand photo created by jcomp – www.freepik.com

ผลกระทบจากโรคเครียดต่อการใช้ชีวิต
ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้รู้สึกไม่สบายทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามล้างกาย อ่อนล้า มีความผิดปกติของหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ อาการท้องผูกท้องเสียบ่อย ๆ นอนไม่หลับ หอบหืด เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ
ผลกระทบต่อสุขภาพจิต โรคเครียดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ นำไปสู่ ความวิตกกังวล ซึมเศร้า อารมณ์ไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงง่าย หรือโรคประสาทบางอย่าง
โรคเครียด นอกจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจแล้ว ยังเป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิต การเข้าสังคม และส่งผลไปถึง ประสิทธิภาพในการทำงาน สัมพันธภาพต่อครอบครัวและบุคคลแวดล้อม ปัญหาความเครียดไม่ว่าจะเกิดด้วยสาเหตุใด เพียงเรารู้ทันสาเหตุที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้มีภาวะเครียด ก็สามารถรับมือหรือขจัดความเครียดให้ลดน้อยและหมดไปได้


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/15-ways-to-revent-rlieve-stress/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/


48

อาการข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุและคนที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมาก ๆ และโรคข้อเข่าเสื่อม นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยรวมทั้งสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยจากอาการเจ็บปวดแล้ว ยังส่งผลให้ข้อเข่ามีลักษณะผิดรูป หรือข้อเข่าฝืดติดขัดทำให้ไม่สามารถเดินได้ตามปกติอีกด้วย อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมมีวิธีรักษาอย่างไร จำเป็นหรือไม่ที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หาคำตอบได้จากบทความต่อไปนี้ครับ
โรคข้อเข่าเสื่อม คืออะไร ?
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นอาการของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่างโครงสร้างและการทำงานของกระดูกข้อต่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น และเมื่อลักษณะของข้อเข่ามีการผิดรูปหรือมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยที่ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ และที่สำคัญอาจมีความเสื่อมที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม
ปัจจัยแรกของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ อายุ โดยมักพบในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป สาเหตุใหญ่เกิดจากข้อต่าง ๆผ่านการใช้งานมานาน ส่งผลให้กระดูกอ่อนเสื่อมสภาพและมีความแข็งแรงน้อยลง
เพศ ก็เป็นปัจจัยสำคัญของโรคนี้ โดยพบว่าเพศหญิง มีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า เนื่องจากกระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงน้อยกว่าผู้ชาย
คนอ้วน เนื่องจากคนที่มีน้ำหนักตัวมากทำให้ข้อเข่าต้องรองรับน้ำหนักตัวมากตามไปด้วย และการรับน้ำหนักเป็นเวลานาน ส่งผลทำให้ข้อเข่าก็เสื่อมสภาพเร็วมากกว่าคนปกติทั่วไป
พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การใช้งานข้อเข่าบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ  หรือการนั่งพับเพียบ รวมไปถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารหากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอในแต่ละวัน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีภาวะกระดูกเสื่อมที่จะส่งผลทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย

Background photo created by freepik – www.freepik.com

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อม อาการของโรคนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ พบได้มากในผู้ป่วยที่มีอายุเกิด 50 ปีขึ้นไปและในผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมาก ลักษณะอาการที่พบ ได้แก่
อาการในระยะแรก ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดเข่าเมื่อมีการเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า เมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ
อาการเมื่อมีภาวะข้อเข่าเสื่อมที่รุนแรง จะมีอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น หากมีการอักเสบจะมีข้อบวม ร้อน และตรวจพบน้ำในช่องข้อ
เหยียดหรืองอข้อเข่าไม่สุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่งหรือบิดเบี้ยวผิดรูป 
มีอาการปวดเข่าเวลาเดินหรือขยับ ทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบาก
วิธีและแนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
ปัจจุบันการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้เป็นเพียงการรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวด และสามารถควบคุมอาการทำให้หน้าที่การทำงานของข้อเข่ากลับคืนสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงกับภาวะปกติให้ได้มากที่สุด สำหรับแนวทางการรักษามีหลายวิธี เช่น การรักษาด้วยวิธผ่าตัด เป็นการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และการรักษาด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด เช่น การใช้ยาแก้ปวด ใช้สำหรับลดอาการเจ็บปวดแต่ไม่ได้ลดอาการอักเสบเมื่อหมดฤทธิ์ยาก็จะกลับมาปวดอีก

Man photo created by rawpixel.com – www.freepik.com

แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องผ่าตัด
ทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องผ่าตัด นอกจากการใช้ยาแก้ปวดแล้ว ยังมีวิธีหรือแนวทางการรักษาที่ไม่ต้องกินยาตลอดชีวิต ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังนี้
การรักษาด้วยการใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม โดยน้ำหล่อเลี้ยงเทียมนี้จะใช้ได้นาน 6 เดือน
รักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การพักหรือใช้งานข้อเข่าให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือไม่ควรยืนหรือนั่งท่าเดียวเป็นเวลานาน
ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมากควรลดน้ำหนักด้วยวิธีที่ถูกต้อง
การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินเพื่อช่วยลดแรงที่เกิดกับข้อ
การประคบอุ่นบริเวณข้อเข่า เพื่อลดอาการปวดและลดอาการกล้ามเนื้อเกร็งได้
วิธีดูแลและป้องกันตนเองจากโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อม แม้ส่วนหนึ่งจะมีสาเหตุมาจากการมีอายุที่มากขึ้น แต่การป้องกันตนเองจากโรคข้อเข่าเสื่อม ก็ทำได้ไม่ยาก เพราะปัจจัยสำคัญของอาการข้อเข่าเสื่อมเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เมื่อรู้ถึงสาเหตุหรือปัจจัยของโรค ก็สามารถป้องกันตนเองได้ ดังนี้
ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้งานในการรับน้ำหนักของข้อเข่า เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้น นั่งท่าคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือนั่งพับเพียบเป็นเวลานาน ๆ
กรณีมีน้ำหนักตัวมาก ๆ หรือเป็นโรคอ้วน ควรลดน้ำหนักตัวลงก่อนที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
การออกกำลังกายโดยการยืนแกว่งแขนหลังอาหารมื้อเย็นวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อลดการใช้งานข้อเข่าในขณะออกกำลังกาย
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสุขภาพที่สร้างความทุกข์ทรมมานและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย นอกจากการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดที่อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงแล้ว ยังต้องใช้เวลาในการพักฟื้น ปัจจุบันการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดทำได้หลายวิธี แต่การป้องกันอาการของโรคย่อมดีกว่าการรักษา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งการทานอาหาร หรืออาการเสริมบำรุงกระดูกและแคลเซียม คือแนวทางป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมที่ดีที่สุด

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/knee-osteoarthritis-surgery-prevention/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

49
มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมภัยใกล้ตัวของผู้หญิง ที่สาเหตุของโรคส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรมและปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งล้วนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตรวมทั้งอายุที่มากขึ้น และยังถือเป็นภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาการเบื้องต้นของมะเร็งเต้านม มักไม่มีสัญญาณเตือนหรือมีอาการบ่งบอกมาก่อน เมื่อตรวจพบความผิดปกติอาการก็จะอยู่ในขั้นรุนแรงหรือต้องทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเท่านั้น แล้วเราจะรู้ทันอาการของมะเร็งเต้านมได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบมาให้ครับ
มะเร็งเต้านม ภัยเงียบที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม
ปัจจุบันพบว่า “โรคมะเร็ง” คือโรคอันดับหนึ่งที่มียอดผู้ป่วยเสียชีวิตมากที่สุด นี่คือความน่ากลัวของมะเร็ง และคนทุกคนก็มีโอกาสเป็นมะเร็งได้เท่า ๆ กัน  ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการใช้ชีวิตของทุกคน ที่ไม่ได้ใส่ใจกับการดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหาร มีภาวะเครียดในเรื่องต่าง ๆ ไม่ออกกำลังกาย หรือนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ สำหรับผู้หญิง มะเร็งเต้านม คือภัยร้ายใกล้ตัวที่ต้องให้ความสำคัญและต้องหมั่นตรวจสุขภาพของตนเอง หากพบความผิดปกติก็จะสามารถดูแลรักษาได้ทัน
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านม
ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งเต้านม แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย หรือเกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ทำให้เกิดโรคได้มากขึ้น ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ ดังนี้
เกิดจากพันธุกรรม การตรวจพบมะเร็งเต้านม มักพบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีบุคคลในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคนี้ก่อน  โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของยีน BRCA จะพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุน้อย คือช่วงอายุ 30-40 ปี และมีสมาชิกภายในครอบครัวหลายคนเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งรังไข่
อายุ ผู้ป่วยเมะเร็งเต้านม มักพบได้มากในคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อายุต่ำกว่า 40 ปี พบได้น้อยเพียงร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด
ฮอร์โมนเพศหญิง ฮอร์โมนเพศคือปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม เห็นได้จากการตรวจพบมะเร็งเต้านมในเพศหญิง ที่มีมากกว่าเพศชายถึง 100 เท่า นอกจากนั้นผู้ที่เป็นประจำเดือนเร็วหรือเป็นครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย รวมถึงคนที่หมดประจำเดือนช้าจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้มากกว่าคนอื่น ส่วนผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรือตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้มากกว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ขณะอายุยังน้อย
คนที่มีประวัติการได้รับรังสีบริเวณหน้าอก เมื่ออายุยังน้อย เช่น ฉายรังสีไปที่ผนังทรวงอกเพื่อวินิจฉัยอาการของโรคอื่น ๆ
เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ กินอาหารที่มีไขมันสูง ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือมีภาวะอ้วนหลังหมดประจำเดือน หรือการกินฮอร์โมนเสริม ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง
ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้ทั้งสิ้น การตรวจคัดกรองจึงมีความสำคัญ และหากตรวจมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ย่อมช่วยไม่ให้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ และมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ การตรวจมะเร็งเต้านม นอกจากการตรวจเต้านมด้วยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม ผู้หญิงทุกคนก็สามารถตรวจและสังเกตการเปลี่ยนแปลงร่างกายของตนเองได้ ดังนี้
คลำได้ก้อนแข็งในเต้านม
สังเกตพบความเปลี่ยนแปลงของลักษณะผิวเต้านม มีก้อนขรุขระ หรือมีแผลที่ไม่หาย ผิวหนังแข็ง หรือมีสีเปลี่ยนแปลง
ลักษณะของผิวเต้านมเห็นรอยรูขุมขนชัดขึ้น ซึ่งทำให้ดูคล้ายลักษณะของผิวส้มซึ่งเกิดจากมีเซลล์มะเร็งอยู่ใต้ชั้นผิวหนังในบริเวณหลอดน้ำเหลือง
มีรอยบุ๋มของผิวหนังบริเวณเต้านม หัวนมบุ๋ม มีเลือดหรือของเหลวไหลออกจากหัวนม
เกิดความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตามที่เต้านมเพียงข้างเดียว
คลำหน้าอก
สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านมที่ต้องพบแพทย์
ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ฉะนั้นหากพบสัญญาณเตือนมะเร็งเต้านมตามที่กล่าวมา ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที่เมื่อพบอาการ ดังนี้
คลำเจอก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้ ทั้งที่กดเจ็บหรือไม่เจ็บ
หัวนมตึงรั้งผิดปกติ และมีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลจากหัวนม
3. สังเกตได้ว่าเต้านมมีขนาดและรูปร่างผิดปกติ
การวินิจฉัยและแนวทางการรักษามะเร็งเต้านม
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านม
ทำได้ 2 แนวทาง ได้แก่ การตรวจแมมโมแกรม และการตรวจอัลตร้าซาวด์ ทั้ง 2 วิธีมีขั้นตอนและข้อดีข้อด้อยแตกต่างกัน ดังนี้
การตรวจแมมโมแกมีข้อดีก็คือสามารถตรวจหามะเร็งเต้านมที่มีขนาดเล็กได้ตั้งแต่ยังคลำก้อนไม่พบ และการตรวจแมมโมแกรมจะเห็นรายละเอียดได้มากในคนที่เริ่มสูงอายุหรืออายุมากกว่า 40 ปี ส่วนคนอายุน้อยจะแปลผลแมมโมแกรมยาก กรณีที่พบก้อน ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าก้อนนั้นเป็นน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อ
การตรวจ อัลตร้าซาวด์ มีข้อดีที่สามารถใช้ได้ทั้งคนทุกวัย อีกทั้งยังสามารถช่วยวินิจฉัยว่าก้อนต่าง ๆ ในเต้านมเป็นน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อทำให้สะดวกในการวินิจฉัยในการรักษา
แนวทางการรักษามะเร็งเต้านม
ทำได้ 3 วิธี ได้แก่
การผ่าตัด ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการรักษามะเร็งเต้านม โดยต้องมีการวางแผนอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน
การฉายแสง ใช้รักษาในกรณีก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือมีการกระจายของเซลล์มะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลือง
การใช้ยาเคมีบำบัดและยาต้านฮอร์โมน
มะเร็งเต้านม เป็นภัยเงียบสำหรับผู้หญิงทุกคน และพบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ไม่มีบุตร มีบุตรช้า และมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ผู้หญิงหลายคนมีความเข้าใจผิดคิดว่าก้อนที่ไม่เจ็บคงไม่เป็นไรและปล่อยทิ้งไว้จนกระทั้งก้อนมะเร็งมีความผิดปกติหรือรู้สึกเจ็บ การตรวจร่างกาย การดูแลร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ถือว่าเป็นการเตรียมรับมือกับมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุด


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/what-is-breast-cancer/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

50
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ปัญหาสุขภาพที่พบได้มากในคนที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่ตลอดทั้งวัน คนที่ต้องทำงานหนักรวมไปถึงผู้สูงอายุ ก็คือ อาการปวดหลัง ที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคกระดูกทับเส้นหรือโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการของโรคนี้ร้ายแรงหรือไม่ มีวิธีการรักษาอย่างไร และรู้ได้อย่างไรว่าเป็นสัญญาณเตือนของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเรามีคำตอบครับ

อาการปวดหลัง เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ในร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยกระดูก 206 ชิ้น และแต่ละชิ้นก็จะทำงานประสานกันอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบภายใต้การสั่งงานของระบบประสาท เมื่อร่างกายเราอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เวลาขยับร่างกายมักจะราบรื่นไม่มีการติดขัด ไม่มีการเจ็บหรือปวดแต่อย่างใด ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหลังไม่ว่าจะอยู่ในท่าทางหรือกิจกรรมใด ๆ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดจากกระดูกหรือกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปอาการปวดหลังมีสองรูปแบบ ได้แก่อาการปวดหลังเฉียบพลันที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และปวดเป็นเวลานานแบบเรื้อรังไม่น้อยกว่าหกสัปดาห์

นั่งทำงาน ปวดหลัง
Background photo created by freepik – www.freepik.com

สาเหตุของอาการปวดหลัง
อาการปวดหลังไม่ว่าจะปวดแบบเฉียบพลันหรือมีอาการปวดแบบเรื้อรังจากกระดูกทับเส้นหรือภาวะอื่น ๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตประจำวันทั้งสิ้น อาการปวดหลังแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุใหญ่ ๆ ดังนี้

1. สาเหตุจากภายในร่างกาย
อาการปวดหลังที่เกิดจากสาเหตุภายในร่างกาย ได้แก่

– ความพิการแต่กำเนิดเช่นหลังค่อมหรือกระดูกสันหลังคด

– ความพิการของขา เช่น ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน โรคโปลิโอ

– โรคประจำตัวเช่นกรดในกระเพาะหรือโรคกระเพาะอาหารอักเสบเกิดก๊าซภายในช่องท้องที่ไปดันกล้ามเนื้อส่วนหลังจนมีอาการปวดได้

– โรคไส้ติ่งอักเสบ

– โรคมะเร็งบางชนิด

2. สาเหตุจากภายนอกร่างกาย
อาการปวดหลังในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

– อุบัติเหตุ เช่นรถชน ตกจากที่สูง

– การนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน

– การเดินหรือการวิ่งด้วยการลงน้ำหนักที่ไม่เท่ากัน

– การยกของผิดท่าหรือการยกของหนัก

อาการปวดหลัง สัญญาณบ่งบอกว่าโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อาการปวดหลังที่เป็นอันตรายคือมีอาการปวดเรื้อรังที่เป็นมากกว่า 6 สัปดาห์ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกของโรคกระดูกทับเส้น หรือโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แนวทางการวินิจฉัยอาการทำได้2 วิธี คือตรวจวินิจฉัยอาการกระดูกทับเส้นด้วยตนเอง และการวินิจฉัยโดยแพทย์ ดังนี้

พบแพทย์ ซักประวัติ



แนวทางการวินิจฉัยอาการปวดหลังด้วยตัวเอง
สังเกตอาการปวดตึงหรือปวดตุ๊บ ๆ ของกล้ามเนื้อบริเวณหลัง อาจมีอาการปวดตรงบริเวณกลางหลังหรือปวดบริเวณเอวช่วงล่าง อาจปวดจากการยกของผิดท่าหรือผิดวิธี
ลักษณะอาการปวดที่อาจเป็นอันตราย เช่น กดตามแนวมัดกล้ามเนื้อจะรู้สึกเจ็บลึก ๆ บริเวณที่ถูกกด  มีอาการปวดเอวหรือปวดหลังส่วนล่าง  อาการปวดสะโพกหรือที่เราเรียกกระเบนเหน็บ ในบางคนอาจจะปวดร้าวลงไปที่ต้นขาร่วมด้วย หรือมีอาการปวดเป็นเวลานาน อาจมีอาการชาหรือกล้ามเนื้อขาอาจอ่อนแรง
การวินิจฉัยโรคโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
หากวินิจฉัยด้วยตัวเองแล้ว พบว่าอาการปวดหลังเป็นแบบเรื้อรังหรือลักษณะอาการปวดอาจเป็นอันตรายร้ายแรง เมื่อมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการวินิจฉัย ตามขั้นตอน ดังนี้

แพทย์จะทำการซักประวัติสอบถามอาการปวดหลังดของผู้ป่วย
 สอบถามถึงระยะเวลาที่ปวด ความรุนแรงหรืออาการดำเนินของโรค
เช็คประวัติและตรวจร่างกายสอบถามถึงสาเหตุการเกิดโรคเช่นอุบัติเหตุ โดยเฉพาะผู้ป่วยในรายที่มีอาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน
เมื่อทราบสาเหตุของอาการปวดหลังแล้ว แพทย์อาจส่งตรวจเฉพาะเพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เช่น การส่งตรวจห้องปฏิบัติการตามอาการหนักเบาของอาการจากการวินิจฉัยของแพทย์ รวมถึงการส่งเอ็กซ์เรย์และ MRI การตรวจโดยละเอียดจะทำให้แพทย์หาสาเหตุและตำแหน่งที่เป็นปัญหาเพื่อช่วยในการรักษาให้ตรงจุดและวางแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสม

การรักษาและขั้นตอนการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
เมื่อแพทย์วินิจฉัยพบว่าเป็นอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือกระดูกทับเส้นแพทย์จะวางแนวทางในการรักษาอาการ ดังนี้

กรณีอาการไม่รุนแรง
–  จ่ายยาแก้ปวด แก้อักเสบเพื่อช่วยในการลดบวมของเส้นประสาทที่ถูกหมอนรองกระดูกกดทับ

– การส่งผู้ป่วยไปทำกายภาพบำบัด

– การประคบร้อนเย็นตามอาการ

– บางรายอาจให้นอนพักเพื่อให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด

กรณีอาการปวดหลังมีความรุนแรง
หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นและมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น แพทย์อาจเปลี่ยนแนวทางการรักษาใหม่ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้แก่ การผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ทันสมัยและสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ขึ้นโดยใช้เวลาในการรักษาและฟื้นฟูไม่นาน

วิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
เลือกออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำจะช่วยชะลอความเสื่อมของหมอนรองกระดูกบริเวณสันหลัง ทำให้สามารถป้องกันอาการกระดูกทับเส้นได้เป็นอย่างดี
การจัดระเบียบท่าทางร่างกายให้เหมาะ เช่น การนั่ง การขึ้นลงรถยนต์ การยกของ
การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยลดแรงกดทับกระดูกสันหลัง ช่วยให้ห่างไกลอาการปวดหลังจากโรคกระดูกทับเส้น
อาการปวดหลัง ทั้งลักษณะอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรืออาการปวดเรื้อรังที่อาจเป็นสัญญาณของโรคกระดูกทับเส้น ล้วนเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตทั้งสิ้น และนอกจากนั้นอาการปวดหลังส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเมื่อทราบปัจจัยเสียงเพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองก็สามารถป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากอาการปวดหลังและปลอดภัยจากอาการกระดูกทับเส้นได้แล้ว 



ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/herniated-disk-symptoms/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

หน้า: [1] 2 3