ThaiFranchiseCenter Webboard

บ้านและออฟฟิส | Home & Office => อสังหาริมทรัพย์ | Property => ข้อความที่เริ่มโดย: อัญณา ที่ มีนาคม 22, 2019, 03:28:38 PM

หัวข้อ: มาทำความรู้จักกับประกันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบ้านกัน
เริ่มหัวข้อโดย: อัญณา ที่ มีนาคม 22, 2019, 03:28:38 PM
แน่นอนว่าเมื่อเราเริ่มมีความมั่นคงทางชีวิตมากขึ้นนั้นเราก็คงอยากจะที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองอย่างแน่นอน ซึ่งหลายๆ คนนั้นก็อาจจะเริ่มจากการซื้อ บ้านมือสอง (https://www.scb.co.th/th/personal-banking/promotions/home-loans/second-hand-home-loan.html) ไว้ก่อนแล้วค่อยขยัยขยายเอาแต่ทั้งนี้สำหรับใครก็ตามที่อยากจะป้องกันเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับบ้านของเรานั้นก็สามารถทำได้ด้วยการทำประกันบ้านในประเภทต่างๆ ไว้ ซึ่งลักษณะนั้นก็คล้ายกับประกันภัยรถยนต์นั่นแหละ แต่ทว่าในประกันบ้านต่างๆ นั้นก็จะมีการแยกหมวดหมู่ไว้ชัดเจนว่าประกันภัยในรูปแบบนี้ทำขึ้นมาเพื่อป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับบ้านในเรื่องใด ฉะนั้นในวันนี้เราจึงนำประกันภัยเกี่ยวกับบ้านที่เรามามารถจะทำได้มาฝาก ทุกๆ คนกัน
1.   ประกันอัคคีภัย โดยปกติแล้ว ประกันภัย ที่เป็นประเภทนี้นั้นจะนิยมทำกันเป็นช่วงระยะเวลาสั้น แต่ต้องทำเป็นประจำ อย่างเช่น ทุกปี หรือทุก 2-3 ปี และถ้าหากว่าเลือกระยะเวลาในการประกันที่มากค่าเบี้ยประกันนั้นก็จะยิ่งถูซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้นเบี้ยประกันของประกันอัคคีภัยจะไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่าต้องเป็นเท่าไร ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับบริษัทประกันและลักษณะอาคารหรือบ้าน ส่วนในเรื่องของความคุ้มครองนั้นก็จะคุ้มครองในเรื่องของการเกิดไฟไหม้ ฟ้าผ่า แก๊สจากการทำแสงสว่างหรือใช้ประโยชน์ในบ้าน แต่ไม่รวมถึงการระเบิดเพราะแผ่นดินไหว นอกจากนี้ก็อาจจะคุ้มครองในเรื่องอื่นๆ ด้วยตามที่ระบุกันไว้ในกรมธรรม์นั่นเอง
2.   ประกันภัยพิบัติ โดยจะคุ้มครองบ้านจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ อย่างเช่นน้ำท่วม แผ่นดินไหวและพายุ ซึ่ง บ้านมือสอง ก็สามารถทำประกันภัยประเภทนี้ได้เข่นเดียวกัน แต่ทว่าจะต้องเป็นภัยธรรมชาติที่เข้าเงื่อนไขเป็นภัยพิบัติ เช่น
-   มีการประกาศเป็นภัยพิบัติรุนแรง ตามคำแนะนำของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
-   ค่าสินไหมทดแทนรวมของผู้เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติมากกว่า 5,000 ล้านบาท ต่อหนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน 60 วัน  โดยมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป
-   กรณีแผ่นดินไหวต้องมีความรุนแรงตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป
-   ถ้าหากเป็นกรณีพายุต้องมีความเร็วลมตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
แต่ทั้งนี้ก็ไม่ครอบคลุมถึงบ้านในพื้นที่ซึ่งถูกกำหนดไว้ว่าเป็นพื้นที่รองรับน้ำ พื้นที่กักเก็บน้ำ หรือทางน้ำผ่าน ซึ่งได้รับความช่วยเหลือโดยตรงจากภาครัฐอยู่แล้ว
3.   ประกันคุ้มครองหลักทรัพย์ TMRA ซึ่งก็คือ ประกันชีวิตที่ทำขึ้นสำหรับคุ้มครองบ้านหรือที่ดินสำหรับผู้ขอสินเชื่อในการซื้อบ้าน สำหรับเจ้าของบ้านที่กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อมาซื้อบ้านแล้วเกิดเสียชีวิตหรือสูญเสียความสามารถในการใช้หนี้ไปก่อนครบสัญญา โดยทางบริษัท ประกันภัย (https://www.scb.co.th/th/personal-banking/insurance.html) ก็จะชดใช้หนี้สินในส่วนที่เหลือให้กับธนาคารแทนนั่นเอง ดังนั้นจึงถือเป็นการประกันอนาคตของครอบครัวผู้ขอสินเชื่อ และเป็นการประกันคววามเสี่ยงให้กับทางธนาคารไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งเบี้ยประกันนั้นก้จะขึ้นอยู่กับราคาประเมินของหลักประกันหรือสินทรัพย์ซึ่งแต่ละบริษัทประกันภัยจะกำหนดไว้ไม่เท่ากันนั่นเอง
และที่เราได้กล่าวไปนั้นก็เป็นรายละเอียดในลักษณะของประกันภัยที่เกี่ยวกับบ้านในประเภทต่างๆ ที่เราสามารถทำได้ ทั้งนี้เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำประกันภัยในทุกๆ ประเภทก็ได้ หรือถ้าหากจะไม่ทำสักประเภทก็ไม่ผิดกฎหมาย