ThaiFranchiseCenter Webboard

การให้บริการทางธุรกิจ | Business Service => การเงิน | Finance => ข้อความที่เริ่มโดย: พิมพาดีอนันต์ ที่ มกราคม 05, 2019, 09:00:56 AM

หัวข้อ: วางแผนการเงิน อย่างไร ให้คุ้มค่าเมื่อถึงวัยเกษียณ
เริ่มหัวข้อโดย: พิมพาดีอนันต์ ที่ มกราคม 05, 2019, 09:00:56 AM
วางแผนการเงิน อย่างไร ให้คุ้มค่าเมื่อถึงวัยเกษียณ  

เชื่อว่าหนุ่มสาววัยทำงานหลายคนต้องเคยตั้งคำถามเพื่อถามตัวเองว่า “ชีวิตในวัยเกษียณ อยากให้เป็นอย่างไร” ร้อยทั้งร้อยก็คงตอบว่า อยากใช้ชีวิตเรียบง่ายท่ามกลางธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องมีเงินมากมาย แค่พอมีกินมีใช้ในชีวิตประจำวันและมีเผื่อสำรองเก็บไว้ใช้ยามเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลโดยไม่เดือดร้อนลูกหลาน แต่ก็ต้องยอมรับว่าหากอยากให้ทุกอย่างเป็นเช่นนั้นในช่วงบั้นปลายของชีวิต สิ่งที่สมควรทำตั้งแต่ตอนนี้เพื่อเป้าหมายในวันข้างหน้าคือการ วางแผนการเงิน อย่างรอบคอบและรัดกุมเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในวัยเกษียณ

การ วางแผนการเงิน เพื่อนำไปใช้ในวัยชราที่ทำได้ง่ายๆ คือ การ เก็บเงิน (https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/early-in-career-deposit-saving-in-early-career.html) ซึ่งเป็นการ ออมเงิน แบบง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้ โดยเฉพาะพนักงานที่มีเงินเดือนประจำแน่นอนในแต่ละเดือน ที่สามารถแบ่งเงินจำนวนหนึ่งของเงินเดือนเก็บไว้ อาจเก็บด้วยวิธีง่ายๆ อย่างเช่น การหยอดกระปุกหรือฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งทั้งสองเป็นวิธีที่ไม่มีความเสี่ยงใดๆ และยังสามารถนำเงินมาใช้ได้ตามต้องการ แต่ข้อเสียคือเป็นวิธีที่ไม่ให้ผลตอบแทน ดังนั้นหากต้องการผลตอบแทนในรูปของ ดอกเบี้ยเงินฝาก (https://www.scb.co.th/th/personal-banking/rates-fees.html) ควรเลือกฝากเงินกับบัญชีฝากประจำ ที่มี อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (https://www.scb.co.th/th/personal-banking/rates-fees.html) ที่ดี เพราะยิ่งฝากมากฝากนานก็ยิ่งให้ผลตอบแทนสูง แถมยังเป็นการวินัยในการ ออมเงินด้วย

อย่างไรก็ตามการ เก็บเงิน เพียงจำนวนน้อย ๆ ต่อเดือน อาจไม่เพียงพอสำหรับเก็บไว้ใช้ดำรงชีวิตในวัยเกษียณ เพราะฉะนั้นจึงควรนำเงินมาลงทุนเพื่อทำให้เงินในบัญชีเงินฝากเพิ่มมากขึ้น ควรเลือกสถาบันการเงินที่มี ค่าธรรมเนียมโอนเงิน (https://www.scb.co.th/th/personal-banking/rates-fees.html) ที่ถูกที่ดี ซึ่งอาจเลือกซื้อ ’พันธบัตร’ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ แต่ข้อเสียคือต้องถือครองพันธบัตรในระยะยาวจึงจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า หรืออาจจะเลือกเป็นกองทุนรวม ที่มีข้อดีตรงที่สามารถนำไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่ข้อเสียที่ต้องยอมรับ คือกองทุนรวมเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงพอสมควร เพราะฉะนั้นจึงควรเลือกเฉลี่ยการลงทุนในหลายๆ กองทุน เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงรวมถึงควรศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจ

แต่สำหรับคนที่ไม่อยากเสี่ยงกับการลงทุน อาจเลือกเป็นการซื้อประกันวางแผน ออมเงิน ถือเป็นการออมเงินแบบระยะยาวและให้ผลตอบแทนสูง โดยมีอายุรับประกันภัยตั้งแต่ 20 ถึง 60 ปี และให้ผลตอบแทนจนถึง 90 ปี โดยรับเงินคืน 20% ในปีแรกและเพิ่มขึ้นในทุกๆ 10 ปี จนถึงอายุ 90 ปี รวมผลประโยชน์ที่ได้รับสูงถึง 600 - 700 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย ตัวอย่างประกันชีวิตรูปแบบนี้ ได้แก่  ประกันเพราะอุ่นใจ ยิ้มได้ยามเกษียณ 90/1 และ ประกันเพราะอุ่นใจ ยิ้มได้ยามเกษียณ 90/60 ซึ่งถือว่าเป็นแบบประกันที่คุ้มค่าและช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิตวัยเกษียณอย่างแท้จริง