ThaiFranchiseCenter Webboard

สุขภาพ ความสวยความงาม | Health & Beauty => สุขภาพ | Health => ข้อความที่เริ่มโดย: อนันชัย เตชะเลิศพนา ที่ มกราคม 10, 2022, 06:42:21 PM

หัวข้อ: เช็คก่อนสาย! อาการไขมันในเลือดสูง
เริ่มหัวข้อโดย: อนันชัย เตชะเลิศพนา ที่ มกราคม 10, 2022, 06:42:21 PM
ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง (https://i-kinn.com/)
           เป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ ไขมันที่สูงนั้นอาจเป็นโคเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง เรียกว่า Hyperlipidemia เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

สาเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูง (https://i-kinn.com/)
           1. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายเผาผลาญทำลายไขมันลดลง
           2. การรับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ
                       - รับประทานอาหารทีมีส่วนประกอบที่มีน้ำตาลมาก
                       - รับประทานอาหารเกินความจำเป็นของร่างกายใน 1 วัน
                       - การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก อาหารทอดที่อมน้ำมัน
           3. การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากและเป็นประจำ
                4. การใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย โรคไต เป็นต้น

อันตรายของภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง
- เกิดจากเส้นเลือดแดงอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์
- อันตรายของภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง
- ปวดท้อง บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นตับอ่อนอักเสบได้
- ปื้นเหลืองที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นปื้นหนา โดยตรงกลางมีสีเหลือง ส่วนฐานของเม็ดพุพองนี้จะมีลักษณะสีแดง จะพบเมื่อไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างมาก จุดที่เกิด เช่น หนังตา ข้อศอก เข่า ฝ่ามือ
- ระบบประสาททำงานผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายมีอาการดินโซเซ และกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
- ปวดข้อ แขน ขา ตึง เหยียดได้ไม่ถนัด
- หลอดเลือดแดงแข็งมีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเกิดอัมพาตได้

การปฏิบัติตัวของผู้ที่มีภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง
1. เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดย
   - ลดปริมาณอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ได้แก่ สมองสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง เครื่องในสัตว์ โดยจำกัดให้ได้รับได้ไม่เกินละ 300 มิลลิกรัม ต่อวัน
   - ลดอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น หนังเป็ด – ไก่
   - การปรุงอาหารที่ใช้วิธี นึ่ง ต้ม อบ ย่าง แทนการทอดหรือการใช้น้ำมันผัด
        - งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
   เช่น วิ่งเหยาะ ๆ เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ อย่างน้อยวันละ 30 – 45 นาที สัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง
3. หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
4. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ