คำนวณ    คำนวณการเงิน    คำนวณภาษีแบบง่าย
11K
คำนวณ ภาษีแบบง่าย
        ลักษณะของภาษีอากรที่ดี รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตาม ที่กฎหมายบัญญัติ ในการบัญญัติกฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น มีหลักการบางประการที่ควรคำนึงถึง เพื่อให้ประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากร และให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีอากรที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
คำนวณภาษีแบบง่าย (TAX Calculator)
คำอธิบาย : โปรแกรมคำนวณภาษีแบบง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณเตรียมตัววางแผนเรื่องภาษีได้ดียิ่งขึ้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ซื้อบ้าน ซื้อประกันชีวิต หรือลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ LTF หรือ RMF เชื่อหรือไม่... ว่าในแต่ละปี คุณสามารถประหยัดภาษีได้มากเลยทีเดียว ลองตรวจสอบกันดูซิ ว่าปีนี้เราลดหย่อนภาษีคุ้มค่ากันหรือยัง
 
โปรแกรมคำนวณภาษี หน่วย
(บาท/ปี)
   1. เงินได้เพื่อเสียภาษี (เงินเดือน โบนัส ฯลฯ)  
   2. หักเงินได้ที่ได้รับยกเว้น    
       2.1 เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ส่วนที่เกิน 10,000 บาท
           แต่ไม่เกิน 490,000 บาท)
 
       2.2 เงินสะสม กบข.  
   3. คงเหลือ (1. - 2.)  
   4. หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว (40% ของข้อ 1. แต่ไม่เกิน 60,000 บาท)  
   5. คงเหลือ (3. - 4.)  
   6. หักค่าลดหย่อน    
      6.1 กรณีทั่วไป    
          6.1.1 ผู้มีเงินได้ (คนละ 30,000 บาท)  
          6.1.2 คู่สมรส (30,000 บาท กรณีมีเงินได้รวมคำนวณภาษีหรือไม่มีเงินได้
                ถ้าพิการบวกเพิ่ม 30,000 บาท)
 
          6.1.3 บุตร    
              * กรณีไม่ศึกษา (คนละ 15,000 บาท ไม่เกิน 2 คน)  
              * กรณีศึกษา (คนละ 17,000 บาท ไม่เกิน 2 คน)  
          6.1.4 บิดา และ/หรือ มารดา (คนละ 30,000 บาท ถ้าพิการบวกเพิ่มอีก
                คนละ 30,000 บาท)
 
          6.1.5 เงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ไม่เกิน 9,000 บาท)  
      6.2 กรณีที่มีการออม/การลงทุนตามที่รัฐส่งเสริม    
          6.2.1 เบี้ยประกันชีวิต (ไม่เกิน 100,000 บาท)  
          6.2.2 เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท)  
          6.2.3 ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
                (15% ของเงินได้ รวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
                หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว ไม่เกิน 500,000 บาท)
 
          6.2.4 ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) (15% ของเงินได้
                แต่ไม่เกิน 500,000 บาท)
 
          6.2.5 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย
                (ไม่เกิน 100,000 บาท)
 
   7. เงินได้สุทธิ (5. - 6.)  
   8. ภาษีเงินได้ทั้งปี  
      * เงินได้สุทธิตั้งแต่ 0 - 150,000 บาท (ได้รับยกเว้น)  
      * เงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,001 - 500,000 บาท (10%)  
      * เงินได้สุทธิตั้งแต่ 500,001 - 1,000,000 บาท (20%)  
      * เงินได้สุทธิตั้งแต่ 1,000,001 - 4,000,000 บาท     (30%)  
      * เงินได้สุทธิตั้งแต่ 4,000,001 บาท ขึ้นไป (37%)  
   เปรียบเทียบกับกรณีที่ไม่มีการออม/การลงทุนตามที่รัฐส่งเสริม
   9. เงินได้สุทธิ (1. - 4. - 6.1)  
   10. ภาษีเงินได้ทั้งปี  
      * เงินได้สุทธิตั้งแต่ 0 - 150,000 บาท (ได้รับยกเว้น)  
      * เงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,001 - 500,000 บาท (10%)  
      * เงินได้สุทธิตั้งแต่ 500,001 - 1,000,000 บาท (20%)  
      * เงินได้สุทธิตั้งแต่ 1,000,001 - 4,000,000 บาท     (30%)  
      * เงินได้สุทธิตั้งแต่ 4,000,001 บาท ขึ้นไป (37%)  
   กรณีที่มีการออม/การลงทุนตามที่รัฐส่งเสริม คุณจะประหยัดภาษี  
หมายเหตุ :  ผลลัพธ์จากเครื่องคำนวณ เป็นการคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com เป็นเพียงผู้ให้บริการ และไม่มีส่วนรับผิดชอบในผลลัพธ์ของการคำนวณแต่อย่างใด
คำนวณการเงินที่น่าสนใจ