คำนวณ    คำนวณแฟรนไชส์    คำนวณหาจุดคุ้มทุน
173K
คำนวณหา จุดคุ้มทุน
    จุดคุ้มทุน สิ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้
        ปัญหาสำคัญหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในการดำเนินธุรกิจ คือยังขาดความ เข้าใจในเรื่องของ “จุดคุ้มทุน หรือ Break-Even Point” โดยมักจะมีความเข้าใจว่า เมื่อใดก็ตาม ที่ตนเองมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการเท่ากับรายจ่ายที่ตนจ่ายออกไป ซึ่งอาจจะคิดกัน เป็นรายเดือนหรือรายปีก็ตาม ก็ถือว่าตนเอง “คุ้มทุน” ความเข้าใจดังกล่าวนั้นก็อาจจะถือว่าเป็นจริงได้ในบางกรณีเท่านั้น แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การ “คุ้มทุน” ในความเข้าใจของผู้ประกอบการมักจะไม่ใช่ “จุดคุ้มทุน” ของธุรกิจที่แท้จริง
    จุดคุ้มทุน
        จุดคุ้มทุน คือ จำนวนของสินค้าที่ธุรกิจต้องสร้างและขายให้ได้เพื่อให้มีรายได้เท่าทุน หรืออีกนัยหนึ่ง จุดคุ้มทุน คือ ยอดขายต่อเดือนที่จะทำให้ธุรกิจมีรายได้ที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในแต่ละเดือน ดังนั้น รายได้ที่สูงกว่าจุดคุ้มทุนจึงหมายถึงกำไร และในทางตรงข้าม รายได้ที่ต่ำกว่าจุดคุ้มทุนก็คือ ขาดทุนนั่นเอง เราสามารถเขียนเป็นสมการเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างจุดคุ้มทุน ต้นทุน และราคาขายได้ 2 วิธี ดังนี้
จุดคุ้มทุน (บาท) = จุดคุ้มทุน (หน่วย) x ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนคงที่รวม + ต้นทุนแปรผันรวม

จุดคุ้มทุน (หน่วย) = ต้นทุนคงที่ / (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย)

ต้นทุนคงที่ : ค่าใช้จ่ายรายเดือน ในส่วนที่ไม่ขึ้นกับจำนวนการผลิต โดยมากจะเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร เช่น ค่าเช่าร้าน
ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย : ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าต่อ 1 ชิ้น เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน
ตัวอย่าง ร้านขายขนมปัง มีต้นทุนคงที่ 5,000 บาทต่อเดือน โดยมีต้นทุนแปรผันชิ้นละ 20 บาท ตั้งราคาขายที่ 30 บาทต่อชิ้น ดังนั้น จุดคุ้มทุน = 5,000 / (30-20) = 500 ชิ้น ซึ่งหมายความว่า ร้านนี้ต้องขายขนมปังให้ได้ 500 ชิ้นต่อเดือนจึงจะคุ้มทุน หรือต้องขายให้ได้มากกว่า 500 ชิ้นเพื่อจะสร้างกำไร
        จุดคุ้มทุนที่ต่ำลงจะทำให้ธุรกิจสามารถคืนทุนและสร้างกำไรได้เร็วขึ้นด้วยการผลิตและยอดขายที่น้อยลง ซึ่งจากสูตรการคำนวณ จะเห็นได้ว่า การลดจุดคุ้มทุน ทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนคงที่ ลดต้นทุนแปรผัน หรือเพิ่มราคาขายต่อหน่วย จากตัวอย่าง เพื่อต้องการลดจุดคุ้มทุนลง ร้านขนมปังอาจปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ดังนี้
        ลดต้นทุนคงที่ : เช่น เปลี่ยนจากการเช่าหน้าร้านเป็นการขายออนไลน์ ทำให้ต้นทุนคงที่เหลือ 3,000 บาท ดังนั้นจุดคุ้มทุน = 3,000/(30-20) = 300ชิ้น
        ลดต้นทุนแปรผัน : เช่น ต่อรองราคาวัตถุดิบได้ในราคาที่ถูกลงเหลือหน่วยละ 15 บาท ดังนั้น จุดคุ้มทุน = 5,000 / (30-15) = 333 ชิ้น
        เพิ่มราคาขาย : โดยธุรกิจสามารถนำตัวเลขจุดคุ้มทุนนี้ไปเปรียบเทียบกับการคาดการณ์ยอดขายในแต่ละเดือน เพื่อดูความเป็นไปได้ของธุรกิจ เช่น ตัวอย่างข้างต้น หากมีหน้าร้านเพื่อขายขนมปัง ต้องขายให้ได้มากกว่า 500 ขิ้นไปต่อเดือน หรือวันละ 17 ชิ้นเพื่อให้เท่าทุน หรืออาจจะตั้งยอดขายไว้วันละ 30 ชิ้นเพื่อให้มีกำไร ซึ่งจากตัวเลขนี้ เราลองวิเคราะห์ดูว่า ด้วยทำเลที่ตั้งของร้านและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ธุรกิจมีโอกาสที่จะบรรลุยอดขายนี้หรือไม่
        หากในกรณีที่ธุรกิจมีกำลังการผลิตที่จำกัด อีกหนึ่งวิธีในการปรับกลยุทธ์ คือ การปรับราคาขาย โดยเราสามารถดัดแปลงสมการจุดคุ้มทุน เพื่อใช้หาราคาขายขั้นต่ำ ดังนี้
ราคาขาย = (ต้นทุนคงที่รวม / จำนวนสินค้าที่ผลิตและขายได้ ) + ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย

ตัวอย่าง หากธุรกิจขนมปังของเรา มีกำลังการผลิตคงที่เดือนละ 600 ชิ้น ดังนั้น ราคาขาย = (5,000 / 600) + 20 หรือต้องขายขนมปังราคาชิ้นละ 28.33 บาทขึ้นไป เพื่อไม่ให้ขาดทุน
คำนวณหาจุดคุ้มทุน (Break-Even Analysis)
วิธีใช้: ใส่ค่าลงไปในแต่ละช่องให้ครบ (ใส่แต่ตัวเลขไม่ต้องใส่ " , ") แล้วคลิก ปุ่มคำนวณ
ต้นทุนคงที่รวม:
ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย:
ราคาขายสินค้าต่อหน่วย:
บทความที่น่าสนใจ
เฉลย! จุดคุ้มทุนที่แท้จริงของธุรกิจ คิดยังไง
คำนวณแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ